ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

***ทำไม พระไตรปิฎก ถึงอ่านยาก***


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 May 2009 - 07:29 PM

คือ ถามคำถามเดียวแต่จะตอบยาวมากๆ เนื่องจากมีการทวนคำถามตลอดเวลา

ขอถามว่าในสมัยพุทธกาล เขาคุยกันอย่างนี้หรือเปล่า เป็นลักษณะแบบยืดเยื้อนะครับ

หรือว่าคนที่ทำสังคายนา เขามาเติมใหม่ ช่วยอธิบายทีขอบคุณครับ
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#2 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 27 May 2009 - 11:54 AM

คงเป็นเพราะภาษาเป็นสิ่งไม่เที่ยงน่ะครับ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โดยคนยุคใหม่ๆ ก็พยายามพูดภาษาใหม่ๆ ขึ้นมาให้ง่ายขึ้น(ในความคิดของพวกเขา)

ตัวอย่างง่ายๆ ในปัจจุบันก็เช่น มหาวิทยาลัย พูดให้สั้นง่ายเข้าอีกกลายเป็น มหาลัย หนักเข้า กลายเป็น หมาลัย ไปเลยเป็นต้น ซึ่งตอนแรกก็ยังพอเข้าใจ แต่พอผ่านกาลเวลาไปเป็นรุ่นต่อรุ่น ภาษาเดิมอาจทำให้คนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจก็เป็นได้ครับ

ซึ่งไม่เฉพาะแต่พระไตรปิฎกเท่านั้น แม้แต่ตำราโบราณภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาโรมันโบราณ ฯลฯ ก็กลายเป็นภาษาที่เข้าใจยากสำหรับคนรุ่นใหม่ๆ ไปแล้วล่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#3 ลูกอินทรีย์หัดบิน

ลูกอินทรีย์หัดบิน
  • Members
  • 369 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 May 2009 - 03:08 PM

นี่ผมยังนึกอยู่เลยว่า ถ้าจะแปลพระไตรปิฎก ให้เป็นภาษาอังกฤษ จะแปลอย่างไรให้ฝรั่งเข้าใจง่าย ๆ

นึกแล้วก็ชอบ DMC มากเลยที่ นำพระไตรปิฎก มาเล่าเรื่องได้เข้าใจง่าย ๆ และสนุกด้วย

รายการชีวิตในสังสารวัฏ

ยืนยันตัวจริงเสียงจริงเจ้าของกรณีศึกษากฎแห่งกรรม

http://video.dmc.tv/programs/life_in_samsara/page5.html


หนังสือเรียนธรรมะ DOU           http://book.dou.us/d...ya-book-gl.html

GL 101 จักรวาลวิทยา                            http://book.dou.us/gl101.html
GL 102 ปรโลกวิทยา                              http://book.dou.us/gl102.html
GL 203 กฎแห่งกรรม                             http://book.dou.us/gl203.html
GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์           http://book.dou.us/gl305.html


#4 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 May 2009 - 08:21 PM

เป็นเพราะสำนวนภาษามีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา...

ลักษณะเนื้อความซ้ำ 3รอบ แสดงออกถึงการตอกย้ำ ยืนยันในความถูกต้อง เช่นเดียวกับ เราตั้งใจสมาทานสิ่งใด เรามักจะกล่าว 3ครั้ง....ไม่ว่าจะเป็น นะโม...อาราธนาศีล..คำขอบรรพชา เป็นต้น
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#5 voyager

voyager
  • Members
  • 23 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 28 May 2009 - 02:00 PM

ทุกคนที่อ่านพระไตรปิฎกจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่าทำไมต้องทวนซ้ำ ตามความคิดของผมเข้าใจว่าการสืบทอดพระไตรปิฎกในยุคแรก ๆ ใช้ท่องจำกันมา จึงต้องมีวิธีการที่ต้องจำให้แม่น ๆ และยังมีการแบ่งพระภิกษุให้ช่วยจำแต่ละปิฎกอีก จึงควรมีการทวนเนื้อความเพื่อยืนยันให้ตรงกัน เป็นเทคนิคที่ดีครับ

#6 formerinda

formerinda
  • Members
  • 51 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 May 2009 - 01:58 PM

เราว่าเพราะโครงสร้างภาษาที่แตกต่างกันน่ะค่ะ

ภาษาบาลี เหมือนภาษายุโรปตระกูลลาติน ภาษาพวกนี้ สั้นมากๆ

มีการผัน มีการตัดคำ อย่าง tiamo แปลว่าฉันรักเธอ อะไรอย่างนี้อะค่ะ

เหมือนกับ อรหัง สัมมา สัมพุทโธ

ก็แปลว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ใด (พุทโธ คือมีการผันว่า เอาพุทธะ มาผันว่าเป็นเพศชาย เป็นประธาน มีคนเดียว)

เป็นผู้ไกลจากกิเลส (อรหัง นี่ก็ผันแล้ว) เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง (สัมมา นี่ก็ผันแล้ว)

พอแปลไทยมันก็ยาว

แล้วทีนี้การที่พระองค์จะตรัสสั่งสอน ก็คงต้องทวนความ ว่า เธอถามอย่างนี้ใช่ไหม
มีประเด็นอะไรเพิ่มเติมหรือเปล่า เพราะเป็นเรื่องสำคัญ เป็นความจริงของชีวิต
และมีมหาชนฟังด้วย จะได้จับความถูก แล้วพระองค์ก็ทรงสรุปจบท้าย
แม้ว่าจะยาว ก็มีสรุป


เพราะกินความยาวแต่คำสั้น จึงสามารถพูดทวนเพื่อจับใจ และยืนยันคำถามได้

แต่พอแปลไทยเลยยาวมากอะค่ะ