สัจจะบารมี
#1
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 12:51 AM
และ มุ่งหน้าเพื่อให้ได้วิชชา ๓ ในชาตินี้ ยังไม่หวังนิพพานแต่หวังสำเร็จวิชชา ๓ เป็นอย่างน้อย
ก่อนตั้งสัจจะใด ๆ ลงไปมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม แต่ก็มาเสียสัจจะครั้งหนึ่งแล้ว รู้พิษสงของพยามาร ( กิเลสมารแล้ว )
ดังนั้นทำให้การเข้าวัดครั้งแรกล้มเหลวไป ดีว่ามีจานดาวธรรมดึงให้กลับมาสู่วงจรการสร้างบารมีได้
ไม่เช่นนั้นแล้ว จะต้องถอยหลังเข้าคลองไปเรื่อย ๆ
เมื่อมีความคิดกุศลศรัทธาในใจแล้ว ควรตั้งสัจจะวาจาหรือไม่ ?
ถ้าตั้งแล้วไม่สำเร็จแล้วต้องถอยหลังเข้าคลองแน่ ๆ
แต่ถ้าไม่ตั้งสัจจะวาจาแล้ว ก็ไม่รู้จะทำได้เมื่อไรเพราะมัวแต่ผลัดอยู่นั่นแหละ
ถ้าหากว่าเราตั้งใจว่าชาตินี้เราต้องการให้ได้วิชชา ๓ ไม่ต้องถึงนิพพานแบบนี้จะ
เป็นความอยากหรือไม่นั่นคือเป็นกิเลสชนิดหนึ่งก็จะยิ่งทำให้ไม่ได้ผลสมใจ ?
#2
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 07:24 AM
แล้วภายหลังมีหลายรูปสึกออกมา
ขอแก้ข้อมูลนิดหน่อย วิชชา ๓ แต่ว่าต้อง
การเพียง ๒ ข้อเท่านั้น ยกเว้น ๓. อาสวักขยญาณ
#3
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 09:02 AM
วันนี้ทั้งวัน จะไม่ฆ่าสัตว์เลย ต่อมาก็เพิ่มไปเรื่อยๆ เช่น วันนี้ทั้งวันจะไม่ฆ่า และไม่ดื่มสุราเลย ไม่สูบบุหรี่เลย แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มจนครบ ห้าข้อ ทีนี้พอ 5 ข้อได้แล้ว ท่านก็ตั้งใจก่อนออกจากบ้านเลย วันนี้ทั้งวันจะไม่ผิดศีล 5 เลย รักษาไปต่อเนื่องเป็นเดือนๆ จนท่านมั่นใจว่ารักษาได้แล้ว ก็เปลี่ยนว่า ภายใน 3 เดือนจะไม่ผิดศีลเลย แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มไปเรื่อยๆ
นี่แค่เรื่องศีล 5 แต่เพราะสมัยก่อนหลวงพ่อไม่รู้ จึงผิดศีลมาก ทีนี้พอรู้แล้ว การจะกลับไปรักษายังต้องใช้กำลังใจตั้งใจทำไปทีละวัน เพื่อดูกำลังตัวเองก่อนเลย แล้วถ้าคิดถึงขั้นจะประพฤติพรหมจรรย์(ขั้นสูง) และจะบวช ซึ่งต้องการกำลังใจมากไปกว่า รักษาศีล 5 เราก็น่าที่จะนำวิธีการของหลวงพ่อ มาประยุกต์ใช้ดูนะครับ
#4
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 10:08 AM
สรุปว่าควรตั้งสัจจะนะครับ แต่ว่าตั้งแบบเบา ๆ ก่อนให้ผ่านก่อน
เช่น เอาศีล ๕ ให้ครบให้ได้ทุกวันก่อน แล้วก็ค่อยเพิ่มเป็นเดือนเป็นปี
เพราะถ้าตั้งสัจจะแล้วล่วงสัจจะกำลังใจเริ่มใหม่ จะแทบไม่มี ( ขอยืนยัน )
ดังนั้นไม่ควรตั้งสัจจะถ้ากำลังใจไม่พอ
สัจจะที่จะเริ่มทำให้ได้ทุกวันคือตักบาตรทุกวันไม่มีวันหยุด ( ถ้าวันไหนไม่ไหวก็ฝากลูกจ้างทำแทน )
ตลอดชีวิตจนกว่าจะออกบวช
สร้างพระประจำตัวทุกปีจนกว่าจะครบ
จะรักษาศีล ๕ ไม่ให้ขาดทั้งกายวาจาใจสักหนึ่งสัปดาห์ก่อน
ยากเหมือน กันตรงปาณาติบาต จะเผลอตบยุง ฉีดยาฆ่าแมลงอยู่เรื่อย
ตรงค้าขายก็จะเผลอพูด ให้ลูกค้าซื้อของเลยเผลออยู่เรื่อย
พอไม่ถูกใจก็อดบ่นไม่ได้
#5
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 10:21 AM
ฝึกตัว ด้วยการรักษาศีล อย่างที่คุณหัดฝันบอก
เมื่อทำภาวนา ก็เจริญเมตตาไปด้วย
...
ขณะนี้ หน้าที่คือเข้าที่เพื่อเข้าถึงองค์พระภายใน
กำลังใจที่จะสร้างบารมีจะเกิดขึ้น
จากความเพียรนั้นครับ
...
เมื่อเรารู้ว่าชีวิตคฤหัสถ์ คับแคบ
เวลาของชีวิตถูกการงานและภาริจต่าง ๆ เบียดบังไป
ก็ทำการงานให้เป็นบุญ กับใช้ช่วงเวลาของชีวิตอย่างคุ้มค่าที่สุด
...
พรุ่งนี้ก็ไม่แน่นอนครับ
เมื่อไม่ประมาท สิ่งที่ทำอยู่คุ้มค่ากับชีวิตที่มีอยู่แน่นอน
...
เรามีสถานะ กับ หน้าที่ครับ ที่ชัดเจนอยู่ในขณะนี้
...
#6
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 01:32 PM
เมื่อบารมีแกร่งกล้า ก็เปล่งวาจา ให้ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ แสนโกฏิจักรวาล รับรู้ สาธุการ
จนกระทั่งบำเพ็ญไปจนครบ ถึงพร้อมปรมัตถ์บารมี
#7
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 02:49 PM
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
#8
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 03:22 PM
แล้วภายหลังมีหลายรูปสึกออกมา
.................................................................................................

ท่านคงไม่ได้บังคับให้ตั้งสัจจะวาจาว่าจะบวชตลอดชีวิตนะครับ
ผมเข้าใจว่าเป้นการแสดงออกในสภาวะทางจิตในขณะนั้นนั้น
ของผู้ที่จะตั้งสัจจะวาจาว่าจะบวช...


ไปเรื่อยๆครับ ปราบมารประหารกิเลส ไปวันต่อวัน..อย่างนี้จะปลอดภัย
เพราะ กฎแห่งกรรมนั้นไม่ไว้หน้าใคร เหมือนกาน้ำที่ร้อน วางไว้ที่หน้ากุฎิ
เราไม่ทันได้สังเกต ก็เผลอตัวไปจับ มันร้อน มือพองเป็นแผล
แล้วเราบอกว่าไม่ทราบ แต่มือของเรามันพองไปแล้ว
เอามันมาคืนเหมือนก่อนที่จะไปจับไม่ได้ครับ
แต่ถ้าท่านผู้นั้นยังยืนยัน นั่งยัน นอนยัน
แม้ครั้งที่หนึ่ง แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม ผมก็จะไม่ห้าม ครับ
พระโสณีพราหมณ์มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อถามพระองค์ว่า
โสณีพราหมณ์ : "พระมหาโคดมผู้เจริญ สิ่งนั้นสิ่งนี้มีอยู่จริงดังนั้นหรือ"
พระพุทธเจ้า : "นี้เป็นคำถามสุดโต่งประการหนึ่ง"
โสณีพราหมณ์ : "ถ้าเช่นนั้น สิ่งนั้นสิ่งนี้ไม่มีอยู่จริงดังนั้นหรือ"
พระพุทธเจ้า : "นี้เป็นคำถามสุดโต่งอีกประการหนึ่ง ตถาคตหลีกเว้น
จะตอบคำถามสุดโต่งทั้งสองนั้น เพราะมีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนั้น และเพราะเมื่อมีสิ่งนั้น จึงมีสิ่งนี้"
มีภาษาทางเทคนิคประโยคหนึ่งว่า..ให้คิดดีๆก่อนทำ...
คิดแบบมีการเปลี่ยนแปลง ตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ครับผ๊ม...
ในพระไตรปิฎกนั้นพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนว่า
ทุกอย่างเป็นไปตามกรรมและเหตุปัจจัย สรรพสิ่งในโลก
ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย ที่เชื่อมโยงกันเป็นทอดๆ ที่เรียกว่า
"หลักอิทัปปัจจัยตา"
เพราะมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นจึงมีผลกระทบให้อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น
และเพราะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น
จึงกระทบให้สิ่งใหม่ อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกันต่อไป
เพราะฉะนั้น สรรพสิ่งจึงเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งสามารถอธิบายได้
และไม่ตายตัว ถ้าเปรียบเทียบสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
เทียบกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดภายหลัง ก็เทียบเคียงได้กับปฏิกิริยาลูกโซ่ หรือ
Feed Back Control ...
ผมเสนอคำว่า"ปัจจุบันธรรม"
เพราะความสุขเกิดขึ้นทันทีที่จิตตั้งใจทำดีตอนนั้น ท่าน
ผู้นั้นก็อยากจะบวชตลอดไปแต่อย่าลืมว่า จิต ..
เป็น Dynamic จิต มันไม่.ได้อยู่แบบ Static ครับ
จิตมัน เชื่อมโยงกันเป็นทอดๆ นอกเหนือการรับรู้ของมนุษย์
ดังนั้น ในทางพุทธศาสนาจึงสอนในเรื่องความสุขทันที
(Instantenious happiness)
ส่วนเรื่อง Supreme Happiness นั้นผมยังไม่กล่าวถึงในที่นี้ครับ
คือความสุขที่เกิดที่ใจ
แต่ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะคงที่แห่งสุขอย่างนี้ตลอดครับ
ดังนั้นผู้คนรอบข้างมีส่วนสำคัญที่จะให้สติ ก่อนที่จะตั้งสัจจะวาจาอะไร
เพราะว่ามีสี่อย่างที่เอาคืนมาไม่ได้
1.เวลา
2.ความหวัง
3.โอกาส
4.คำพูด

ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม
#9
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 04:15 PM
ขอตอบเลยแล้วกันในครั้งนั้น หลวงพี่ท่านบอกว่าใครจะบวชตลอดชีวิตบ้าง
( ท่านชวนบวชไม่ได้บังคับ ) แล้วมีพระปรมาณ ๒๐ รูปไม่ไปไหน ท่านจึงนำกล่าวคำขอบวชตลอดชีวิต ๓ ครั้งเลย
ผมไม่ได้อยู่ในกลุ่มพระ ๒๐ รูปนั้น แต่ทราบว่าพระที่บวชนั้น สึกไปเสียหลายรูป
ไม่รู้ว่าบาปขนาดไหน แต่คิดว่าต้องบาปมากเหมือนกันเพราะเรียกว่ามุสาวาทได้
อย่างน้อย ก็ได้ชื่อว่า ... เพราะว่าการกระทำทุกอย่างมันไม่หายไปไหนมันต่อเนื่องกันมา
เหมือนพี่เถลิงเกียรติว่าแหละครับ
แต่การเสียสัจจะนั้นคือ กล่าวคำสัจจะต่อหน้าพระพุทธรูปที่บ้าน
เสียสัจจะไป ไม่รู้บาปขนาดไหน แต่ถึงขนาดกำลังใจเสียไปเยอะเลย
แบบนี้บาปหรือเปล่าไม่รู้ เพราะไม่ได้บอกใคร
สัจจะง่าย ๆ ที่ลองพยายามคิดตั้งใจตอนนี้ ง่ายกว่าตั้งครั้งนั้นมาก ผมไม่ได้บอกแต่ว่ายากกว่ามาก
สภาวะจิตใจในขนาดนั้น คือมั่นใจตัวเองมากไป
#10
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 07:50 PM
ไม่ถือว่าเป็นมุสาคะ
แต่เป็นอนุโลมค่ะ
ผลคือ เมื่อทำอะไรก็จะรักษาสัจจะตัวเองไม่ได้
และคนอื่นก็จะไม่รักษาสัจจะต่อเขาคนนั้นค่ะ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#11
โพสต์เมื่อ 24 June 2006 - 09:22 PM
อย่าไปคิดกังวลเรื่องอดีต เพราะเป็นอดีตไปแล้ว
แต่ใครๆ ก็ควรพิจารณาตัวเองเนืองๆ ว่า ตัวเรามีนิสัยหรือการกระทำด้านใด ที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขบ้าง
ขอให้ตั้งใจใหม่ เพียงแต่ตอนนี้ถ้ายังไม่มั่นใจ ก็ไม่ต้องตั้งสัจจะว่าจะบวชจนตลอดชีวิต
ถ้าปรารถนาจะบวช ก็บวชเถิด
เมื่อได้ทำตามที่ตั้งใจ ได้ทำตามที่ตนต้องการ(ที่จะสร้างบารมี)แล้ว
ขอให้ปลื้มใจในความตั้งใจดีของตน รู้สึกอยากจะเป็นพระตลอดไป
อย่าเพิ่มความคาดหวังกับตัวเอง แต่เพิ่มความเคี่ยวเข็ญให้ตัวเองประพฤติธรรม-สร้างบารมีให้เต็มที่แทน
ทำความรู้สึกว่า "พอใจที่อยู่ในสภาวะนี้(พระภิกษุ)" บ่อยๆ ให้ตนเองรู้สึกพอใจอย่างนี้ทุกวัน อย่าทำความพอใจในการลาสิกขาไปเป็นเพศฆราวาส
บุญบารมีที่ได้รับจากการบวช เมื่อบวชนานๆเข้า จะช่วยให้ผังบวชแน่นหนายิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ และยิ่งส่งเสริมให้การอยู่ในสภาวะพระภิกษุสะดวกยิ่งขึ้น
เมื่อได้สร้างเหตุ คือบุญ
ผลก็จะเกิดขึ้นมาเอง ผลของบุญจะส่งผลเอง
ใครๆ ก็กำลังฝึกตัวอยู่ ของใครก็ของผู้นั้น
ทำให้ดีที่สุด เราจะได้รู้สึกมั่นใจและสบายใจ
#12
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 12:03 AM

ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#13
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 01:43 AM
ผิดศีลข้อ ๔ โทษฐานที่โกงตัวเองอย่างแน่นอนครับ ขอฟันธง เอาเป็นว่าผมต้องถามความสมัครใจของพี่ทศพลเสียก่อนว่า
พี่ต้องการให้ผมบอกถึงโทษภัยของการเสียสัจจะทั้งในภพนี้และในภพหน้าไหมครับ?
(เพราะผมกลัวว่าพี่จะเสียกำลังใจ และอาจรับไม่ได้กับความจริงในบางเรื่องที่ผมต้องบอกกับพี่น่ะครับ)
ไม่เป็นไรเชิญเลยครับเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่คิดจะตั้งสัจจะแล้วทำไม่ได้บ้าง
เรื่องการบวชตลอดชีวิตในครั้งนั้นผมยังไม่ได้ตั้งสัจจะแน่นอน
เล่าให้ฟังก่อนเผื่อเป็นตัวอย่างให้คนอื่น ไหน ๆ คุณขุนศึกฯ จะมาบอกแล้ว
การตั้งสัจจะนั้น มันมีประโยชน์มาก เช่นการหักดิบเลิกบุหรี่ ตอนนั้นติดบุหรี่ แล้วทำให้ผู้มีพระคุณ
บอกว่าเขาเสียใจที่เห็นเราเป็นเช่นนี้ ถึงตอนนั้นก็เป็นสัจจะเหมือนกัน คือหักดิบ จะไม่ไปสูบอีก
ทุกวันนี้เมื่อเข้าใกล้บุหรี่ นึกอยากสูบทีไรก็สามารถระงับใจได้เพราะกลัวเสียสัจจะ ( เป็นสัจจะที่ไม่เสียเลย )
ส่วนการตั้งสัจจะเรื่องอื่น ๆ นั้นก็มีหลายเรื่อง ถ้าเรื่องไม่ยากก็สามารถทำได้เช่นนั่งสมาธิทุกวัน ๑ เดือน
เรื่องที่เสียสัจจะนั้นเกิดจากการลองเรื่องยากเข้าเช่นนั่งสมาธิทุกวัน ๑ ปี ไม่ให้ขาดสักวัน และรักษาศีลไม่ให้ขาด
แต่เรื่องยาก ๆ นี่ก็เป็นประโยชน์ถ้าหากทำได้
เหตุที่ ตั้งสัจจะแบบนี้ก็เพราะถ้าไม่ตั้งสัจจะแล้ว ก็จะไม่สามารถมีกำลังใจให้สำเร็จได้ การหักดิบคือ
การตั้งสัจจะไว้อย่างหนึ่ง
#14
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 09:09 AM
ตั้งใจทำความดีให้ยิ่งยวด
ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมกาย
ถือว่าเป็นการบวชภายในก่อนนะครับ
ขอให้ตั้งใจอธิษฐานจิตตอกย้ำ ซ้ำเดิม อีกไปเรื่อย ๆ
รับรองว่า จะประสบความสำเร็จครับ
อีกประการหนึ่ง ให้เราทราบว่า เราเกิดมามีหน้าที่อย่างไร
ต้องทำหน้าที่นั้นให้เต็มที่
แล้วเราในฐานะพุทธมามกะ มิใช่พุทธบุตร
จะช่วยสืบทอดพุทธศาสนาอย่างไรครับ
#15
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 10:22 AM
จริงๆแล้ว สัจจะวาจาควรออกมาจากความมุ่งมั่นเทียงแท้ของใจโดยตรง มิใช่เป็นการตั้งสัจจะเพื่อเป็นการบังคับการกระทำตนเอง หรือมีความลังเลผสมอยู่
#16
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 11:24 AM
ตั้งใจทำความดีให้ยิ่งยวด
ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมกาย
ถือว่าเป็นการบวชภายในก่อนนะครับ
ขอให้ตั้งใจอธิษฐานจิตตอกย้ำ ซ้ำเดิม อีกไปเรื่อย ๆ
รับรองว่า จะประสบความสำเร็จครับ
..........................

ครับ ดีมากๆๆเลยครับ ท่านทศพล
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม
#17
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 12:22 PM
ถ้าผิดคำสาบานหรือสัจจะนี้ก็จะมีบาปและมีโทษครับจริงๆแล้ว สัจจะวาจาควรออกมาจากความมุ่งมั่น
เทียงแท้ของใจโดยตรง มิใช่เป็นการตั้งสัจจะเพื่อเป็นการบังคับการกระทำตนเอง หรือมีความลังเลผสมอยู่
เห็นด้วย เรื่องการตั้งการตั้งสัจจะนั้นไม่ควรทำแบบสาบานคือถ้าทำไม่ได้ขอให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้
ตามความคิดของผม ลองคิดดูนะครับ การตั้งสัจจะวาจานั้น ที่เราเห็นกันอยู่คือการสมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘
ซึ่งคนทั่วไปคุ้นเคยกันอยู่ ซึ่งผมเข้าใจว่าการสมาทานนั้นจะมีผลก็แค่ ๑ วันเท่านั้น (ถ้าไม่ถูกช่วยแก้ด้วยนะ) ถ้า
เป็นเช่นนั้น ก็ยังไม่สามารถจะทำให้เกิดเป็นสัจจะบารมีได้ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาต่อยอดให้มีช่วงระยะเวลาที่นาน
ออกไปเรื่อย จากวันเป็นเดือน เป็นปี และตลอดชีพ จึงจะเกิดเป็นบารมีขึ้นมาได้ และตามธรรมดาแล้วคนเราย่อม
รู้สึกฝืนการกระทำอยู่บ้าง ( จึงต้องมีการบังคับตัวเอง ) โดยตีกรอบด้วยสัจจะเอาไว้แต่จะฝืนได้แค่ไหน ก็ต้องลองดู
ถ้าเริ่มจาก ๑ วัน ไม่พลาด ก็ ๓ วัน และ ๗ วันตามลำดับ ในกรณีความลังเลนั้นเกิดจากความเข้าใจธรรมชาติของจิต
ที่ชอบไหลไปสู่ที่ต่ำเสมอ ถ้าไม่ระวังไว้ เสมือนนักกีฬาแม้เตรียมตัวมาดีแต่คู่แข่งไม่ธรรมดาก็อดจะลังเลก่อนขึ้น
สังเวียนไม่ได้
ตอบพี่เถลิงเกียรติ สาธุครับ จะพยายามทำครับ
#18
โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 02:56 PM