

เจ้ากรรมนายเวร กับ คู่กรรมคู่เวรต่างกันอย่างไรครับ
#1
โพสต์เมื่อ 27 July 2006 - 08:18 PM


#2
โพสต์เมื่อ 27 July 2006 - 08:58 PM
คู่เวร คู่กรรม - หมายถึงคู่อาฆาต ที่ผูกพยาบาทกันมาในวัฏสงสาร ไม่ว่าจะเป็นผูกอาฆาตฝ่ายเดียว หรือผูกเวรซึ่งกันและกันก็ใช่ทั้งนั้น
ทั้งสองกรณี ผู้ก่อกรรม ก็ต้องใช้กรรมทั้งนั้น แต่ก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ ลองไปดูกระทู้เก่าๆ ก็น่าจะมีคำตอบมากกว่านี้
#3
โพสต์เมื่อ 27 July 2006 - 09:35 PM
เจ้ากรรมนายเวร ก็คือ ผู้ที่ออกกฏแห่งกรรมบังคับให้เป็นไปตามกฏที่ถูกวางไว้ เป็นฉากหลังในฉากหลัง
ส่วนคู่กรรมคู่เวร คือคู่กรณีที่เราไปทำกรรมกับเขาเอาไว้ เวลาอุทิศบุญควรอุทิศให้คู่กรรมคู่เวร ให้เขามีส่วนในบุญ แล้ว อโหสิกรรม กรรมจะค่อยๆเบาบางลง ดังที่เราเคยฟังในฝันในฝัน มักได้ยินว่าอุทิศบุญไปให้คู่กรรมคู่เวรบ่อยๆ แล้วกรรมจะค่อยๆเบาบางลง มากกว่า แต่แปลกไม่ค่อยได้ยินว่า เจ้ากรรมนายเวรเลย มีแต่ที่เราเคยได้ยินข้างนอกที่ใช้กันมานาน เคยอ่านหนังสือของอุบาสิกาถวิล วัติรางกูล ท่านก็บอกว่า เวลาอุทิศบุญ ไม่ควรอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร แต่ควรใช้คำว่า คู่กรรมคู่เวร จะดีกว่า
จะใช้คำไหนก็แล้วแต่ ก็ควรมีเจตนาที่อุทิศบุญส่วนบุญส่วนกุศลให้คนที่เราไปทำกรรมกับเขาเอาไว้ โดยนัยย ก็เหมือนกัน
#4
โพสต์เมื่อ 27 July 2006 - 09:38 PM
#5
โพสต์เมื่อ 27 July 2006 - 10:52 PM
ผู้ที่เราเคยไปล่วงเกินหรือผูกเวรคือ คู่กรรม คู่เวรนะค่ะ เวลาจะอุทิศส่วนบุญให้ หมายถึง คู่กรรมคู่เวร ก็คือเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายในภพ 3 นี่และค่ะ
ส่วนเจ้ากรรมนายเวรไม่ใช่ค่ะ อย่าสลับกันนะค่ะ อันนี้สำคัญ
น้าจี้
#6
โพสต์เมื่อ 28 July 2006 - 12:51 AM
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ
#7
โพสต์เมื่อ 28 July 2006 - 08:45 AM
ต้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่คู่กรรมคู่เวรค่ะ เพื่อให้เค้าอโหสิกรรมให้เรา
#8
โพสต์เมื่อ 28 July 2006 - 10:28 AM
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
#9
โพสต์เมื่อ 28 July 2006 - 10:50 AM
เช่นกัน อุทิศให้ เจ้ากรรมนายเวร แต่ใจเราคิดว่าให้ผู้ที่เราเคยล่วงเกิน ก็ได้ครับ แต่มันไม่เหมาะสม เพราะเขาไม่ได้มาเป็นเจ้ากรรมเรา หรือนายเวรเรา คำว่า เจ้ากรรม ถ้าแปลตามศัพท์ แปลว่า เจ้าแห่งกรรม หรือยิ่งใหญ่กว่า กรรม ซึ่งมันผิดคำศัพท์น่ะครับ (เหมือนโกโบริ หมายถึง ชื่อพระเอกคนหนึ่ง มันก็ผิดคำศัพท์ ถ้าเราจะนำมาใช้อุทิศให้ผู้ที่เราล่วงเกินมาใช่มั้ยครับ) ที่ว่าผิดคำศัพท์ เพราะมนุษย์ทุกคน ตกอยู่ภายใต้กฏแห่งกรรม จึงไม่ได้ยิ่งใหญ่กว่ากรรมแต่ประการใดน่ะครับ
ดังนั้น ศัพท์ที่ถูกต้อง จึงใช้คำว่า คู่กรรมคู่เวร หรือ อีกศัพท์หนึ่งก็ได้ว่า ผู้ที่เราได้เคยล่วงเกินมา อย่างนี้จะตรงที่สุด
อ้าวแล้วผิดคำศัพท์ได้มั้ย เช่น พูดว่าอุทิศให้โกโบริ แต่ใจนึกถึงผู้ที่เราเคยล่วงเกิน คำตอบคือ บุญก็ถึงผู้รับครับ ถ้าเขาพร้อมรับบุญ เหมือนเคส Study เคสหนึ่งที่ เจ้าของเคสอุทิศให้ญาติ แต่ดันจำชื่อญาติผิด คุณครูไม่ใหญ่บอกว่า ก็ยังได้บุญเลย
ดังนั้นผิดคำศัพท์ก็ได้บุญครับ แต่จะสบายใจกว่าใช่มั้ยครับ ถ้าพูดให้มันถูกคำศัพท์ตั้งแต่แรก
#10
โพสต์เมื่อ 28 July 2006 - 11:43 AM
เวลาอุทิศใช้คู่กรรมคู่เวรค่ะ
ประมาณว่าอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรเขาก็จะมีอำนาจบังคับบัญชาเรามากขึ้น (จำไดว่าเคยฟังตอนอาทิตย์ต้นเดือนคล้ายๆ แบบนี้หล่ะ )แต่สำหรับคนที่ไม่ได้มาที่วัดความหมายของคำว่า เจ้ากรรมนายเวรของคนที่อุทิศคงเหมือนกับ คู่กรรมคู่เวร คงไม่เป็นไร
#11
โพสต์เมื่อ 28 July 2006 - 08:31 PM
#12
โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 10:52 AM
#13
โพสต์เมื่อ 30 July 2006 - 08:47 PM


#14
โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 05:14 PM
#15
โพสต์เมื่อ 01 August 2006 - 11:50 AM
#16
โพสต์เมื่อ 01 August 2006 - 02:01 PM
เบญจา
#17
โพสต์เมื่อ 18 August 2006 - 12:01 PM
#18
โพสต์เมื่อ 25 August 2006 - 02:35 PM
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง
#19
โพสต์เมื่อ 02 September 2006 - 08:49 AM
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ
เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก
Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain
#20
โพสต์เมื่อ 30 September 2006 - 06:44 PM