สงสัยมากเลยค่ะ
ท่่าในการนั่งสมาธิมีส่วนสำคัญหรือไม่ เช่น น้ั่งบนเก่าอี้ น้ั่งที่พื้น มีส่วนช่วยให้จิตสงบหรือเปล่า
ท่าไหนดี แล้วมีความสงบแตกต่างกันมากไหมค่ะ ระหว่างนั้งที่พื้น กับนั้งบนเก้าอี้
และการวางมืออีกด้วยค่ะ มีส่วนช่วยให้สงบหรือไหม แล้วควรวางมือแบบไหนดี เพราะหนูเห็นแต่ละที่เขานั้งสมาธิวางมือไม่เหมือนกัน
มาที่วัดพระธรรมกายกับพี่ชาย(พี่ชายดุ ถูกบังคับให้มาค่ะแต่มาเจอพี่ๆคนอื่นๆที่วัดใจดีมากเลยจึงเริ่มสนใจค่ะ)เห็นมีวิธีวางมืออีกแบบหนึ่ง
แล้วทำไมต้องวางมือแบบนี้ด้วยค่ะ
คำถามอาจดูเด็กๆน่ะค่ะเพราะหนูเป็นเด็กค่ะตอนนี้อยู่ ม.๒ ขี่สงสัยด้วย ไม่กล้าถามพี่ชายถามมากโดนดุ
แต่ได้ฟังเรื่องแปลกๆจากพี่ชายมากเลย เขาบอกว่าอยากรู้่อะไรไปหาดูได้ที่เว็ปนี้
ขอฝากเนื้อฝากตัวกับพี่ๆทุกคนด้วยน่ะค่ะ หนูมีเรื่องสงสัยอีกมากเลย
ตอนนี้ดีใจมีที่หาคำตอบแล้ว
ขอบคุณค่ะ
ปล.พี่ชายหนูมีชื่อนำหน้าเหมือนหนูค่ะ

สงสัยเรื่องท่าในการนั่งสมาธิค่ะ
เริ่มโดย บุญสิริ, Nov 07 2006 12:14 AM
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 07 November 2006 - 12:14 AM
#2
โพสต์เมื่อ 07 November 2006 - 06:37 AM
ยินดีตอนรับบ้านใหม่ค่ะ สงสัยเหมือนกันเลยค่ะ อีกสักครู่ไม่ถึง5น.เดี๋ญวก้จะมีพี่มาตอบแล้วละค่ะ รออีกนิดนะค่ะ เรารุ่นเดียวกัน คุยกันได้นะค่ะ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"
น้ำฝนลูกพระธัมฯ
#3
โพสต์เมื่อ 07 November 2006 - 07:15 AM
ยินดีต้อนรับครับ..รออีกแป๊บ.บ.บ
อยากรู้เหมือนกันครับ..
อยากรู้เหมือนกันครับ..
#4
โพสต์เมื่อ 07 November 2006 - 08:42 AM


สวัสดีครับ ท่าน บุญสิริ
๑. ท่าในการนั่งสมาธิมีส่วนสำคัญช่วยให้จิตสงบหรือเปล่า
- มีส่วนครับ ถ้านั่งในท่าที่สบาย ทำให้ไม่กังวลเรื่องของร่างกาย
ใจก็จะสงบหยุดนิ่งได้เร็วขึ้น
๒. ท่าไหนดี
- การทำสมาธิภาวนา ทำได้ในทุกอริยบท ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน
ถ้านั่งสมาธิเราก็เลือกเอาว่า นั่งแบบไหนทำให้เรานั่งได้สบายกายที่สุด
ไม่ต้องกังวลเรื่องของร่างกาย และก็ต้องไม่สบายจนทำให้เผลอสติ เช่น
นั่งพิง หรือ นั่งบนเก้าอี้ ( อันนี้สบายแน่ ) แต่ถ้าทำให้เราเผลอสติ ( ง่วงหลับ )
ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม

ท่านั่งสมาธิ คู้บัลลังก์ คือ การเอาขาขวาทับขาซ้าย
มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย
ตั้งกายตรงดำรงสติมั่น เป็นการจำลองแบบของการนั่ง
ของพระธรรมกายภายใน

ท่านั่งสมาธิดังกล่าวจะทำให้เรานั่งได้นาน เพราะฐานกว้าง
อกขยาย ไหล่ไม่ห่อ กายตั้งตรงไม่เผลอสติง่าย

นิ้วชี้ขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย
เมื่อเวลาเรานั่งแล้วง่วงหรือเผลอหลับ
นิ้วชี้ขวากับนิ้วหัวแม่ซ้ายจะขยับเข้าหากัน
ทำให้เรารู้สึกตัว ไม่เผลอสติ
นั่งธรรมะ ให้ใจใส.. ใส ทุกวันนะครับ
อนุโมทนาบุญ ครับ
foox
ไฟล์แนบ
#5
โพสต์เมื่อ 07 November 2006 - 09:37 AM
หุหุหุ การนั่งสมาธิที่ถูกวิธีคือ ตั้งกายตรง ดำรงค์สติมั่น ไม่ว่าจะท่าไหนก็ตามครับ ขอให้นั่งแล้วสบายสามารถตั้งสติทำสมาธิได้โดยไม่ง่วงหงาวหาวนอนง่าย และต้องเป็นท่านั่งที่ไม่ตรึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป ถ้าตรึงเกินไปจะทำให้นั่งได้ไม่นานและไม่ทน หากหย่อนเกินไปก็ทำให้หลับง่าย
แต่ท่าที่เป็นมาตรฐาน คือท่านั่งที่เรียกว่าขัดสมาธิคู้บังลังค์ โดยนั่งเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้มือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย เป็นท่านั่งที่ทอดแบบมาจากพระธรรมกายในตัว หากนั่งได้ตามนี้ หลังไม่งอ ไหล่ไม่ยกหรืองุ้นหรือแอ่นจนเกินไป คอไม่ตก จะเป็นท่านั่งที่สบายมากๆเลยทีเดียวครับ สามารถประคองใจได้ดี หาศูนย์กลางกายได้ง่ายกว่าท่านั่งท่าอื่น และที่สำคัญคือไม่หลับง่ายด้วยครับ เป็นท่าที่จัดได้ว่า ไม่ตรึงจนเกินไป และไม่หย่อนจนเกินไปครับ
การวางมือนั้นจริงๆแล้ววางได้หลายแบบครับ แต่ที่เป็นมาตราฐานที่สุดคือมือขวาทับมือสายนิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย ด้วยสาเหตุที่ว่า หากวางมือในลักษณะดังกล่าว แล้ววางแนบชิดติดลำตัว ช่วงแขนจะถูกดันด้วยข้อมือ ทำให้สามารถคํายันร่างกายได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยให้ตัวเราตั้งตรงไม่โน้มมาข้างหน้าได้ง่ายๆครับ
หากวางมือจนนิ้วชี้และนิ้วโป้งเลื่อมกันหรือเกยกัน ไหล่เราจะห่องุ้มเขาหากันโดยอัตโนมัตืจะกลายเป็นว่าหย่อนจนเกินไปทำให้หลับง่าย แต่ถ้านิ้วโป้งกับนิ้วชี้ห่างกันมาจะส่งผลทำให้ไหล่เราขยายออกในลักษณะคล้ายการแอ่นอก ซึ่งจะทำให้ตึงเกินไป ทำให้นั่งได้ไม่สบายเท่าที่ควร
ในเรื่องการวางมือนี้ลองไปทำดูก็ได้นะครับและลองสังเกตุให้ดี ตอนแรกที่ผมนั่งก้ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ ก็นั่งโดยวางมือพาดน่าแข้ง ผลที่ได้ก็คือ ไม่ว่าท้องจะหิวหรืออิ่มพอดี หรืออิ่มมาก หลับตลอดครับ และที่สำคัญ ปวดเมื่อยจนเกินกว่าจะบรรยาย เพราะร่างกายนั่งฝืนธรรมชาติ แต่เมื่อผมได้ไปปฏิบัติธรรม พระอาจารย์ท่านแนะมาอย่างที่ผมได้กล่าวมาในข้างต้น และผมก็ได้ลองทำตามและสังเกตุดูแล้ว เป็นอย่างที่พระอาจารย์ท่านบอกจริงๆครับ ตั้งแต่นั้นมาผมฝึกนั่งในท่านี้มาตลอด นั่งให้หลังตรงไม่งอไม่งุ้ม จัดวางมือตามแบบฉบับ ปรับเบาะอาสนะ แรกๆอาจดูขัดๆและมีเมื่อยบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อร่างกายชินปุ๊บ ผมบอกได้เต็มปากเลยนะครับว่า ถ้าท้องไม่อิ่มจนเกินไป นั่งในท่ามาตราฐานนี้สามารถทำให้นั่งได้ทนและนานที่สุด และหากจัดอาสนะหรือเบาะลองนั่งให้เหมาะกับก้นกบของเราแล้วล่ะก็ ไม่ปวดไม่เมื่อยเลยครับ อย่างมากแค่ขาชาเท่านั้น
ส่วนการนั่งเก้าอี้นั้น ขอบอกณ.ที่นี้เลยนะครับ เหมาะสำหรับคนแก่ แต่ไม่เหมาะกับวัยรุ่น แต่หากวัยรุ่นจะนั่งก็ได้ครับไม่มีปัญหาเพราะทำให้นั่งได้สบายที่สุดแล้ว แต่มีข้อแม้เล็กน้อย คือ ต้องนั่งตัวตรง ห้ามนั่งหลังพิงพนักเด็ดขาดนะครับ ถ้าหากพิงเมื่อไหร่ หลับเมื่อนั้นครับ ไม่เฉพาะแค่เก้าอี้ แม้เบาะนั่งที่มีพนักพิงเหมือนกันครับ เวลานั่งต้องเขยิบมาข้างหน้าเล็กน้อย หลังต้องไม่แตะพนักพิงโดยเด็ดขาด แตะเมื่อไหร่เป็นหลับเมื่อนั้นครับ ขอบอกๆ
แต่ท่าที่เป็นมาตรฐาน คือท่านั่งที่เรียกว่าขัดสมาธิคู้บังลังค์ โดยนั่งเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้มือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย เป็นท่านั่งที่ทอดแบบมาจากพระธรรมกายในตัว หากนั่งได้ตามนี้ หลังไม่งอ ไหล่ไม่ยกหรืองุ้นหรือแอ่นจนเกินไป คอไม่ตก จะเป็นท่านั่งที่สบายมากๆเลยทีเดียวครับ สามารถประคองใจได้ดี หาศูนย์กลางกายได้ง่ายกว่าท่านั่งท่าอื่น และที่สำคัญคือไม่หลับง่ายด้วยครับ เป็นท่าที่จัดได้ว่า ไม่ตรึงจนเกินไป และไม่หย่อนจนเกินไปครับ
การวางมือนั้นจริงๆแล้ววางได้หลายแบบครับ แต่ที่เป็นมาตราฐานที่สุดคือมือขวาทับมือสายนิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย ด้วยสาเหตุที่ว่า หากวางมือในลักษณะดังกล่าว แล้ววางแนบชิดติดลำตัว ช่วงแขนจะถูกดันด้วยข้อมือ ทำให้สามารถคํายันร่างกายได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยให้ตัวเราตั้งตรงไม่โน้มมาข้างหน้าได้ง่ายๆครับ
หากวางมือจนนิ้วชี้และนิ้วโป้งเลื่อมกันหรือเกยกัน ไหล่เราจะห่องุ้มเขาหากันโดยอัตโนมัตืจะกลายเป็นว่าหย่อนจนเกินไปทำให้หลับง่าย แต่ถ้านิ้วโป้งกับนิ้วชี้ห่างกันมาจะส่งผลทำให้ไหล่เราขยายออกในลักษณะคล้ายการแอ่นอก ซึ่งจะทำให้ตึงเกินไป ทำให้นั่งได้ไม่สบายเท่าที่ควร
ในเรื่องการวางมือนี้ลองไปทำดูก็ได้นะครับและลองสังเกตุให้ดี ตอนแรกที่ผมนั่งก้ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ ก็นั่งโดยวางมือพาดน่าแข้ง ผลที่ได้ก็คือ ไม่ว่าท้องจะหิวหรืออิ่มพอดี หรืออิ่มมาก หลับตลอดครับ และที่สำคัญ ปวดเมื่อยจนเกินกว่าจะบรรยาย เพราะร่างกายนั่งฝืนธรรมชาติ แต่เมื่อผมได้ไปปฏิบัติธรรม พระอาจารย์ท่านแนะมาอย่างที่ผมได้กล่าวมาในข้างต้น และผมก็ได้ลองทำตามและสังเกตุดูแล้ว เป็นอย่างที่พระอาจารย์ท่านบอกจริงๆครับ ตั้งแต่นั้นมาผมฝึกนั่งในท่านี้มาตลอด นั่งให้หลังตรงไม่งอไม่งุ้ม จัดวางมือตามแบบฉบับ ปรับเบาะอาสนะ แรกๆอาจดูขัดๆและมีเมื่อยบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อร่างกายชินปุ๊บ ผมบอกได้เต็มปากเลยนะครับว่า ถ้าท้องไม่อิ่มจนเกินไป นั่งในท่ามาตราฐานนี้สามารถทำให้นั่งได้ทนและนานที่สุด และหากจัดอาสนะหรือเบาะลองนั่งให้เหมาะกับก้นกบของเราแล้วล่ะก็ ไม่ปวดไม่เมื่อยเลยครับ อย่างมากแค่ขาชาเท่านั้น
ส่วนการนั่งเก้าอี้นั้น ขอบอกณ.ที่นี้เลยนะครับ เหมาะสำหรับคนแก่ แต่ไม่เหมาะกับวัยรุ่น แต่หากวัยรุ่นจะนั่งก็ได้ครับไม่มีปัญหาเพราะทำให้นั่งได้สบายที่สุดแล้ว แต่มีข้อแม้เล็กน้อย คือ ต้องนั่งตัวตรง ห้ามนั่งหลังพิงพนักเด็ดขาดนะครับ ถ้าหากพิงเมื่อไหร่ หลับเมื่อนั้นครับ ไม่เฉพาะแค่เก้าอี้ แม้เบาะนั่งที่มีพนักพิงเหมือนกันครับ เวลานั่งต้องเขยิบมาข้างหน้าเล็กน้อย หลังต้องไม่แตะพนักพิงโดยเด็ดขาด แตะเมื่อไหร่เป็นหลับเมื่อนั้นครับ ขอบอกๆ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#6
โพสต์เมื่อ 07 November 2006 - 10:04 AM
โอ โห เด็กขนาดนี้ยังสนใจเรื่องธรรมะด้วย ทำบุญมาดีจังเลย
ดีแล้วจ้า ที่ถามคำถามนี้เพราะคนสงสัยกันมาก
พี่สาธุโยคีก็สงสัยเหมือนกัน และเพิ่งจะเข้ามาในเว็ปนี้ใหม่เหมือนกัน
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านน่ะครับ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยคน
สาธุ
ดีแล้วจ้า ที่ถามคำถามนี้เพราะคนสงสัยกันมาก
พี่สาธุโยคีก็สงสัยเหมือนกัน และเพิ่งจะเข้ามาในเว็ปนี้ใหม่เหมือนกัน
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านน่ะครับ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยคน
สาธุ
การไม่กระทำบาปทั้วปวง
การยังบุญกุศลให้ถึงพร้อม
การยังจิตใจให้ผ่องแผ้ว
กรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ
การยังบุญกุศลให้ถึงพร้อม
การยังจิตใจให้ผ่องแผ้ว
กรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ
#7
โพสต์เมื่อ 07 November 2006 - 04:17 PM
ขอขอบคุณ และอนุโมทนา สาธุ กับ พี่ๆ ทุกท่านด้วยน่ะค่ะ
#8
โพสต์เมื่อ 07 November 2006 - 10:48 PM
เยี่ยมเลยอนุโมทนาด้วยนะ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#9
โพสต์เมื่อ 12 November 2006 - 11:13 AM
QUOTE
ท่านั่งสมาธิ คู้บัลลังก์
สวยสง่าค่ะถอดแบบมาเลยนะคะ แต่ข้างในนั้นสวยกว่านี้อีกนะคะ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"
น้ำฝนลูกพระธัมฯ
#10
โพสต์เมื่อ 12 November 2006 - 06:21 PM
ขอขอบคุณ และอนุโมทนา สาธุ จะนำไปใช้ด้วย ขอบคุณครับ

...โปรดพิจารณา...นี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว... ถ้าผิดพลาดประการใด...วอนผู้รู้ หรือ คิดแตกต่างช่วยแก้ไขให้ด้วย _/I\_ ขอบคุณครับ