
สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์
#1
โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 08:06 PM
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;
ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ
๑. กามราคะ
๒. ปฏิฆะ
๓. มานะ
๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
๕. วิจิกิจฉา
๖. สีลัพพตปรามาส
๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)
๘. อิสสา (ความริษยา)
๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
๑๐. อวิชชา
#2
โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 08:53 PM
คำว่า พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้รู้เท่านั้น.
เวลาคนเกิดมาก็มี ชื่อ เพื่อให้รู้ว่าใครเป็นใครเท่านั้นเอง.
เราควรมองสิ่งที่ท่าน *ละได้* และ *ประโยชน์ที่ได้รับ* จากการละสังโยชน์แต่ละข้อได้.
เหตุใดท่านจึงละได้
เหตุใดท่านจึงถอนทิฐิ( มิจฉาทิฐิ )ได้
เพราะท่านเห็นตามความเป็นจริง( ไตรลักษณ์ + อริยสัจจ์สี่ )
ท่านเห็นได้อย่างไร
เพราะเหตุที่ท่านฟัง / อ่าน ธรรมะ แล้วนำมาพิจารณาบ่อยๆ
นี่คือเหตุที่ทำไมเราจึงต้อง ฟัง / อ่าน ธรรมะ บ่อยๆ
เพื่อเราจะได้พิจารณาบ่อยๆ (พิจารณาไตรลักษณ์ + อริยสัจจ์สี่ - จาก กาย + จิต ที่เห็นได้ชัดและง่ายที่สุด )
เพื่อเราจะได้ละบ่อยๆ
เพื่อเราจะได้ถอน (ทิฐิเืดิมออก - อวิชชา) บ่อยๆ
ทุกข์ก็ลดลงบ่อยๆ
ขอความตั้งใจมั่นในธรรมของคุณจุลจักร ยังผลแห่งการละ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพรตปรามาส ได้ บังเกิดขึ้น
หากละได้แล้วก็ขอให้มุ่งหน้าต่อไปจนถึงซึ่งความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง
โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน
โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่
โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง
โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.
- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้
#3
โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 10:31 PM
พระอนาคามี คือผู้ที่ไปไม่กลับ จากนั้นจึงบำเพ็ญเพียร เพื่อบรรลุธรรมในขั้นถัดไป
และพระอรหันต์ ดับกิเลส อาสวะหมดสิ้น หลุดพ้นจากวัฎฎะสงสารทั้งปวง โดยสิ้นเชิง
ในชาตินี้หากผู้ใดบรรลุธรรมในขั้นโสดาบันขึ้นไป
จึงเรียกว่าเป็น อริยบุคคล ที่เข้าถึงธรรมในขั้นแรก แม้จะอยู่ในเพศฆราวาสก็สามารถทำได้
ดังนั้น เป็นเห็นภัยของ กิเลส อาสวะทั้งหลาย ว่าเป็นทุกข์แล้ว
ก็ควรหมั่น ศึกษา ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ด้วย มรรคแปด
#4
โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 04:35 AM
ข้าพเจ้าใคร่ ขอขอบคุณ และ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ทุกๆท่าน สำหรับ ทุกๆความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อ ผู้อ่าน และผู้ศึกษา อย่างเช่นข้าพเจ้าเป็นต้น ด้วยนะครับ



สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ



ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก คลิ๊กที่นี้
Who am I?__>>> CLick Here <<< to see my answer Post # 7
.
รวมภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า: คลิ๊กที่นี้คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 58 files, 120.99 MB, for easy listening dharmas.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 121 really-good-to-read e-books, 295.67 MB.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Free Download Manager ช่วย Download ไฟล์ใหญ่ๆ ต่างๆ ฟรีครับฟรี
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Acrobat Reader V.5
.
The basic knowledge of Buddhism to become a better buddhist Edition 2 คลิ๊กที่นี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
-= Hillary Clinton =-.... >>>>>>> CLicK HeRe <<<<<< To Be wisher, To Be smarter, and To Know Better !!!
#5
โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 07:30 AM
#6
โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 06:04 PM
1. แสวงหาครูดี
2. ฟังคำครู
3. ขบคิดพิจารณาตรองตามคำครู
4. ปฏิบัติตามคำครู ข้อสุดท้ายนี้ผมว่า สำคัญที่สุดน่ะครับ สามข้อแรกย่อมช่วยให้เราเกิดเพียง สุตมยปัญญา (ปัญญาจากการฟัง) จินตมยปัญญา (ปัญญาจากการคิด) แต่ข้อสุดท้ายนี่สิ จะทำให้เราเกิด ภาวนามยปัญญา (ปัญญาจากการปฏิบัติ) น่ะครับ เหมือนคนอ่านว่า หนังสือว่า พริกเนี่ยเผ็ด เขายิ่งอ่าน หนังสือก็ยิ่งย้ำว่า พริกนี่เผ็ด เขาก็จำไว้ว่า พริกนี่เผ็ด แต่ไม่เข้าใจถ่องแท้ ต่อมา เขาลองมาขบคิดใคร่ครวญพิจารณาตามตำรา ว่าพริกเนี่ยเผ็ด โดยผู้กินจะเกิดความรู้สึกแสบร้อนขึ้นที่ลิ้น เขาก็เข้าใจเพิ่มขึ้นระดับหนึ่งแต่ยังไม่เข้าใจถึงความเผ็ดของพริกอย่างสมบูรณ์ มันแสบยังไง มันร้อนแบบไหน ยากที่จะเข้าใจสมบูรณ์
ต่อเมื่อเขาได้ลงมือกินพริกเข้าไปเมื่อไหร่ เมื่อนั้น ปํญญาจากการปฏิบัติเกิดขึ้น เขาจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า พริกเนี่ยเผ็ดยังไง
#7
โพสต์เมื่อ 31 January 2007 - 11:27 AM
ธรรมะที่เสนอนี้สุดยอดเลยค่ะ ผู้ปราถนาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และเป็นผู้พ้นทุกข์ ควรน้อมธรรมะนี้เข้าไว้ในจิตในใจ
พิจารณาบ่อยๆ ปัญญาก็จะเกิด และทุกข์ก็จะค่อยๆดับ เขาก็สามารถลิ้มรส *นิพพาน* ได้ก่อนตาย.
ขอกุศลผลบุญนี้ยังให้ คุณ Peacefulness และครอบครัว
ได้ดวงตาเห็นทุกข์ เห็นความเกิดขึ้นของทุกข์ เห็นเหตุของทุกข์ เห็นความดับไปของทุกข์
และเห็นทางพ้นทุกข์ และก้าวออกจากทุกข์ทั้งสิ้นทั้งปวง
สาธุ ค่ะ
โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน
โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่
โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง
โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.
- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้
#8
โพสต์เมื่อ 01 February 2007 - 09:19 PM