คำพูดดีหรือไม่ดี ก็ล้วนแล้วคือ "ลม"
จะออกมาจากแหล่งใด ก็ยังคือ "ลม"
ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ธาตุใด ๆ
หากรู้จักรับ รู้จักใช้ จักให้คุณให้โทษต่างกัน
เราจงเป็นผู้เลือก ...เลือกในสิ่งที่ใจปรารถนา
สิ่งใดไม่ปรารถนาไม่ใคร่ได้มา ..จงอย่านำพา อย่ารับเอา...
..พระเดชพระคุณครูไม่ใหญ่ เคยฝากไว้
"..อย่าคิดต่อ...ถ้าคิดต่อก็เป็นเรื่องเป็นราว ถ้าไม่คิดต่อก็เป็นลมเป็นแล้งไป"
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: โพสต์: usr16698
สถิติเว็บบอร์ด
- กลุ่ม Members
- โพสต์ 4
- ดูโปรไฟล์ 1917
- อายุ ไม่เปิดเผย
- วันเกิด ไม่เปิดเผย
-
Gender
ไม่เปิดเผย
0
Neutral
เครื่องมือผู้ใช้งาน
โพสต์ที่ฉันโพสต์
ในกระทู้: DhammaVariety: นินทา
15 June 2007 - 03:02 PM
ในกระทู้: วัตถุมงคล ไม่มีในมงคลของพระพุทธเจ้า!!
15 June 2007 - 02:38 PM
เท่าที่เข้าใจ "พระของขวัญ" เป็นธรรมเนียมที่ พระเดชพระคุณหลวงปู่สดฯ
จัดทำขึ้นเพื่อมอบเป็นที่ระลึกสำหรับญาติโยมที่ร่วมบุญในวาระต่าง ๆ
เช่น สร้างอาคารโรงเรียนปริยัติ หรืองานบุญอื่นๆของวัดปากน้ำฯ
เพื่อให้ผู้รับพระของขวัญไปนั้นได้ตรึกระลึกนึกถึงบุญที่ตัวเองได้สร้างได้ทำ ในทุกครั้งที่เห็นพระของขวัญ
ส่วนในเรื่องรูปลักษณ์ของพระของขวัญ ที่วัดพระธรรมกายนั้นก็น่าจะเป็นเรื่องของกลยุทธในการประชาสัมพันธ์
ในแง่เชิญชวนให้ร่วมบุญตามปรารถนาของเจ้าภาพญาติโยมทั้งหลายเอง
หากจะพูดไปแล้วก็นับได้ว่าวัดใช้การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งก็ไม่ได้แปลกหรือแตกต่างไปจากการเชิญชวนให้ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลขององค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ เลย
อีกสักนิดนึง จำนวนปัจจัยที่วัดกำหนดเอาไว้นั้น ขอให้ลองนึกให้เห็นภาพของถาวรวัตถุ ความสะดวกสบายทั้งหลายในวัด
โดยเฉพาะถาวรวัตถุต่างๆ ที่พระเดชพระคุณคุณครูไม่ใหญ่ประสงค์ให้สร้างขึ้น มีความแข็งแรงคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
ไม่ต้องซ่อมแซมกันเป็นรายปี (ในข้อนี้เห็นจะเป็นจุดอ่อนของวัดโดยทั่วประเทศมานาน)
ทีนี้เราๆท่านๆจะร่วมบุญมากหรือน้อยก็ให้เป็นไปตามหลักวิชชาในการทำบุญให้ทาน
ความขุ่นใสของจิตใจ ก่อนทำ-ขณะทำ-หลังทำบุญ รวมทั้งวัตถุทาน(ในที่นี้ก็หมายถึงกะตังค์ที่เราจะร่วมบุญน่ะค่ะ)
ก็ต้องได้มาอย่างบริสุทธิ์ เราก็เป็นเจ้าของบุญนั้นคนเดียวเต็มๆ
แต่ถ้าหยิบยืมของใครมา บุญนั้นก็ไปเป็นของเจ้าของทรัพย์นั้น..แทนที่จะเป็นของเรา
แต่เราก็ได้อยู่บ้างล่ะในฐานะผู้ทำบุญ
ก็ทำบุญตามกำลังทรัพย์ของเราเองนี่ล่ะดีที่สุด
การร่วมปัจจัยทำบุญก็จัดเป็นการให้ทาน การทำทาน เป็น 1 ใน บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ
ตานี้เราก็ยังมีอีกตั้ง 9 วิธีที่จะทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการเชียวนะคะ
จัดทำขึ้นเพื่อมอบเป็นที่ระลึกสำหรับญาติโยมที่ร่วมบุญในวาระต่าง ๆ
เช่น สร้างอาคารโรงเรียนปริยัติ หรืองานบุญอื่นๆของวัดปากน้ำฯ
เพื่อให้ผู้รับพระของขวัญไปนั้นได้ตรึกระลึกนึกถึงบุญที่ตัวเองได้สร้างได้ทำ ในทุกครั้งที่เห็นพระของขวัญ
ส่วนในเรื่องรูปลักษณ์ของพระของขวัญ ที่วัดพระธรรมกายนั้นก็น่าจะเป็นเรื่องของกลยุทธในการประชาสัมพันธ์
ในแง่เชิญชวนให้ร่วมบุญตามปรารถนาของเจ้าภาพญาติโยมทั้งหลายเอง
หากจะพูดไปแล้วก็นับได้ว่าวัดใช้การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งก็ไม่ได้แปลกหรือแตกต่างไปจากการเชิญชวนให้ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลขององค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ เลย
อีกสักนิดนึง จำนวนปัจจัยที่วัดกำหนดเอาไว้นั้น ขอให้ลองนึกให้เห็นภาพของถาวรวัตถุ ความสะดวกสบายทั้งหลายในวัด
โดยเฉพาะถาวรวัตถุต่างๆ ที่พระเดชพระคุณคุณครูไม่ใหญ่ประสงค์ให้สร้างขึ้น มีความแข็งแรงคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
ไม่ต้องซ่อมแซมกันเป็นรายปี (ในข้อนี้เห็นจะเป็นจุดอ่อนของวัดโดยทั่วประเทศมานาน)
ทีนี้เราๆท่านๆจะร่วมบุญมากหรือน้อยก็ให้เป็นไปตามหลักวิชชาในการทำบุญให้ทาน
ความขุ่นใสของจิตใจ ก่อนทำ-ขณะทำ-หลังทำบุญ รวมทั้งวัตถุทาน(ในที่นี้ก็หมายถึงกะตังค์ที่เราจะร่วมบุญน่ะค่ะ)
ก็ต้องได้มาอย่างบริสุทธิ์ เราก็เป็นเจ้าของบุญนั้นคนเดียวเต็มๆ
แต่ถ้าหยิบยืมของใครมา บุญนั้นก็ไปเป็นของเจ้าของทรัพย์นั้น..แทนที่จะเป็นของเรา
แต่เราก็ได้อยู่บ้างล่ะในฐานะผู้ทำบุญ
ก็ทำบุญตามกำลังทรัพย์ของเราเองนี่ล่ะดีที่สุด
การร่วมปัจจัยทำบุญก็จัดเป็นการให้ทาน การทำทาน เป็น 1 ใน บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ
ตานี้เราก็ยังมีอีกตั้ง 9 วิธีที่จะทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการเชียวนะคะ
ในกระทู้: ความสำคัญของการสะกดภาษาไทยให้ถูกต้อง
14 June 2007 - 03:23 PM
เพิ่งได้แวะเข้ามาเยี่ยมบอร์ดนี้นะคะ..
ตราบใดที่คนไทยเรียนรู้ภาษาไทยอย่างถูกต้องและลึกซึ้งทั้งการพูดการเขียนรวมทั้งความหมาย..แล้วนั้น
"การวิบัติของภาษา" จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แม้ในบางยุคบางสมัยจะมีคำศัพท์ใหม่ๆ ถูกนำมาใช้
นั่นจะเป็นไปเพียงชั่วคราว แล้วจะหายไปเองตามกาลเวลา
แม้แต่การใช้ภาษาต่างประเทศปนกับภาษาไทย ก็ไม่เป็นปัญหาที่จะทำให้ภาษาไทยเสียหาย
ถ้าจะมีปัญหาก็มีเฉพาะส่งผลให้บุคลิกของผู้ใช้ดูไม่ดี..เท่านั้นเอง
ทั้งนี้ทั้งนั้นจึงขอฝากไว้ให้ตระหนักถึง "กาลเทศะ" ในการใช้ภาษา.. กาลเทศะใดควรหรือไม่ควรในสิ่งใด...ก็เพียงพอ
"ภาษาราชการ" ต้องทำหน้าที่เป็น "หลัก" ของภาษา และคนไทยทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริง..
ส่วน "ภาษาพูด-ภาษาเขียนอย่างไม่เป็นทางการ" ก็ให้เป็นไปตามสะดวก
หากแต่เมื่อใดต้องลงมือเขียน ...จำเป็นต้องกวดขันเอาจริงเอาจังให้ใช้ภาษาราชการที่ถูกต้อง...เหมาะสมตามหลักภาษาไทย
และ..ภาษาไทยไม่มีวันวิบัติตราบเท่าที่ยังมีแผ่นดินที่ชื่อ "ประเทศไทยและมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทย"
ตราบใดที่คนไทยเรียนรู้ภาษาไทยอย่างถูกต้องและลึกซึ้งทั้งการพูดการเขียนรวมทั้งความหมาย..แล้วนั้น
"การวิบัติของภาษา" จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แม้ในบางยุคบางสมัยจะมีคำศัพท์ใหม่ๆ ถูกนำมาใช้
นั่นจะเป็นไปเพียงชั่วคราว แล้วจะหายไปเองตามกาลเวลา
แม้แต่การใช้ภาษาต่างประเทศปนกับภาษาไทย ก็ไม่เป็นปัญหาที่จะทำให้ภาษาไทยเสียหาย
ถ้าจะมีปัญหาก็มีเฉพาะส่งผลให้บุคลิกของผู้ใช้ดูไม่ดี..เท่านั้นเอง
ทั้งนี้ทั้งนั้นจึงขอฝากไว้ให้ตระหนักถึง "กาลเทศะ" ในการใช้ภาษา.. กาลเทศะใดควรหรือไม่ควรในสิ่งใด...ก็เพียงพอ
"ภาษาราชการ" ต้องทำหน้าที่เป็น "หลัก" ของภาษา และคนไทยทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริง..
ส่วน "ภาษาพูด-ภาษาเขียนอย่างไม่เป็นทางการ" ก็ให้เป็นไปตามสะดวก
หากแต่เมื่อใดต้องลงมือเขียน ...จำเป็นต้องกวดขันเอาจริงเอาจังให้ใช้ภาษาราชการที่ถูกต้อง...เหมาะสมตามหลักภาษาไทย
และ..ภาษาไทยไม่มีวันวิบัติตราบเท่าที่ยังมีแผ่นดินที่ชื่อ "ประเทศไทยและมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทย"
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: โพสต์: usr16698
- Privacy Policy
- เงื่อนไข ข้อตกลง และกฏระเบียบของเว็บไซต์ DMC ·