จริงๆเรื่องนี้ในสมัยของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็น่ามีคนไปถามปัญหาทำนองนี้เช่นกันแหละครับ แต่ผมยังไม่มีเวลาไปหาข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องนี้ เอาเป็นว่าจากความรู้เบื้องต้นเท่าที่ผมมีอยู่ (ซึ่งก็ไม่เเน่ว่าจะถูกต้องนะครับ) คือธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ พระองค์ทรงเทศนาไว้นั้นมีหลายนัยครับ เช่น มรรคมีองค์แปด ที่เราชาวพุทธมักจะได้ยินกันบ่อยๆ แต่จริงๆ มรรคมีองค์แปด ยังแบ่งได้เป็นสองนัย คือ โลกียะ กับ โลกุตตระ มรรคมีองค์แปด
ตามความใน มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗) เป็นต้นครับ
http://www.84000.org...amp;pagebreak=0
อีกตัวอย่างครับคือโพธิปักขิยธรรม ในพระวินัยที่มีบันทึกไว้ก็น่าสนใจครับ
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ สุทธิกะ มรรคภาวนา
http://www.84000.org.../...9190&Z=9365
ซึ่งก็น่าคิดครับว่าหมายความว่าอย่างไร
คำศัพท์ธรรมะที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกอาจจะไม่เหมือนกันไปหมดทุกที หรือพูดอีกอย่างคืออาจมีหลายนัยยะครับ ซึ่งต้องตีความกันอีกทีครับ
การศึกษาพระพุทธศาสนาจำเป็นต้องศึกษาภาษาบาลีด้วยครับ อีกอย่างครับคอนเซ็ปบางอย่างของคนในยุคนี้กับยุคพุทธกาล ก็อาจจะไม่เหมือนกันครับ ซึ่งถ้าจะให้ดีต้องศึกษาวัฒนธรรมของคนในยุคนั้นด้วยครับ ก็อาจจะทำให้เข้าใจความหมายของคำพูดของคนในยุคนั้นได้ดีขึ้นครับ
หรืออีกทางเลือกหนึ่งก็ปฏิบัติให้เข้าถึงครับ ตามวิธีการที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเเนะนำมาแล้วลองมาเปรียบเทียบกันดูครับ
อย่าคิดมากนะครับ
