ง่ายที่สุดครับคือ นั่งสมาธิทำใจหยุดใจนิ่ง กลั่นใจด้วยสมาธิ
แต่ถ้าจะว่าตามลำดับขั้นตอนก็ต้อง ทำทานเพื่อให้ใจสบายคลายจากความยึดติด
รับษาศีลเพื่อชำระกายให้บริสุทธิหมดจดเมื่อหยาบๆบริสุทธิืหมดจดได้ จิตใจก็จะสามารถ
ทำให้หยุดนิ่งได้ง่ายและเมื่อใจหยุดได้จิตก็จะบริสุทธิ์
จิตที่บริสุทธิ์ ก็คือจิตที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลงผิดนั่นเอง
และความโลภ โกรธ หลง ก็กำจัดได้ ด้วย ทาน ศีล ภาวนา นี่เองครับ
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: โพสต์: Brighten The Mind
Brighten The Mind
เป็นสมาชิกตั้งแต่ 27 Jan 2009ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Feb 03 2009 10:17 PM





สถิติเว็บบอร์ด
- กลุ่ม Members
- โพสต์ 6
- ดูโปรไฟล์ 6742
- อายุ ไม่เปิดเผย
- วันเกิด ไม่เปิดเผย
-
Gender
ไม่เปิดเผย
0
Neutral
เครื่องมือผู้ใช้งาน
โพสต์ที่ฉันโพสต์
ในกระทู้: ขอความเมตตาจากท่านผู้รู้ช่วยตอบทีครับ
03 February 2009 - 10:18 PM
ในกระทู้: อยากแบ่งปันเรื่องในพระไตรปิฎกแบบง่ายๆ
03 February 2009 - 10:05 PM
ขออภัยที่นะครับที่มาต่อตอนจบช้าเพราะเป็นช่วงวันอาทิตย์ต้นเดือนพอดี
เลยไม่ได้เข้ามา ก็ขอเอาบุญอาทิตย์ต้นเดือนและบุญมาฆะประทีปในวันมหาปูชนียาจารย์มาฝากนะครับ
มาต่อกันตอนจบเลยดีกว่าครับ...
ขณะที่พระเถระกำลังกล่าวอยู่นั่นเอง
ภิกษุผู้กล่าวหาท่านก็เกิดความกระสับกระสายเร่าร้อน
เหมือนอย่างกับมีไฟเผาไหม้อยู่ภายในร่างกาย
นั่งอยู่ไม่ติด คิดว่า “เราได้ทำกรรมหนักแล้ว ถ้าเราไม่ขอโทษ
หัวเราต้องแตกเป็น 7 เสี่ยงแน่ๆ”
จึงรีบเข้าไปหมอบแทบพระบาทมูลของพระบรมศาสดา
แล้วประกาศความผิดของตน ที่ได้กล่าวหาพระเถระด้วยเรื่องไม่จริง
ไม่มีเหตุ
พระพุทธองค์จึงได้ตรัสกับพระสารีบุตรด้วยพระสุรเสียงอันประกอบด้วยพระมหากรุณาว่า “สารีบุตร เธอจงให้อภัยบุรุษเปล่านั้นก่อนที่ศีรษะของบุรุษเปล่าจะแตก 7 เสี่ยงเถิด”
สิ้นสุดพระสุรเสียง พระเถระก็ได้่เข้าไปนั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี*ต่อหน้า
ภิกษุรูปนั้นแล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้อภัยภิกษุรูปนี้ และถ้าข้าพระองค์มีโทษ ก็ขอให้ภิกษุนี้ให้อภัยข้าพพระองค์ด้วย”
เหล่าภิกษุที่อยู่ในมหาสมาคมนั้นพอเห็นเหตุการเช่นนี้ก็พูดคุยกันว่า
“พวกท่านจงดู พระเถระผู้มีคุณไม่ทรามนี้เถิด พระเถระโกรธไม่เคืองภิกษุผู้กล่าวหาท่านด้วยเรื่องไร้สาระไม่จริงนี้แม้สักนิดเดียว
แถมยังนั่งกระหย่งประคองอัญชลีขอโทษต่อหน้าภิกษุนี้อีกต่่างหาก”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สดับเสียงที่ภิกษุทั้งหลายพูดคุยกันจึงได้ตรัสถาม
ถึงเรื่องที่สนทนากัน เมื่อเหล่าภิกษุกล่าบทูลเรื่องที่พูดคุยกันให้ทรงทราบแล้ว
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครหรอกที่จะสามารถทำให้สารีบุตรผู้เป็นบุตรของเราให้โกรธหรืองขัดเคืองแม้เพียงเล็กน้อย เพราะจิตของบุตรของเรานั้นเป็นดุจแผ่นดินและเสาเขื่อนที่ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด
ขยายความคำเปรียบเทียบนิดนึงนะครับ
ที่พระสารีบุตรบอกว่า ท่านเองเหมือนแผ่นดินก็เพราะว่า
แผ่นดินนั้นไม่ว่าใครจะทิ้งของสกปรกของหอมของเหม็น
หรืออะไรก็ตามแต่ แผ่นดินนั้นก็ไม่เคยบ่นหรือเลือกที่จะรับเลย
ที่ว่าเหมือนน้ำก็เช่นเดียวกัน น้ำย่อมพัดพาเอาทุกสิ่งไปไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่ตกลงไปในน้ำ
ที่ว่าเหมือนลม เพราะลมพัดพาเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปไม่เลือก
ที่ว่าเหมือนไฟ เพราะไฟก็เผาทุกสิ่งทุกอย่างที่โยนเข้าไปในกองไฟ
ที่ว่าเหมือนผ้าขี้ริ้ว เพราะผ้าขี้ริ้วนั้นใช้เช็ดทุกอย่างจะสะอาดหรือไม่สะอาดก็ตามแต่เช็ดแล้วสิ่งที่ถูกเช็ดก็จะสะอาด
ที่ว่าเหมือนเด็กจัณฑาลน้อย เพราะในประเทศอินเดียนั้นเขานับถือกันแบบแบ่งชนชั้นวรรณะซึ่งก็มีอยู่ด้วยกัน 4 วรรณะคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์(นักธุรกิจ,พ่อค้าแม่ขาย) ศูตร(ชนชั้นแรงงาน) แต่ถ้าวรรณะใดมีบุตรข้ามวรรณะกันเช่น กษัตริย์มีบุตรกับศูตร บุตรที่เกิดมานั้นจะเรียกว่าเป็นจัณฑาล เค้าว่าเป็นคนกาลกิณี ไม่มีใครคบด้วยสังคมก็รังเกียจต้องเที่ยวขอทานคนอื่นเค้ากิน นี่ก็เช่นเดียวกันท่านเปรียบตัวท่านเหมือนเด็กจัณฑาลที่ถือเศษกระเบื้องเข้าเมืองไปขอทานต้องเจียมเนื้อเจียมตัว
ไม่มีความอาจหาญ ไม่ยกตัวเป็นต้น
ที่ว่าเหมือนโคเขาขาด เพราะปกติโคมีอาวุธคือเขาทั้งสองข้างเมื่อโคมีเขาก็คือมีอาวุธ ก็จะหยิ่งผยอง ไม่กลัวใคร แต่เมื่อเขาขาดก็เหมือน เสือขาดเขียวเล็บ ค่อยๆเดินไปไม่เกะกะระรานเพราะตนเองหมดพิษสงใดๆ
อุปมาที่ว่าเหมือนมีซากศพพันคอ ก็คือท่านเปรียบเทียบว่าเหมือนกับหนุ่มสาวที่ชอบแต่งตัวรักสวยรักงาม แล้วมีคนเอาซากศพซากสัตว์เอามาพันคอก็รังเกียจ ท่านเองก็รังเกียจร่างกายที่เปื่อยเน่านี้ที่มีสิ่งสกปรกไหลออกทางทวารทั้ง 9 ตลอดเวลา พิจารณาร่างกายโดยความไม่สะอาดอยู่เสมอ
อุปมาที่เหมือนคนทูนถาดน้ำมัน ก็คือเวลาคนทูนถาดน้ำมันไว้บนหัวก็ต้องค่อยๆเดินไปอย่างระมัดระวัง ถ้าเดินเร็ว หรือวิ่งน้ำมันก็จะหก ท่านเองก็รักษาระมัดระวังอิริยาบทอยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน
*วิธีทำความเคารพแบบหนึ่งของคนอินเดียคือการนั่งคล้ายๆนั่งยองๆแต่จะไม่นั่งทิ้งก้นลงไป ขาท่อนบนจะขนานกับพื้นและการประคองอัญชลีก็คือการยืนแขนท่อนล่างออกไปข้างหน้าประมาณ 45 องศาแล้วหงายฝ่ามือทั้งสองขึ้น
เป็นอย่างไรบ้างครับเรื่องที่นำมานี้พอผมอ่านแล้วรู้สึกซึ้งมากเลย
นี่ขนาดพระสารีบุตรท่านมีคุณธรรมมากขนาดนี้ แต่ท่านไม่เคยลำพอง
ไม่ถือตัว แต่กลับทำตัวติดดินมากๆนี่ละครับคนที่มีคุณธรรมดีจริงก็จะไม่โอ้อวดตน ไม่ขี้โม้ ขี้คุย แถมยังยอมขอโทษทั้งทั้งที่จริงระดับท่านแล้วไม่จำเป็นเลย
ทำให้นึกถึงคุยยายอาจารย์ของเราท่านปฏิบัติตัวธรรมดามากยกมือไหว้ทุกคนก่อน ไม่เคยโกรธถือโทษใครๆ ใครจะว่าอะไรยายก็นิ่ง เหมือนที่ท่านเคยเล่า ตัดเฉพาะตอนประโยคเด็ดนะครับ “เขามีหน้าที่ด่าเขาก็ด่าไป ยายจะนั่งเข้าที่” แล้วยายก็นั่งสมาธิฟังเค้าไม่ว่าไม่โต้ตอบไม่ด่ากลับ ดูสิครับนี่แหละคุณธรรมของผู้ที่เราเคารพนับถือบูชา แค่หยาบๆก็เยี่ยมขนาดนี้แล้ว แล้วจะให้ไปหาครูบาอาจารย์อย่างนี้ได้จากที่ไหนอีก นึกแล้วก็ดีใจ และภูมิใจที่ได้เกิดมาเจอท่าน เจอคำสอนของท่าน และได้มีท่านเป็น
มหาปูชนียาจารย์
สำหรับเรื่องพระสารีบุตรก็จบบริบูรณ์แล้ว
ขออานุภาพบุญที่เกิดจากธรรมทานในครั้งนี้
จะมากหรือจะน้อยก็ตามที่ขอน้อมถวายบุญนี้แด่มหาปูชนียาจารย์
และบุพพการีทุกท่าน
และขอบุญมีจงมีถึงทุกท่านด้วยนะครับ
หวังว่าเรื่องนี้จะมีประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย
ขอบคุณครับ
เลยไม่ได้เข้ามา ก็ขอเอาบุญอาทิตย์ต้นเดือนและบุญมาฆะประทีปในวันมหาปูชนียาจารย์มาฝากนะครับ
มาต่อกันตอนจบเลยดีกว่าครับ...
ขณะที่พระเถระกำลังกล่าวอยู่นั่นเอง
ภิกษุผู้กล่าวหาท่านก็เกิดความกระสับกระสายเร่าร้อน
เหมือนอย่างกับมีไฟเผาไหม้อยู่ภายในร่างกาย
นั่งอยู่ไม่ติด คิดว่า “เราได้ทำกรรมหนักแล้ว ถ้าเราไม่ขอโทษ
หัวเราต้องแตกเป็น 7 เสี่ยงแน่ๆ”
จึงรีบเข้าไปหมอบแทบพระบาทมูลของพระบรมศาสดา
แล้วประกาศความผิดของตน ที่ได้กล่าวหาพระเถระด้วยเรื่องไม่จริง
ไม่มีเหตุ
พระพุทธองค์จึงได้ตรัสกับพระสารีบุตรด้วยพระสุรเสียงอันประกอบด้วยพระมหากรุณาว่า “สารีบุตร เธอจงให้อภัยบุรุษเปล่านั้นก่อนที่ศีรษะของบุรุษเปล่าจะแตก 7 เสี่ยงเถิด”
สิ้นสุดพระสุรเสียง พระเถระก็ได้่เข้าไปนั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี*ต่อหน้า
ภิกษุรูปนั้นแล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้อภัยภิกษุรูปนี้ และถ้าข้าพระองค์มีโทษ ก็ขอให้ภิกษุนี้ให้อภัยข้าพพระองค์ด้วย”
เหล่าภิกษุที่อยู่ในมหาสมาคมนั้นพอเห็นเหตุการเช่นนี้ก็พูดคุยกันว่า
“พวกท่านจงดู พระเถระผู้มีคุณไม่ทรามนี้เถิด พระเถระโกรธไม่เคืองภิกษุผู้กล่าวหาท่านด้วยเรื่องไร้สาระไม่จริงนี้แม้สักนิดเดียว
แถมยังนั่งกระหย่งประคองอัญชลีขอโทษต่อหน้าภิกษุนี้อีกต่่างหาก”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สดับเสียงที่ภิกษุทั้งหลายพูดคุยกันจึงได้ตรัสถาม
ถึงเรื่องที่สนทนากัน เมื่อเหล่าภิกษุกล่าบทูลเรื่องที่พูดคุยกันให้ทรงทราบแล้ว
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครหรอกที่จะสามารถทำให้สารีบุตรผู้เป็นบุตรของเราให้โกรธหรืองขัดเคืองแม้เพียงเล็กน้อย เพราะจิตของบุตรของเรานั้นเป็นดุจแผ่นดินและเสาเขื่อนที่ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด
ขยายความคำเปรียบเทียบนิดนึงนะครับ
ที่พระสารีบุตรบอกว่า ท่านเองเหมือนแผ่นดินก็เพราะว่า
แผ่นดินนั้นไม่ว่าใครจะทิ้งของสกปรกของหอมของเหม็น
หรืออะไรก็ตามแต่ แผ่นดินนั้นก็ไม่เคยบ่นหรือเลือกที่จะรับเลย
ที่ว่าเหมือนน้ำก็เช่นเดียวกัน น้ำย่อมพัดพาเอาทุกสิ่งไปไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่ตกลงไปในน้ำ
ที่ว่าเหมือนลม เพราะลมพัดพาเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปไม่เลือก
ที่ว่าเหมือนไฟ เพราะไฟก็เผาทุกสิ่งทุกอย่างที่โยนเข้าไปในกองไฟ
ที่ว่าเหมือนผ้าขี้ริ้ว เพราะผ้าขี้ริ้วนั้นใช้เช็ดทุกอย่างจะสะอาดหรือไม่สะอาดก็ตามแต่เช็ดแล้วสิ่งที่ถูกเช็ดก็จะสะอาด
ที่ว่าเหมือนเด็กจัณฑาลน้อย เพราะในประเทศอินเดียนั้นเขานับถือกันแบบแบ่งชนชั้นวรรณะซึ่งก็มีอยู่ด้วยกัน 4 วรรณะคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์(นักธุรกิจ,พ่อค้าแม่ขาย) ศูตร(ชนชั้นแรงงาน) แต่ถ้าวรรณะใดมีบุตรข้ามวรรณะกันเช่น กษัตริย์มีบุตรกับศูตร บุตรที่เกิดมานั้นจะเรียกว่าเป็นจัณฑาล เค้าว่าเป็นคนกาลกิณี ไม่มีใครคบด้วยสังคมก็รังเกียจต้องเที่ยวขอทานคนอื่นเค้ากิน นี่ก็เช่นเดียวกันท่านเปรียบตัวท่านเหมือนเด็กจัณฑาลที่ถือเศษกระเบื้องเข้าเมืองไปขอทานต้องเจียมเนื้อเจียมตัว
ไม่มีความอาจหาญ ไม่ยกตัวเป็นต้น
ที่ว่าเหมือนโคเขาขาด เพราะปกติโคมีอาวุธคือเขาทั้งสองข้างเมื่อโคมีเขาก็คือมีอาวุธ ก็จะหยิ่งผยอง ไม่กลัวใคร แต่เมื่อเขาขาดก็เหมือน เสือขาดเขียวเล็บ ค่อยๆเดินไปไม่เกะกะระรานเพราะตนเองหมดพิษสงใดๆ
อุปมาที่ว่าเหมือนมีซากศพพันคอ ก็คือท่านเปรียบเทียบว่าเหมือนกับหนุ่มสาวที่ชอบแต่งตัวรักสวยรักงาม แล้วมีคนเอาซากศพซากสัตว์เอามาพันคอก็รังเกียจ ท่านเองก็รังเกียจร่างกายที่เปื่อยเน่านี้ที่มีสิ่งสกปรกไหลออกทางทวารทั้ง 9 ตลอดเวลา พิจารณาร่างกายโดยความไม่สะอาดอยู่เสมอ
อุปมาที่เหมือนคนทูนถาดน้ำมัน ก็คือเวลาคนทูนถาดน้ำมันไว้บนหัวก็ต้องค่อยๆเดินไปอย่างระมัดระวัง ถ้าเดินเร็ว หรือวิ่งน้ำมันก็จะหก ท่านเองก็รักษาระมัดระวังอิริยาบทอยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน
*วิธีทำความเคารพแบบหนึ่งของคนอินเดียคือการนั่งคล้ายๆนั่งยองๆแต่จะไม่นั่งทิ้งก้นลงไป ขาท่อนบนจะขนานกับพื้นและการประคองอัญชลีก็คือการยืนแขนท่อนล่างออกไปข้างหน้าประมาณ 45 องศาแล้วหงายฝ่ามือทั้งสองขึ้น
เป็นอย่างไรบ้างครับเรื่องที่นำมานี้พอผมอ่านแล้วรู้สึกซึ้งมากเลย
นี่ขนาดพระสารีบุตรท่านมีคุณธรรมมากขนาดนี้ แต่ท่านไม่เคยลำพอง
ไม่ถือตัว แต่กลับทำตัวติดดินมากๆนี่ละครับคนที่มีคุณธรรมดีจริงก็จะไม่โอ้อวดตน ไม่ขี้โม้ ขี้คุย แถมยังยอมขอโทษทั้งทั้งที่จริงระดับท่านแล้วไม่จำเป็นเลย
ทำให้นึกถึงคุยยายอาจารย์ของเราท่านปฏิบัติตัวธรรมดามากยกมือไหว้ทุกคนก่อน ไม่เคยโกรธถือโทษใครๆ ใครจะว่าอะไรยายก็นิ่ง เหมือนที่ท่านเคยเล่า ตัดเฉพาะตอนประโยคเด็ดนะครับ “เขามีหน้าที่ด่าเขาก็ด่าไป ยายจะนั่งเข้าที่” แล้วยายก็นั่งสมาธิฟังเค้าไม่ว่าไม่โต้ตอบไม่ด่ากลับ ดูสิครับนี่แหละคุณธรรมของผู้ที่เราเคารพนับถือบูชา แค่หยาบๆก็เยี่ยมขนาดนี้แล้ว แล้วจะให้ไปหาครูบาอาจารย์อย่างนี้ได้จากที่ไหนอีก นึกแล้วก็ดีใจ และภูมิใจที่ได้เกิดมาเจอท่าน เจอคำสอนของท่าน และได้มีท่านเป็น
มหาปูชนียาจารย์
สำหรับเรื่องพระสารีบุตรก็จบบริบูรณ์แล้ว
ขออานุภาพบุญที่เกิดจากธรรมทานในครั้งนี้
จะมากหรือจะน้อยก็ตามที่ขอน้อมถวายบุญนี้แด่มหาปูชนียาจารย์
และบุพพการีทุกท่าน
และขอบุญมีจงมีถึงทุกท่านด้วยนะครับ
หวังว่าเรื่องนี้จะมีประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย
ขอบคุณครับ



ในกระทู้: อยากแบ่งปันเรื่องในพระไตรปิฎกแบบง่ายๆ
30 January 2009 - 09:01 PM
มาแล้วครับตอนต่อ....
เมื่อจบคำกราบบังคมทูลของภิกษุรูปนั้นแล้ว
พระองค์ก็มิได้ทรงตรัสคัดค้านหรือทรงตำหนิภิษุรูปนั้นแต่อย่างใด
แต่ทรงมีรับสั่งให้ภิกษุรูปหนึ่งให้ไปตามพระสารีบุตรกลับมา
ในขณะนั้นเองพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย
และพระอานนท์พุทธอนุชาต่างก็คิดกันว่า
“ที่พระศาสดาของเรามีรับสั่งเช่นนั้นนะ
พระองค์ไม่ทรงทราบว่า พระพี่ชายของเราไม่ได้ตีภิกษุนี้ก็หาไม่
แต่พระองค์ทรงปรารถนาจะให้พระพี่ของเราบรรลือสีหนาทในมหาสมาคม
ดังนั้น พวกเราจะให้ประชุมบริษัท ณ บัดนี้”
ทั้งสองรูปก็ได้จัดแจงสถานที่แล้วป่าวประกาศทั่วทั้งวัดพระเชตวันว่า
“พวกท่านทั้งหลายจงรีบออกมาประชุมกันในตอนนี้ พระพี่ชายของพวกเราจะบรรลือสีหนาทต่อหน้าพระพักตร์ของพระศาสดาแล้ว”
เมื่อภิกษุบริษัทประชุมกันพร้อมหน้าแล้ว
พระสารีบุตรก็ได้เข้าไปในท่ามกลางสงฆ์หมู่ใหญ่แล้วถวายบังคมพระพุทธองค์เอกองค์บรมศาสดา
ผู้ประทับนั่งเป็นประธานในหมู่สงฆ์ประดุจเขาสิเนรุที่เป็นประธานแห่งขุนเขาทั้งหลายอันเป็นศูนย์กลางของจักวาลฉะนั้น
พระศาสดาทรงทอดพระเนตรมายังพระเถระแล้วตรัสถามเรื่องราวนั้นกะพระเถระ
ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดุจท้าวมหาพรหม
พระเถระก็ไม่ได้กราบทูลไปตรงๆว่า “ข้าพระองค์ไม่ได้ตีภิกษุนั่น” แต่กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นนาถะของโลก ภิกษุที่กระทบกระทั่งเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในศาสนานี้แล้ว ไม่ยอมให้อภัยไม่ปล่อยวางแล้วหลีกจาริกไป ภิกษุนั้นต้องไม่มีสติอยู่กับตัว(กายคตาสติ)เป็นแน่พระเจ้าข้า”
แล้วยกอุปมาเปรียบเทียบตัวท่านเองว่า เป็นผู้มีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน ด้วยน้ำ ด้วยไฟ ด้วยลม ด้วยผ้าขี้ริ้ว ด้วยเด็กจัณฑาลน้อยๆ ด้วยโคเขาขาด และความอึดอัดรังเกียจกายท่านเองเหมือนมีซากศพพันคออยู่
และการระมัดระวังอิริยาบทของท่านเหมือนคนที่ทูลถาดน้ำมันบนหัวแล้วค่อยๆเดินไปฉะนั้น
เมื่อพระเถระยกแต่ละอุปมาขึ้นมากล่าวแผ่นดินก็ได้หวันไหว
แล้ะเมื่อยกอุปมามาถึงว่าท่านเหมือนเด็กจัณฑาลน้อยๆและโคเขาขาด
ภิกษุปุถุชนธรรมดาก็ไม่อาจอดกลั้นน้ำตาเอาไว้ได้ พระขีณาสพก็เกิดธรรมสังเวช
ส่วนอธิบายข้ออุปมาและเหตุกาลจะเป็นอย่างไรต่อไปคงต้องรอตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบแล้วละนะครับ
เนื่องจากว่าผมมีเวลาไม่มากแล้วพิมพ์ไม่ค่อยคล่องเท่าไหร่แต่ใจรักก็ขอให้อดใจรอตอนจบต่อไปนะครับ
เมื่อจบคำกราบบังคมทูลของภิกษุรูปนั้นแล้ว
พระองค์ก็มิได้ทรงตรัสคัดค้านหรือทรงตำหนิภิษุรูปนั้นแต่อย่างใด
แต่ทรงมีรับสั่งให้ภิกษุรูปหนึ่งให้ไปตามพระสารีบุตรกลับมา
ในขณะนั้นเองพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย
และพระอานนท์พุทธอนุชาต่างก็คิดกันว่า
“ที่พระศาสดาของเรามีรับสั่งเช่นนั้นนะ
พระองค์ไม่ทรงทราบว่า พระพี่ชายของเราไม่ได้ตีภิกษุนี้ก็หาไม่
แต่พระองค์ทรงปรารถนาจะให้พระพี่ของเราบรรลือสีหนาทในมหาสมาคม
ดังนั้น พวกเราจะให้ประชุมบริษัท ณ บัดนี้”
ทั้งสองรูปก็ได้จัดแจงสถานที่แล้วป่าวประกาศทั่วทั้งวัดพระเชตวันว่า
“พวกท่านทั้งหลายจงรีบออกมาประชุมกันในตอนนี้ พระพี่ชายของพวกเราจะบรรลือสีหนาทต่อหน้าพระพักตร์ของพระศาสดาแล้ว”
เมื่อภิกษุบริษัทประชุมกันพร้อมหน้าแล้ว
พระสารีบุตรก็ได้เข้าไปในท่ามกลางสงฆ์หมู่ใหญ่แล้วถวายบังคมพระพุทธองค์เอกองค์บรมศาสดา
ผู้ประทับนั่งเป็นประธานในหมู่สงฆ์ประดุจเขาสิเนรุที่เป็นประธานแห่งขุนเขาทั้งหลายอันเป็นศูนย์กลางของจักวาลฉะนั้น
พระศาสดาทรงทอดพระเนตรมายังพระเถระแล้วตรัสถามเรื่องราวนั้นกะพระเถระ
ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดุจท้าวมหาพรหม
พระเถระก็ไม่ได้กราบทูลไปตรงๆว่า “ข้าพระองค์ไม่ได้ตีภิกษุนั่น” แต่กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นนาถะของโลก ภิกษุที่กระทบกระทั่งเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในศาสนานี้แล้ว ไม่ยอมให้อภัยไม่ปล่อยวางแล้วหลีกจาริกไป ภิกษุนั้นต้องไม่มีสติอยู่กับตัว(กายคตาสติ)เป็นแน่พระเจ้าข้า”
แล้วยกอุปมาเปรียบเทียบตัวท่านเองว่า เป็นผู้มีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน ด้วยน้ำ ด้วยไฟ ด้วยลม ด้วยผ้าขี้ริ้ว ด้วยเด็กจัณฑาลน้อยๆ ด้วยโคเขาขาด และความอึดอัดรังเกียจกายท่านเองเหมือนมีซากศพพันคออยู่
และการระมัดระวังอิริยาบทของท่านเหมือนคนที่ทูลถาดน้ำมันบนหัวแล้วค่อยๆเดินไปฉะนั้น
เมื่อพระเถระยกแต่ละอุปมาขึ้นมากล่าวแผ่นดินก็ได้หวันไหว
แล้ะเมื่อยกอุปมามาถึงว่าท่านเหมือนเด็กจัณฑาลน้อยๆและโคเขาขาด
ภิกษุปุถุชนธรรมดาก็ไม่อาจอดกลั้นน้ำตาเอาไว้ได้ พระขีณาสพก็เกิดธรรมสังเวช
ส่วนอธิบายข้ออุปมาและเหตุกาลจะเป็นอย่างไรต่อไปคงต้องรอตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบแล้วละนะครับ
เนื่องจากว่าผมมีเวลาไม่มากแล้วพิมพ์ไม่ค่อยคล่องเท่าไหร่แต่ใจรักก็ขอให้อดใจรอตอนจบต่อไปนะครับ
ในกระทู้: สมณศักดิ์พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย
30 January 2009 - 02:59 AM
คำแปลประมาณนี้ละครับแต่ภาษาอาจไม่ค่อยสละสลวยเท่าไหร่ก็ขออภัยด้วยนะครับ
พระมงคลเทพมุนี ผู้ปฏิบัติตนต่อรัตนอันมีสิริ มีสมาธิวัตรงาม เป็นใหญ่ในคณะใหญ่ผู้อยู่ในวัดของสงฆ์อันประเสริฐ เป็นพระเมือง
พระธรรมกิตติวงศ์ ผู้ธำรงค์ทรงจำปริยัติ ผู้เลิศในวงศ์ของปราชญ์ฉลาดในพระไตรปิฎก ผู้เป็นใหญ่ในคณะที่ประกอดด้วยธรรมผู้อยู่ในวัดของสงฆ์อันประเสริฐ เป็นพระเมือง
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ผู้ทรงไว้ชึ่งประโยชน์เกื้อกูล ผู้กล่าวธรรมอันไพเราะด้วยปฏิภาณ ผู้งามในหมู่สงฆ์ผู้มีสิริ ผู้ดำรงค์มั่นในศีลและมารยาทอันปราศจากมลทิน ฉลาดในพระไตรปิฎก ผู้เป็นใหญ่ในคณะผู้อยู่ในวัดของสงฆ์อันประเสริฐ เป็นทั้งพระเมืองและพระผู้อยู่ป่า
พระมงคลเทพมุนี ผู้ปฏิบัติตนต่อรัตนอันมีสิริ มีสมาธิวัตรงาม เป็นใหญ่ในคณะใหญ่ผู้อยู่ในวัดของสงฆ์อันประเสริฐ เป็นพระเมือง
พระธรรมกิตติวงศ์ ผู้ธำรงค์ทรงจำปริยัติ ผู้เลิศในวงศ์ของปราชญ์ฉลาดในพระไตรปิฎก ผู้เป็นใหญ่ในคณะที่ประกอดด้วยธรรมผู้อยู่ในวัดของสงฆ์อันประเสริฐ เป็นพระเมือง
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ผู้ทรงไว้ชึ่งประโยชน์เกื้อกูล ผู้กล่าวธรรมอันไพเราะด้วยปฏิภาณ ผู้งามในหมู่สงฆ์ผู้มีสิริ ผู้ดำรงค์มั่นในศีลและมารยาทอันปราศจากมลทิน ฉลาดในพระไตรปิฎก ผู้เป็นใหญ่ในคณะผู้อยู่ในวัดของสงฆ์อันประเสริฐ เป็นทั้งพระเมืองและพระผู้อยู่ป่า
ในกระทู้: น้ำปานะ??? คือ อะไรบ้างค่ะ
29 January 2009 - 02:34 AM
มีใครช่วยสรุปย่อให้หน่อยได้ไม๊ครับมันยาวมากเลย ขอบคุณล่วงหน้าครับ
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: โพสต์: Brighten The Mind
- Privacy Policy
- เงื่อนไข ข้อตกลง และกฏระเบียบของเว็บไซต์ DMC ·