วัดพระธรรมกาย
งานบุญประจำปีของวัดพระธรรมกาย
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
พิธีบูชาข้าวพระทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน
พิธีบูชาข้าวพระแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระรรมกาย
การบูชาข้าวพระเป็นการใช้วิชชาธรรมกายนำภัตตาหารไปน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอายตนนิพพาน เมื่อครั้งที่คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ยังมีชีวิตอยู่ ท่านนำศิษยานุศิษย์บูชาข้าวพระทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน แม้ปัจจุบันท่านได้ละสังขารไปแล้ว หลวงพ่อธัมมชโยก็ยังคงสืบทอดธรรมเนียมการบูชาข้าวพระตลอดมา
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
วันมาฆบูชา
จุดโคมมาฆประทีปในวันมาฆบูชา ณ วัดพระธรรมกายทุกปี
มีงานบุญวันมาฆบูชา และในเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. มีพิธีเวียนประทักษิณรอบมหาธรรมกายเจดีย์และพิธีจุดมาฆประทีปโดยมีสาธุชนผู้มีบุญจากในและต่างประเทศมาร่วมพิธีครั้งละกว่าแสนคน
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
วันคุ้มครองโลก (๒๒ เมษายน)
ถวายมหาสังฆทานเนื่องในวันคุ้มครองโลก
มีงานบุญใหญ่ถวายสังฆทานพระสังฆาธิการจากทั่วประเทศ และบุญพิเศษตามสถานการณ์
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
วันวิสาขบูชา
จุดวิสาขประทีปในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระธรรมกาย
มีพิธีจุดวิสาขประทีป พิธีบวชอุทิศชีวิตถวายเป็นพุทธบูชา และพิธีเวียนประทักษิณเนื่องในวันวิสาขบูชา
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
ฤดูกาลเข้าพรรษา
พิธีถวายผ้าอาบน้ำฝนช่วงวันเข้าพรรษา
มีพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าเช็ดตัว และกองทุนแสงสว่าง ที่หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
วันครูธรรมกาย (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐)
งานบุญในวันครูธรรมกาย
มีพิธีบูชาครูวิชชาธรรมกาย เพื่อแสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของวิชชาธรรมกาย และพระมงคลเทพมุนี ผู้สละชีวิตเป็นเดิมพันนำวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับคืนมาสู่โลกอีกครั้ง
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
วันคล้ายวันเกิดพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ๑๐ ตุลาคม
10 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันเกิดพระมงคลเทพมุนี
มีงานบุญใหญ่ เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ผู้มีความเคารพบูชาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้แสดงความกตัญญูต่อมหาปูชนียาจารย์ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
วันทอดกฐินสามัคคี
ทอดกฐิน ณ วัดพระธรรมกาย
- ภาคเช้า มีพิธีตักบาตรพระภิกษุนับพันรูป ปฏิบัติธรรมและถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน
- ภาคบ่ายเป็นพิธีทอดกฐิน
งานบุญประจำปี ณ วัดพระธรรมกาย
ธุดงค์ต้อนรับปีใหม่
งานบุญอยู่ธุดงค์ปีใหม่กลั่นใจใสๆ กันตั้งแต่ต้นปี
ในฤดูกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่วัดพระธรรมกายได้จัดธุดงค์ปีใหม่ขึ้น เพื่อให้ผู้มีบุญได้มาสั่งสมบุญต้อนรับศักราชใหม่ที่จะมาถึง เพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต
วัดพระธรรมกายในวันนี้
วัดพระธรรมกาย
๔๐ ปีผ่านไป สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แต่มโนปณิธานของหมู่คณะวัดพระธรรมกายก็ยังไม่แปรเปลี่ยน ยังคงยึดมั่นที่จะสืบทอดมโนปณิธานของพระมงคลเทพมุนี และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงที่ปรารถนาจะนำพระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย แผ่ขยายออกไปทั่วโลก เพื่อให้ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสร้างสันติสุขให้บังเกิดขึ้นในใจของมวลมนุษยชาติ ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งสันติภาพโลกที่แท้จริง และเพื่อให้ชาวโลกตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต รู้เป้าหมายที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และรู้จักสั่งสมบุญเพื่อเป็นเสบียงสำหรับเดินทางในวัฏสงสารจนกว่าจะเข้าสู่นิพพาน ดังถ้อยคำที่ว่า “เราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญ สร้างบารมี”
คนเราไปวัดก็เพื่อจะสร้างบุญสร้างกุศล ไม่ว่าจะด้วยการทำทานรักษาศีล หรือเจริญสมาธิภาวนา ดังนั้นเพื่อให้ได้บุญกุศลอย่างเต็มที่ จึงควรมีการเตรียมตัวเตรียมใจ ดังนี้
๑. การเตรียมใจ
เตรียมใจก่อนมาร่วมงานที่วัดด้วยการทำใจหยุดนิ่งที่ศุนย์กลางกาย
- จัดภารกิจที่จำเป็นให้เสร็จเรียบร้อย หรือมอบหมายให้ผู้ที่ไว้วางใจทำแทน ขณะไปทำบุญจะได้ไม่กังวล
- สำรวมใจน้อมระลึกถึงบุญกุศลที่เคยทำมาแล้วตลอดชีวิต เพื่อให้เกิดความปีติเบิกบาน แช่มชื่น ผ่องใส จะได้มีกำลังใจที่จะทำความดีเพิ่มขึ้น
- ก่อนเข้านอน กราบบูชาพระรัตนตรัย สวดมนต์ทำวัตรเย็นเป็นการเตรียมใจให้สะอาด เหมาะจะเป็นภาชนะรองรับบุญกุศลในวันรุ่งขึ้นได้เต็มที่
- ในขณะเดินทางไปวัด ไม่ควรสนทนากันในเรื่องที่จะทำให้ใจขุ่นมัว แต่ควรระลึกถึงเรื่องบุญกุศล และตั้งใจให้แน่วแน่ว่าไปวัดวันนี้จะเก็บเกี่ยวบุญกุศลให้เต็มที่
๒. การแต่งกาย
สวมชุดขาวขาวเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
- ควรสวมเสื้อผ้าสีขาวทั้งชุด หรืออย่างน้อยก็เสื้อสีขาวการแต่งกายชุดขาวมีข้อดีหลายประการ คือ ทำให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งการปฏิบัติธรรม ทำให้เกิดความเสมอภาคแก่ชนทุกชั้น ทำให้เกิดสติมีความสำรวมระวังเพิ่มขึ้น ทำให้ใจผ่องแผ้วพร้อมที่จะเข้าถึงธรรม
- ไม่ควรสวมเสื้อผ้าโปร่งบาง หรือหรูหราราคาแพงเกินไป
- ไม่ควรสวมเสื้อผ้ารัดรูป เพื่อสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้น หรือผ่าหน้าผ่าหลัง ควรนำผ้าคลุมเข่าไปด้วย เพื่อใช้คลุมเข่าขณะนั่งพับเพียบหรือนั่งสมาธิ
- ผู้ชายควรตัดผมให้สั้น ถ้าไว้ผมยาวก็หวีให้เรียบร้อย ส่วนผู้หญิงอย่าแต่งผมประณีตเกินไป ผู้พบเห็นจะได้ไม่เกิดความคิดฟุ้งซ่าน
- ควรเว้นการประพรมน้ำหอม
- ไม่ควรแต่งหน้า เขียนคิ้ว ทาปาก ทาเล็บ ฯลฯ จนเกินงาม
- ไม่ควรสวมเครื่องประดับราคาแพง เช่น แหวนเพชร นาฬิกาเรือนทอง หรือสร้อยทองคำเส้นโต ๆ ฯลฯ
๓. การนำเด็กไปวัด
การนำเด็กไปวัดเป็นสิ่งที่ดี เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่เด็ก ทำให้เด็กได้ใกล้ชิดพระศาสนาตั้งแต่ยังเยาว์ แต่มีข้อควรระวัง คือ อย่านำเด็กอ่อนไปวัดโดยไม่จำเป็น เพราะอาจก่อความรำคาญให้แก่ผู้อื่นได้ ถ้านำเด็กไปด้วย ควรดูแลอย่างใกล้ชิด หรือนำไปฝากเลี้ยงที่ศูนย์ลูกแก้ว ชั้น ๑ สภาธรรมกายสากล ด้านทิศตะวันตก
ขณะอยู่ในวัด
วัด เป็นที่รวมของคนหลายประเภท ซึ่งมีความแตกต่างกันมากทั้งในด้านอายุ ฐานะ ความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพ ตลอดจนอุปนิสัยใจคอโอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องระมัดระวังตน เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวบุญได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเมื่อเดินทางไปถึงวัดแล้วพึงปฏิบัติดังนี้
เรียนเชิญมานั่งสมาธิ ปฏิบัติรวมกัน ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย
- ปฏิบัติตนอยู่ภายในกรอบประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย งดอาการคะนองทั้งปวง ทั้งนี้เพื่อ รักษากาย วาจา ใจของเราให้เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญ
- ก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติธรรมควรถอดรองเท้าวางอย่างเป็นระเบียบแล้วเข้าไปนั่งในบริเวณที่จัดไว้
- ในการประกอบศาสนพิธี เช่น สวดมนต์ สมาทานศีล ถวายสังฆทาน ฯลฯ ควรเปล่งเสียงอย่างชัดเจนโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อก่อให้เกิดปีติ และเป็นการแสดงความเคารพพระรัตนตรัยด้วยวาจา
- ไม่พูดคุยกันในขณะปฏิบัติธรรม และไม่เปิดโทรศัพท์มือถือ จะได้ไม่รบกวนการทำสมาธิภาวนา
- พยายามอดทนต่อสิ่งที่ทำให้ขุ่นข้องหมองใจ เช่น อากาศร้อนความหิวกระหาย กิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมของคนบางคน และการไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ควรแผ่เมตตาให้ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และควรควบคุมโทสะอย่าให้เกิดขึ้น จะได้เก็บเกี่ยวบุญไปได้อย่างเต็มที่
- เวลาพระภิกษุสามเณรเดินผ่านมา ให้ประนมมือไหว้ด้วยความเคารพ เวลาพูดกับพระภิกษุสามเณร ควรนั่งลงและประนมมือไหว้
- เข้าแถวรับอาหารอย่างมีระเบียบ เมื่อรับประทานเสร็จแล้วนำภาชนะไปทิ้งในถุงเก็บเพชรพลอย (ถุงขยะ)
กฎระเบียบของวัดพระธรรมกาย
เนื่องจากวัดพระธรรมกายเป็นบุญสถานที่มีสาธุชนมาบำเพ็ญบุญร่วมกันเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎระเบียบ เพื่อให้เกิดความสงบ เรียบร้อย และสามารถดำรงไว้ซึ่งความเป็นบุญสถานอันศักดิ์สิทธิ์ดังนี้
- ห้ามสูบบุหรี่ ตลอดจนไม่นำสิ่งเสพติดให้โทษเข้ามา
- ห้ามอ่านหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งตีพิมพ์ที่นำมาซึ่งความร้อนใจ
- ห้ามนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ เข้ามาจำหน่าย
- ห้ามเปิดวิทยุ เครื่องกระจายเสียง และเทปบันทึกเสียงเพลง
- ห้ามปล่อยสัตว์ในบริเวณวัด
- ห้ามโฆษณาชวนเชื่อหาเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น
- ห้ามร้องรำทำเพลง หรือแสดงการละเล่นทุกชนิด
- ห้ามทำนายทายทักโชคชะตา และคุยกันด้วยเรื่องการเมืองที่ทำให้ร้อนใจ
- ห้ามเรี่ยไร และแจกใบฎีกาทุกชนิด
- โปรดแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
ดาวธรรม (DMC Channel)
ท่านสามารถรับชมช่อง DMC ผ่านทางจานดาวเทียม
รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อเผยแพร่ความรู้คู่คุณธรรมทางช่อง DMC (Dhamma Media Channel) ออกอากาศ ๒๔ ชั่วโมง จัดทำโดยมูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นรายการที่ให้ความบันเทิงธรรมหลากหลาย เช่น รายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ดำเนินรายการโดยคุณครูไม่ใหญ่ (หลวงพ่อธัมมชโย) รายการหลวงพ่อตอบปัญหา โดยพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว) พิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์ วิธีฝึกสมาธิ สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ข่าวสร้างสรรค์ DMC News และรายการที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย
DMC เป็นสื่อสีขาว ซึ่งได้รับรางวัลมาตรฐานการผลิตสื่อ (Telly Awards) มากถึง ๑๒ รางวัล ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐
เรียนเชิญรับชมรายการดาวธรรมผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ดังนี้
๑. ติดตั้งจานดาวเทียม DMC Satellite รับชมได้ทุกทวีปทั่วโลก โทร. ๐๒-๙๐๑-๑๖๑๖
๒. ผ่านทางเว็บไซต์ www.dmc.tv โทร. ๐๒-๘๓๑-๑๗๗๔
๓. ผ่านโทรศัพท์มือถือเครือข่าย DTAC กด*๑๑๐๗๒ รับชมภาพและเสียงผ่านระบบGPRS Wap.dmc4u.com
๔. ทางรายการวิทยุทั่วประเทศ คลื่น FM และ AM โทร. ๐๘๕-๐๖๒-๗๗๗๗
๕. ทางรายการเคเบิลทีวีทั่วประเทศ โทร. ๐๒-๘๓๑-๒๘๖๙ ผ่านช่อง ๑๐๔ ของ True Vision (UBC) เวลา ๑๗.๐๐-๒๑.๐๐ น.
รับชมวิดีโอมาวัดวันอาทิตย์
[[videodmc==38547]]
บทความที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย