ธรรมะสอนใจ

การโพสต์บน Social Network แบบถูกหลักวิชา

จากคอลัมน์ท้ายเล่มวารสารอยู่ในบุญ


      ในสมัยก่อนการทำผิดศีลทางวาจา เช่น การโกหกการนินทาว่าร้าย จะทำด้วยการพูดแบบปากต่อปาก แต่ปัจจุบันการทำผิดศีลทางวาจาถูกเพิ่มช่องทางขึ้นอีกในโลกของ Social Network แค่กดคลิกเดียวก็สามารถส่งผ่านข้อมูลไปถึงคนเป็นแสนเป็นล้าน ข้ามทวีป ข้ามประเทศ ซึ่งถ้าไม่ใช่คำที่ดี ก็จะเป็นการสร้างกรรมที่มีผลคูณหมื่นคูณแสนเพราะกรรมจะทับทวีตามจำนวนผู้อ่าน และผู้ส่งต่อ ๆ และยิ่งนานวัน.. ถ้ามีคนมาอ่านข้อความนั้นมากขึ้นเท่าไร กรรมก็ยิ่งเพิ่มขึ้นแบบจะนับจะประมาณมิได้ ที่น่ากลัวไปกว่านั้นก็คือ ยิ่งมีคนมากด Like ก็จะทำให้คนที่รับข้อมูลด้านเดียวผู้นั้น (ซึ่งไม่รู้ว่าข้อมูลถูกหรือผิด) ติดบาปไปด้วย เพราะหลงอนุโมทนาบาปไปโดยไม่รู้ตัว

      ดังนั้น ควรแล้วหรือ? ที่เราจะใช้อารมณ์ความโกรธเพียงชั่ววูบโพสต์คำที่ไม่เหมาะสม ยิ่งถ้าเราเป็นคนเข้าวัดด้วยแล้ว ยิ่งไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เพราะคนเข้าวัดควรโพสต์แต่สิ่งดี ๆ โพสต์คำที่เป็นอรรถเป็นธรรม คำที่เป็นเหตุนำเราไปสู่ความสุข เพราะคำไม่ดีจะเป็นเหตุนำเราไปสู่ความทุกข์เนื่องจากวิบากกรรมจะส่งผลข้ามภพข้ามชาติอย่างไม่จบสิ้นการประกอบเหตุเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ว่าเราจะคิดพูด ทำอะไร ที่จะไม่มีผลนั้นเป็นไม่มี ดังนั้นเราต้องมีสติควบคุมกาย วาจา ใจของเราให้ดี หมั่นเอาใจไปหยุดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ให้ได้ตลอดเวลา เพื่อใจจะได้คุ้นกับความบริสุทธิ์ภายใน และเมื่อทำอย่างนี้ การพูด การโพสต์ก็จะเป็นถ้อยคำที่บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างอัตโนมัติ คือ 1. เป็นคำจริง 2. สุภาพ 3. เกิดประโยชน์ 4. โพสต์ด้วยจิตเมตตา (ไม่ร้อนเรา-ร้อนเขา) 5. ถูกกาลเทศะ 6. เหมาะสมกับเพศภาวะ เช่น เป็นนักบวช เป็นคนรักษาศีล เป็นนักเรียนเป็นครูบาอาจารย์ เป็นต้น

Instagram คืออะไร เล่นยังไง
ทวิตเตอร์ Twitter การใช้งานทวิตเตอร์ ขั้นตอนการสมัคร Twitter
อินเทอร์เน็ต ประวัติอินเทอร์เน็ต ประโยชน์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต
Facebook คืออะไร ประวัติของ Facebook และวิธีการสมัคร Facebook
พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/ธรรมะสอนใจ/การโพสต์บน-Social-Network.html
เมื่อ 8 พฤษภาคม 2567 03:42
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv