ชาดก 500 ชาติ

มหาโมรชาดก-ชาดกว่าด้วยพญานกยูงพ้นจากบ่วง

ยุคสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง

ยุคสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
  
     ครั้นเมื่อพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ประชาชนล้วนหลั่งไหลให้พระธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวชีวิต บ้างก็ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทำดี
ครั้งนั้นได้มีหนุ่มรูปงามที่ตั้งใจจะละจากกิเลสทั้งปวง ออกบวชมุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อตรัสรู้แจ้งแห่งธรรม การงานใดที่เป็นกิจของสงฆ์ ภิกษุหนุ่มนี้ปฏิบัติได้ดีไม่มีขาด
ว่างจากกิจก็นั่งสมาธิตั้งอานาปานสติ
 
หนุ่มรูปงามตั้งใจออกบวชเพื่อมุ่งปฏิบัติธรรม
 
หนุ่มรูปงามตั้งใจออกบวชเพื่อมุ่งปฏิบัติธรรม
 
      เขาปฏิบัติเช่นนี้มานานนับหลายปี จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านและพระสงฆ์ผู้น้อย ครั้งนั้นได้มีหญิงรูปงามนางหนึ่งได้เข้ามาฟังธรรมกับผู้เป็นบิดามารดา
หญิงงามนางนั้นเมื่อได้ฟังภิกษุหนุ่มเทศนาธรรมก็รู้สึกอิ่มเอมใจ นับจากครั้งนั้นเป็นต้นมา เธอมักจะนิมนต์ให้ภิกษุหนุ่มนั้นมาที่บ้านเสมอ “แม่ค่ะ พ่อค่ะ ตั้งแต่
ที่ลูกได้ฟังธรรมจากภิกษุหนุ่มรูปนั้น ลูกมีความสุขมาเลยค่ะ ท่านเทศนาได้เก่งจัง
 
 
ภิกษุหนุ่มปฏิบัติศาสนากิจอย่างสม่ำเสมอมิได้ว่างเว้น
 
ภิกษุหนุ่มปฏิบัติศาสนากิจอย่างสม่ำเสมอมิได้ว่างเว้น
 
     
     ธรรมที่เป็นเรื่องยาก ก็เทศนาให้เป็นเรื่องง่าย วันหลังเรานิมนต์มาที่บ้านเราอีกดีไหมค่ะ” “ได้สิลูก นิมนต์มาทุกเดือนเลยดีไหม พ่อก็ชอบฟังเทศนาธรรมเหมือนกัน”
บ่อยครั้งเข้ากิเลสก็เข้าครอบงำจิตใจ ทุกวันภิกษุหนุ่มก็จะนั่งนับวันเวลาที่จะได้ไปเทศนาธรรมในบ้านหญิงสาวนางนั้นอีก “เมื่อไหร่จะถึงวัน ที่จะได้ไปเทศนาธรรม
ให้น้องนางได้ฟังอีกนะ ความคิดถึงมันกัดกินใจ ช่างทรมานเหลือเกิน”
 
สาธุชนต่างชื่นชอบและชื่นชมในการบรรยายธรรมของภิกษุหนุ่ม
 
สาธุชนต่างชื่นชอบและชื่นชมในการบรรยายธรรมของภิกษุหนุ่ม
 
     เมื่อถึงวันที่พ่อของหญิงสาวมานิมนต์ภิกษุหนุ่มไปแสดงธรรมที่บ้าน ภิกษุหนุ่มได้พูดคุยกับหญิงสาวที่เฝ้าคิดถึงก็มีความสุข ความสุขจากทางโลกเกาะกินใจ
จนทำให้ภิกษุหนุ่มลืมความตั้งใจที่จะแสวงหาความสุขทางธรรม ความสุขจากการได้ใกล้ชิดหญิงสาวที่รัก ทำให้ภิกษุหนุ่มตัดสินใจลาสิกขาบท
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อรู้ก็ทรงห้ามไว้ 
 
หญิงสาวปรารภให้บิดานิมนต์ภิกษุหนุ่มมาแสดงธรรมที่บ้านของตน
 
หญิงสาวปรารภให้บิดานิมนต์ภิกษุหนุ่มมาแสดงธรรมที่บ้านของตน
 
     “ดูก่อนภิกษุ ความกำหนัดด้วยความสามารถชื่นใจนี้ ไฉนจะไม่ให้บุคคลอย่างเธอวุ่นวายได้เล่า มีอย่างหรือลมที่จะพลิกภูเขาสิเนรุได้ จะไม่ทำให้ใบไม้เก่าๆ
กระจัดกระเจิงไปในปางก่อนนั้นหนะ แม้สัตว์ผู้บริสุทธิ์คอยหักห้ามความฟุ้งซ่านของกิเลสในภายในอยู่ 700 ปี ก็ยังโดนความกำหนัดด้วยสารมารถความชื่นใจนี้
ทำให้วุ่นวายได้เลย” แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสเล่าอดีตนิทานชาดกดังนี้
 
ภิกษุหนุ่มได้มาแสดงธรรมที่บ้านของหญิงสาว
 
ภิกษุหนุ่มได้มาแสดงธรรมที่บ้านของหญิงสาว
 
     ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัต ณ พระนครพาราณสี ณ ชายป่าไกลออกไปมีนกยูงตัวหนึ่งท้องแก่ใกล้คลอด แต่ด้วยต้องติดตามฝูงหากิน เมื่อตกฟองแล้ว
นกยูงแม่ก็ทิ้งลูกตัวเองไว้ในป่า ออกหากินตามฝูง ธรรมดาว่าฟองไข่ เมื่อมารดาไม่มีโรคและไม่มีอันตรายอื่นๆ จึงเป็นเหมือนดอกกรรณิการ์ตูมๆ มีสีเหมือนสีทอง 
 
ภิกษุหนุ่มนั่งนับวันรอที่จะได้ไปแสดงธรรมที่บ้านของหญิงสาว
 
ภิกษุหนุ่มนั่งนับวันรอที่จะได้ไปแสดงธรรมที่บ้านของหญิงสาว
 
      เมื่อเวลาครบกำหนดก็แตกโดยธรรมดาของตน ลูกนกยูงมีสีเป็นทองออกมาแล้ว ลูกนกยูงทองนั้น มีนัยน์ตาทั้งคู่คล้ายผลกระพังโหมมีจะงอยปากสีเหมือน
แก้วประพาฬ มีสร้อยสีแดงสามชั้นวงรอบคอผ่านไปกลางหลัง สมบูรณ์สวยงามกว่านกยูงธรรมดาทั่วไป ครั้นยูงทองเจริญวัยมีร่างกายเติบใหญ่ขนาดดุมเกวียน
รูปงามยิ่งนักเมื่ออยู่ในฝูงนกยูงด้วยกันก็ยิ่งโดดเด่นมีราศีกว่าตัวใด
 
ภิกษุหนุ่มได้พูดคุยกับหญิงสาวที่ตนเฝ้าคิดถึง
 
ภิกษุหนุ่มได้พูดคุยกับหญิงสาวที่ตนเฝ้าคิดถึง
  
     ฝูงนกยูงเขียวๆ ทั้งหมดมาประชุมกัน แล้วยกให้นกยูงทองเป็นเจ้านาย พากันแวดล้อมเป็นบริวาร วันหนึ่งนกยูงทองดื่มน้ำในกระพังน้ำ เห็นรูปสมบัติของตนก็รู้ถึง
อันตรายที่จะตามมา “เรามีรูปงามล้ำเลิศกว่านกยูงทั้งหมด ถ้าเราจักอยู่ในแดนมนุษย์กับฝูงนกยูงเหล่านี้อันตรายคงบังเกิดแก่เรา เราต้องไปป่าหิมพานต์
อาศัยอยู่ ณ ที่อันสำราญเพียงลำพังผู้เดียวถึงจะดี ”
 
พระศาสดาทรงตักเตือนและห้ามปรามมิให้ภิกษุหนุ่มลาสิกขา
 
พระศาสดาทรงตักเตือนและห้ามปรามมิให้ภิกษุหนุ่มลาสิกขา
 
     กลางดึกคืนนั้น เมื่อนกยูงเขียวตัวอื่นหลับกันหมดแล้ว นกยูงทองก็แอบบินหนีออกไปจากกลุ่ม มุ่งหน้าสู่ทิวเขาไกลออกไป นกยูงทองโผขึ้นบินเข้าป่าหิมพานต์
ผ่านทิวเขาไปสามทิว ถึงทิวที่สี่มีต้นไทรใหญ่เกิดบนภูเขาลูกหนึ่ง ตรงกลางภูเขาก็มีถ้ำไว้สำหรับหลบอาศัยหลบภัยได้ “ตรงนี้แหละเหมาะที่จะเป็นที่อยู่แห่งใหม่ของเรา
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่า มหาโมรชาดก แก่ภิกษุหนุ่ม
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่า มหาโมรชาดก แก่ภิกษุหนุ่ม
 
    ถ้ำนี้น่าอยู่ปลอดภัย ด้วยผู้ที่อยู่ข้างล่างไม่อาจขึ้นไปได้เลย ผู้อยู่ข้างบนเล่าก็ไม่อาจลงไปได้” ครั้นรุ่งขึ้นก็ลุกออกจากถ้ำเกาะที่ยอดเขา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
เห็นสุริยะมณฑลกำลังอุทัย ก็สวดปริตรเพื่อขอความคุ้มครองป้องกันตนในเวลากลางวันแล้วร่อนลง ณ ที่หากินเที่ยวหากิน ครั้นถึงตอนเย็นนกยูงทองก็บินมาเกาะที่
ยอดเขา บ่ายหน้าทางทิศตะวันตกเพ่งดูสุริยะมณฑลอันอัสดง 
 
นางนกยูงได้วางไข่ของตนไว้ที่รังริมชายป่า ณ เมืองพาราณสี
 
นางนกยูงได้วางไข่ของตนไว้ที่รังริมชายป่า ณ เมืองพาราณสี
  
     สวดพระปริตรเพื่อขอความคุ้มครองป้องกันตนในเวลากลางคืน นกยูงทองปฏิบัติอย่างนี้เป็นประจำทุกวัน ครั้น ณ วันหนึ่ง นายพรานผู้หนึ่งท่องเที่ยวไปในราวป่า
เห็นพญายูงทองนั้นจับอยู่เหนือยอดเขา “นกยูงทองตัวนี้ ช่างสง่างามนัก หากเราจับแล้วนำไปถวายพระราชา คงจะได้ทรัพย์ก้อนโต”
 
นางนกยูงได้ทิ้งไข่ของตัวเองไว้แล้วออกหากินตามฝูงของตน    

นางนกยูงได้ทิ้งไข่ของตัวเองไว้แล้วออกหากินตามฝูงของตน
 
     นายพรานดักซุ่มวางกับดักเพื่อจะจับนกยูงทองหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีครั้งไหนที่จับได้เลย นายพรานอุตส่าห์ดักจับนกยูงทองด้วยวิธีการต่างๆ
จนร่างกายผ่ายผอมทรุดโทรม วันหนึ่งเมื่อเขารู้ตัวว่าจะตายจึงเรียกลูกมาและสั่งเสียไว้ “ลูกเอ๋ย ที่ป่าบนยอดเขานั้นนะ มีนกยูงทองสง่างามตัวหนึ่ง
 
เมื่อครบกำหนดไข่นกยูงก็แตกออกเป็นลูกนกยูงที่สวยงามต่างจากนกยูงทั่วไป
 
เมื่อครบกำหนดไข่นกยูงก็แตกออกเป็นลูกนกยูงที่สวยงามต่างจากนกยูงทั่วไป
  
     หากพระราชาทรงตรัสถามเจ้าจงทูลให้ทรงทราบ พ่อคงไม่สามารถอยู่จับนกยูงทองตัวนั้นได้อีกแล้ว ” แล้วสิ่งที่นายพรานได้พูดไว้ก็เป็นความจริง วันหนึ่งพระอัครมเหสี
ของพระเจ้าพาราณสีทรงพระนามว่า เขมา ทรงเห็นพระสุบินในเวลาใกล้รุ่ง มีเรื่องราวว่านกยูงมีสีเหมือนสีทองกำลังแสดงธรรม พระนางทรงให้สาธุการสดับธรรม
 
นกยูงหนุ่มถูกเลือกให้เป็นหัวหน้าฝูงของนกยูงทั้งหมด
 
นกยูงหนุ่มถูกเลือกให้เป็นหัวหน้าฝูงของนกยูงทั้งหมด
 
     นกยูงครั้นแสดงธรรมเสร็จก็ลุกขึ้นบินไป ขณะที่กำลังตรัสอยู่นั้นแหละและก็ตื่นเสีย “ฝันอะไรนะ ราวกับเป็นเรื่องจริง จะทำยังไงดีนะ เราถึงจะได้ฟังธรรมจากนกยูงทอง
ตัวนั้นได้จริงๆ ธรรมที่ได้ฟังมันช่างไพเราะนัก ขับกล่อมใจให้มีความสุขได้ พระราชาจะเชื่อถือในสิ่งที่เราฝันหรือเปล่านะ เฮ้อ”
 
นกยูงหนุ่มเห็นความงดงามของตนจากเงาสะท้อนในน้ำ
 
นกยูงหนุ่มเห็นความงดงามของตนจากเงาสะท้อนในน้ำ
 
     พระมเหสีหลังจากตื่นจากบรรทม ก็ครุ่นคิดถึงทางที่จะได้ครอบครองนกยูงทองตัวนั้น จนบรรทมไปอีกครั้ง จนเมื่อบรรทมไปอีกสักพักก็เกิดอาการกระสับกระส่าย
เหมือนทรงแพ้คัน พระราชารู้สึกตัวตื่นก็ทรงปลุกมเหสีด้วยความห่วงใย “เธอผู้เจริญใจ นางไม่สบายเป็นอะไรไปเล่า” “ความแพ้ครรภ์ บังเกิดขึ้นแก่หม่อนฉันเพค่ะ”

นกยูงหนุ่มบินหนีจากฝูงของตนเพื่อไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยสำหรับตน
 
นกยูงหนุ่มบินหนีจากฝูงของตนเพื่อไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยสำหรับตน

     พระมเหสีได้ขอพระราชาให้จับตัวนกยูงทองมาให้ เนื่องจากนางประสงค์อยากฟังธรรมจากนกยูงทอง หากไม่ได้ฟังชีวิตคงเศร้าหมองตรอมใจตาย
ด้วยความรักและเป็นห่วง รุ่งขึ้นพระราชาตรัสเรียกหารือกับอำมาตย์และขุนนางทั้งหมด “เทวีปรารถนาจะฟังธรรมของนกยูงทอง อันนกยูงมีสีเหมือนทอง
จะมีอยู่หรือไม่”
 
 
นกยูงหนุ่มบินมาอาศัยอยู่บนยอดเขาในป่าหิมพานต์
 
นกยูงหนุ่มบินมาอาศัยอยู่บนยอดเขาในป่าหิมพานต์
 
     “ขอเดชะ พวกพรานคงทราบพระเจ้าค่ะ” จากนั้นพระราชาจึงรับสั่งให้เรียกตัวนายพรานทั้งหมดมาเข้าพบและซักถามถึงนกยูงทอง หนึ่งในนายพรานทั้งหมดนั้น
มีลูกของนายพรานผู้ที่เคยเห็นนกยูงทองรวมอยู่ด้วย “ขอเดชะถึงข้าพระองค์จะไม่เคยเห็น แต่บิดาของข้าพระองบอกไว้ว่า นกยูงทองมีอยู่บนยอดเขา ห่างจากนี้
ไปอีกสี่ทิวเขาพระเจ้าค่ะ”
 
นกยูงหนุ่มสวดพระปริตรทุกวันในตอนเช้าและตอนเย็น
 
นกยูงหนุ่มสวดพระปริตรทุกวันในตอนเช้าและตอนเย็น
 
     “สหายเอ๋ย เธอจะเป็นที่ให้ชีวิตแก่ฉันและเทวีได้ เพราะฉะนั้นเธอจงไปที่นั้น จับมัดนกยูงทองนั้นกลับมาเถิด เราจะประทานทรัพย์ให้เป็นอันมาก” เมื่อได้รับคำสั่ง
จากพระราชาลูกนายพรานนั้น หลังจากมอบทรัพย์ที่ได้จากพระราชาให้ลูกเมียแล้วก็รีบเดินทางไปในป่า ดังคำที่พ่อของเขาเคยสั่งเสียไว้
 
นายพรานตั้งใจที่จะจับนกยูงทองไปถวายพระราชา
 
นายพรานตั้งใจที่จะจับนกยูงทองไปถวายพระราชา
 
     “ ไกลเหลือเกิน เดินทางมาตั้งหลายวันกว่าจะถึง ทีนี้ล่ะเจ้านกยูงทองเอ๋ย เราจะตองจับเจ้าไปถวายแด่พระราชาให้ได้” ลูกนายพรานดักซุ่มตรงยอดเขาได้ไม่นาน
เขาก็พบนกยูงทอง พรานร้ายทำบ่วงดักรอนกยูงทองให้มาติดกับอยู่นาน จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปีจนในที่สุดก็ตายไป ทางฝั่งพระเทวีเมื่อไม่ได้นกยูงทองดั่ง
ปรารถนา ก็สิ้นพระชนม์ไป
 
นกยูงไม่เคยติดบ่วงบาศก์แม้เพียงครั้งเดียว
 
นกยูงไม่เคยติดบ่วงบาศก์แม้เพียงครั้งเดียว
 
     เป็นเหตุให้พระราชาทรงโกรธแค้นมาก “เพราะนกยูงทองตัวนั้นแท้ๆ ที่ทำให้เมียรักของเราต้องตายลงไป คอยดูเถอะเราจะไม่ให้เจ้ามีชีวิตอยู่อย่างสบายหรอก
จากนี้ไปเจ้าจะต้องโดนตามล่า ทุกคนต้องตามล่าเจ้านกยูงทองนั้นให้ได้” พระราชาทรงมีอำนาจพระหฤทัยเป็นไปในอำนาจแห่งเวร
 
 
นายพรานเล่าให้ลูกของตนได้ฟังในเรื่องของนกยูงทองก่อนที่ตนจะสิ้นใจ
 
นายพรานเล่าให้ลูกของตนได้ฟังในเรื่องของนกยูงทองก่อนที่ตนจะสิ้นใจ
 
     ทรงให้จารึกในแผ่นทองว่า ที่ทิวเขาที่สี่ในป่าหิมพานต์มีนกยูงทองอาศัยอยู่ บุคคลได้กินเนื้อของยุงทองแล้วนั้นจะไม่แก่ไม่ตาย แล้วบรรจุหนังสือนั้นไว้ในหีบ
ไม้แก่นจนพระองค์สวรรค์คตไป ครั้นกษัตริย์พระองค์ใหม่ได้เป็นพระราชาเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นอักษรในแผ่นทองก็เกิดกิเลสอยากเป็นอมตะไม่แก่ไม่ตาย
อย่างที่พระราชาองค์เก่าได้เขียนไว้
 
พระนางเขมาทรงพระสุบินว่าตนได้ฟังธรรมจากนกยูงทอง
 
พระนางเขมาทรงพระสุบินว่าตนได้ฟังธรรมจากนกยูงทอง
 
     “ทหารเจ้าจงส่งพรานป่าฝีมือดีไปล่าเอานกยูงทองนั้นมาให้ได้ เราจักกินเนื้อนกยูงทองตัวนั้น จากนี้ไปเราก็จะไม่แก่ไม่ตาย อยู่คงกระพัน” แต่แล้วเหตุการณ์ก็เกิด
เหมือนเดิม นายพรานที่ทหารส่งไปซุ่มดักจนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถจับนกยูงทองได้ จนนายพรานผู้นั้นได้เสียชีวิตไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นวนเวียนไปจนล่วงถึง 6 รัชกาล
 
พระราชทรงรับสั่งให้บรรดาพรานออกตามล่าหานกยูงทอง
 
พระราชทรงรับสั่งให้บรรดาพรานออกตามล่าหานกยูงทอง

     ลูกนายพรานทั้งหกคนได้เสียชีวิตในป่าหิมพานต์เอง จนมาถึงรัชกาลที่ 7 ลูกนายพรานคนที่เจ็ดก็ได้รับคำสั่งจากพระราชาให้ตามจับตัวนกยูงทองนั้นอีกเช่นกัน
นายพรานคนที่เจ็ดนี้ดักซุ่มจับนกยูงทองนี้วันแล้ววันเล่าจนถึง 7 ปี นกยูงทองนั้นก็ไม่เคยติดกับดักเขาเลยสักครั้ง
 
ลูกของนายพรานออกเดินทางเข้าป่าหิมพานต์เพื่อจับนกยูงทอง
 
ลูกของนายพรานออกเดินทางเข้าป่าหิมพานต์เพื่อจับนกยูงทอง
 
     “เอ้ เพราะอะไรกันนะ นกยูงทองนี่ถึงไม่เคยติดกับดักเราเลย ดีล่ะ เราจะคอยดูเจ้า ว่าเจ้าใช้วิธีไหนหนีรอดกับดักเราไปได้” จากนั้นนายพรานจึงคอยดูนกยูงทองนั้น
เมื่อเห็นเจริญพระปริตรทุกเย็นทุกเช้า ก็กำหนดได้โดยนัยว่า ในสถานที่นี้นกยูงตัวอื่นไม่มีเลย อันพญายูงทองตัวนี้คงประพฤติพรหมจรรย์
 
พระนางเขมาทรงสิ้นพระชนม์เพราะตรอมใจที่ไม่ได้ฟังธรรมจากนกยูง
 
พระนางเขมาทรงสิ้นพระชนม์เพราะตรอมใจที่ไม่ได้ฟังธรรมจากนกยูง
 
     ด้วยอานุภาพแห่งพรหมจรรย์และด้วยอานุภาพแห่งพระปริตบ่วงจึงไม่ติดเท้าของพญายูงทอง นายพรานเมื่อทราบนัยดังกล่าวแล้ว จึงไปสู่ปัจจันตชนบทดักนางยูง
ได้ตัวหนึ่งฝึกฝนให้ขันในเวลาดีดนิ้วมือ ให้ฟ้อนในเวลาตบมือ “เออ อย่างนี้แหละลูกพ่อ ขันเสียงสวยๆ หน่อยเอาให้นกยูงทองตกตะลึงไปเลยนะลูก”
 
พระราชาทรงจารึกเรื่องของนกยูงทองไว้ในแผ่นทองด้วยความโกรธแค้น
 
พระราชาทรงจารึกเรื่องของนกยูงทองไว้ในแผ่นทองด้วยความโกรธแค้น
 
     พอถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น นกยูงทองบินมาเกาะบนยอดเขา มิทันที่จะได้เจริญปริตร นายพรานดีดนิ้วมือให้นางนกยูงขัน เมื่อพญายูงทองได้ฟังเสียงของนางยูง
กิเลสที่ราบเรียบอยู่ตลอดเวลา 700 ปี ก็ฟุ้งขึ้นทันทีทันใด เป็นเหมือนอสรพิษที่ถูกตีด้วยท่อนไม้แต่พังพานฉะนั้น นกยูงทองกระวนกระวายด้วยอำนาจกิเลส
จนไม่สามารถเจริญพระปริตรได้ทีเดียว
 
พระราชาองค์ใหม่ได้อ่านคำจารึกในแผ่นทองคำเกี่ยวกับเรื่องของนกยูงทอง
 
พระราชาองค์ใหม่ได้อ่านคำจารึกในแผ่นทองคำเกี่ยวกับเรื่องของนกยูงทอง
 
     นกยูงทองรีบบินไปยังสำนักนางยูงโดยเร็ว ถลาลงโดยอากาศสอดเท้าเข้าไปในบ่วงเสียเลย บ่วงที่ไม่เคยรูดตลอด 700 ปี ก็รูดรัดในขณะนั้น “เจ้านกยูงทองเอ๋ย นายพราน
หกคนไม่สามารถที่จะดักตัวเจ้าได้ ถึงตัวเราก็ไม่สามารถดักได้เจ็ดปี แต่บัดนี้เจ้าต้องมาติดบ่วงบาศเพราะอำนาจกิเลสที่มีต่อนางนกยูง
 
ผ่านไป 7 รัชกาลก็ยังไม่มีพรานคนใดจับนกยูงทองได้ต่างพากันเสียชีวิตไปตามกาลเวลา
 
ผ่านไป 7 รัชกาลก็ยังไม่มีพรานคนใดจับนกยูงทองได้ต่างพากันเสียชีวิตไปตามกาลเวลา
 
     การที่เราจะนำสัตว์มีศีลนี้ไปถวายให้พระราชาคงเป็นเรื่องที่ผิดเสียแล้วล่ะ เอาเถอะเราจะปล่อยเจ้าไป” นายพรานเลือกใช้ธนูยิงไปที่บ่วงบาศก์แทนการเข้าไปปลดเอง
เนื่องจากคิดว่านกยูงทองอาจจะคิดว่าประสงค์ร้าย พาลจะดิ้นทุรนทุรายอันเป็นสาเหตุให้เท้าและปีกบอบช้ำได้
 
ลูกของนายพรานคนที่เจ็ดได้ฝึกนางนกยูงให้ฟ้อนในเวลาปรบมือ
 
ลูกของนายพรานคนที่เจ็ดได้ฝึกนางนกยูงให้ฟ้อนในเวลาปรบมือ
 
     เค้าคงอยู่ในที่ซ่อน ยกธนูขึ้นสอดลูกศรยืนจ้องอยู่ ทางฝ่ายนกยูงเองเมื่อมองเห็นนายพรานเล็งธนูมาจึงร้องขอชีวิต “ดูก่อนสหาย ถ้าท่านจับข้าพเจ้าเพราะเหตุ
แห่งทรัพย์แล้ว ท่านอย่าฆ่าข้าพเจ้าเลย จงจับเป็น นำข้าพเจ้าไปถวายพระราชาเถิด เข้าใจว่าท่านจะได้ทรัพย์ไม่ใช่น้อยเลย”
 
นกยูงทองไม่สามารถสวดพระปริตรได้เพราะได้ยินเสียงของนางนกยูง
 
นกยูงทองไม่สามารถสวดพระปริตรได้เพราะได้ยินเสียงของนางนกยูง
 
     นายพรานได้ตอบกลับนกยูงทองว่า เหตุที่ยกธนูขึ้นเล็ง มิใช่ว่าต้องการชีวิต แต่ต้องการที่ปลดปล่อยนกยูงทองให้เป็นอิสระ นกยูงทอง
เมื่อได้เห็นว่านายพรานผู้นี้มีธรรมะในจิตใจ จึงแสดงธรรมให้นายพรานได้เกรงกลัวต่อบาปกลัวการตกนรกเพราะทำชั่ว เพียงชั่วครู่จากพราน
ที่คิดปองร้ายเอาชีวิตสัตว์ก็บรรลุธรรม
 
นกยูงทองบินตามเสียงนางนกยูงจนเท้าของตนเข้าไปติดในบ่วงบาศก์
 
นกยูงทองบินตามเสียงนางนกยูงจนเท้าของตนเข้าไปติดในบ่วงบาศก์
 
     นายพรานได้ร้องขอให้นกยูงทองช่วยปลดปล่อยสัตว์อื่นๆ ที่ได้ถูกเขาจองจำไว้ให้ได้เป็นอิสระ “ปัจเจกโพธิญาณที่ท่านทำลายกิเลสเสียแล้ว บรรลุ
ด้วยโพธิมรรคใด โปรดปรารภด้วยโพธิมรรคนั้น กระทำสัจจกิริยาเถิด ธรรมดาสัตว์อันต้องจองจำในชมพูทวีปทั้งสิ้น ก็จักไม่มี ท่านดำรงอยู่ในฐานะที่
พระโพธิสัตว์กล่าวแล้วเมื่อจะทำสัจจกิริยา”
 
นายพรานได้ฟังธรรมจากนกยูงทองจนบรรลุธรรมในที่สุด
 
นายพรานได้ฟังธรรมจากนกยูงทองจนบรรลุธรรมในที่สุด
 
     เมื่อนั้นนกยูงทองก็ได้กล่าวคาถาปลดปล่อยสรรพสัตว์ที่ได้รับการจองจำให้พ้นเป็นอิสระ เมื่อนกยูงกล่าวคาถาจบ นกทั้งปวงก็พ้นจากที่กักขัง พอดีกัน
กับเวลาที่พระปัจเจกโพธิกระทำสัจจกิริยานั้นเอง ต่างร้องร่าเริงบินไปที่อยู่ของตนทั่วกัน ในขณะนั้นบรรดาสัตว์ต่างๆ ก็ไม่มีตัวใดได้ถูกจองจำไว้อยู่เลย
 
บรรดาสัตว์ทั้งหลายถูกปลดปล่อยออกจากที่คุมขัง
 
บรรดาสัตว์ทั้งหลายถูกปลดปล่อยออกจากที่คุมขัง
     
     จากนั้นมานายพรานก็ละจากเพศคฤหัสถ์ หันมาสู่เพศบรรพชิต ส่วนนกยูงทองก็ใช้ชีวิตด้วยการสวดเจริญปริตรดังเดิม พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว
ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันดำรงในพระอรหันต์ แล้วทรงประชุมชาดกว่า
 
พระปัจเจกพุทธเจ้าในครั้งนั้น ปรินิพพาน
ส่วนพญายูงทองได้มาเป็น เราตถาคตแล
 
 
[[videodmc==52910]]
 
 
นิทานชาดก 500 ชาติ
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/นิทานชาดก/นิทานชาดก-มหาโมรชาดก.html
เมื่อ 19 มีนาคม 2567 13:41
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv