พระพากุลเถระ ตอน ได้เป็นเอตทัคคะด้านมีอาพาธน้อย

ในภัทรกัปนี้ พระพากุลเถระได้มาเกิดในตระกูลมหาเศรษฐี แห่งนครโกสัมพี ช่วงก่อนที่พระสมณโคดมพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น และในระหว่างที่ท่านถือปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา ก็ทำ ให้ตระกูลของท่านประสบลาภผลอันเลิศถึงขนาดทำ ให้มารดาของท่านคิดว่า ลูกของเราคนนี้ต้องเป็นเด็กมีบุญญาธิการ และถ้าลูกคนนี้เป็นผู้ไม่มีโรคและมีอายุยืนอยู่ได้นานขนาดไหน ก็จะเป็นผู้บันดาลสมบัติให้แก่เราตลอดกาลยาวนานขนาดนั้น https://dmc.tv/a19714

บทความธรรมะ Dhamma Articles > เคล็ดลับสุขภาพจากพระไตรปิฎก
[ 13 มี.ค. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18273 ]
ได้เป็นเอตทัคคะด้านมีอาพาธน้อย
ในชาติสุดท้าย สมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

 
เรียบเรียงจาก : อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ติกนิบาต
: อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอตทัคคบาลี
 

      ในภัทรกัปนี้ พระพากุลเถระได้มาเกิดในตระกูลมหาเศรษฐี แห่งนครโกสัมพี ช่วงก่อนที่พระสมณโคดมพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น และในระหว่างที่ท่านถือปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา ก็ทำ ให้ตระกูลของท่านประสบลาภผลอันเลิศถึงขนาดทำ ให้มารดาของท่านคิดว่า ลูกของเราคนนี้ต้องเป็นเด็กมีบุญญาธิการ และถ้าลูกคนนี้เป็นผู้ไม่มีโรคและมีอายุยืนอยู่ได้นานขนาดไหน ก็จะเป็นผู้บันดาลสมบัติให้แก่เราตลอดกาลยาวนานขนาดนั้น

     เมื่อคิดดังนี้ จึงเอาลูกไปอาบน้ำในแม่น้ำยมุนา เพราะสมัยนั้นใคร ๆ ก็จะเอาเด็กมาอาบน้ำในแม่น้ำสายนี้ เพราะมีธรรมเนียมถือกันว่า ถ้าเอาเด็กลงอาบน้ำในแม่น้ำนี้ จะทำ ให้เป็นผู้ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

      ครั้นเมื่อพวกพี่เลี้ยงพาพากุลกุมารไปอาบน้ำ ก็มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งสำ คัญว่าทารกเป็นอาหาร จึงกลืนทารกเข้าไปในท้อง

     แต่ด้วยบุญของทารกน้อยพากุละ ทำ ให้ทารกรู้สึกประหนึ่งเหมือนเข้าไปสู่ห้องนอนแล้วหลับไปเท่านั้นตรงกันข้าม ด้วยเดชแห่งทารก ปลาที่กลืนกินทารกเข้าไปกลับรู้สึกทรมานเหมือนกลืนภาชนะร้อนลงไป จึงทำ ให้ปลาผู้โชคร้ายตัวนั้นมีกำลังว่ายต่อไปได้ 30 โยชน์ แล้วไปติดอวนของชาวประมงเมืองพาราณสี และเมื่อชาวประมงได้นำ ปลาออกจากอวนแล้วปลาก็ตายทันที จึงทำให้ชาวประมงหาบปลาใส่คานร้องประกาศขายไปทั่วเมืองว่าจะขายปลาตัวนี้ด้วยราคาหนึ่งพันกหาปณะ

    ครั้นเมื่อชาวประมงหาบปลามาถึงประตูเรือนของเศรษฐีตระกูลหนึ่ง ภริยาเศรษฐีเห็นเข้าก็ถูกใจ จึงถามว่าจะขายเท่าไร ชาวประมงแทนที่จะตอบตามราคาที่ตั้งใจไว้ กลับตอบไปว่า ขายหนึ่งกหาปณะ นางจึงรีบซื้อไว้ทันที

     ปกติภริยาเศรษฐีจะไม่ชอบทำ ปลา แต่วันนั้น ด้วยบุญของทารกดลใจให้นางวางปลาไว้บนเขียง แล้วลงมือผ่าข้างหลังปลาด้วยตัวนางเอง ซึ่งปกติแล้วจะต้องผ่าที่ท้อง และทันใดนั้นเอง นางก็เห็นทารกผิวดั่งทองอยู่ในท้องปลา จึงเกิดปีติยินดี เพราะตระกูลของนางมีสมบัติมากถึง 80 โกฏิ แต่ไม่มีบุตรผู้สืบสกุล

      ด้วยเหตุนี้นางจึงอุ้มเด็กไปให้เศรษฐีผู้เป็นสามีดูท่านเศรษฐีก็ดีใจให้คนตีกลองประกาศข่าวไปทั่วพระนครในทันที จากนั้นก็พากันอุ้มทารกน้อยไปยังพระราชสำนักเพื่อกราบทูลพระราชาว่า “ขอเดชะ...ข้าพระพุทธเจ้าได้พบทารกในท้องปลา ข้าพระพุทธเจ้าจะต้องทำ ประการใด” พระราชาตรัสว่า.. “ทารกอยู่ในท้องปลาได้อย่างปลอดภัยแปลว่าทารกนี้เป็นผู้มีบุญ ดังนั้นให้ท่านจงเลี้ยงไว้เถิด”


     จากนั้นข่าวนี้ก็ได้แพร่สะพัดออกไปถึงนครโกสัมพีว่ามีตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่งได้พบทารกในท้องปลาทำ ให้มารดาเดิมของทารกทราบข่าว จึงไม่รอช้า รีบเดินทางไปเล่าความเป็นมาและแสดงความเป็นเจ้าของทารกนั้นให้ภริยาเศรษฐีเมืองพาราณสีฟัง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้จึงพากันไปยังพระราชสำนักให้พระราชาเป็นผู้ตัดสินซึ่งพระราชาก็ตัดสินให้ทั้ง 2 ฝ่าย รับเป็นผู้เลี้ยงดูทารกน้อยนี้ร่วมกัน โดยให้ชื่อว่า พากุลกุมาร หมายความว่าเติบโตขึ้นเพราะ 2 ตระกูลเลี้ยงดู

     นับจากนั้น ด้วยบุญของพากุลกุมารจึงทำ ให้ทั้ง 2 ตระกูล ประสบลาภยศเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งยวด และต่างได้สร้างปราสาทให้ท่านพากุละไว้ใน 2 พระนคร แล้วบำรุงบำเรอด้วยหญิงฟ้อนรำ ซึ่งท่านพากุละจะอยู่นครละ 4 เดือน เมื่อครบ 4 เดือน ก็จะนั่งเรือเดินทางกลับไปยังอีกนครหนึ่ง สลับไปมาอย่างนี้


     แม้ท่านพากุละจะต้องเดินทางโดยทางเรือก็จริง แต่ก็ไม่ลำบากประการใดเลย เพราะเรือที่ใช้เดินทางนั้น เป็นเรือที่ทั้ง 2 ตระกูล ให้ช่างสร้างขึ้นเป็นพิเศษโดยสร้างมณฑปอย่างดีไว้ในนั้น อีกทั้งยังมีหญิงฟ้อนรำ คอยบำรุงบำเรอให้ความเพลิดเพลินตลอดการเดินทาง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ท่านพากุละเสวยสุขบันเทิงในสมบัติตลอดกาลยาวนานจนอายุครบ 80 ปีบริบูรณ์

     จากนั้นไม่นาน ท่านพากุละก็ได้ทราบข่าวการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์เสด็จจาริกมาถึงกรุงโกสัมพีพอดี ท่านพากุละจึงได้เดินทางไปเข้าเฝ้าโดยนำของหอมและมาลัยไปสักการะยังสำนักพระศาสดา และเมื่อท่านพากุละฟังธรรมจบก็เกิดศรัทธาออกบวชทันทีและทำความเพียรอยู่แค่ 7 วัน พออรุณวันที่ 8 ก็บรรลุอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาในวัย 80 ปี


     เมื่อท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ได้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธบริษัทเพราะท่านเป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในธุดงค์ ข้อ “เนสัชชิกธุดงค์” คือ การสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่นอิริยาบถ 3 คือยืนเดินและนั่งโดยไม่นอนเลยและข้อ “อรัญญิกธุดงค์” คือ การสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่ป่าเป็นวัตร โดยตั้งแต่บวชมา ท่านไม่เคยจำพรรษาในวัดเลย นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ไม่มีโรคเบียดเบียนไม่เคยต้องให้หมอรักษาพยาบาล ไม่เคยฉันยาใด ๆ แม้แต่ผลสมออันเป็นยาสมุนไพรแม้เพียงผลเดียว เพราะว่าท่านไม่เคยป่วยเลย ทั้งนี้เป็นเพราะอานิสงส์แห่งการทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระภิกษุหายจากอาพาธด้วยการถวายยา การสร้างกัปปิยกุฏิ (เรือนพยาบาล)สร้างวัจจกุฏิ (ส้วม) และจัดตั้งยาใช้และยาฉันสำหรับภิกษุสงฆ์ไว้ครบถ้วนทุกอย่าง

     จากการประกอบเหตุไว้ในอดีตชาติเช่นนี้ จึงทำให้ท่านมีอายุขัยยืนยาวถึง 160 ปี แล้วเข้าปรินิพพาน
 

http://goo.gl/4whe9A


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พระพากุลเถระ ตอน อานิสงส์จากการทำให้พระภิกษุหายจากอาพาธ
      พระพากุลเถระ ตอน สร้างมหากุศลใหญ่ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า
      พระพากุลเถระ ตอน สร้างมหากุศลใหญ่ในสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า
      พระพากุลเถระ ตอน สร้างมหากุศลใหญ่ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
      พระพากุลเถระ เอตทัคคมหาสาวกผู้มีอาพาธน้อย
      พระพากุลเถระ ตอน สร้างมหากุศลใหญ่ในสมัยพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related