ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน

ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน ประจำปี พุทธศักราช 2558 วันที่ 28 ตุลาคม ถึง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 https://dmc.tv/a20545

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
[ 16 ก.ย. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18256 ]
ทอดกฐิน
ประเพณีทอดกฐิน
ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
ทอดกฐิน ณ วัดใกล้บ้านหรือวัดที่ท่านคุ้นเคย
วันที่ 28 ตุลาคม ถึง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
 ช่วงเวลา 1 เดือนที่มีค่า เป็นมหากาลทาน "บุญทอดกฐิน" 
 
 
    การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง
 
     การทอดกฐินเป็นประเพณีอันดีงามของชาวพุทธที่ศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2,500 ปี กำเนิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐออกเดินทางไกล เพื่อไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน พระภิกษุเหล่านั้นมีจีวรที่เปรอะเปื้อนเปียกชุ่ม และเปื่อยขาดด้วยความเก่า พระบรมศาสดาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษารับผ้ากฐินได้หลังออกพรรษา เพื่อนำมาผลัดเปลี่ยนผ้าเก่า ประเพณีทอดกฐินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้นและสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน
 
     การทอดกฐินเป็นบุญที่มีอานิสงส์มหาศาล
 
     บุญจากการทอดกฐินเป็นบุญพิเศษ ที่ทำได้ยากกว่าบุญอื่น ด้วยสาเหตุหลายประการ ดังนี้ คือ


          1.) จำกัดด้วยเวลา คือต้องถวายภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันออกพรรษา

          2.) จำกัดชนิดทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอื่นไม่ได้
 
          3.) จำกัดคราว คือ แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
 
          4.) จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุรับกฐินได้จะต้องจำพรรษาที่วัดนั้นครบไตรมาส (3 เดือน) และจะต้องมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป
  
          5.) จำกัดงาน คือ เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว จะต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น
 
          6.) จำกัดของถวาย คือ ไทยธรรมที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรเท่านั้น โดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ ไทยธรรมอื่นจัดเป็นบริวารกฐิน เกิดจากพุทธประสงค์ พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อพลัดเปลี่ยนไตรจีวรเก่า แต่ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้อนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาต ถวายผ้าอาบน้ำฝน

     นอกจากนี้การทอดกฐินยังเป็นทานที่พิเศษ คือ ทั้งพระภิกษุและญาติโยมผู้ทอดกฐินได้อานิสงส์ด้วยกัน การทอดกฐินจึงเป็นบุญใหญ่ ที่ผู้ให้ (คฤหัสถ์) และผู้รับ (พระภิกษุสงฆ์) ต่างก็ได้บุญทั้ง 2 ฝ่าย

อานิสงส์การทำบุญทอดกฐินสำหรับคฤหัสถ์ บทความที่น่าอ่าน..เกี่ยวกับการทอดกฐิน
   
อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน ตอนที่ 1 การทอดกฐิน และประเพณีการทอดกฐิน
อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน ตอนที่ 2 มานพหนุ่มผู้ได้ผ้าทิพย์จากต้นกัลปพฤกษ์ ตอนที่ 1
อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน ตอนที่ 3 มานพหนุ่มผู้ได้ผ้าทิพย์จากต้นกัลปพฤกษ์ ตอนที่ 2
อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน ตอนที่ 4 อานิสงส์กฐิน-บาตรและจีวรอันเป็นทิพย์ และเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์
อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน ตอนที่ 5 อานิสงส์กฐิน - ความหมายของคำว่า ทอดกฐิน
อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน ตอนที่ 6 อานิสงส์การทำบุญทอดกฐิน
อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน ตอนที่ 7 อานิสงส์กฐิน นายติณบาล
อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน ตอนที่ 8




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันวิสาขบูชา 2566 ประวัติวันวิสาขบูชา
      วันมหาปูชนียาจารย์ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี
      วันออกพรรษา 2566 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันสมาธิโลก 2566 World Meditation Day
      วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
      วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันอัฏฐมีบูชา ประวัติความสำคัญธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา
      วันคุ้มครองโลก EarthDay ประวัติและความเป็นมาของวันคุ้มครองโลก
      วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
      วันมหาปวารณา วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
      เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
      ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ