เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อแรกประสูติ ทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าวจริงหรือ? - หลวงพ่อตอบปัญหา

เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อแรกประสูติ ทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าวนั้นเป็นไปได้จริงหรือ?, พระโพธิสัตว์ที่ยอมสละชีวิตเป็นเดิมพันนั้น ต่างจากการฆ่าตัวตายอย่างไร? https://dmc.tv/a7618

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 13 ส.ค. 2553 ] - [ ผู้อ่าน : 18276 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา 

 

 

โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียง จาก รายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC 
คำถาม:กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ ปัจจุบันนี้หลายคนสงสัยว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อแรกประสูติ ทรงดำเนินไปได้ ๗ ก้าวนั้น เป็นไปได้จริงหรือคะ?เราจะอธิบายให้เขาเชื่อได้อย่างไรคะ? 

คำตอบ: เรื่อง พอประสูติแล้วเจ้าชายสิทธัตถะเดินได้ ๗ ก้าวนี่ อย่าว่าแต่คุณโยมเลย หรือเด็กในยุคนี้ เมื่ออาตมาเป็นเด็ก อาตมาก็สงสัยเหมือนกัน แล้วก็สงสัยอยู่นานด้วย สงสัยจนกระทั่งอยู่มหาวิทยาลัยปีท้ายๆ แล้ว ความสงสัยในเรื่องนี้จึงได้คลายไป

            ทำไมจึงสงสัยกัน เพราะที่เราสงสัยคือ เรื่องที่พระองค์ทรงประสูติแล้ว ทรงดำเนินไปได้ ถ้าเปรียบกับทางโลก ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่เกินปัญญาของเราจะตรองตามทัน  ไม่ได้หมายความว่าตรองไม่ได้ ตรองได้ แต่ว่าเราจะต้องมีพื้นฐานทางด้านความรู้  ทางด้านจิตใจของเราสูงพอ  แล้วเราก็จะตรองตามทันได้ 
 
            เหมือนคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ชั้นสูง ถ้าเอาวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งอยู่ในระดับสูงๆ แล้วส่งให้เด็กชั้นประถม เด็กชั้นมัธยมไปคิดเขา ก็จะคิดไม่ได้ เพราะว่าพื้นฐานของเขาไม่พอ เรื่องที่ถามนี้มันอยู่ในลักษณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเรียกว่า อจินไตย ซึ่งแปลว่า เป็นวิสัย เหนือวิสัยที่พวกเราทั่วๆ ไปจะตรองตามทันได้ เรื่องที่จัดว่าเป็นอจินไตยหรือว่าคนทั่วไปยากแก่การตรองตามนั้น มีอยู่ ๔ เรื่อง 
            ๑.  พุทธวิสัย หมายถึง เรื่องที่กำลังพูดกันอยู่นี้
            ๒. ฌานวิสัย  คือ วิสัยของผู้ที่ได้สมาธิ(Meditation)ชั้นสูง จิตใจเขาผ่องใส แน่วแน่ มั่นคงกว่าคนทั่วไป ผ่องใสแน่วแน่มั่นคง จนกระทั่งเกิดอานุภาพพิเศษๆ ขึ้นมา เช่น สามารถระลึกชาติได้อย่างนี้ มันเกินกว่าที่เราจะตรองตามทัน 
            ๓. เรื่องวิบาก หรือว่าผลแห่งกรรม พอทราบว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่เนื่องจากเรื่องของกรรมเป็นเรื่องลึกซึ้ง มีความสลับซับซ้อนมาก เราได้แต่หลักใหญ่ๆ แต่เจาะลึกในเรื่องผลแห่งกรรม ที่มันเกิดต่อตัวเรา โดยรายละเอียดเราทำไม่ได้ เว้นแต่เราจะฝึกตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งให้ทาน รักษาศีล ทำภาวนามามากพอ แบบนั้นได้ 
           ปัญญาของเรา ไม่สามารถแยกแยะออกให้ได้ชัดเจนมากนัก มันถูกจำกัด เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงให้หลักการคร่าวๆ เอาไว้ก่อนว่า วิบากกรรมหรือผลแห่งการทำกรรมเอาไว้ ไม่ว่าดีหรือชั่ว มันมีผล แต่เจาะลงไปในรายละเอียดยังไม่ได้  สำหรับพวกเรา 
            ๔. ความคิดเรื่องโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นคนสร้าง หรือ เกิดขึ้นมาเอง  เกิดด้วยอาการอย่างไร  อย่าเสียเวลาคิด  ภูมิปัญญายังไม่พอ   คิดได้สำหรับผู้ที่สามารถระลึก ชาติได้  ถอยหลังไปดูกันว่ามันเกิดมา อย่างนั้นได้อย่างไร  แต่ถ้าเรายังทำอย่างนั้นไม่ได้ อย่าเพิ่งไปคิด 
 
             พอรู้หลักอจินไตย ว่าเป็นเรื่องเหมือนอย่างคำนวณในระดับสูงอย่างนั้แล้ว สำหรับพวกเรา ที่มีความรู้ในเรื่องธรรมะ เหมือแค่เด็กอนุบาล  อย่าเพิ่งไปคิด 
 
             เพราะฉะนั้น  รับฟังคร่าวๆ ไปก่อน ในการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เมื่อครั้งยังเพิ่งประสูติใหม่ๆ ก็ทรงดำเนินไปได้ถึง ๗ ก้าวนั้น เอาหลักคร่าวๆ ก่อนว่า 
 
             ๑.  ก่อนที่พระองค์จะทรงมาบังเกิดในชาตินี้ ทรงสร้างกรรมดีอย่างยิ่งยวดมาก่อน ที่ภาษาพระใช้คำว่าสร้างบารมีมา บารมีคืออะไร บารมี จริงๆ ก็คือบุญนั่นแหละ เมื่อคนเราทำความดีมากๆ ก็เกิดบุญ แต่ว่าบุญที่เกิดจากการเอาชีวิตเป็นเดิมพันนั้น เป็น บุญที่มีคุณภาพมากๆ ท่านเลยไม่เรียกว่าบุญ ท่านเรียกว่าบารมี  
 
            จากการที่พระองค์อบรมตัวพระองค์เองมาอย่างดี ด้วยบารมีอย่างที่ว่านั้นทำ ให้ได้ลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทั้ง ๓๒ ประการ คือ อวัยวะทุกส่วนของพระองค์ได้สัดส่วนกันดีเหลือเกิน คือได้สมดุลย์ทุกอย่างเหตุนี้ตั้งแต่อยู่ในพระครรภ์พุทธมารดาจึงไม่เหมือนใคร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? เพราะว่าเมื่อพระองค์อยู่ในพระครรภ์ของพุทธมารดา ปรากฎว่าทรงนั่งสมาธิอยู่ในครรภ์ ไม่ได้คดคู้อย่างพวกเรา นั่นคือลักษณะพิเศษอีกอย่าง ก็เป็นผลแห่งกรรมดี ที่ทำมาอย่างยิ่งยวด 
 
             ๒.  ทรงอยู่ในพระครรภ์ถึง ๑๐ เดือนเต็มไม่ขาดไม่เกินทรงหล่อหลอมร่างกายของพระองค์มาอย่างดี
 
             ๓.  ลักษณะของพระองค์ทุกสัดส่วน  พอเหมาะพอดีสมดุลย์อย่างที่ว่า
 
            ๔. พุทธมารดาท่านมีสุขภาพดีมาก ยิ่งไปกว่านั้นในขณะที่ทรงอุ้มครรภ์อยู่  พุทธมารดาท่านรักษาศีลบริสุทธิ์และนั่งสมาธิด้วย ใจก็เป็นบุญกุศล ทำบุญตลอดเลยพูดง่ายๆพระองค์ทรงอยู่ในครรภ์ของพุทธมารดาเหมือนพระอรหันต์นั่งเข้านิโรธสมาบัติ อะไรอย่างนั้น อยู่สบายมากไม่ต้องคุดคู้เหมือนคนทั้งหลาย

            เมื่อถึงเวลาที่พระองค์จะต้องทรงคลอด      ความที่ตอนอยู่ในครรภ์ก็นั่งสมาธิ  มีสติสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา   เมื่อถึงเวลาทรงคลอด ถ้าเป็นมนุษย์ทั่วไปจะเอาศีรษะออก    แต่พระองค์ทรงมีพระบาททั้ง ๒ ข้างออกก่อน  เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ทรงตัวได้ง่ายตั้งแต่คลอด  พอทรงประสูติปุ๊บ  เท้าแตะพื้น  ยืนปั๊บ อาศัยกำลังบุญบารมี ที่พระองค์ทรงสั่งสมมาดี  ยืน  ทรงสติสัมปชัญญะ  ได้รัดกุมครบถ้วนแล้วก็ก้าวย่างพระบาทไปได้ 

            ตรงนี้ต้องบอกว่าแรงกรรมดี หรือแรงบารมีของพระองค์ที่ทรงสั่งสมมา ตรองตรงนี้บางทีอาจจะยาก เพราะนี่เป็นเรื่องของแรงกรรม เราคุ้นแต่แรงกรรมฝ่ายลบ เราไม่คุ้นต่อแรงกรรมฝ่ายบวก จะชี้ให้ดูแรงกรรมฝ่ายลบ เป็นอย่างไร ปลา พอเกิดขึ้นมา มันก็ว่ายน้ำได้ คนนั้นว่ายไม่ได้ มันเป็นแรงกรรมของปลา แต่พวกสัตว์ เช่น ปลา นก พวกนี้เป็นแรงกรรมฝ่ายลบ ที่ทำกันมาอย่างหนัก ก็เป็นอย่างนั้น 

            ส่วนพระองค์ มีแรงกรรมฝ่ายบวกที่เรียกว่าบารมี ทรงสั่งสมมาดี เมื่อถึงเวลาแรงกรรมฝ่ายบวกส่งเสริมเข้า ก็เลยทำให้พระองค์ พอทรงประสูติปุ๊บ ก็ย่างก้าวพระ บาทได้ปั๊บ 

             ตรงนี้ฝากไว้นิดเดียว เป็นเรื่องคร่าวๆ ที่จะเตือนใจให้เราว่าเวลาจะคิดเรื่องอะไร  มนุษย์ทั่วไปเขาจะเอาตัวเองเป็นตัวตั้ง และอะไรที่ต่างจากที่เขาคิดว่าเป็นไปไม่ได้นั้นเพราะเอาตัวเองเป็นตัวตั้ง แต่อย่าลืมว่าพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ท่านสร้างกรรมมาไม่เหมือนกับเรา เพราะฉะนั้นมันเป็นวิสัยของท่านที่เรียกว่าพุทธวิสัย อย่างที่ว่า มาแล้วตั้งแต่ต้น ขอให้รับฟังเอาไว้ อย่าเชื่อและอย่าปฏิเสธ แต่ลงมือฝึกสมาธิเยอะๆ เมื่อไหร่ใจใส ใจนิ่ง ใจสว่างพอ เรื่องที่หลวงพ่อตอบมาทั้งหมด ไม่ยากเลยที่จะเข้าใจเดี๋ยวจะอธิบายให้ชาวโลกฟังได้ดีกว่าหลวงพ่ออีก ตั้งใจฝึกสมาธิกันไป อีกหน่อยก็เข้าใจได้เองไม่ยากสำหรับเรื่องนี้

 คำถาม: หลวงพ่อเจ้าคะ มีคนสงสัยว่า การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ ที่ยอมสละชีวิตเป็นเดิมพันนั้น ต่างจากการฆ่าตัวตายอย่างไรคะ ?

คำตอบ: ต่างกันอย่างยิ่งเลย การสร้างบารมีต่างกันอย่างยิ่งกับการฆ่าตัวตาย ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจคำว่าสร้างบารมีก่อน คำว่าบารมีมีความหมายอยู่ ๒ อย่าง 

            อย่างที่ ๑. บารมีคือบุญ เวลาเราทำความดีต่างๆ ก็เกิดบุญ บุญนี้เมื่อเกิดแล้วก็เก็บอยู่ในใจ เหมือนไฟฟ้า เมื่อเกิดแล้วเราก็เก็บชาร์จเอาไว้ในแบตเตอรี่ได้ นอกจากเก็บ เอาไว้ในใจแล้ว บุญยังสามารถกลั่นใจให้ใสเป็นแก้ว ใสเป็นเพชรได้อีกด้วย

            บุญที่เกิดขึ้นนั้น ก็มีคุณภาพต่างๆ กัน ถ้าตั้งใจทำบุญแบบธรรมดาๆ ก็ได้ บุญคุณภาพอย่างหนึ่ง แต่ถ้าตั้งใจทำบุญประเภทเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำบุญ ก็ได้บุญที่มีคุณภาพพิเศษขึ้นมาอีก บุญที่มีคุณภาพพิเศษๆ อันเกิดจากเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการ ทำอันนี้ ท่านเรียกว่าสร้างบารมี เรียกว่าบารมีก็ได้ 

            อย่างที่ ๒. หมายถึงนิสัยดีๆ ของเรา เช่น เมื่อเราทำความดีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันเป็นประจำครั้งแล้วครั้งเล่า ชาติแล้วชาติเล่า ในที่สุดก็เกิดเป็นนิสัยดีๆของเราขึ้นมา คือนิสัยชอบเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการสร้างบุญสร้างความดี สรุปสั้นๆ การสร้างบารมีนั้นมี ๒ อย่างคือ 
            ๑.   สร้างบุญที่มีคุณภาพชั้นเยี่ยมให้เกิดขึ้นในใจ  
            ๒.  เป็นการสร้างนิสัยดีๆ ขึ้นมา  

            ถ้าคนไหนสร้างบารมีอย่างที่ว่ามานี้ ใจของเขาที่ผ่องใสเป็นปกติแล้ว ฉลาดอย่างที่ว่านี้ ยังมีสติสัมปชัญญะควบคุมเอาไว้อย่างดีอีกด้วย จึงไม่เผลอไปคิด พูด ทำ ในสิ่งไม่ดี นี้เป็นหลักของการสร้างบารมี 

             ถ้าเจาะลึกลงไปอีก ถามว่าทำไมคนเราจึงต้องมาสร้างบารมีอีก พระอรหันต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องทรงสร้างบารมีทั้งนั้นเลย สร้างไปทำไม? บารมีนี่ เอาชีวิตเป็นเดิมพัน สร้างบุญสร้างความดีกันนี่ สร้างทำไม ย่อๆ สั้นๆ ในใจของคนเรานั้น ตั้งแต่วันที่เกิดมาแล้ว มันมีสิ่งไม่ดีอยู่ในใจ ทำนองเดียวกับเชื้อโรคที่อยู่ในกายของเรา ทันทีที่เราคลอดจากมารดาร่างกายเราก็มีเชื้อมีโรคบางอย่างติดมาแล้วที่ร่างกายนั้น จึงต้องมาฉีด วัคซีนต่างๆ ป้องกันเอาไว้   

            แต่สิ่งที่เราไม่เห็นก็คือ ในใจก็มีเชื้อร้ายอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกเชื้อร้ายที่เพาะมาปลูกฝังอยู่ในใจนั้นว่า กิเลส มันคอยกัดกร่อนบ่อนทำลายให้ใจของเรา นอกจากอ่อนล้าลงไปแล้วยังไม่พอ มันยังบีบคั้นให้ใจของเราคิดร้ายๆ อีกด้วย คิดโลภ โกรธ หลง อิจฉาตาร้อนสารพัดแล้วจะทำอย่างไร? จะยอมมันหรือ? ถ้ายอมมัน ก็เกิดเป็นกรรมร้ายๆ ที่เราต้องไปทำต่อไปแล้วเราก็ต้องเดือดร้อนเพราะกรรมร้ายที่เราทำ

            เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฉลาดมีปัญญาเขามองว่า ต้องสร้างภูมิคุ้มกันต่อการบีบคั้นของกิเลสขึ้นมาให้ได้ เหมือนเวลาเราฉีดวัคซีนลงไป วัคซีนนั้นฆ่าเชื้อโรคได้ฉันใด ถ้าเราสร้างภูมิคุ้มกันให้กับใจเราด้วยการสร้างบารมีลงไป เมื่อบารมีแก่กล้าเข้า ก็ฆ่ากิเลสที่อยู่ในใจได้ฉันนั้น 

             เพราะฉะนั้น การสร้างบารมี จึงเป็นเรื่องของคนที่มีใจผ่องใสเป็นปกติ มีความฉลาดเฉลียวเป็นปกติ สติสัมปชัญญะบริบูรณ์เป็นปกติไม่ใช่เรื่องของความ เผลอไผล เมื่อเป็นอย่างนี้จึงต่างกับการฆ่าตัวตายของมนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์ที่ฆ่าตัวตายนั้น มันเกิดด้วยความขาดสติมากกว่า พอขาดสติ มนุษย์จึงได้ฆ่าตัวตาย ตอนขาดสตินั้นใจมืด ตื้อยิ่งกว่าเข้าถ้ำ ยิ่งกว่าเอาใจไปจุ่มใน Indian ink เสียอีก ใจมันขุ่นคลั่กยิ่งกว่าโคลน เพราะฉะนั้น มันเต็มไปด้วยความโง่ จึงไม่เห็นคุณค่าของร่างกาย ที่ประกอบด้วย เลือด เนื้อของมนุษย์ว่าร่างกายนี้กว่าจะได้มานั้นยากมาก สร้างบุญมาไม่รู้กี่โกฏิกี่กัป กว่าจะได้ร่างกายมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเหมาะที่สุดในการทำความดีทุกรูปแบบ

            แต่เมื่อได้มาแล้ว แทนที่จะเอาไปทำความดี กลับอาศัยความน้อยอกน้อยใจ ความอึดอัดขัดข้องบ้าง ซึ่งเรื่องเหล่านั้นมันแก้ได้ มีทางแก้ไขทั้งนั้น แต่ว่าเอาแต่ใจตัว ขาดสติอย่างยิ่ง ก็เลยฆ่าตัวตายด้วยอำนาจแห่งความขุ่นมัว หรือความมืดบอดของใจ อย่างนั้น    

             เพราะฉะนั้นก็ฝากกับทุกๆคนไว้ มองภาพให้ชัดว่า การฆ่าตัวตายนั้น เป็นเรื่องของคนที่ขาดสติสัมปชัญญะ เข้าข่ายบ้าด้วยซ้ำ ไม่เห็นคุณค่าของร่างกายมนุษย์ ไม่เห็นคุณค่าของชีวิต แต่นักสร้างบารมียอมตายกันทีเดียว ถ้าจะสร้างความดีกันอย่างยิ่งยวด ยอมตายเลย ถ้าตายตอนนั้น ตายก็ใจใส มันต่างกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ขอให้ตั้งใจสร้างบารมีกันทุกคนเลย ยิ่งสร้างบารมีได้มากเท่าไหร่ ใจก็ผ่องใส เป็นเรื่องของ ฝ่ายขาวมากขึ้นเท่านั้น การฆ่าตัวตายก็เป็นเรื่องของฝ่ายดำเขา 

            อยากจะให้ทุกคนได้ศึกษา บารมีทั้ง ๑๐ ทัศ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงสร้างไว้ด้วย  ตั้งแต่ 

             ๑.  ทานบารมี  ตั้งใจให้ทานกันแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่อป้องกันแก้ไข ไม่ให้ใจของเรา ย้อนกลับไปโลภ ไปอยากได้ของใคร  มีแต่จะให้ ไม่มีกอบโกยเข้ามา 

             ๒.  รักษาศีลบารมีของเราให้ดี สร้างศีลบารมีของเราให้ดี เพื่อกำจัดความ โกรธที่ติดตัวข้ามภพข้ามชาติมา

            ๓.  สร้างเนกขัมมบารมี คือสละเรื่องเพศเรื่องกาม ตัดออกจากใจเสียให้ได้ แล้วจะได้ไม่ต้องไป เลี้ยงลูก เลี้ยงสามี เลี้ยงภรรยากับใครเขาอีก เหมือนหลวงพ่ออย่างนี้ เนกขัมมบารมีมาบวช สบายจริงๆ 

             ๔.  สร้างปัญญาบารมีของเราเยอะๆ ศึกษาธรรมะเยอะๆ แล้วมันก็เป็นความ ฉลาดติดตัวข้ามชาติไป 

            ๕. วิริยะบารมี คือถอยไม่เป็น สิ่งใดที่เป็นความดี รู้แล้วเดินหน้าสร้างความดี นั้นเรื่อยไป นี่ยกเป็นตัวอย่าง 

             ส่วนขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี บารมีทั้ง ๑๐ เหล่านี้ไปศึกษาในเรื่องทศชาติให้ดี มีตำราให้ศึกษาอยู่แล้ว ศึกษาค้นคว้า ให้ดี แล้วชาตินี้อย่าโง่ฆ่าตัวตายกับเขานะ มันโง่ข้ามชาติเลย น่าเสียดาย ฝากไว้ด้วย 

 

 


http://goo.gl/Xf9b2


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related