ทำสมาธิแบบอานาปานสติเหมือนอาโลกกสิณหรือไม่

การฝึกสมาธิจะมีกี่วิธีก็ตาม เริ่มต้นอาจต่างกัน แต่เมื่อฝึกไปแล้วในที่สุดจะเหมือนกันคือ เมื่อถึงจุดหนึ่งจะได้เข้าดวงปฐมมรรคด้วยกันทุกวิธี จากนั้นก็เดินทางเดียวกัน คือเข้าถึงธรรมกาย https://dmc.tv/a12191

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 17 ก.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18276 ]
 

คำถาม: ทำสมาธิแบบอานาปานสติ เหมือนอาโลกกสิณหรือไม่ ?

คำตอบ:  อาสนาปานสติ เป็นเรื่องของการทำสมาธิโดยใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก เมื่อกำหนดไปถึงจุดหนึ่งเข้า สติตั้งมั่นดีแล้ว ลมจะหยุดนิ่ง แล้วก็เป็นสมาธิ เป็นสมาธิในขั้นปฐมฌาณก่อน แล้วจึงพัฒนาขึ้นเป็นลำดับอย่างช้า ๆ
 
การฝึกสมาธิจะมีกี่วิธีก็ตาม แต่เมื่อฝึกไปแล้วในที่สุดจะเหมือนกันคือ เมื่อถึงจุดหนึ่งจะได้เข้าดวงปฐมมรรคด้วยกันทุกวิธี จากนั้นก็เดินทางเดียวกัน คือเข้าถึงธรรมกาย
การฝึกสมาธิจะมีกี่วิธีก็ตาม แต่เมื่อฝึกไปแล้วในที่สุดจะเหมือนกันคือ เมื่อถึงจุดหนึ่งจะได้เข้าดวงปฐมมรรคด้วยกันทุกวิธี จากนั้นก็เดินทางเดียวกัน คือเข้าถึงธรรมกาย
 
        สำหรับอาโลกกสิณ เป็นวิธีทำสมาธิ โดยกำหนดนิมิตเป็นดวงแก้วใสสว่าง กำหนดทีแรกไม่เหมือนกำหนดลมหายใจ แต่เมื่อกำหนดไปๆ ลมก็จะหยุดเช่นกัน  แล้วจะได้ดวงสว่างแต่ได้เร็วกว่าเพราะมีดวงสว่างเป็นนิมิต เป็นสื่ออยู่แล้ว
 
        ขอให้ทุกคนดูอุปมาอย่างนี้ นิ้วมือของคนเรามีอยู่ ๕ นิ้ว ไม่ว่าเราจะฉีดยาเข้าไปทางปลายนิ้วก้อย ปลายนิ้วนาง นิ้วชี้ หรือนิ้วหัวแม่มือ ฉีดยาเข้าไปเถอะที่นิ้วใดนิ้วหนึ่ง ในที่สุดยาก็จะมารวมที่ข้อมือจากข้อมือก็จะไหลเข้าแขน เข้าไหล่ เข้าหัวใจไปตามลำดับ
 
        เริ่มต้นอยู่ที่ปลายนิ้วคนละนิ้ว แต่สุดท้ายก็มาถึงที่เดียวกัน การฝึกสมาธิจะมีกี่วิธีๆ ก็ตาม การเริ่มต้นอาจจะต่างกันไป แต่เมื่อฝึกไปแล้วในที่สุดจะเหมือนกันคือ เมื่อถึงจุดหนึ่งเข้า จะได้เข้าดวงปฐมมรรคด้วยกันทุกวิธีไป แล้วจากนั้นก็จะเดินทางเส้นเดียวกัน คือเข้าถึงธรรมกายเป็นลำดับๆ ไปเป็นอย่างนี้
 

คำถาม: เวลานอนหลับ นอกจากเวลาฝันแล้ว จิตของคนเราอยู่นิ่งบ้างไหมครับ ถ้าจิตนิ่งบางขณะเฉพาะเวลาหลับเท่านั้น ถือ ว่าเป็นสมาธิหรือไม่ ?

คำตอบ: ถามว่าจิตของเราอยู่นิ่งบ้างไหม ถ้าจะว่านิ่ง มันก็นิ่งเหมือนกัน แต่มันนิ่งไม่นาน โบราณท่านเปรียบจิตว่าซุกซนเหมือนลิง ฝึกให้อยู่นิ่งๆ ยาก แล้วสภาพที่จิตนิ่งนี้ต้องแยกให้ออกด้วย คนที่จิตนิ่งระหว่างอยู่ในสมาธิกับคนที่จิตนิ่งเพราะเพลีย หรือคนที่หลับสนิท นี่ไม่เหมือนกัน
 
ถ้าจิตมีสติกำกับจิตจะนิ่งเป็นสมาธิ แต่ถ้าจิตนิ่งโดยไม่มีสติกำกับก็คือหลับ
ถ้าจิตมีสติกำกับจิตจะนิ่งเป็นสมาธิ แต่ถ้าจิตนิ่งโดยไม่มีสติกำกับก็คือหลับ
 
        คนหลับสนิทจิตมันนิ่ง แต่ไม่มีสติกำกับ เลยหลับไม่รู้เรื่องส่วนคนที่อยู่ในสมาธิ นอกจากจิตนิ่งแล้ว เขายังมีสติคุมอยู่ คุมให้จิตจรดอยู่ศูนย์กลางกายพอดี จิตมีสติกำกับ จิตจึงนิ่งเป็นสมาธิ ถ้าจิตนิ่งโดยไม่มีสติกำกับมันก็คือหลับ มันต่างกันตรงความมีสติ
 
        เพราะฉะนั้น “ที่ใดมีสติ ที่นั่นก็มีสมาธิ ที่ใดมีสมาธิ ที่นั่นก็มีสติ”
 
        เมื่อบอกว่านาย ก. กำลังฝึกสติ ก็หมายความว่า นาย ก. กำลังฝึกสมาธิด้วย บอกว่า นาย ข. กำลังฝึกสมาธิ ก็หมายความว่า นาย ข. กำลังฝึกสติด้วย แต่ว่าเมื่อนาย ก. นอนหลับ ก็ต้องบอกว่า นาย ก. ไม่มีสติ
 
        เพราะฉะนั้น นาย ก. ก็ไม่มีสมาธิ จิตนิ่งคราวนี้ไม่ได้อยู่ในเส้นทางของการฝึกสมาธิหรอกนะ
 
คำถาม: การทำพระกรรมฐานเกี่ยวกับพระธรรมกาย ในบทที่กล่าวถึงฐานที่ ๗ ทำไมในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวไว้เลย แม้แต่ในการสำเร็จเป็นพระอรหันต์ของพระสาวก แต่ละองค์ก็ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องธรรมกาย เวลาใครจะนิพพานต้องนิพพานในฐานที่ ๗ ก็ไม่ได้กล่าวไว้เลยเล่าครับ ?
ภาพแสดงที่ตั้งศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ภาพแสดงที่ตั้งศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
 
คำตอบ: อย่าว่าแต่แค่เรื่องนี้เลย แม้แต่ว่าฝึกสมาธิซึ่งมีอยู่ ๔๐ วิธีในพระไตรปิฎกก็ไม่ได้เขียนรายละเอียดวิธีปฏิบัติเอาไว้ ทำไมจึงไม่เขียน?
 
        ที่ท่านไม่เขียนกันไว้ก็คงเป็นด้วยเหตุผลคล้ายๆ กับที่เราในปัจจุบันไม่ได้จดบันทุกข้อมูลอะไรตั้งหลายอย่างนั่นแหละ คือเมื่อเริ่มมีการบันทึกพระไตรปิฎกนี่ ขณะนั้นมีพระอรหันต์อยู่มากมายเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะฉะนั้นพอพูดถึงการทำสมาธิ พูดถึงธรรมกายนี่ใครๆ ก็รู้จัก ท่านจึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะฉะนั้นรายละเอียดวิธีปฏิบัติจึงถูกละกัน ไม่บันทึกไว้ พวกเรารุ่นหลังเลยไม่ได้เห็น
 
        ส่วนวิธีฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงธรรมกาย ที่เราใช้เป็นแม่บทอยู่ขณะนี้ ก็เป็น ๑ ใน ๔๐ วิธี ที่ท่านไม่ได้ให้รายละเอียดไว้นั่นแหละ ตำราที่เราใช้นี้เป็นตำราที่เขียนเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๐๐ ก่อนหน้านั้นพระอรหันต์มีเต็มเมือง สิ่งเหล่านี้เขารู้กันทั้งนั้น จึงถือว่าเป็นของธรรมดาเลยไม่ได้บันทึกไว้ หรือบันทึกเพียงสั้นๆ
 
วิธีฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงธรรมกายที่เราใช้เป็นแม่บทอยู่ขณะนี้ ก็เป็น ๑ ใน ๔๐ วิธี
วิธีฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงธรรมกายที่เราใช้เป็นแม่บทอยู่ขณะนี้ ก็เป็น ๑ ใน ๔๐ วิธี
 
        พอผ่านเวลาไปแล้วเป็นร้อย ๆ ปี พระอรหันต์เริ่มหายาก บันทึกสั้น ๆ ที่พอมีอยู่บ้าง คนรุ่นหลังเริ่มอ่านไม่เข้าใจ นึกถึงวิธีปฏิบัติไม่ได้ เอาละสิทีนี้ ก็เหมือนกับพวกเราขณะนี้ จะเทียบให้ดูก็ได้ ตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นพ่อรุ่นแม่มาถึงรุ่นเรา คำว่าน้ำพริก เรารู้ว่าน้ำพริกคืออะไร ? แต่ไม่แน่ว่าอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า รุ่นหลานรุ่นเหลนของเราน้ำพริกของเขาจะหน้าตาเหมือนน้ำพริก ของเราหรือเปล่าก็ไม่รู้
 
        ตำราที่เขียนเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๐๐ ได้เขียนศัพท์คำว่าธรรมกายเอาไว้ แต่ถ้าไม่ได้ปฏิบัติสมาธิ ก็นึกตามไม่ได้ หลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี) ท่านค้นคว้าในสมาธิจนเข้าถึงธรรมกายได้รู้ได้เห็นด้วยตัวของท่านเอง และบันทึกขึ้นตอนการปฏิบัติเอาไว้ ศัพท์ที่ท่านใช้ปรากฎว่าตรงกับศัพท์ดั้งเดิม ตรงกับตำราที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน
 
        นักศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาจึงควรมั่นใจได้ว่า ท่านไม่ได้พูดนอกตำรา ส่วนคำว่าฐานที่ ๗ หรือฐานต่าง ๆ ที่ท่านยกมาเป็นคำสอน ก็เป็นข้อแนะนำในทางปฏิบัติ เป็นศัพท์ที่ท่านบัญญัติขึ้น เพื่อสอนลูกศิษย์ ใครก็ตามที่เข้าธรรมกายในตัวแล้ว ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะตรงฐานที่ ๗ หรือไม่ แม้ที่สุดคำภาวนาว่า สัมมา อะระหัง ก็ไม่จำเป็นต้องเอามาภาวนาอีก
 
        หลวงพ่อว่าเราลงมือปฏิบัติตามคำที่ท่านสอนก่อนดีกว่าอย่ามัวไปติดใจสงสัยในศัพท์แสงอะไรให้มากนักเลย เข้าถึงธรรมกายแล้วจะเลิกสงสัยเอง

http://goo.gl/d6Rwq

     
Tag : หลวงพ่อตอบปัญหา  หลวงพ่อ  สัมมา อะระหัง  สมาธิ  พระมงคลเทพมุนี  พระพุทธศาสนา  ปัญหา  ธรรมกาย  

พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related