เวลาใส่บาตรจำเป็นต้องถอดรองเท้าหรือไม่

พระภิกษุถอดรองเท้าบิณฑบาต เพราะเคารพในทานของผู้ตักบาตร ผู้ตักบาตรถอดรองเท้าในฐานะให้ความเคารพกับพระภิกษุ ซึ่งมีศีล 227 ข้อ การถอดรองเท้าเป็นการแสดงความเคารพ https://dmc.tv/a13060

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 12 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18277 ]
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 
 

คำถาม: เวลาใส่บาตรจำเป็นต้องถอดรองเท้าหรือไม่ เห็นบางคนถอดแล้วยังยืนอยู่บนรองเท้านั่นเอง?

 
คำตอบ: อุตส่าห์ถอดแล้วยังยืนบนรองเท้า มันก็คือไม่ถอดนะสิ ที่มาของเรื่องก็คือว่าเวลาพระออกบิณฑบาตนี่ พระท่านถอดรองเท้านะ โดยพระวินัยแล้วต้องถอดรองเท้า เป็นการให้ความเคารพในทานของผู้ให้
 
ให้ความเคารพในทานด้วยการถอดรองเท้าและนั่งใส่บาตร
ให้ความเคารพในทานด้วยการถอดรองเท้าและนั่งใส่บาตร
 
        ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ตักบาตรก็ต้องถอดรองเท้าด้วย เพื่อให้ความเคารพในพระภิกษุ ซึ่งมีศีลถึง 227 ข้อ พระภิกษุถอดรองเท้าบิณฑบาต เพราะเคารพในทานของผู้ตักบาตร ส่วนผู้ตักบาตรเองก็ถอดรองเท้า ในฐานะให้ความเคารพกับพระภิกษุ ซึ่งมีศีล 227 ข้อ ธรรมเนียมขาวพุทธไทยการถอดรองเท้าเป็นการแสดงความเคารพ
 
        ทีนี้ถ้าถอดแล้วยังยืนอยู่บนรองเท้า มันก็คือไม่ได้ถอดนะ ทำท่าว่าจะทำถูก แต่แล้วก็ผิดอีกจนได้ ไปแก้ไขเสียใหม่เถอะ
 

คำถาม: เคยได้ยินเขาพูดกันว่า พระบวชใหม่ต้องถือนิสัย คือรับถ่ายทอดนิสัย การถ่ายทอดนิสัยมีเพื่ออะไร ทำไมพระจึงต้องถ่ายทอดนิสัย แล้วถ่ายทอดกันได้อย่างไร?

 
คำตอบ: ตอนที่หลวงพ่อไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เมื่อหลายปีก่อน ได้พบว่าการสอนของเขากำหนดว่านักศึกษาทุกคนจะต้องมีติวเตอร์ คือมีพี่เลี้ยง และนักศึกษาต้องอยู่หอพัก อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของติวเตอร์
 
        ได้ถามท่านอธิการบดีของมหาวิทยาลัยว่า เห็นดีอย่างไรจึงมีระบบพี่เลี้ยง เหมือนธรรมเนียมการบวชในพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ เท่ากับว่าเขาปฏิบัติตามหลักธรรมในพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว
 
        เขาตอบชัดเจนว่า การถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการนั้นไม่ยาก เพราะตำรับตำราในท้องตลาดเดี๋ยวนี้มีมาก แต่การถ่ายทอดนิสัยสันดานนั้นยาก และสำคัญที่สุดเขาพยายามศึกษากันมามากว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้ความรู้ทางวิชาการที่ถ่ายทอดไปนั้น ไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด 
 
        ก็พบว่ามีทางเดียวคือจะต้องถ่ายทอดนิสัยด้วยเทคนิคการถ่ายทอดนิสัยที่ได้ผลอย่างหนึ่ง คือการให้อยู่ใกล้ชิดกัน เพราะฉะนั้นจึงยังต้องใช้ระบบพี่เลี้ยงต่อไป
 
        พอเขาพูดอย่างนี้ หลวงพ่อก็นึกถึงระบบปกครองของพระสงฆ์ ซึ่งพระวินัยกำหนดว่าพระภิกษุที่บวชใหม่ ต้องอยู่กับอุปัชฌาย์ 5 ปี เพื่อรับการถ่ายทอดนิสัย พระภิกษุสมัยนี้บวชปีสองปีแรกไม่ค่อยจะอยู่กับอุปัชฌาย์กัน เพราะกลัวอุปัชฌาย์เข้มงวด เพราะฉะนั้นการถ่ายทอดนิสัยจึงขาดตอน คุณภาพของสงฆ์ก็หย่อน เหมือนกับลูกๆ ของโยมนั่นแหละเดี๋ยวนี้ พอโตเป็นหนุ่มเป็นสาว ก็ไม่อยากอยู่กับพ่อแม่ อยากอยู่หอพัก นิสัยก็เลยเหมือนคนแถวๆ หอพัก ไม่เหมือนพ่อไม่เหมือนแม่ นี่คือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในสังคม 
 
พระภิกษุที่บวชใหม่ ต้องอยู่กับอุปัชฌาย์ 5 ปี เพื่อรับการถ่ายทอดนิสัย
พระภิกษุที่บวชใหม่ ต้องอยู่กับอุปัชฌาย์ 5 ปี เพื่อรับการถ่ายทอดนิสัย
 
        ด้วยเหตุนี้หลักสูตรของพระภิกษุจึงกำหนดไว้ว่า พรรษาที่ 1-5 เรียกว่า “พระนวกะ” (นะ-วะ-กะ) เทียบทางโลกในระบบมหาวิทยาลัยก็เท่ากับ “เฟรชชี่” คือน้องใหม่ ถ้าผิดอะไรก็ขออภัยด้วย
 
        สำนวนชาวบ้านบอกว่าเป็นประเภท “มะม่วงยังไม่ลืมต้น” คือ พระที่ยังติดทางโลกอยู่มาก เพราะฉะนั้นถ้าใครต้องการบวชนานๆ ระยะพรรษาที่ 1-5 จึงยังไม่ควรกลับบ้าน เพราะถ้ากลับบ้านแล้วเดี๋ยวจะบวชอยู่ได้ไม่นาน เช่น พอกลับไปเห็นเสื้อผ้า เห็นกางเกงที่แขวนอยู่ ก็มักจะคิดอยากกลับไปสวมใส่ใหม่
 
        ตัวหลวงพ่อเองตอนบวชใหม่ๆ ทำใจแข็งไม่ยอมกลับบ้าน แต่พอเพื่อนที่เคยเรียนด้วยกันมาเยี่ยม ขนาดเขายังไม่ได้พูดอะไร แค่เห็นเขาใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ มา ก็อดคิดไม่ได้ว่าแฟชั่นใหม่นี้เข้าทีดีนะ ถ้าเราใส่คงหล่อแน่ ทั้งที่ตัวเองก็ไม่หล่อ อ้วนก็อ้วน ยังไม่วายเข้าข้างตัวเอง หรือพอไปเห็นกับข้าวที่เคยกินแกล้มเหล้ามาก่อน เขาเอามาถวาย แหม...รสชาติมันถูกปาก สัญญาเก่า     ความทรงจำเก่ามันหวนกลับมา ขวดเหล้ามาลอยเด่นในมโนภาพทันที
 
        หลวงพ่อก็เคยตกอยู่ในสภาพเหมือนมะม่วงยังไม่ลืมต้นนะ นี่คือชีวิตนักบวช ใครไม่เคยบวชจะไม่เข้าใจ เป็นพระก็ต้องรบกับกิเลสของตนเอง ไม่ได้รบกับใคร มีประอุปัชฌาย์คอยกำกับบ้างโอกาสพลาดก็น้อยลง การยอมให้พระอุปัชฌาย์กำกับ หรือมีพระพี่เลี้ยงคอยประคองอบรมให้รักษาศีล 227 ข้อได้ตลอดรอดฝั่ง นี้แหละเรียกว่า การถือนิสัย

http://goo.gl/JhSpO


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related