การปกครองพระนั้นทำกันอย่างไร

แม้กรมการศาสนาจะใช้คำว่า กรมการศาสนาปกครองพระ ก็พูดได้ไม่เต็มปาก เพราะจริงๆ แล้วตามพระวินัย การปกครองสงฆ์จะอยู่ในลักษณะให้อยู่ร่วมกันด้วยความเคารพ แบบพ่อรักลูก https://dmc.tv/a13156

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 27 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18261 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 
 

คำถาม: กรมการศาสนา มีหน้าที่ปฏิบัติอย่างไรในเรื่องการปกครองพระ?

 
คำตอบ: ข้อนี้ไม่ใช่ไม่อยากตอบ แต่ขอไม่ตอบ เพราะไม่อยู่ในฐานะ แม้กรมการศาสนาเองจะใช้คำว่ากรมการศาสนาปกครองพระ ก็พูดได้ไม่เต็มปาก เพราะจริงๆ แล้วตามพระวินัย การปกครองสงฆ์จะอยู่ในลักษณะให้อยู่ร่วมกันด้วยความเคารพ แบบพ่อรักลูก 
 
        ยกตัวอย่างเราโตเป็นผู้ใหญ่ แต่งงานมีครอบครัวแล้ว เวลาทำอะไรไม่ถูกไม่ควร คุณพ่อคุณแม่เตือน เราเคารพท่านเราก็ทำตาม ถ้าเราไม่เคารพเราก็ไม่ทำตาม ท่านจะมาทำอะไรเราได้ อย่างมากท่านก็ถอนใจ บอกว่าโตๆ กันแล้วไปรับผิดชอบกันเองก็แล้วกัน
 
การปกครองสงฆ์จะอยู่ในลักษณะให้อยู่ร่วมกันด้วยความเคารพ แบบพ่อรักลูก
การปกครองสงฆ์จะอยู่ในลักษณะให้อยู่ร่วมกันด้วยความเคารพ แบบพ่อรักลูก
 
        พระภิกษุก็เช่นกัน พระอุปัชฌาย์บวชให้พระใหม่แล้ว ช่วงเวลาระหว่า 5 พรรษาแรกท่านก็ให้การอบรมดูแล ต่อจากนั้น ถ้าพระลูกศิษย์จะไปสร้างวัดเอง ก็แยกตัวไป ถ้าเขาเคารพนับถือพระอุปัชฌาย์เขาก็มาปรึกษา ถ้าไม่มาก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
        
        ส่วนกรมการศาสนาจะมีหน้าที่อย่างไรเกี่ยวกับพระ คุณต้องไปหาอ่านระเบียบปฏิบัติ และหน้าที่ของกรมการศาสนาเอาเอง หน่วยงานนี้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการนะ
 

คำถาม: พระพุทธรูปบางองค์นั่งวางมือไว้บนตักข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งไว้ที่เข่า คว่ำบ้าง หงายบ้าง และบางองค์ก็เอามือไว้ที่อกท่าทางต่างๆ กันอย่างนี้ หมายถึงอะไรคะ?

       
คำตอบ: จริงๆ แล้วการสร้างพระพุทธรูปในยุคต้นๆ หลังพุทธปรินิพพานไม่นานนัก ก็คือการจำลองเอาพระธรรมกายในตัวออกมา แต่มายุคหลังเขาเรียกว่าปั้นเอาไว้เล่น คือประดิษฐ์ท่าโน้นท่านี้ ว่ากันไป ในลีลาต่างๆ เรียกตามภาษาช่างศิลป์ว่า “ปาง” เช่น ปางสมาธิจะคว่ำมือหงายมือก็ปั้นกันไปต่างๆ นานาตามที่พุทธประวัติกล่าวไว้ เช่นนั่งเอามือซ้ายไว้บนตัก มือขวาไว้ที่เข่า หรือนั่งขัดสมาธิ
        
        ตามธรรมดาพระพุทธรูปนั่งสมาธิ ก็ต้องวางมือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย เท้าขวาทับเท้าซ้าย พระนั่งสมาธิจะทำลักษณะนี้เป็นเครื่องบอกให้รู้ว่า พระธรรมกายในตัวของเราที่อยู่ในตัวจริงๆ ท่านนั่งขัดสมาธิท่านี้ เพราะฉะนั้นเวลาเรานั่งสมาธิเราจึงควรนั่งตามแบบพระธรรมกายในตัวของเรา
 
การปั้นพระพุทธรูปนั้นมีหลากหลายลีลา
การปั้นพระพุทธรูปนั้นมีหลากหลายลีลา
 
        คราวนี้จากการที่มีเรียนพุทธประวัติกัน ผู้เรียนก็เกิดนึกถึงอิริยาบถต่างๆ ของพระพุทธองค์เมื่อทรงกระทำกิจต่างๆ แล้วก็ปั้นพระพุทธรูปในอิริยาบถนั้นๆ ขึ้นมา พระพุทธรูปที่มีอิริยาบถมือขวาวางบนหัวเข่า แล้วนิ้วชี้ให้ชี้ลงที่แผ่นดิน ส่วนมือซ้ายวางไว้ที่หน้าตักเขาเรียกว่าพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปาง แปลว่า เมื่อ 
    
        ที่มาของปางนี้ก็มีเรื่องเล่าว่า เวลามารมาผจญ มันจะมาไล่ที่ให้พระพุทธองค์ลุกจากรัตนบัลลังก์ ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระองค์ก็บอกว่ารัตนบัลลังก์นี้เป็นของพระองค์ แต่พญามารก็บอกว่าเป็นของมัน แล้วก็ถามว่าพระองค์มีพยานไหม พญามารก็ชี้ว่านี่ไงพยาน พรรคพวกที่มานี่เป็นพยานของมันทั้งหมด
    
        มันถามว่า “พระสมณโคดมพยานมีไหม?” ก็ทรงนั่งอยู่องค์เดียวจะไปเอาพยานที่ไหน พระองค์จึงตอบว่ามีแต่แผ่นดินเป็นพยาน แล้วก็ทรงชี้ลงไปที่พื้นดิน พญามารก็เลยทำอะไรพระองค์ไม่ได้
    
        ในที่สุด มันก็แพ้ไปด้วยอำนาจบารมีของท่าน เพราะเหตุนี้ จึงเกิดพระพุทธรูป ปางมารวิชัยขึ้นมา นั่งอยู่ในท่าดังกล่าวแล้ว
    
        อย่างไรก็ตาม ที่มีปางอะไรมากมายนั่นน่ะ เป็นเรื่องของความคิด หรือจินตนาการในเชิงศิลปะของศิลปินช่างปั้นในยุคหลังทั้งนั้น คือ อ่านประวัติว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ ทรงทำอะไรๆ บ้าง บ้างเขาก็นึกคิดประดิษฐ์เอา ก็ตามแต่อัธยาศัยของเขา
 
คำถาม: ทำไมพระประธานของวัดพระธรรมกาย จึงไม่เหมือนพระประธานของวัดอื่นๆ ในลักษณะรูปร่างและความหมาย?
    
คำตอบ: พระประธานในโบสถ์วัดพระธรรมกาย ได้ปั้นขึ้นโดยจำลองเอาพระธรรมกายในตัวออกมา คือ พวกเราพอเข้าถึงพระธรรมกายในตัวแล้วก็จะเห็นองค์ท่านเป็นอย่างนี้ แต่ว่าแน่นอนที่จำลองออกมานี้ถามว่าเหมือนกี่เปอร์เซ็นต์ ตอบว่าโดยลักษณะโครงสร้างก็ประมาณ 60-80 เปอร์เซ็นต์เข้าไปแล้ว แต่ว่าเนื่องจากเป็นวัสดุหยาบนอกตัวจะให้ใสเป็นแก้วเหมือนพระธรรมกายในตัว เรายังทำไม่ได้ ก็คงได้อย่างที่เห็นนี่แหละ แต่ก็พยายามที่จะเก็บรายละเอียดให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
 
พระประธานในโบสถ์วัดพระธรรมกาย
 พระประธานในโบสถ์วัดพระธรรมกาย
 
        ช่างปั้นพระที่อื่นเขาไม่ได้นั่งสมาธิ หรือนั่งก็วางใจไม่ค่อยถูกส่วน เขาก็เลยไม่เห็นพระธรรมกายในตัว เมื่อไม่เห็นก็ไม่รู้จัก เขาก็ปั้นพระพุทธรูปตามแต่เขาจะจินตนาการกันไป หลายๆ แห่งทีเดียวที่ปั้นผิดพุทธลักษณะ เช่น เกตุต้องเป็นดอกบัวตูม ก็ทำเป็นเปลวเพลิงยาวตั้งศอก พระกรรณหรือหูของของพระพุทธองค์งามมาก ใบหูใหญ่กว่าของพวกเรา แต่ก็ได้ส่วนกับพระพักตร์ ช่างปั้นไปอ่านตำราว่าหูของพระองค์ใหญ่ยาวกว่าคนอื่น ก็จินตนาการว่ายาวไปถึงไหล่ นั่นไม่ใช่หูคนแล้วนะ
    
        เราพยายามจะอธิบาย เพื่อให้ช่วยกันแก้ไขให้ตรงตามพุทธลักษณะที่แท้จริง แต่ว่าเนื่องจากผิดจนเคย พอเจอของถูกเข้า จึงสงสัยไม่แน่ใจ ของจริงเป็นอย่างนี้ ค่อยๆ ฝึกไปเถอะ อีกหน่อยพอฝึกใจใสสว่าง จนใช้ใจดูภายในตัว เห็นชัดละเอียดดีแล้ว มาช่วยกันปั้นพระพุทธรูปให้ถูกพุทธลักษณะเสียทีนะ
    
        ใครไปเห็นข้อบกพร่องตรงไหนในองค์พระที่ปั้น ที่บกพร่องจนไม่เหมือนกับพระธรรมกายในตัว จะได้มาช่วยแก้ไขกันอีก อยากให้ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่นั่งสมาธิให้มากๆ จนเข้าถึงธรรมกาย จะได้มาช่วยกันปั้นพระ มาเป็นเจ้าของพระธรรมกายด้วยกัน อย่าขี้เกียจนั่งล่ะ

http://goo.gl/82AV6


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  
  
  
  
  
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related