หลวงพ่อตอบปัญหาโดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMCคำถาม: หลวงพ่อคะ เราควรมีหลักในการคบเพื่อนอย่างไรบ้างคะ?
คำตอบ: เราจะต้องไม่คบคนพาล แต่เราจะเลือกคบคนดี คือบัณฑิต เพราะคนพาล เป็นที่มาแห่งความชั่วช้าเลวทรามทั้งหลาย เราสามารถสังเกตคนพาลได้จากความประพฤติอันน่ารังเกียจของเขา คือเราจะต้องไม่คบคนพาล1. คนพาลชอบชักนำไปในทางที่ผิด เช่น ชักชวนกันไปเที่ยวกลางคืน ดื่มสุรา เล่นการพนัน เป็นต้น2. คนพาลไม่ชอบวินัย ทั้งไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมือง แต่ชอบประพฤติผิดศีลธรรม ชอบแหวกกฏเกณฑ์ กติกาของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เสมอ3. คนพาลชอบแต่สิ่งที่ผิด ชอบเห็นความพินาศเสียหายของผู้อื่น เมื่อเวลาตัวเองทำผิดก็ภูมิใจ ลำพองใจว่าจนเก่งกล้าสามารถ4. คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระของตน ชอบยุ่งเรื่องของชาวบ้าน ดูเผินๆ เหมือนหวังดี แต่ไม่ช้าความเดือดร้อน ก็เกิดจากการยุ่งไม่เข้าเรื่องของเขา5. คนพาลแม้พูดจาดีๆ ด้วยก็โกรธ วินิจฉัยของคนพาลไม่ค่อยคงเส้นคงวา บางทียิ้มด้วย เขาก็ว่ายิ้มเยาะ เผลอหัวเราะเขาก็ว่าเราเย้ยเมื่อเห็นใครมีลักษณะเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 5 ประการดังกล่าวนี้ ก็ให้ตั้งข้อสงสัยได้เลยว่าเขาเป็นคนพาล ไม่ควรคบหา ขืนคบเขาเราจะติดนิสัยพาลๆ ไปด้วยสำหรับบัณฑิตในทางธรรม หมายถึง ผู้รู้ดี รู้ชั่ว รู้ผิด รู้ถูก รู้ควร รู้ไม่ควร รู้บุญ รู้บาป ซึ่งอาจจะรู้หนังสือได้รับปริญญาหรือไม่รู้หนังสือเลยก็ตาม ถ้าสามารถอาศัยความรู้เท่าที่มีดำเนินชีวิตไปได้ด้วยดีก็เรียกว่าบัณฑิตพึงคบแต่บัณฑิตเป็นเพื่อนเมื่อเราคบบัณฑิตเป็นเพื่อน เราก็จะได้รับการถ่ายทอดความประพฤติและนิสัยที่ดีจากบัณฑิต ทำให้เรามีโอกาสเจริญก้าวหน้าได้ง่ายขึ้น ทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว และ ถึงแม้ว่าเราจะมีศัตรูเป็นบัณฑิต แต่บัณฑิตนั้นเขาจะเป็นศัตรูกับความเห็นผิดของเราเท่านั้น เมื่อเรากลับตัวเป็นคนดี บัณฑิตย่อมไม่ถือโทษโกรธเคือง แต่จะกลับเป็นมิตรแท้ให้แก่เราจนวันตาย เพราะฉะนั้นนักปราชญ์จึงได้กล่าวไว้ว่า "มีศัตรูเป็นบัณฑิตดีกว่ามีมิตรที่เป็นพาล"คำถาม: หลวงพ่อครับ ทำอย่างไรจึงจะรู้จักตัวเองว่า จริงๆ แล้วเราเป็นคนอย่างไร แล้วควรจะทำตัวอย่างไร?
คำตอบ: คนจะรู้จักตัวเองได้ต้องเป็นคนที่ศึกษาธรรมะมาก และเป็นคนที่ช่างสังเกต เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากจะรู้จักตัวเองจริงๆ ละก็ ต้องตั้งใจทำ 3 อย่างต่อไปนี้นะคนจะรู้จักตัวเองได้ต้องเป็นคนที่ศึกษาธรรมะมาก และเป็นคนที่ช่างสังเกต1. ต้องปลีกเวลาศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ให้รู้ว่ามาตรฐานของคนดีตามพุทธนิยมเป็นอย่างไร เพราะนั่นเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องโดยธรรม ไม่ใช่โดยทางโลก เมื่อรู้แล้วก็พยายามปฏิบัติตามนั้น2. อย่าเสียเวลาไปจับผิดคนอื่น เพราะไม่เกิดประโยชน์แก่ตนเอง มิหนำซ้ำยังทำให้ใจเศร้าหมอง ตรงกันข้ามให้หมั่นสังเกตดูความประพฤติที่ดีงามของผู้อื่น แล้วนำมาประพฤติปฏิบัติตามให้ได้โดยเต็มตามกำลังความสามารถของเรา3. ต้องสละเวลาสำรวจข้อบกพร่องของตนเองเป็นประจำ วิธีสำรวจข้อบกพร่องของตัวเองที่ง่ายที่สุด คือหมั่นนั่งสมาธิเป็นประจำทุกคืนก่อนนอน เพราะมีหลักธรรมดาอยู่ว่า คนเราเมื่อหลับตา ในขณะที่มีสติครบถ้วน จะมองไม่เห็นคนอื่น แต่มองเห็นตัวเอง เมื่อพบข้อบกพร่องแล้วก็พยายามแก้ไขเสีย เช่น ถ้าพบว่าตัวเองยังเป็นคนเห็นแก่ได้อยู่ก็รีบให้ทานเสีย ถ้ายังมักโกรธอยู่ก็รีบถือศีล วันธรรมดาก็ให้ถือศีล 5 วันพระก็พยายามถือศีล 8 ถ้ายังอาฆาตพยาบาทอยู่ก็ให้แผ่เมตตามากๆวิธีสำรวจข้อบกพร่องของตัวเองที่ง่ายที่สุด คือหมั่นนั่งสมาธิเป็นประจำทุกคืนก่อนนอนการแก้ไขข้อบกพร่องของตัวเองเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน วันใดที่เราแก้ไขตัวเองจนดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุดจนหมดกิเลสแล้ว วันนั้นแหละเราจะสามารถตอบตัวเองได้ว่า เราได้ทำหน้าที่ของเราสมบูรณ์ที่สุดแล้วหรือยังคำถาม: หลวงพ่อครับ พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีใช้เงินหรือเปล่าครับ เงินเดือนผมขึ้นทุกปีแต่ก็ไม่เคยพอใช้สักทีครับ ไม่ทราบว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้?
คำตอบ: เกี่ยวกับวิธีใช้เงิน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้ว่า ความสุขของฆราวาส เกิดจากเหตุ 4 อย่าง คือ1. สุขจากความมีทรัพย์2. สุขจากการใช้ทรัพย์ไปในทางที่ชอบ3. สุขจากการไม่มีหนี้4. สุขจากการทำงานไม่มีโทษ คือการงานที่ไม่ผิดกฎหมายไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดศีลธรรม คือเป็นความสุขที่เป็นแก่น เป็นรากฐานของข้ออื่นๆเพราะถ้าติดคุกหรือมีคดีความเสียแล้ว ถึงมีทรัพย์เท่าไรก็หาความสุขไม่ได้หรอกนะการที่จะให้ได้รับความสุขโดยครบถ้วนอย่างนี้ ต้องรู้จักวิธีแบ่งการใช้ทรัพย์ออกเป็น 5 งบด้วยกัน แต่ละงบจะมากบ้างน้อยบ้างก็ตามแต่เห็นสมควร คือ1. ใช้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว ถือเป็นงบที่สำคัญที่สุดจะขาดตกบกพร่องไม่ได้ ต้องไม่ให้เดือดร้อนด้วยกันทุกฝ่าย เพราะจะทำให้เสียความมั่นคงในครอบครัว2. ใช้เลี้ยงมิตรสหายและผู้ร่วมงาน ถือเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกัน จะได้มีความรักใคร่นับถือเกรงใจกัน งานที่ร่วมกันทำจะได้ราบรื่น ไม่สะดุดหรือติดขัด เมื่อถึงคราวจำเป็นจะต้องเอ่ยปากไหว้วานใครให้ช่วย ก็จะได้รับความร่วมมือโดยง่าย ทั้งยังเป็นที่รักที่เกรงใจของคนหมู่มาก แต่ก็ต้องระวังการใช้เงินงบนี้ ให้เป็นครั้งเป็นคราวไม่ให้เกินตัว เดี๋ยวจะเป็นการก่อหนี้สินเพิ่มขึ้น3. ใช้ป้องกันรักษาสวัสดิภาพของร่างกาย เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เมื่อถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วยหรือคราวจำเป็นฉุกเฉินเช่นน้ำท่วม ไฟไหม้ จะได้มีจับจ่ายใช้สอยได้ทันท่วงที ในทางปฏิบัติเราควรเก็บงบนี้ไว้ในธนาคารจำนวนหนึ่งให้ได้ แม้ว่าเราจะมีฐานะยากจนเพียงไรก็ตาม4. ใช้บำรุงบูชาบุคคลที่ควรบูชา ตั้งแต่บำรุงญาติ ต้อนรับแขก ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เสียภาษีให้รัฐ แม้ที่สุดใครจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เทวดา หรือที่เรียกว่าเทวดาพลี ก็ควรจำกัดอยู่ในงบนี้5. ใช้บำรุงพระพุทธศาสนา วิสัยของบัณฑิตนั้น เมื่อได้อาศัยประโยชน์จากพระพุทธศาสนา คือได้ความสุขกาย สุขใจ ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาแล้ว เขาย่อมบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ตอบแทนบ้าง ด้วยการทำบุญ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เต็มกำลังศรัทธา เพื่อให้เป็นบุญกุศลติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ งบนี้สำคัญมากถือเป็นเสบียงบุญติดตัวไปตลอดเวลาที่เรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารต้องรู้จักวิธีแบ่งการใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่คนเราเมื่อรู้จักใช้ทรัพย์ ซึ่งได้มาด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน ไปทำประโยชน์ให้เต็มที่อย่างนี้แล้ว แม้จะหมดเปลืองอย่างไรก็ไม่ควรเสียดาย เพราะคุ้มแสนคุ้มแล้ว

http://goo.gl/qb7dE