ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 2

“บุคคลใดแสวงหาภัตตาหารมาได้โดยชอบธรรม แล้วเลี้ยงดูบิดามารดา เขาผู้นั้นย่อมได้บุญมาก เมื่อละจากโลกแล้วย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์” ท่านเกิดความร่าเริงยินดีว่า “เราเข้าใจผิดมานานว่า คนที่จะสามารถปฏิบัติบำรุงบิดามารดาได้ ต้องเป็นคฤหัสถ์เท่านั้น แต่พระศาสดาได้ตรัสแล้วว่า แม้จะเป็นบรรพชิตก็สามารถทำอุปการะแก่บิดามารดาได้ ...ช่างดีจริง หากเราไม่ได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วไซร้ ป่านนี้เราก็คงต้องเสื่อมจากชีวิตสมณะ คงต้องลาสิกขาไปแล้วเป็นแน่ https://dmc.tv/a1250

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > สุวรรณสาม
[ 2 ก.พ. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18276 ]
 
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  สุวรรณสาม   ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี  ตอนที่ 2
 

        ตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงพระภิกษุในสมัยพุทธกาลรูปหนึ่ง ผู้เป็นต้นเหตุทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าเรื่องสุวรรณสาม ซึ่งท่านเป็นพระภิกษุที่ออกบวชจากตระกูลเศรษฐีที่มีบุตรชายเพียงคนเดียว

        การบวชของท่านนั้นแสนยากลำบาก เพราะบิดามารดาหวังเอาไว้ว่าจะให้อยู่ดำรงวงศ์ตระกูล และเป็นที่พึ่งอาศัยเมื่อยามแก่เฒ่า ท่านต้องยอมอดข้าวอยู่ถึง 7  วัน จึงได้รับอนุญาตให้บวช

        พระภิกษุผู้เป็นลูกเศรษฐีครั้นได้บวชแล้ว ก็เกิดลาภสักการะมากมาย แต่ท่านก็มิได้ติดใจในลาภสักการะนั้นแต่อย่างใด ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติและเคารพในธรรมวินัยเสมอมา

        เมื่อบวชได้ 5 พรรษา อยู่ปรนนิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์จนได้หลักยึดเหนี่ยวแล้ว จึงหลีกออกจากหมู่คณะ เพื่อปลีกวิเวก ท่านได้พักอาศัยอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่งไม่ห่างจากหมู่บ้านนัก แล้วมุ่งมั่นบำเพ็ญสมณะธรรม แต่จนแม้วันคืนจะผ่านไปถึง 12 ปี ท่านก็ยังไม่ได้บรรลุคุณวิเศษใดๆ เลย

        กระทั่งวันหนึ่ง ได้มีภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่งเดินทางมาจากวัดพระเชตวัน ได้บอกให้ทราบถึงความเป็นอยู่ของบิดามารดาของท่านว่า “ท่านทั้งสอง บัดนี้ยากจนอนาถา ไร้ที่อยู่อาศัย ไม่มีใครคอยดูแล  ตอนนี้กลายเป็นคนกำพร้าน่าสงสาร ต้องเที่ยวขอทานเขากินไปวันๆ”

        เมื่อภิกษุผู้เป็นบุตรเศรษฐีได้ยินเรื่องราวของโยมบิดามารดาเช่นนั้นแล้ว ก็ตกใจแทบสิ้นสติ น้ำตาแห่งความสงสารก็เริ่มคลอเบ้า 

        พระเถระแรกทีเดียวก็ไม่ทราบว่าท่านทั้งสองนั้นเป็นบิดามารดาของภิกษุหนุ่ม แต่เมื่อเล่าเรื่องราวนั้นจบลงแล้ว เห็นอาการของภิกษุผู้เป็นบุตรเศรษฐีเช่นนั้นจึงถามขึ้นว่า “อาวุโส ท่านเป็นอะไร ทำไมจึงร้องไห้ล่ะ” 

        ภิกษุหนุ่มนั้นจึงตอบว่า “ท่านครับ ท่านเศรษฐีและภรรยานั้น เป็นโยมพ่อกับโยมแม่ของกระผมเอง กระผมนี่แหละคือบุตรผู้ละทิ้งท่านทั้งสองออกบวช” 

        พระเถระได้ยินอย่างนั้นแล้วก็ได้แต่นึกสงสาร คิดจะหาทางช่วยเหลือจึงได้กล่าวแนะว่า  “อาวุโส บัดนี้ โยมพ่อโยมแม่ของเธอเข้าถึงความพินาศ สิ้นเนื้อประดาตัวแล้ว ไม่ต่างอะไรกับจัณฑาลที่เที่ยวขอทานเขาเลย ..เธอควรกลับไปเลี้ยงดูปรนนิบัติโยมทั้งสองของเธอ จะได้ไม่ชื่อว่าเป็นลูกอกตัญญู

        ภิกษุผู้เป็นบุตรเศรษฐีนั้นเกิดความเศร้าโศกเสียใจยิ่งนัก นึกตำหนิตนเองว่า “เพราะเราแท้ๆท่านพ่อท่านแม่จึงได้ตกต่ำเช่นนี้”

        ท่านทั้งนึกสงสารโยมพ่อโยมแม่ และทั้งสงสารตัวเองว่า “เราเองแม้จะเพียรพยายามบำเพ็ญสมณะธรรมอยู่ถึง 12 ปี ก็ไม่อาจทำมรรคผลให้เกิดขึ้นได้ เราคงเป็นคนอาภัพแน่แท้...จะมีประโยชน์อะไรกับการที่เราบวชอยู่ต่อไป หากเราลาสิกขาออกไปครองเรือน แล้วเลี้ยงบิดามารดา ทำบุญให้ทานตามอัตภาพ ก็คงมีสวรรค์เป็นที่ไปในภพเบื้องหน้าได้”

        เมื่อคิดใคร่ครวญดีแล้ว ท่านจึงตัดสินใจมอบที่อาศัยนั้นให้กับพระเถระผู้เป็นอาคันตุกะ ครั้นรุ่งขึ้นจึงกราบลาพระเถระ แล้วออกเดินทางกลับสู่กรุงสาวัตถีในทันที

        เมื่อมาถึงพระอารามแล้ว ท่านได้รำลึกถึงพระบรมศาสดา   ด้วยความเคารพรักในพระพุทธองค์ จึงคิดว่า ในวันพรุ่งขึ้น ก่อนที่ตนจะลาสิกขา ตนจะขอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อฟังธรรมในภาวะแห่งบรรพชิตเป็นครั้งสุดท้าย

        ในยามใกล้รุ่งของวันนั้นเอง ในขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแผ่ข่ายพระสัพพัญญุตญาณไปทั่วหมื่นโลกธาตุเพื่อตรวจดูเวไนยสัตว์ทั้งหลายนั้น   ได้ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งการบรรลุมรรคผลของภิกษุผู้เป็นบุตรเศรษฐีเข้ามาในข่ายพระญาณ ก็ทรงทราบเรื่องราวความเป็นมาทั้งหมดของภิกษุนั้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ จึงตั้งพระทัยว่าในตอนสายจะทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุผู้เป็นบุตรเศรษฐี 
 
 

        ในเวลาสาย เมื่อภิกษุนั้นมาถึงสถานที่ฟังธรรม  พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา โดยยกเอามาตุโปสกสูตร ว่าด้วยเรื่องราวที่ทรงสรรเสริญพราหมณ์นักบวชผู้หนึ่ง ซึ่งท่านได้อาหารบิณฑบาตมาแล้วก็นำมาเลี้ยงดูบิดามารดา

        โดยได้ยกขึ้นมาแสดงว่า “บุคคลใดแสวงหาภัตตาหารมาได้โดยชอบธรรม แล้วเลี้ยงดูบิดามารดา เขาผู้นั้นย่อมได้บุญมาก เมื่อละจากโลกแล้วย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์”

        ภิกษุเศรษฐีบุตรซึ่งขณะนั้นยืนอยู่ท้ายบริษัท ได้สดับธรรมกถานั้นแล้ว ก็เกิดความโล่งใจ ปานยกภูเขาออกจากอก ความหดหู่เซื่องซึมเพราะเหตุที่ตนจะต้องลาจากสมณะเพศ บัดนี้หายไปเป็นปลิดทิ้ง
 
        ท่านเกิดความร่าเริงยินดีว่า “เราเข้าใจผิดมานานว่า คนที่จะสามารถปฏิบัติบำรุงบิดามารดาได้ ต้องเป็นคฤหัสถ์เท่านั้น แต่พระศาสดาได้ตรัสแล้วว่า แม้จะเป็นบรรพชิตก็สามารถทำอุปการะแก่บิดามารดาได้ ...ช่างดีจริง หากเราไม่ได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วไซร้ ป่านนี้เราก็คงต้องเสื่อมจากชีวิตสมณะ คงต้องลาสิกขาไปแล้วเป็นแน่ เอาล่ะ แม้ว่าเราจะเป็นพระอยู่ก็ตาม เราก็จะเลี้ยงดูท่านทั้งสองให้ดีที่สุด เท่าที่ลูกคนหนึ่งจะพึงทำเพื่อพ่อแม่ได้”
 

        ดำริในใจหนักเช่นนั้นแล้ว ภิกษุหนุ่มจึงถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วรีบออกจากพระเชตวันไปยังโรงทานที่เขาถวายอาหารตามสลากที่จับได้ รับเอาภัตตาหารและข้าวยาคูที่ได้ด้วยการจับสลากแล้ว   ก็รีบรุดไปหาโยมบิดามารดาของท่านในทันที

        ฝ่ายโยมพ่อโยมแม่ของพระคุณเจ้า บัดนี้มีสภาพไม่ต่างอะไรกับขอทาน เสื้อผ้าดูสกปรก ผมเผ้ารกรุงรังเป็นที่รังเกียจของชาวบ้าน หน้าตาที่เคยผ่องใสมีผิวพรรณงดงาม บัดนี้กลับเสื่อมโทรมเศร้าหมอง ในมือถือเศษกระเบื้องเที่ยวขอข้าวยาคูกินพอประทังชีวิตไปวันๆ..ส่วนที่พักอาศัยนั้น ก็คือชายคาริมฝาเรือนของคนอื่น ซึ่งมีพื้นที่ไม่มาก  พอให้หลบแดดหลบฝนได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

        ฝ่ายพระภิกษุรูปนั้น ดีใจที่จะได้พบกับโยมพ่อโยมแม่ซึ่งจากกันไปนาน แต่เมื่อได้มาเห็นสภาพของโยมทั้งสองเช่นนี้แล้ว ความโศกสลดก็ท่วมทับใจในทันที ไม่อาจทำสิ่งใดได้ จึงได้แต่ยืนนิ่งมองดูสภาพผู้ให้กำเนิดทั้งสอง ยิ่งมองดูน้ำตาแห่งความสงสารก็เริ่มไหลอาบแก้ม

        ฝ่ายสองสามีภรรยาเศรษฐีผู้ตกยาก แม้จะเห็นพระลูกชายมายืนอยู่ใกล้ๆ แต่ทั้งสองก็จำไม่ได้ว่านั่นคือพระลูกชายของตน นึกว่าภิกษุรูปนี้ คงมายืนเพื่อรออาหารบิณฑบาตจากตนเท่านั้น   

        โยมมารดาจึงกล่าวขึ้นว่า “ท่านเอย ของเคี้ยวของฉันที่ควรจะถวายนั้นไม่มีหรอก นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด”  

        ยิ่งได้ฟังถ้อยคำของมารดาเช่นนี้แล้ว ภิกษุนั้นก็ยิ่งเกิดความโศกเศร้าเป็นกำลัง น้ำตาแห่งความเศร้าใจก็ยิ่งเอ่อนองอาบใบหน้า แม้โยมมารดาจะกล่าวอยู่เช่นนั้นถึง 3 ครั้ง ท่านก็ยังคงยืนนิ่งอยู่เช่นเดิม ส่วนเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไป
 
โดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์  (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

http://goo.gl/F2ZvJ

     
Tag : ให้ทาน  เทศนา  อาจารย์  สวรรค์  ลาสิกขา  ภัตตาหาร  พระราชภาวนาวิสุทธิ์  บุญ  บิณฑบาต  บารมี  ชีวิตสมณะ  ชาดก  กตัญญู  dhamma  

พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related