ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 19

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ แม้ฤษีผู้เป็นบิดามารดาจะได้ดวงตาคืนมา มองเห็นเป็นปกติดังเดิมแล้ว แต่พระโพธิสัตว์ก็ยังคงปฏิบัติบำรุงบิดามารดาเหมือนดังเดิม มิให้ท่านทั้งสองต้องลำบากกายลำบากใจ https://dmc.tv/a1463

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > สุวรรณสาม
[ 3 เม.ย. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18279 ]
 
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  สุวรรณสาม   ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี  ตอนที่ 19
 
        จากตอนที่แล้ว ปาริกาฤษิณีได้เอามือไปอังที่หน้าอกสุวรรณสาม ได้สัมผัสไออุ่นในร่างกายของพระโพธิสัตว์จึงฉุกคิดว่า คนที่ตายแล้วร่างกายย่อมเย็นเยือก แต่ลูกของเราร่างกายยังอุ่นอยู่ ลูกเรายังไม่ตายกระมัง จึงได้ร้องบอกทุกูลฤษีว่า  ท่านทุกูละ ลูกเรายังไม่ตาย ร่างกายยังอุ่นอยู่

        จากนั้นนางจึงได้ระลึกถึงบุญ แล้วตั้งสัจกิริยาว่า ตลอดกาลที่ผ่านมา ลูกสามะของเรา  ได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ เป็นผู้กล่าวคำสัตย์จริง เลี้ยงดูบิดามารดา เคารพยำเกรงผู้ใหญ่ในสกุล  ด้วยคำสัตย์นี้ ขอให้พิษของลูกสามะจงหายไปในบัดนี้เถิด

        สิ้นสัจกิริยา ร่างของพระโพธิสัตว์ที่แข็งกระด้างก็เริ่มอ่อนนุ่ม และขยับตัวได้ ทุกูลฤษีเห็นดังนั้นก็ดีใจ จึงรีบตั้งสัจกิริยาเช่นเดียวกับนางปาริกา  พระโพธิสัตว์ก็พลิกตัวกลับสู่อีกด้านหนึ่ง

        ส่วนนางเทพธิดาพสุนทรี ผู้เฝ้าพิทักษ์พระโพธิสัตว์มาตลอด ก็ได้กระทำสัจกิริยาบ้างว่า เราอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์มานาน ใครอื่นที่จะเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าสุวรรณสามนี้ไม่มีเลย ด้วยคำสัตย์นี้ ขอพิษของสามะกุมารจงหายไปเถิด

        สิ้นเสียงของเทพธิดา ร่างกายของพระโพธิสัตว์ก็กลับเป็นปกติ แม้รอยแผลที่ถูกยิงก็เลือนหาย   ฤษีผู้เป็นบิดามารดาก็สามารถมองเห็นได้ดังเดิม ชนทั้งหมด คือ ฤษีทั้งสาม และพระราชา ได้มาปรากฏตัวอยู่ที่อาศรมอย่างอัศจรรย์ เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ได้เกิดขึ้น พร้อมกับแสงแห่งอรุณรุ่งปรากฏขึ้นที่ฟากฟ้า

        ชนทั้งหมดต่างร่าเริงยินดี สุวรรณสามได้กล่าวทักทายให้บิดามารดาได้เบาใจ แล้วจึงหันมาทูลปฏิสันถารกับพระราชาด้วยดวงใจอันเต็มเปี่ยมด้วยมหากรุณา มิได้มีความแค้นเคืองเจืออยู่เลยแม้แต่น้อยว่า “ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาในที่นี่ เป็นการเสด็จมาดีแล้ว

        พระองค์เสด็จมาไกลทั้งยังมิได้เสวยอะไรเลย ขอเชิญเสวยผลไม้น้อยใหญ่ตามที่พอจะหาได้ในป่าเหล่านี้ ขอได้โปรดเลือกเสวยผลที่ดีๆเถิด หากพระองค์ทรงกระหาย ขอจงทรงดื่มน้ำเย็น มีรสจืดสนิทที่นำมาจากแม่น้ำมิคสัมมตา ซึ่งไหลมาจากซอกเขาเถิด”

        พระเจ้าปิลยักขราช ทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว ก็ทรงอัศจรรย์ ได้ทรงรำพึงขึ้นว่า “ข้าพเจ้าคงหลงไปเสียแล้ว คงหลงเอามากทีเดียว ก็ท่านสามะได้ตายไปแล้วมิใช่หรือ แต่ทำไมท่านจึงยังมีชีวิตอยู่ล่ะ”

        “ข้าแต่มหาราช พระองค์อาจสำคัญข้าพเจ้าผู้เสวยทุกขเวทนาอย่างหนักว่าตายแล้ว    แต่ความจริงแล้ว ข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่”

        “ข้าแต่มหาราช  ..บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแก้ไขคุ้มครองบุคคลผู้นั้น   บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้นั้นในโลกนี้ เมื่อเขาละจากโลกไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์”

        พระราชาสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็ทรงมีดำริว่า “น่าอัศจรรย์จริง เราเพิ่งประจักษ์ถึงอานุภาพแห่งความกตัญญูกตเวทีก็ในวันนี้เอง แม้เทวดาทั้งหลายก็ช่วยเยียวยาโรคภัยที่เกิดแก่บุคคลผู้เลี้ยงดูบิดามารดาได้ สามะบัณฑิตนี้เป็นบุคคลน่าอัศจรรย์เหลือเกิน”

        ดำริฉะนี้แล้วก็ประคองอัญชลี พร้อมทั้งตรัสว่า  “ข้าพเจ้านี้คงหลงเอามากจริงๆ มืดไปทั่วทุกทิศ ท่านสามะบัณฑิต ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ และขอท่านจงเป็นที่พึ่งให้แก่ข้าพเจ้าเพื่อไปสู่เทวโลกด้วยเถิด”

        สุวรรณสามโพธิสัตว์ได้ทูลพระราชาว่า “ข้าแต่มหาราช ถ้าพระองค์มีพระประสงค์จะไปสู่เทวโลก ทรงปรารถนาจะบริโภคทิพยสมบัติ ขอจงทรงประพฤติทศพิธราชธรรมเหล่านี้เถิด”

        “ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมในพระชนกพระชนนี ในพระโอรสและพระมเหสี ในมิตรและอมาตย์ ในสัตว์พาหนะและพลนิกาย ในชาวบ้านและชาวนิคม
 
        ในชาวแว่นแคว้นและชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในฝูงมฤคและฝูงปักษีเถิด ครั้นทรงประพฤติธรรมแล้ว เมื่อจากโลกนี้ไป จักเสด็จไปสู่สวรรค์”

        “ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด ธรรมที่พระองค์ทรงประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมแล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์

        ...ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด ธรรมที่พระองค์ทรงประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์

        ...ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด พระอินทร์กับทั้งเทพเจ้า พร้อมทั้งเหล่าพรหม ได้เข้าถึงทิพยสถาน ด้วยธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์อย่าทรงประมาทในธรรม”

        ครั้นแล้วพระโพธิสัตว์ได้ถวายโอวาทที่ยิ่งขึ้นไป ด้วยการแสดงศีล 5 ไปตามลำดับ และถวายศีล 5 นั้นแด่พระราชา  พระเจ้าปิลยักขราช ทรงประนมพระหัตถ์เหนือพระเศียรรับโอวาทและศีลจากพระโพธิสัตว์ ทรงไหว้พระโพธิสัตว์ด้วยความเคารพ

        จากนั้น ก็ได้ทรงขอขมาโทษต่อพระโพธิสัตว์ ขอขมาโทษทุกูลฤษี และปาริกาฤษิณี แล้วจึงเสด็จกลับสู่กรุงพาราณสี 

        นับแต่นั้นมา พระราชาทรงปกครองไพร่ฟ้าประชาชนโดยทศพิธราชธรรม ทั้งทรงประพฤติธรรม บำเพ็ญพระราชกุศลมีการทำทาน และรักษาศีลเป็นต้น 

        ทรงดำรงพระองค์ให้เป็นแบบอย่าง และแนะนำหนทางไปสู่สวรรค์ให้แก่เหล่าพสกนิกรเรื่อยมาจนตลอดพระชนม์ชีพ เมื่อสวรรคตแล้ว ได้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ 

        ฝ่ายพระโพธิสัตว์ แม้ฤษีผู้เป็นบิดามารดาจะได้ดวงตาคืนมา มองเห็นเป็นปกติดังเดิมแล้ว แต่พระโพธิสัตว์ก็ยังคงปฏิบัติบำรุงบิดามารดาเหมือนดังเดิม มิให้ท่านทั้งสองต้องลำบากกายลำบากใจ

        สุวรรณสามพระโพธิสัตว์และฤษีผู้เป็นบิดามารดา ก็ได้บำเพ็ญสมณะธรรมด้วยความไม่ประมาท ได้เจริญเมตตาภาวนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ในที่สุดจึงยังอภิญญา 5 และสมาบัติให้บังเกิดขึ้น

        มิได้เสื่อมจากฌานจนสิ้นอายุขัย เมื่อละจากอัตภาพนั้นแล้ว พระโพธิสัตว์พร้อมด้วยบิดามารดาได้ไปบังเกิดในพรหมโลก

         พระบรมศาสดาครั้นตรัสเล่าเรื่องสุวรรณสามชาดกจบลงแล้ว จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงดูบิดามารดานั้น ชื่อว่าเป็นวงศ์ของบัณฑิตทั้งหลาย”  ตรัสดังนี้แล้วพระพุทธองค์จึงทรงประกาศอริยสัจสี่

        ฝ่ายภิกษุผู้เลี้ยงดูบิดามารดานั้นสดับพระดำรัสของพระพุทธองค์มาโดยตลอด ทั้งน้อมใจไปตามกระแสพระดำรัสด้วยใจที่สงบนิ่ง  ที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ภิกษุผู้เลี้ยงบิดามารดาก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นในพระพุทธศาสนา

        ครั้นแล้วพระบรมศาสดาจึงทรงประชุมชาดกว่า  พระราชาปิลยักขราชในกาลนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์เถระในกาลนี้  พสุนธรีเทพธิดา ได้มาเป็นอุบลวรรณาเถรี  ท้าวสักกะเทวราช ได้มาเป็นพระอนุรุทธะเถระ 

        ทุกูลฤษีผู้เป็นบิดา ได้มาเป็นพระมหากัสสปะเถระ  นางปาริกาผู้เป็นมารดา ได้มาเป็นนางภัททกาปิลานีเถรี ส่วนสุวรรณสามบัณฑิตในครั้งนั้น  คือเราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล

        เรื่องสุวรรณสามโพธิสัตว์นี้ เป็นแบบอย่างให้เราได้ทราบถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี ซึ่งเมื่อบุคคลใดได้เจริญเมตตาภาวนาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ย่อมทำให้เป็นผู้ไม่มีเวรไม่มีภัยต่อใคร แม้เหล่าสัตว์ร้ายที่พูดคุยกับไม่รู้เรื่อง เมื่อได้สัมผัสกระแสแห่งเมตตาแล้วก็ยังเกิดความคุ้นเชื่อง ไม่มีจิตคิดเบียดเบียน

        การเจริญเมตตานั้น เป็นการบำเพ็ญบุญอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเจริญอย่างต่อเนื่องก็จะกลั่นตัวเองเป็นบารมี แถมยังมีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัยในปัจจุบัน ทำให้หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข เป็นที่รักของมนุษย์เทวดา และสัตว์ทั้งหลาย เมื่อจะละโลกก็มีอานิสงส์ทำให้จิตผ่องใส ส่งให้ไปเกิดในเทวโลก

        ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงหมั่นบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม ทั้งทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และเจริญเมตตาจิตให้เกิดขึ้น โดยการนึกถึงความรักตัวเองเป็นต้นแบบ ว่าเรารักตนเอง ปรารถนาความสุขความเจริญให้แก่ตัวเราเองเช่นไร เราก็นึกแผ่ขยายความรักความความปรารถนาดีไปยังบุคคลอื่น สัตว์และสิ่งอื่นเช่นเดียวกันนั้น ก็จะได้ชื่อว่า ทำตามแบบอย่างพระบรมศาสดา

        ชีวิตของเราก็จะมีแต่เจริญขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว เพราะบุคคลผู้เป็นที่รักของมหาชนนั้น จะประกอบกิจการงานสิ่งใด ก็ย่อมได้รับการช่วยเหลือค้ำจุน จะสั่งสมบุญสร้างบารมี ก็จะมีผู้คอยสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จอย่างง่ายๆ จะมีความสุขความเจริญอย่างต่อเนื่อง ตราบวันเข้าถึงบรมสุขคือพระนิพพาน
 
โดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์  (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)


http://goo.gl/GNchV


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related