พุทธประเพณี ประเพณีของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

พุทธประเพณี คือ ประเพณีของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นระเบียบแบบแผนและเอกลักษณ์ของชาวพุทธ ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พุทธประเพณีที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลายอย่าง เช่น พุทธประเพณีการบวช พุทธประเพณีการตักบาตร พุทธประเพณีการถวายสังฆทาน พุทธประเพณีการปฏิบัติธุดงควัตร เป็นต้น https://dmc.tv/a17145

บทความธรรมะ Dhamma Articles > มหาปูชนียาจารย์
[ 19 ธ.ค. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18287 ]

ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 3

พุทธประเพณี
ประเพณีของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


พุทธประเพณีคู่พุทธมหานคร

      พุทธประเพณี คือ ประเพณีของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นระเบียบแบบแผนและเอกลักษณ์ของชาวพุทธที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

      พุทธประเพณีที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลายอย่าง เช่น พุทธประเพณีการบวช พุทธประเพณีการตักบาตร พุทธประเพณีการถวายสังฆทาน พุทธประเพณีการปฏิบัติธุดงควัตร เป็นต้น แต่หนึ่งในพุทธประเพณีที่สำคัญที่กำลังจะกล่าวถึง ก็คือ พุทธประเพณีการเดินธุดงค์ พุทธประเพณีการโปรยดอกไม้ต้อนรับคณะพระภิกษุสงฆ์ และพุทธประเพณีการล้างเท้าพระ ซึ่งเป็นพุทธประเพณีที่แทบจะไม่ค่อยเหลือให้เห็นแล้วในยุคปัจจุบัน

      พุทธประเพณี เป็นประเพณีที่ชาวพุทธสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ขึ้นกับกาลเวลา เพราะคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอกาลิโก คือ ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ดังนั้นพุทธประเพณีจึงเป็นข้อควรปฏิบัติที่ไม่ล้าสมัย ไม่มีเมื่อก่อนหรือวันนี้ แต่สามารถปฏิบัติได้ตลอดกาลนิรันดร์

     แต่พุทธประเพณีมีสิทธิ์จะเลือนรางหรือหายสาบสูญไปได้ ในวันที่ชาวพุทธอ่อนแอ ขาดศีลธรรม และค่อยๆ ปล่อยให้ความเจริญทางด้านวัตถุอยู่เหนือจิตใจ เช่น เมื่อชาวพุทธเห็นพระภิกษุเดินผ่านแล้วไม่รู้ว่า.. จะต้องก้มลงกราบหรือยกมือไหว้ อาจเป็นด้วยความไม่เข้าใจ และมีคนกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างน้อยมาก

    หากเป็นดังนี้...ขอให้รู้เถิดว่า นั่นคือสัญญาณอันตราย เพราะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า พุทธประเพณีกำลังจะดับสูญไปอีกหนึ่งอย่างแล้ว เพราะในสมัยพุทธกาล เมื่อพุทธศาสนิกชนเห็นคณะพระภิกษุเดินผ่าน ก็จะก้มลงกราบกับพื้น หรือโปรยดอกไม้เพื่อต้อนรับบูชาด้วยจิตที่เลื่อมใสกันทีเดียว

    ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราก็ควรจะรักษาพุทธประเพณีนี้ไว้ เพื่อให้โอกาสโลกใบนี้มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับลูกหลานของเรา ปลูกจิตสำนึกให้เขามีจิตใจที่อ่อนโยน มีความเคารพ มีความกตัญญู มีความเจริญทางด้านจิตใจนำหน้าวัตถุ แล้วในที่สุด...กระแสศีลธรรมก็หวนคืนกลับมาปกป้องโลกใบนี้ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

บุคคลในพุทธกาลที่โปรยดอกไม้ต้อนรับคณะพระภิกษุสงฆ์ ด้วยจิตเลื่อมใส

      ดังเรื่องของนายสุมนมาลาการ ในครั้งที่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาพร้อมกับคณะพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ แล้วเกิดจิตเลื่อมใสอย่างไม่มีประมาณ จึงตัดสินใจกำดอกมะลิแล้วซัดขึ้นไปบนอากาศในขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จผ่านจนหมดทั้ง 8 ทะนาน ซึ่งปกติแล้ว...ดอกมะลิทั้ง 8 ทะนานนี้ นายสุมนมาลาการจะต้องนำไปถวายพระราชาทุกวัน แต่วันนี้..ก่อนที่นายสุมนมาลาการจะซัดดอกมะลิขึ้นไปบนอากาศนั้น เขาคิดว่า การบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งนี้ เขายอมแลกด้วยชีวิต เพราะหากเขาไม่มีดอกมะลิ 8 ทะนาน ไปถวายพระราชาในวันนี้เขาจะต้องโดนลงทัณฑ์ จองจำ ขับไล่ออกจากแคว้น หรือโดนฆ่า แต่ไม่ว่าจะเป็นตายร้ายดีอย่างไรเขาก็ยอม เพราะอยากนำดอกมะลิมาบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยจิตที่เลื่อมใสอย่างแท้จริง

อานิสงส์ผลบุญของการโปรยดอกไม้ต้อนรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคณะพระภิกษุสงฆ์

      ด้วยบุญจากการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยจิตที่เลื่อมใสโดยไม่มีประมาณของนายสุมนมาลาการนี้เอง...ทำให้พระราชาไม่ทรงพิโรธ เนื่องจากพระราชาทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เพราะทรงบรรลุโสดาบันแล้ว จึงทรงมีความเข้าใจและนึกอนุโมทนากับการกระทำของนายสุมนมาลาการ ด้วยเหตุนี้..พระราชาจึงพระราชทานสิ่งของให้เพื่อเป็นการยกย่องในความดีของนายสุมนมาลาการอย่างละ 8 คือ ช้าง 8 ม้า 8 ทาส 8 ทาสี 8 เครื่องประดับใหญ่ 8 กหาปณะ 8 พัน นารีที่มาจากราชตระกูล 8 นาง และบ้านส่วย 8 ตำบล



      และที่สำคัญการกระทำของนายสุมนมาลาการในครั้งนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญกับพระอานนท์พุทธอุปัฏฐากว่า นายมาลาการนี้ได้สละชีวิตกระทำการบูชาด้วยการยังจิตให้เลื่อมใส ด้วยผลบุญนี้..เขาจะไม่ไปทุคติเลยตลอดแสนกัป คือ หลังจากละโลกไปแล้ว เขาก็ได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่แต่ในสุคติภูมินานตลอดแสนกัป จนสุดท้ายได้บรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง

การรื้อฟื้นพุทธประเพณีที่ทำให้แผ่นดินไทยรุ่งเรืองดั่งย้อนยุคพุทธกาล
 
      พุทธประเพณีการเดินธุดงค์นี้ วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายได้จัดให้มีการเดินธุดงค์ของคณะพระภิกษุสงฆ์ โดยบรรจุอยู่ในหลักสูตรของการอบรมธรรมทายาทภาคฤดูร้อน ซึ่งเป็นโครงการประจำปีของวัดพระธรรมกายมาตลอด แต่หลังจากทางวัดได้รับทราบข้อมูลจากสนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ทำการสำรวจสถิติไว้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ระบุว่า ประเทศไทยมีวัดร้างมากถึง 5,977 วัด
 

     ด้วยเหตุนี้..ในปลายปี พ.ศ. 2552 จึงบรรจุหลักสูตรการเดินธุดงค์เพิ่มเข้าไปในโครงการบวชพระพี่เลี้ยงรุ่นกองพันสถาปนาของโครงการบวชพระ 7,000 รูป 7,000 ตำบล โดยให้ชื่อโครงการว่า “ธุดงค์ธรรมชัย” ซึ่งเป็นการเดินธุดงค์ไปยังวัดร้าง เพื่อพัฒนาให้เป็นวัดรุ่ง จากนั้นวัดพระธรรมกายจึงจัดให้มีการเดินธุดงค์เช่นนี้อย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่จัดโครงการบวชพระ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย โดยให้มีการเดินธุดงค์ถึงปีละ 2 ครั้ง ในโครงการบวชพระ 100,000 รูป ภาคฤดูร้อน และโครงการบวชพระ 100,000 รูป รุ่นเข้าพรรษาปัดเป่าภัยพิบัติให้แผ่นดิน

    จนกระทั่งปี พ.ศ. 2554 ประเทศชาติของเราประสบปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมานำความสูญเสียและสะเทือนขวัญมาสู่พี่น้องชาวไทยเป็นจำนวนมหาศาล ดังนั้นพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและประธานมูลนิธิธรรมกาย จึงได้ดำริโครงการ “ธุดงค์ธรรมชัยสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์” ขึ้น โดยเดินผ่านเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม เพื่อขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย จากมหาอุทกภัยที่สร้างความสูญเสียและความพลัดพรากแก่พี่น้องชาวไทยให้หมดสิ้นไป อีกทั้งยังเป็นการทำบุญใหกั้บประเทศที่ผ่านความบอบช้ำอย่างหนักในช่วงปี พ.ศ. 2554 และที่สำคัญยังเป็นการรื้อฟื้นพุทธประเพณี ที่เคยเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล...แสดงความกตัญญูอย่างสูงสุด

      นอกจากนั้น...การเดินธุดงค์ครั้งนี้ เป็นการเดินเพื่อแสดงความกตัญญูอย่างสูงสุดต่อหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ (สด จนฺทสโร) คณะพระธุดงค์จึงเดินไปตามเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ซึ่งเส้นทางนี้

      นอกจากเป็นเส้นทางที่เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ 6 แห่ง ในประวัติศาสตร์ชีวิตของหลวงปู่แล้ว ยังเป็นเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมอีกด้วย ดังนั้นวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายจึงจัดให้มีกิจกรรมธุดงค์ในครั้งนี้ร่วมกับ 25 องค์กรภาคี โดยมีการบุกเบิกเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยมีคณะพระธุดงค์กว่า 200 รูป เดินธุดงค์เป็นระยะทางกว่า 16 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นเดินจากวัดพระธรรมกายและมีปลายทางอยู่ที่มหาวิทยาลัยปทุมธานี ตลอดระยะทางมีประชาชนและเด็กนักเรียนกว่า 10,000 คน เตรียมกลีบกุหลาบที่เด็ดจากดอกกุหลาบกว่า 700,000 ดอก โปรยต้อนรับตลอดเส้นทางสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ครั้งแรกของโลกหลังจากที่บุกเบิกแล้ว ในระหว่างวันที่ 2-25 มกราคม พ.ศ. 2555 จึงจัดให้มีการเดินธุดงค์ธรรมชัยสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์อย่างเต็มรูปแบบ โดยพระที่เดินธุดงค์มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วไทยจำนวนเป็นถึง 1,127 รูป (ตัวเลข 3 ตัวหลังเท่ากับจำนวนอายุของหลวงปู่ ซึ่งถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะมีอายุได้ 127 ปี)
 
     การเดินธุดงค์ครั้งนี้ ได้จัดให้มีการเดินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 24 วัน ด้วยระยะทางที่มากถึง 427.8 กิโลเมตร โดยผ่านเขตพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม และกรุงเทพฯ ซึ่งครอบคลุมสถานที่สำคัญ 6 แห่ง ในประวัติชีวิตของหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (สด จนฺทสโร) อันได้แก่

     1. สถานที่เกิด ตั้งอยู่บนแผ่นดินรูปดอกบัว ณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ปัจจุบันคณะศิษยานุศิษย์ได้ทำการก่อสร้างอนุสรณ์สถานพระมงคลเทพมุนีไว้ ณ ที่แห่งนี้
     2. สถานที่ออกบวช คือ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
     3. สถานที่บรรลุธรรม คือ วัดโบสถ์ (บน) บางคูเวียง ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
     4. สถานที่ที่มีผู้บรรลุธรรมตามหลวงปู่ครั้งแรก คือ วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
     5. สถานที่ปักหลักเผยแผ่วิชชาธรรมกาย คือ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
     6. สถานที่สืบสานวิชชาธรรมกาย คือ วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี (สถานที่สานต่อมโนปณิธานของหลวงปู่ ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก)

*จากหนังสือพุทธประเพณี

 


http://goo.gl/d6pdVu


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายฯ เพื่อประดิษฐาน ณ อาคาร 100 ปี
      ขอเรียนเชิญร่วมตอกเสาเข็มสถาปนาอนุสรณ์สถานบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559