อานิสงส์ของการรักษาศีล 5

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของการรักษาศีลแก่ชาวปาฏลิคามใน มหาปรินิพพานสูตร ว่ามี 5 ประการ คือ....... https://dmc.tv/a17248

บทความธรรมะ Dhamma Articles > บทสวดมนต์
[ 10 ม.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18269 ]

ศีล 5

อานิสงส์ของการรักษาศีล

     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของการรักษาศีลแก่ชาวปาฏลิคามใน มหาปรินิพพานสูตร1) ว่ามี 5 ประการ คือ

     1. ย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติมากมาย

     2. กิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป

     3. มีความองอาจเมื่อไปสู่ชุมชนใดๆ

     4. ไม่เป็นผู้หลงตาย (ไม่ตายอย่างไร้สติ)

     5. เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป

     1. ย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติมากมาย หมายความว่า ศีล ย่อมทำให้ผู้รักษาได้โภคทรัพย์ประการ หนึ่ง และใช้ได้อย่างเต็มที่อีกประการหนึ่ง

     ศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้อย่างไร เราจะสังเกตเห็นได้โดยทั่วไป จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน ล้วนต้องการบุคลากรที่มีคุณธรรมทั้งสิ้น ดังนั้นในการสมัครเข้าทำงานหรือแต่งตั้งบุคลากร ประจำตำแหน่งต่างๆ ผู้มีศีลสมบูรณ์ย่อมได้รับการพิจารณาก่อน เพราะเหตุแห่งศีลในตัวเขา ทำให้เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ อันเนื่องจากความประพฤติ และการแสดงออกอันดีงาม สม่ำเสมอ จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้พบเห็นหรือผู้ร่วมงาน

     บิดามารดาที่มีโภคทรัพย์สมบัติ เมื่อถึงคราวที่จะมอบทรัพย์ให้แก่บุตรหลาน ย่อมต้องพิจารณา เลือกสรร ผู้ที่ประพฤติตัวดี มีศีล มีธรรม เพื่อความมั่นใจว่าผู้นั้นจะสามารถรักษาทรัพย์สมบัติที่มอบให้ได้ และสามารถใช้ทรัพย์นั้นไปเพื่อทำประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะถ้าบิดามารดาเป็นชาวพุทธ ย่อม ปรารถนาให้บุตรหลานนำทรัพย์นั้นไปสร้างบุญกุศล เพื่ออุทิศบุญกุศลนั้นแก่ตนในโลกหน้า

     ศีลทำให้ใช้ทรัพย์ได้เต็มที่คืออย่างไร ทรัพย์ที่เราได้มาด้วยความทุจริต ย่อมก่อให้เกิดความไม่สบายใจ ทุกครั้งที่ได้ใช้ หรือเมื่อได้นึกถึง คนโบราณมักกล่าวว่า สิ่งของที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรมเปรียบเสมือนมีผีสิง ทั้งนี้เพราะเจ้าของจะหวาดผวาทุกครั้งที่ได้เห็นทรัพย์สินที่ตนได้มาโดยทุจริต ส่วนผู้ที่ได้ทรัพย์มาด้วยความสุจริต ย่อมภาคภูมิใจในทรัพย์ที่ตนหามาได้ เมื่อจะใช้ทรัพย์ ย่อมใช้โดยปราศจากความหวาดระแวง

     2. กิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป หมายความว่า บุคคลรอบข้างย่อมเห็นความประพฤติ อันดีงามของคนมีศีล คนมีศีลจึงเป็นที่รัก ที่พอใจของบุคคลรอบข้าง เขาเหล่านั้นกล่าวถึง ย่อมกล่าวแต่สิ่ง ดีงาม และความประทับใจที่ได้รับ ความดีนี้เองย่อมเป็นที่แพร่หลายออกไป ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

“ กลิ่นกฤษณาและกลิ่นจันทน์ ยังหอมน้อยกว่า กลิ่นหอมของผู้มีศีล ซึ่งหอมฟุ้งขจรไกล
ถึงปวงเทพไทเทวา และมนุษย์ทั้งหลายŽ”2)

      3. มีความองอาจเมื่อไปสู่ชุมชนใดๆ หมายความว่า ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ มีความภาคภูมิใจ ในความดีของตน มีใจเป็นปกติ ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครรู้กรรมชั่วของตน เพราะรักษาศีลมาเป็นอย่างดี คนมีศีลใครๆ ก็ชอบ จะเข้าไปสู่ที่ชุมชนใดก็ตาม ย่อมมีความอาจหาญเข้าไป

     4. ไม่เป็นผู้หลงตาย หมายความว่า คนมีศีลย่อมมีสติสมบูรณ์ อันเนื่องมาจากการได้ฝึกสติอยู่เสมอๆ เพราะเมื่อจะกระทำสิ่งใดก็ตาม ต้องคอยระมัดระวังไม่ให้ผิดศีล ครั้นเมื่อถึงคราวที่หมดบุญ หมดอายุขัย ก่อนที่จะลาจากโลกนี้ไป ย่อมมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์เพราะได้ฝึกมาอย่างดีแล้ว ทั้งยังเห็นการกระทำอัน ดีงามจากการรักษาศีลของตน ย่อมปลื้มปีติใจ

      5. เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป หมายความว่า เมื่อถึงคราวที่ต้องลาจากโลกนี้ไป หลับตาลงครั้งใดก็จะเห็นคตินิมิต (ภาพที่เป็นเครื่องหมายของภพภูมิที่จะต้องไปเกิดใหม่) และกรรมที่ ดีงามของตน ทำให้จิตผ่องใส ย่อมไปสู่โลกหน้าในภพภูมิอันเป็นสุข คือ สุคติภูมิ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ใน สีลวีมังสชาดก3) ว่า ศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ย่อมนำความสุขในภพหน้ามาให้ได้Ž

     นอกจากอานิสงส์หลัก 5 ข้อ ที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีรายละเอียดของอานิสงส์การรักษาศีล ในแต่ละข้อ ดังนี้


อานิสงส์ของการรักษาศีล 5 4)

อานิสงส์ของศีลข้อที่ 1 เว้นจากการฆ่าสัตว์

1. เป็นผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน
2. มีร่างกายสูงใหญ่สมส่วน
3. มีความแคล่วคล่องว่องไว
4. มีฝ่าเท้าเต็ม
5. มีความแช่มช้อย
6. มีความอ่อนโยน
7. มีความสะอาด
8. มีความแกล้วกล้า
9. มีกำลังมาก
10. มีวาจาสละสลวย
11. เป็นที่รักของชาวโลก
12. พวกพ้องบริวารไม่แตกแยกกัน
13. ไม่เป็นคนขี้กลัว
14. ไม่ถูกทำลาย
15. ไม่ตายเพราะถูกผู้อื่นทำร้าย
16. มีพวกพ้องบริวารมาก
17. มีรูปงาม (มีผิวพรรณงาม)
18. มีทรวดทรงงาม
19. มีโรคน้อย
20. ไม่เป็นคนเศร้าโศก
21. ไม่พลัดพรากจากคนและของรัก
22. มีอายุยืน

อานิสงส์ของศีลข้อที่ 2 เว้นจากการลักทรัพย์

1. มีความมั่งคั่ง
2. มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก
3. มีโภคะมากมาย
4. โภคะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
5. โภคะที่เกิดขึ้นแล้วก็มั่นคงถาวร
6. ได้โภคะที่ตนปรารถนารวดเร็วทันใจ
7. โภคะไม่สลายไปด้วยภัยต่างๆ
8. ได้ทรัพย์ที่คนทั่วไปไม่มี
9. เป็นคนเยี่ยมยอดของโลก
10. ไม่รู้จักความไม่มีทรัพย์
11. มีความเป็นอยู่สุขสบาย

อานิสงส์ของศีลข้อที่ 3 เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

1. ไม่มีศัตรู คู่อาฆาต
2. เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
3. ได้ลาภสิ่งของ เช่น ข้าว น้ำ เป็นต้น
4. หลับเป็นสุข
5. ตื่นเป็นสุข
6. พ้นจากภัยในอบายภูมิ
7. ไม่เกิดเป็นหญิง หรือเป็นกะเทย
8. ไม่มักโกรธ
9. เป็นคนเปิดเผย
10. ไม่เป็นคนผิดหวัง หรือเสียใจ
11. ไม่ต้องหลบหน้า
12. ทั้งสตรีและบุรุษต่างเป็นที่รัก
13. มีร่างกายสมบูรณ์
14. สมบูรณ์ด้วยลักษณะ
15. ไม่ต้องหวาดระแวง
16. มีความขวนขวายน้อย (ไม่มีเรื่องรบกวน)
17. มีความเป็นอยู่สุขสบาย
18. เป็นคนไม่มีภัย
19. ไม่พลัดพรากจากคนและของรัก

อานิสงส์ของศีลข้อที่ 4 เว้นจากการพูดมุสา

1. มีอินทรีย์ผ่องใส
2. เป็นคนพูดจาไพเราะ ศักดิ์สิทธิ์
3. มีฟันขาวสะอาดเรียบเสมอกัน
4. ไม่อ้วนเกินไป
5. ไม่ผอมเกินไป
6. ไม่เตี้ยเกินไป
7. ไม่สูงเกินไป
8. มีสัมผัสเป็นสุข
9. มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกอุบล
10. มีบริวารชนเป็นผู้ว่าง่าย
11. มีคำพูดที่คนเชื่อถือ
12. มีลิ้นบางสีแดงเหมือนกลีบดอกอุบล
13. จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน
14. มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหว

อานิสงส์ของศีลข้อที่ 5 เว้นจากการดื่มสุราเมรัย

1. มีปฏิภาณในการงานที่ควรทำ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
2. มีสติมั่นคงอยู่เสมอ
3. ไม่เป็นบ้า
4. เป็นคนมีความรู้
5. ไม่เป็นคนเกียจคร้าน
6. ไม่โง่เง่า
7. ไม่เป็นคนหนวกและใบ้
8. ไม่เป็นคนขี้เมา
9. เป็นคนไม่ประมาท
10. ไม่ขี้หลงขี้ลืม
11. ไม่เป็นคนขี้กลัว
12. ไม่เป็นคนแข่งดี
13. ไม่เป็นคนขี้ริษยา
14. เป็นคนพูดคำสัตย์
15. ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ
16. เป็นคนกตัญญู
17. เป็นคนกตเวที
18. ไม่เป็นคนตระหนี่
19. เป็นคนเสียสละ
20. เป็นคนมีศีล
21. เป็นคนเที่ยงตรง
22. ไม่เป็นคนมักโกรธ
23. เป็นคนจิตใจมีหิริ
24. เป็นคนมีโอตตัปปะ
25. เป็นคนมีความเห็นเที่ยงตรง
26. เป็นคนมีปัญญามาก
27. เป็นคนมีปัญญาแตกฉาน
28. เป็นบัณฑิต
29. เป็นผู้ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์
 
1) มหาปรินิพพานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 ข้อ 80 หน้า 254-255.
2) อรรถกถาขุททกนิกาย ฉักกนิบาตชาดก ตุณฑิลชาดก, มก. เล่ม 59 หน้า 146.
3) อรรถกถาขุททกนิกาย จตุกกนิบาตชาดก สีลวีมังสชาดก, มก. เล่ม 58 ข้อ 762 หน้า 801.
4) อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พรรณนาสิกขาบท, มก. เล่ม 39 หน้า 40-41.
 


http://goo.gl/VB7TxF


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      คำอธิษฐานจิตถวายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าเช็ดตัวและหลอดไฟ
      คำกล่าวถวายผ้าอาบน้ำฝนผ้าเช็ดตัวและหลอดไฟ
      โอวาทปาฏิโมกขาทิปาโฐ
      转法轮经 (บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ภาษาจีน)
      Dhammacakkappavattana Sutta
      รวมบทสวดมนต์ข้ามปี
      คำกล่าวถวายเครื่องกันหนาว
      คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา
      บทสวดมนต์พาหุงมหากา พร้อมคำแปล
      คําอธิษฐานจิตปล่อยปลา
      คำกล่าวถวายร่มเป็นสังฆทาน
      บทสวดธรรมกายานุสติกถา




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related