กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา มีอะไรบ้าง
ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา ทำให้ปู่ย่าตายายท่านจับหลักได้ว่า การเรียนสรรพวิชาใดๆ ก็ตาม ผู้ที่จะแตกฉานลึกซึ้งในความรู้นั้นได้ มีความจำเป็นต้องศึกษาแม่บทให้แตกฉานก่อน เช่น ถ้าเป็นวิชาคำนวณในทางโลกต้องใช้สูตรคูณเป็นแม่บท ในทางธรรมก็เช่นเดียวกัน การที่จะศึกษาธรรมะให้แตกฉาน ต้องศึกษาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นแม่บททางธรรม
กิจกรรมตักบาตรในวันอาสาฬหบูชา
ปู่ย่าตายายท่านจับหลักตรงนี้ได้ เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชา ท่านจึงขวนขวายไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อเป็นการทบทวนแม่บทธรรมะทั้งหมดใน พระพุทธศาสนาให้เข้าใจและซาบซึ้งยิ่งขึ้น
กิจกรรมเวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชา
ข้อคิดที่ได้จากตรงนี้คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ทั้งที่เป็นประโยชน์ส่วนตัว และประโยชน์ของหมู่คณะ ทั้งหมู่คณะเล็ก เช่น ครอบครัว และหมู่คณะใหญ่ คือประเทศชาติ จะต้องมีหลักการที่ชัดเจน มีแม่บทที่ชัดเจน ที่ทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม และหลักการนั้นจะต้องสอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาด้วย อีกทั้งต้องถูกนำมาประพฤติปฏิบัติ จนกระทั่งหลักการที่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยประจำตัว นิสัยประจำชาติ จึงจะส่งผลให้ตนเอง หมู่คณะ และประเทศชาติเจริญขึ้น และสงบสุขอย่างยั่งยืน
กิจกรรมนั่งสมาธิในวันอาสาฬหบูชา
ในวันอาสาฬหบูชานี้ ชาวพุทธควรถือเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งที่จะพึงประกอบการบูชาทั้งส่วนอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา โดยเฉพาะการปฏิบัติบูชานั้น ควรปฏิบัติตนตามหลักธรรมในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อันได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติสายกลาง คือ อริยมรรค 8 กล่าว โดยสรุปก็คือ ควรปฏิบัติตนให้มีศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธองค์ ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
กิจกรรมสวดมนต์ในวันอาสาฬหบูชากิจกรรมในวันอาสาฬหบูชา๒. กิจกรรมร่วมการเวียนเทียน๓. ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก
การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา๑. ละเว้นอบายมุขทุกประเภท และ ตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต สิ่งที่ไม่ดีทุกประการ๒. ทำทาน เช่น ตักบาตรพระ ดูแลบิดามารดา เป็นต้น๓. ฟังพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร๔. เวียนเทียนรำลึกรอบสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย เช่น โบสถ์ พระพุทธรูป และธัมเมกขสถุป๕. ปฏิบัติกรรมฐาน ทั้งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน๖. พึงบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการบูชาทั้งสองประเภท คือ ทั้งอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา
กำหนดการภาคเช้า
09.30 น. พิธีถวายผ้าอาบน้ำฝนและประทีปโคมไฟ ณ ห้องแก้วสารพัดนึก สภาธรรมกายสากล11.00 น. เสร็จพิธีภาคเช้า
ภาคบ่าย
13.30 น. ปฏิบัติธรรม14.20 น. พิธีมุทิตาสักการะ ป.ธ. 9,6,3 และพิธีมอบดวงแก้ทรงบาลีไวยากรณ์14.40 น. ประธานสงฆ์ให้โอวาท / พิธีถวายปัจจัย15.30 น. เสร็จพิธีภาคบ่าย
ภาคค่ำ19.30 น. พิธีเวียนประทักษิณ รอบพระมหาธรรมกายเจดีย์20.30 น. พิธีฉลองชัยสวดธรรมจักร ครบ 1,400,000,000 จบ ณ มหารัตนวิหารคด21.30 น. เสร็จพิธี
