คาร์บอนเครดิต ฮีโร่ช่วยชีวิต

คาร์บอนเครดิต คือ ความพยายามของโลกเราโดยประเทศที่พัฒนาแล้วเรียนรู้ถึงการยุติการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก เรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างชาญฉลาด ลดภาวะโลกร้อน https://dmc.tv/a12158

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 13 ก.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18255 ]

ภาวะโลกร้อน

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) สิทธิ์ในการปล่อยก๊าซ

คาร์บอนเครดิต ฮีโร่ช่วยโลก 
 
คาร์บอนเครดิต
 
 คาร์บอนเครดิต หรือ CERs  สามารถนำไปหักลบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในประเทศกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ได้
 

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร

     โครงการที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา และสามารถพิสูจน์ได้ว่าลดก๊าซเรือนกระจกได้จริง จะได้รับเครดิตที่เรียกว่า Certified Emission Reductions (CERs) หรือคาร์บอนเครดิตนั้นเอง โดยจำเป็นต้องดำเนินการให้ได้มาซึ่งเครดิตดังกล่าวผ่านการดำเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)

     คาร์บอนเครดิต หรือ CERs นี้ สามารถนำไปหักลบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ได้ ประเทศเหล่านี้จึงมีความต้องการซื้อ CERs เพื่อให้ประเทศของตนสามารถบรรลุพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ และประเทศกำลังพัฒนายังสามารถบรรลุถึงเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย

     "คาร์บอนเครดิต" หมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากการคมนาคม เป็นสินค้าที่อยู่ในลักษณะของเอกสารสิทธิของปริมาณก๊าซที่ลดได้ หากประเทศพัฒนาแล้วไม่สามารถลดมลพิษ
ของตนได้อีกต่อไป ก็ต้องใช้วิธีช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อลดได้จะกลายเป็นคาร์บอนเครดิตของตนเอง ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ เช่น ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ถูกกำหนดให้ลดก๊าซเรือนกระจก 30 ล้านตัน (ซึ่งจะมาจากการคำนวณเทียบปี พ.ศ. 2533) แต่โรงงานอุตสาหกรรมหรือโครงการที่มีในประเทศนั้นพยายามลดแล้ว ลดได้เพียง20 ล้านตัน จึงต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกำลังพัฒนามาอีก 10 ล้านตัน ไม่เช่นนั้นจะโดนปรับ ตันละ 2,000 - 5,000 บาท

     จะเห็นได้ว่าพิธีสารเกียวโตได้สร้าง “คาร์บอนเครดิต” ขึ้นมาให้มีลักษณะเป็น “สินค้า” (Commodity) ชนิดหนึ่งที่สามารถมีการซื้อขายกันได้ในตลาดเฉพาะ ที่เรียกว่า “ตลาดคาร์บอน”
แต่จะเป็นสินค้าที่อยู่ในลักษณะของเอกสารสิทธิของปริมาณก๊าซที่ลดได้ และสามารถนำไป
คำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซโดยรวมของแต่ละประเทศได้


 
คาร์บอนเครดิตฮีโร่ช่วยชีวิต 
 
"คาร์บอนเครดิต" หมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
 

คาร์บอนเครดิตมีกลไกการดำเนินการอย่างไร

     การที่จะได้มาซึ่งเครดิตนั้นดังกล่าว จำเป็นต้องผ่านการดำเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ

    1. การออกแบบโครงการ (Project Design) ผู้ดำเนินโครงการจะต้องออกแบบลักษณะของโครงการและจัดทำเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document: PDD) โดยมีการกำหนดขอบเขตของโครงการ วิธีการคำนวณการลดก๊าซเรือนกระจก วิธีการในการติดตามผลการลดก๊าซเรือนกระจก การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

     2. การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (Validation) ผู้ดำเนินโครงการจะต้องว่าจ้างหน่วยงานกลางที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการบริหารฯ หรือที่เรียกว่า Designated Operational Entity (DOE) ในการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆ หรือไม่ ซึ่งรวมถึงการได้รับความเห็นชอบในการดำเนินโครงการจากประเทศเจ้าบ้านด้วย

     3. การขึ้นทะเบียนโครงการ (Registration) เมื่อ DOE ได้ทำการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการและลงความเห็นว่าผ่านข้อกำหนดต่างๆ ครบถ้วน จะส่งรายงานไปยังคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด (EB) เพื่อขอขึ้นทะเบียนโครงการ

     4. การติดตามการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Monitoring) เมื่อโครงการได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ CDM แล้ว ผู้ดำเนินโครงการจึงดำเนินโครงการตามที่เสนอไว้ในเอกสารประกอบโครงการ และทำการติดตามการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามที่ได้เสนอไว้เช่นกัน

     5. การยืนยันการลดก๊าซเรือนกระจก (Verification) ผู้ดำเนินโครงการจะต้องว่าจ้างหน่วยงาน DOE ให้ทำการตรวจสอบและยืนยันการติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก

     6. การรับรองการลดก๊าซเรือนกระจก (Certification) เมื่อหน่วยงาน DOE ได้ทำการตรวจสอบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว จะทำรายงานรับรองปริมาณ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ดำเนินการได้จริงต่อคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด เพื่อขออนุมัติให้ออกหนังสือรับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ หรือ CER ให้ผู้ดำเนินโครงการ

     7. การออกใบรับรองปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Issuance of CER) เมื่อคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด ได้รับรายงานรับรองการลดก๊าซเรือนกระจก จะได้พิจารณาออกหนังสือรับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ หรือ CER ให้ผู้ดำเนินโครงการต่อไป 

     คาร์บอนเครดิต คือ ความพยายามของโลกเราโดยประเทศที่พัฒนาแล้วเรียนรู้ถึงการยุติการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก เรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างชาญฉลาด ลดภาวะโลกร้อน
 

คาร์บอนเครดิต

คาร์บอนเครดิต สิทธิ์ในการปล่อยก๊าซ
    
     ภาวะโลกร้อน คือ มีการปล่อยก๊าซซึ่งเกิดจากกระบวนการของมนุษย์
  
ภาวะโลกร้อน
 
     ภาวะโลกร้อน คือ มีการปล่อยก๊าซซึ่งเกิดจากกระบวนการของมนุษย์ อย่างเช่นการเลื้ยงสัตว์ ปศุสัตว์ จะได้ก๊าซมีเทนจากมูลสัตว์ หรือก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งก๊าซดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก
 
 
ก๊าซเรือนกระจก
 
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ก๊าซมีเทน ฯลฯ สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด ภาวะเรือนกระจก
 
     ภาวะเรือนกระจก คืออะไร คือ การที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ หรือ ก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซที่เมื่อปลดปล่อยออกมาแล้ว จะทำตัวเป็นฟิล์มเคลือบอยู่บนชั้นบรรยากาศ ทำให้โลกของเรามีสภาพเหมือนห้องเรือนกระจก ความร้อนก็จะสะท้อนกลับไปกลับมาอยู่ภายใน ซึ่งมนุษย์เราเปรียบเสมือนผู้ที่อยู่ในห้องนั้น
ก๊าซเรือนกระจกเป็นตัวสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงขึ้น
 
 
ภูเขาน้ำแข็งละลายจากภาวะโลกร้อน.
 
น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลาย
 
     แล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ เกิดภาวะน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งจะนำมาซึ่งภาวะน้ำท่วมในอนาคต และเกิดการหายไปของเมืองที่อยู่รอบๆ บริเวณนั้น...
 
น้ำท่วมเมือง
 
น้ำทะเลหนุนไหลเข้าท่วมบ้านเมือง

     ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ เกิดความคิดที่ว่าจะทำอย่างไร ไม่ให้เกิดภาวะเรือนกระจก จึงเป็นที่มาของ “คาร์บอนเครดิต”

คาร์บอนเครดิตมีที่มาอย่างไร

     คาร์บอนเครดิต เกิดขึ้นที่ เกียวโตซึ่งอยู่ภายใต้อนุสัญญาของประชาชาติ โดยที่มีการตกลงกันว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกมากที่สุด ต้องมีความรับผิดชอบที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยกำหนดไว้ที่ประมาณ 5% ของปี 2533 ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกัน และหากว่าประเทศใดที่ทำไม่ได้ตามเป้าจะถูกปรับ ในส่วนเกินนั้น ละ 100 ยูโร โดยประมาณ (5000 บาท ต่อ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซค์) ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงพอสมควร และหากภาพรวมของประเทศไม่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ก็จะให้ไปดูประเทศที่ไม่ได้ติดอนุสัญญา (ประเทศที่ไม่ได้ลงนามเข้าร่วมโครงการนี้) เสนอโครงการว่าหากประเทศนั้นลดได้เท่าไรส่วนที่ลดได้ก็จะเป็นเครดิตเท่านั้น  ประเทศใดปล่อยก๊าซเกินหากไม่อยากเสียค่าปรับก็ไปซื้อเครดิต "สิทธิ์ปล่อยก๊าซ" มาทดแทน 

     กล่าวโดยสรุปคือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้คิดโครงการขึ้นมา เช่น ฟาร์มเลี้ยงหมู  แล้วมีมูลสุกร (ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซมีเทนเป็นตัวทำลายชั้นบรรยากาศดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น)
 
 
เลี้ยงหมูนำขี้หมูไปผลิตไฟฟ้าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานขี้หมู
 
     ปศุสัตว์ ได้ก๊าซมีเทนจากมูลสุกร นำมาผลิตไฟฟ้า
 
     จึงเป็นที่มาของโครงการว่านำมูลสุกรไปผลิตไฟฟ้า เป็นพลังงานทดแทน ได้ไฟฟ้ากลับมา เป็นสัดส่วนว่าลดภาวะเรือนกระจกได้เท่าไร ก็เป็นเครดิต แล้วคนที่อยากได้เครดิตตรงนี้ไว้ไปใช้ในส่วนเกินของกิจการตน ก็นำเงินมาลงทุน ก็จะได้ส่วนของเครดิตของจำนวนคาร์บอนไดออกไซค์ที่ลดลง

     มีการวัดปริมาณที่ลดลงโดยกรรมการระดับประเทศ ระดับประชาชาติซึ่งมีการวัดกันคิดเป็นจำนวนคาร์บอนไดที่ลดลงประมาณกี่ตัน ซึ่งหากเกินแล้วจะโดนปรับตันละ 5000บาท แต่หากลงทุนในคาร์บอนเครดิตจะประมาณ 854 บาทต่อตัน จึงมีโครงการขึ้นมาว่าจะไปซื้อคาร์บอนเครดิตของประเทศโลกที่สาม (ประเทศกำลังพัฒนา) เช่นขี้หมู นำไปสร้างโรงไฟฟ้าพลังขี้หมู ซึ่งด้วยเหตุนี้เหมือนเป็นการพัฒนาประเทศโลกที่สาม ให้มีความยั่งยืนด้วยรายได้ที่เกิดจากการซึ้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
 
 

ลดก๊าซเพื่อโลกเรา

 
สร้างความรับผิดชอบต่อสังคมโดย ลดก๊าซเรือนกระจก..พัฒนาประเทศ


แล้วประเทศที่พัฒนาแล้วได้อะไรจากการมาลงทุนในคาร์บอน

     ในเบื้องต้นมองว่าประเทศที่พัฒนาแล้วควรมีความรับผิดชอบต่อสังคม  Corporate Social Responsibility ( CSR) ด้วยการลดก๊าซเรือนกระจก และเนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นเป็นประเทศใหญ่ มุ่งเน้นการอุตสาหกรรมเสียส่วนใหญ่ อาจไม่สามารถควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ ประกอบกับมีเม็ดเงินมากพอที่จะไปลงทุนในคาร์บอนเครดิตซึ่งเป็นการช่วยในการพัฒนาประเทศโลกที่ 3 อีกทางหนึ่งด้วย สรุปคือ 1. ช่วยประหยัดค่าปรับ 2. ได้ช่วยพัฒนาประเทศโลกที่ 3 โดยสร้างรายได้ จากโครงการที่นำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ความรับผิดชอบส่วนนี้อยู่ที่ยุโรป และญี่ปุ่น รวมแล้ว 41 ประเทศ
 
คาร์บอนเครดิต ฮีโร่ช่วยชีวิต!
 
เรามารวมใจกันเปลี่ยนโลกใบนี้ (ให้ดียิ่งขึ้น)

ในการแก้ปัญหาเรือนกระจกนั้น เราจะแก้ไขได้อย่างไร

     อันดับแรกเราต้อง “รับรู้” ว่าโลกมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น เมื่อรู้แล้ว “ยอมรับ” ว่าเป็นปัญหา แต่การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากความเคยชินนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เพราะฉะนั้นต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นโดย
 
1. ให้มนุษย์ตระหนักถึงผลกระทบ ถึงความสำคัญ ว่าถ้าหากเป็นเช่นนี้ต่อไปโลกจะเป็นอย่างไร

2. ให้แรงจูงใจทางด้านการเงินด้วย เช่น หากผู้ใดปล่อยก๊าซทำลายสิ่งแวดล้อมจะต้องถูกปรับ แต่หากรักษ์โลกได้ก็จะได้รางวัล เป็นต้น
    
     จากโครงการดังกล่าวได้เห็นว่าโลกเราได้เดินมาถูกทางแล้ว เพียงปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน และพัฒนาสิ่งดีๆ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อที่ว่าเมื่อโลกเย็นลงแล้วทุกคนจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข...
 
 
รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง


 
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิตฮีโร่ช่วยชีวิต!
 

http://goo.gl/uUWOl


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related