“พระมหา ดร.พงศ์ศักดิ์ ฐานิโย” ผู้จบปริญญาเอกเร็วที่สุดในรอบ ๓๗๐ ปีของมหาวิทยาลัยชั้นนำประเทศญี่ปุ่น

นาฬิกาบอกเวลาบ่ายสองโมง เรารู้สึกตื่นเต้นกับนัดสำคัญ ที่จะได้สัมภาษณ์อาจารย์มหาวิทยาลัยด้านพุทธศาสตร์ชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น เจ้าของสถิติ “ผู้จบปริญญาเอกเร็วที่สุดในรอบ ๓๗๐ ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมา” “พระมหา ดร.พงศ์ศักดิ์ ฐานิโย” คือเจ้าของสถิตินี้ https://dmc.tv/a22111

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 14 ธ.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18257 ]
“กว่าจะถึงวันนี้ต้องแกร่งเกินร้อย”
 
ลูกหลวงพ่อ
เรื่อง : กลุ่มดาวมีน
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙

     นาฬิกาบอกเวลาบ่ายสองโมง เรารู้สึกตื่นเต้นกับนัดสำคัญ ที่จะได้สัมภาษณ์อาจารย์มหาวิทยาลัยด้านพุทธศาสตร์ชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น เจ้าของสถิติ “ผู้จบปริญญาเอกเร็วที่สุดในรอบ ๓๗๐ ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมา”

     “พระมหา ดร.พงศ์ศักดิ์ ฐานิโย” คือเจ้าของสถิตินี้
 

     ปัจจุบัน ท่านมีอายุ ๓๙ ปี ๒๐ พรรษาเรียนจบปริญญาตรี-โท-เอก จากมหาวิทยาลัยริวโคขุ (Ryukoku University) ประเทศญี่ปุ่นจบแล้วได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นถึง ๓ แห่ง ๕ วิทยาเขต

      ระหว่างเรียนท่านต้องสร้างวัดไปด้วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนที่ศรัทธาเรื่องศาสนาถดถอยควบคู่ไปด้วย

     ภารกิจอีก ๒ ประการ ตอนนี้สำเร็จไปถึงระดับไหน ? ท่านผ่านภารกิจหนักแบบนี้มาได้อย่างไร ? ต้องฟันฝ่าอะไรมาบ้าง ?

     เชิญเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากชีวิตท่านซึ่งน่าสนใจตั้งแต่ด่านแรกจนถึงด่านสุดท้าย..
 

ด่านแรก : ステージ I


      พระมหา ดร.พงศ์ศักดิ์ ฐานิโย ซึ่งในที่นี้ขอเรียกท่านว่า “พระอาจารย์ฐานิโย” เล่าให้ฟังว่า “หลวงพี่จบ ปวช. จากวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และกำลังจะเรียนต่อปริญญาตรีในคณะวิศวกรรมศาสตร์แต่ช่วงปิดเทอม พ.ศ. ๒๕๔๐ หลวงพี่ไปอบรมธรรมทายาทที่วัดพระธรรมกาย ได้นั่งสมาธิได้ฟังธรรม ก็เกิดความศรัทธาในพุทธศาสนาขึ้นมาจับใจ และเล็งเห็นว่า ‘ความตายไม่มีนิมิตหมาย’ ไม่รู้ว่าเราจะจากโลกนี้ไปเมื่อไรจึงตัดสินใจบวชต่อ แล้วก็ไปลาออกจากมหาวิทยาลัย เพื่อมาใช้ชีวิตให้มีคุณค่าที่สุดในฐานะพระภิกษุ”

     ประวัติสั้น ๆ แต่ไม่ธรรมดานี้ ทำให้มีเสียงผุดขึ้นมาในใจของเราว่า “ใจเด็ด”

    เมื่อตัดสินใจแบบนี้แล้ว ด่านแรกที่ท่านต้องฟันฝ่าก็คือ “ความรักความห่วงใย” จากครอบครัว ที่ต้องการให้ท่านออกไปมีอนาคตที่สดใสทางโลกมากกว่า

     กว่าจะผ่านด่านนี้มาได้ พระอาจารย์ฐานิโยต้องทำหน้าที่กัลยาณมิตรและพิสูจน์ให้ทุกคนในครอบครัวเห็นความตั้งใจจริงที่จะครองเพศสมณะ โดยใช้เวลาถึงสิบกว่าปีทีเดียว

ด่านที่สอง : ステージ II

     หลังจากบวชได้ประมาณ ๓ ปี ท่านก็เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น..

อะไรทำให้ผู้ที่ตัดใจทิ้งอนาคตทางโลกไปแล้ว หวนกลับมาเรียนต่ออีก ?

      “ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะเรียนต่อ เพราะทิ้งทางโลกมาก็เพื่อจะใช้ชีวิตเป็นสมณะ แต่ตอนหลังมารู้ว่า หน้าที่ที่สมบูรณ์ของพระภิกษุมี ๒ ประการ คือ ทำเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน จึงตัดสินใจเรียนต่อทางด้านพุทธศาสตร์ เพราะคิดว่า ‘การเผยแผ่ที่ได้ผลดีในระยะยาว คือการเผยแผ่ผ่านทางการศึกษา’เพราะสามารถเผยแผ่ได้ง่ายกว่าการชักชวนให้คนมานับถือศาสนาหรือเปลี่ยนความเชื่อการเรียนครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่ต่างจากตอนเป็นฆราวาสอย่างสิ้นเชิง”

โลกกว้างใหญ่ไพศาล ทำไมถึงเลือกเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น ?

      “หลวงพี่ทราบมาว่า นักวิชาการชาวญี่ปุ่นเก็บรวบรวมองค์ความรู้ด้าน ‘พุทธศาสตร์’ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศเอาไว้มากมาย จึงคิดว่า ถ้าหากเรารู้ภาษาญี่ปุ่นก็เหมือนมีกุญแจที่จะไขตู้เก็บองค์ความรู้เหล่านี้ได้ จึงเลือกเรียนที่ประเทศนี้ พร้อม ๆ กับเริ่มสร้างวัดไปด้วย”

     ตอนนั้น พระอาจารย์ฐานิโยเรียนภาษาญี่ป่นุ อยู่ ๒ ปีแล้วจึงสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยริวโคขุ (Ryukoku University)

      “ริวโคขุมีชื่อเสียงทางด้านพุทธศาสตร์ ชั้นนำของประเทศ เปิดสอนมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๘๒ สอนระดับอนุปริญญาถึงปริญญาเอกปัจจุบันมีนักศึกษาชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติเรียนอยู่กว่า ๒๐,๐๐๐ คน หลวงพี่จบปริญญาตรี-โท-เอก จากภาควิชาพุทธศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์”

เคยได้รับรางวัลอะไรบ้าง ?

     “ตอนจบปริญญาตรี (พ.ศ. ๒๕๔๘) หลวงพี่ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม อันดับ ๑ ในหัวข้อ ‘ธัมมจักกัปปวัตนสูตร’ (ภาษาญี่ปุ่น) ปริญญาโท (พ.ศ. ๒๕๕๐) ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยมอันดับ ๑ ในหัวข้อ ‘สมถวิปัสสนาในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกบาลี’ (ภาษาญี่ปุ่น)”

     สำหรับปริญญาเอก ท่านเรียนแค่ ๓ ปี (จบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓) ทำวิทยานิพนธ์หัวข้อ “สมถวิปัสสนาในคัมภีร์ยุคต้นถึงอรรถกถา ฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้” มีสิทธิ์ใช้คำว่า “ดอกเตอร์” นำหน้าชื่อเมื่ออายุ ๓๒ ปี

     กว่าจะคว้าชัยระดับนี้มาได้ ท่านบอกสั้น ๆ ซึ่งเราอยากขีดเส้นใต้ทุกคำเลยว่า “ต้องทุ่มเทและเอาใจใส่ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนหมั่นปรึกษาอาจารย์ รุ่นพี่ และเพื่อน ๆ ให้เขาช่วยอธิบายสิ่งที่เรายังเข้าใจไม่สมบูรณ์ และต้องบริหารเวลาให้ดี หลวงพี่ไม่ได้มีเวลาเรียนเต็มที่เท่าไรนัก เพราะมีภารกิจสร้างวัดด้วย (ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายโอซาก้า)แต่ก็ใช้เวลาเต็มที่ทั้ง ๒ ภารกิจ”

      เมื่อเรียนจบแล้ว ในฐานะที่ท่านเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านเถรวาท” จึงมีมหาวิทยาลัย ๓ แห่ง ๕ วิทยาเขต เชิญท่านไปเป็นอาจารย์พิเศษ

      “หลวงพี่สอนนักศึกษาชาวญี่ปุ่นระดับปริญญาตรีและโทที่มหาวิทยาลัยริวโคขุ วิชาพระพุทธศาสนาเถรวาท, พระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน, พระพุทธศาสนาในเอเชีย สอนมา ๖ ปีแล้ว มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนกว่า ๑,๐๐๐ คน อีก ๒ แห่งที่หลวงพี่ไปสอนก็คือมหาวิทยาลัยบุคเคียว (Bukkyo University) และมหาวิทยาลัยโดชิฉะ (Doshisha University)”

     มาถึงจุดนี้ ด่านที่สอง คือ “การศึกษา”ถือว่าผ่านไปอีกด่านอย่างสง่างาม

ด่านที่สาม : ステージ III

      ด่านนี้เป็นเรื่องของ “การเผยแผ่” ซึ่งมีเรื่องราวของการทำงานที่น่าสนใจไม่น้อย

      “ยุคแรกของการเผยแผ่ศาสนาพุทธดั้งเดิมในญี่ปุ่น เราเผยแผ่แก่ชาวไทยเป็นหลักยุคนั้น ชาวญี่ปุ่นที่มาวัดคือคนที่มีภรรยาเป็นชาวไทย รู้จักวัฒนธรรมไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การสอนจึงไม่ค่อยมีปัญหา ลูก ๆ ที่เป็นลูกครึ่ง เราก็อบรมสั่งสอนมาตั้งแต่ยังเด็กตอนนี้เรียนมหาวิทยาลัยหลายคนแล้ว และเข้ามาช่วยงานเราอยู่จนถึงปัจจุบัน”

      การเผยแผ่กับกลุ่มนี้ไม่ยากเท่าไร แต่ที่ต้องออกแรงเยอะมากคือการต่อยอดเผยแผ่แก่ชาวท้องถิ่น ซึ่งต้องมีการวางรากฐาน คือ “วางทีม” และ “วางที่” ขั้นตอนนี้ต้องทุ่มเทมากและใช้เวลานานกว่าฐานจะแน่น

      “ถ้ารากฐานดี แข็งแรง จะต่อตึกขึ้นไปสูงแค่ไหนก็ไม่มีปัญหาตามมา” พระอาจารย์ฐานิโยกล่าว “ปัจจุบัน เรามีวัดในพื้นที่หลัก ๆ ๑๐ วัด ถือว่ารากฐานค่อนข้างมั่นคง เมื่อ ๓-๔ ปีที่ผ่านมาก็เลยขยับขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งคือ เริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมญี่ปุ่น เพื่อสอนชาวญี่ปุ่นที่ไม่มีพื้นด้านพุทธศาสนา เริ่มจากการสอนสมาธิเป็นหลัก โดยไม่พูดถึงเรื่องศาสนา เพราะคนญี่ปุ่นไม่ชอบการยัดเยียดแต่พออยู่ไปสักพักเขาก็รู้เอง”

     การเผยแผ่ได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจคือ นอกจากมีคนสนใจมานั่งสมาธิเยอะขึ้นแล้วกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การบรรพชาสามเณรที่ญี่ปุ่นและการบรรพชาอุปสมบทระยะสั้นที่จัดในประเทศไทย เพื่อฝึกคนไว้เป็นกำลังพระศาสนาต่อไปในอนาคต ก็มีคนสนใจเข้าร่วมไม่น้อยและเมื่อลาสิกขาแล้วก็ยังแบ่งเวลามาช่วยงานวัด บางรูปบวชแล้วยังไม่สึกก็มี เรียกว่ากล่มุ คนที่มาวัดมีศรัทธาในพระศาสนามากขึ้นเยอะ
 

     “สาธุชนทั้งชาวไทยชาวญี่ปุ่นเอาใจใส่พระภิกษุมากขึ้น เกิดศรัทธาในศาสนาพุทธมากขึ้น จากที่ไม่เคยทำทาน ไม่รักษาศีลก็เริ่มทำทาน รักษาศีลมากขึ้น และที่สำคัญเขานำสมาธิไปปฏิบัติจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแล้ว ทำให้ชีวิตดีขึ้นตามลำดับ บางคนมาเล่าให้ฟังว่า เวลามีปัญหาชีวิตไม่รู้จะหันไปทางไหน ก็นึกถึงสิ่งที่เราเคยสอน แล้วลงมือทำจนสถานการณ์เปลี่ยนไปในทางที่ดี มีอยู่รายหนึ่ง ตอนแรกอยากจะฆ่าตัวตาย พอมาเจอเรา ได้พูดคุยได้ลงมือปฏิบัติธรรม สุดท้ายก็ล้มเลิกความคิดไป”

     ในปัจจุบัน ไม่น่าเชื่อว่า “สมาธิ” เป็นที่ต้องการมาก จนกลายเป็นว่า วัดมีบุคลากรไม่เพียงพอ หลายวัดพระสับคิวกันไปจัดปฏิบัติธรรมไม่ทัน ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะฝึกพระที่สามารถเทศน์สอนได้ทันไหม เพราะการฝึกบุคลากรที่มีประสิทธิภาพต้องใช้เวลาหลายปี

ด่านที่สี่ : ステージ IV

      สิ่งที่คู่ขนานไปกับการสร้างคน สร้างวัดก็คือการสร้างศรัทธา ซึ่งมีความสำคัญมาก ๆต่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธแก่ชาวญี่ปุ่น เพราะระยะหลัง ๆ นี้ “ศรัทธา” ของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อพระพุทธศาสนาลดน้อยถอยลงจนน่าใจหายส่วนใหญ่มองติดลบด้วยซ้ำ

     เกี่ยวกับเรื่องนี้พระอาจารย์ฐานิโยเล่าให้ฟังเพลินทีเดียว

     “พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบมหายาน เผยแผ่จากประเทศจีน ผ่านมาทางเกาหลี และเข้าสู่ญี่ปุ่นเมื่อราว ๆ ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว และเจริญรุ่งเรืองในสมัยต่อมา แต่ว่าในสมัยเมจิ (พ.ศ. ๒๔๑๑) รัฐบาลออกกฎหมายให้พระแต่งงานได้ ตอนแรกคนไม่เห็นด้วยเยอะแต่อยู่ไปๆ ก็เริ่มมีคนเอากฎหมายนี้มาปฏิบัตสถานการณ์พระพุทธศาสนาจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป จนกระทั่งสุดท้ายข้อปฏิบัติของพระญี่ปุ่นแทบไม่ต่างจากฆราวาส ทำให้คนญี่ปุ่นค่อย ๆถอยห่างพุทธศาสนาออกไป ความศรัทธาลดน้อยถอยลงเรื่อย ๆ”

     ได้ฟังแล้วรู้สึกสะเทือนใจว่า ปัจจุบันพระญี่ปุ่นแทบไมมี่บทบาทอะไรเลย และนับวันความสำคัญยิ่งลดลง

     “ภาพของพระญี่ปุ่นยุคนี้ไม่ใช่ภาพของการเทศน์สอน แต่เป็นภาพการจัดพิธีกรรมงานศพเป็นส่วนใหญ่ แล้วช่วงหลังคนไม่ค่อยเห็นด้วยกับการจัดงานศพที่มีค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง จึงเริ่มมีบริษัทเข้ามารับจัดงานศพในราคาที่ถูกลง และตัดขั้นตอนพิธีกรรมที่เกี่ยวกับพระออกไปเลย”
 

     ประกอบกับมีเหตุการณ์ที่ช็อกความรู้สึกครั้งใหญ่เกิดขึ้น ทำให้ชาวญี่ปุ่นยิ่งไม่ชอบเรื่องศาสนามากกว่าเดิม

     “ประมาณ ๑๘-๑๙ ปีที่แล้ว สาวกของลัทธิโอมชินริเคียวไปปล่อยก๊าซพิษซารินในขบวนรถไฟใต้ดินในกรุงโตเกียว ทำให้มีคนเสียชีวิตสิบกว่าคน และบาดเจ็บหลายพันคนพวกนี้อ้างชื่อศาสนาพุทธด้วย ทำให้หลังจากนั้นคนญี่ปุ่นค่อนข้างกลัวคำว่าศาสนา กลัวจะมาชวนเขาไปทำอะไรไม่ดี ตอนวัดเราไปใหม่ ๆจึงทำงานกันลำบากพอสมควร เพราะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศของเขา”

เจอ “ด่านหิน” เข้าแล้ว แบบนี้ต้องทำอย่างไรดี ?

     พระอาจารย์ฐานิโยและทีมงานแก้ปัญหา “ศรัทธาเสื่อม” ด้วยการทำงานหนักและสร้างพันธมิตรกับนิกายอื่น ๆ แล้วชูความเป็นพระพุทธศาสนาขึ้นมา โดยมีแกนหลัก คือ“สมาธิ” ที่ทำให้คนพ้นจากความทุกข์ ส่วนเรื่องยิบย่อยซึ่งแต่ละนิกายมีข้อปฏิบัติต่างกันไม่ได้เข้าไปแตะ

     นอกจากนี้ การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญด้านเถรวาท ก็เป็นภาพลักษณ์ที่ดี ช่วยให้พระอาจารย์ฐานิโยได้รับการยอมรับจากลูกศิษย์ลูกหาและผู้คนในแวดวงวิชาการพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นง่ายขึ้น

     ที่สำคัญคำสอนครูบาอาจารย์ที่นำไปใช้ก็ช่วยได้มาก เพราะว่าการที่จะไปสอนคนในประเทศที่พัฒนากว่าประเทศเราได้นั้น เราต้องมีดีพอที่จะทำให้เขายอมรับ

     “เวลาเราอยู่ในวัด สิ่งที่หลวงพ่อสอนบางทีเรานึกไม่ออก แต่พอไปอยู่ข้างนอก สิ่งที่ท่านสอนนำไปใช้ได้จริง เช่น ที่ท่านบอกว่า‘เราอยู่ในสายตาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลายไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม’ หลวงพี่เพิ่งมาเข้าใจจริง ๆ ตอนไปอยู่ญี่ปุ่น ที่นั่นเขาสังเกตเราทุกอย่าง แล้วพูดต่อ ๆ กันไป เช่น พระไทยมีกิริยามารยาทแบบนี้ มีข้อวัตรปฏิบัติแบบนี้เอาสิ่งที่อยู่ในพระไตรปิฎกมาใช้จริง เขาสังเกตเราตลอด การเผยแผจึ่งไมใ่ ช่แคก่ารเทศน์สอนอย่างเดียว ทุกอิริยาบถอยู่ในสายตาเขาหมดโดยที่เราไม่รู้ตัว เขาจะยอมรับเราหรือไม่ศรัทธาเราหรือไม่ มาจากเรื่องพวกนี้เป็นหลัก”

     งานสร้างศรัทธาในญี่ปุ่นซึ่งถือได้ว่าเป็น “ด่านหิน” เมื่อใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในที่สุดก็ผ่านมาได้

ด่านที่ห้า : ステージ V

      อีกด่านสำคัญที่พระภิกษุผู้ไปเผยแผ่ในต่างประเทศเป็นเวลานาน ห่างไกลหมู่คณะและมีภารกิจมากมาย จะต้องฟันฝ่าไปให้ได้ก็คือ “การต่อสู้กับตนเอง” ซึ่งธรรมชาติของการต่อสู้มีผลอยู่ ๓ อย่าง คือ แพ้-ชนะ-เสมอ

พระอาจารย์ฐานิโยใช้วิธีใดถึงจะได้เป็นผู้ชนะในการต่อสู้ ?

     “หลวงพี่อยู่ที่ญี่ปุ่น ๑๗ ปี ดูแลตนเองด้วยการหมั่นทบทวนโอวาทของครูบาอาจารย์และปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาสม่ำเสมอเพราะเราอยู่ไกลหมู่คณะ ไม่มีใครที่จะสั่งสอนเราได้ดีกว่าตัวของเราเอง จึงต้องอาศัยโอวาทของครูบาอาจารย์และการปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องเตือนใจและสร้างกำลังใจ สำหรับการแบ่งเวลา เมื่อไปอยู่ที่มหาวิทยาลัย หลวงพี่ใช้เวลากับเรื่องเรียนเต็มที่ เมื่อกลับมาถึงวัดก็ใช้เวลากับงานวัดเต็มที่ อาจไม่ง่าย แต่ก็ถือเป็นบทฝึกเรื่อง ‘การตัดใจ’ ได้เป็นอย่างดี”

     นอกจากนี้ การมีต้นแบบและกัลยาณมิตรก็มีความสำคัญมากต่อการเอาชนะปัญหาและอุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชนะใจตนเอง”

     “หลวงพี่มีครูบาอาจารย์อย่างพระเดชพระคุณหลวงพ่อทั้ง ๒ รูป เป็นต้นแบบทุกเรื่องทั้งเรื่องประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน หลวงพ่อทั้งสองทำได้ไม่บกพร่อง ไม่ว่าจะพบอุปสรรคใด ๆหลวงพี่ก็ไม่เคยสัมผัสถึงความท้อแท้ท้อถอยของท่านเลย ท่าน ‘ถือธรรมเป็นใหญ่’ ในการดำเนินชีวิต อีกทั้งหลวงพี่ยังมีพระอาจารย์พี่ ๆ เพื่อน ๆ สหธรรมิกคอยให้กำลังใจ รวมถึงกัลยาณมิตรและสาธุชนที่ให้การสนับสนุนด้วยดีมาตลอด อีกทั้งตัวเราก็ต้องปฏิบัติธรรมควบคู่ไปด้วยไม่ขาด นี้เป็นปัจจัยที่ทำให้สามารถทำภารกิจสำเร็จลุล่วงไปได้และบวชมาได้จนถึงปัจจุบัน”

ด่านสุดท้าย : ラストステージ

      ด่านสุดท้ายเป็น “การกอบกู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา” ด่านนี้ไม่ว่าจะแกร่งแค่ไหนก็ผ่านไปคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยชาวพุทธผู้มีใจรักพระพุทธศาสนาร่วมมือฟันฝ่าไปด้วยกัน

     เรื่องนี้ ในฐานะพระภิกษุรูปหนึ่งที่ตั้งใจทำภารกิจฟื้นฟูพระพุทธศาสนาตลอดมา และในฐานะอาจารย์ด้านพุทธศาสตร์ พระอาจารย์ฐานิโยมีความเห็นว่า

     “เราไม่อาจทราบได้เลยว่า จริง ๆ แล้วอนาคตของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร แต่การเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศนั้น เหมือนกับสิ่งที่พระเจ้าอโศกเคยทรงกระทำเอาไว้ ที่ทรงส่งพระธรรมทูตออกไปประกาศพระศาสนายังดินแดนต่าง ๆและหนึ่งในดินแดนเหล่านั้นที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจบุันคือดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ ดังนั้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาภายในประเทศควบคู่กับการเผยแผ่ในต่างประเทศ จึงมีความสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน”
 


วิกฤตศาสนาตอนนี้ มีผลต่ออนาคตพระพุทธศาสนาอย่างไร ชาวพุทธควรปฏิบัติอย่างไร จึงจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ?

      “หลวงพี่คิดว่า หากเราปล่อยให้มีการกล่าวตู่จาบจ้วงพระสงฆ์องค์เจ้าต่อไป อีกทั้ง‘การตัดสินความ ก่อนความจะถูกตัดสิน’ ด้วยโลกโซเชียล และพุทธบริษัทเองก็เหินห่างจากการประพฤติปฏิบัติธรรม แบบนี้ไม่ว่าใครก็ทำนายได้ว่า อนาคตของพระพุทธศาสนาทั้งภายในและต่างประเทศจะเป็นอย่างไรหลวงพี่จึงอยากให้ท่านผู้อ่านช่วยนำข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องไปบอกสู่สาธารณชน อันเป็นการทำ ‘ประโยชน์ผู้อื่น’ ให้บริบูรณ์ นอกจากนี้หลวงพี่ยังหวังจะเห็นสิ่งที่พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เคยกล่าวไว้ว่า ‘พุทธบริษัท ๔ ต้องเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว’ เพราะว่าหากพุทธบริษัทมีความสมัครสมานสามัคคีกันทำตามหน้าที่ ตามเพศภาวะของตน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน แล้วหมั่นประพฤติปฏิบัติธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อทำ ‘ประโยชน์ตน’ ให้สมบูรณ์ ควบคู่กับการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแนะนำสิ่งดี ๆ ให้แก่ผู้อื่น หากทำได้อย่างนี้ไม่ว่าจะเป็นเถรวาท มหายาน หรือวัชรยานพระพุทธศาสนาย่อมเจริญรุ่งเรืองแน่นอน”

       ปัจจุบัน พระอาจารย์ฐานิโยกลับมาทำภารกิจด้านการศึกษาและงานวิจัยทางพุทธศาสตร์ที่สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกายประเทศไทย แต่ยังคงไปสอนที่มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในช่วงซัมเมอร์




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related