จะรู้ได้อย่างไรว่าเราตกเป็นทาสเทคโนโลยีไปแล้ว

สังคมออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เพราะเมื่อก่อนแค่โทรหากันแล้วคุยกันไป แต่ปัจจุบันทั้งแชท เข้าอินเตอร์เน็ต ทุกสิ่งทุกอย่างได้หมดภายในเครื่องเดียว https://dmc.tv/a14005

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข้อคิดรอบตัว
[ 1 ส.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18274 ]
 
 
โดย พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ
เรียบเรียงจากรายการข้อคิดรอบตัว ทาง DMC
 
 
ชีวิตจริงบนชุมชนออนไลน์
 
        สังคมออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เพราะเมื่อก่อนแค่โทรหากันแล้วคุยกันไป แต่ปัจจุบันทั้งแชท เข้าอินเตอร์เน็ต ทุกสิ่งทุกอย่างได้หมดภายในเครื่องเดียว หลายคนบอกว่ามันเพิ่มเข้ามาจากปัจจัย 4 ซึ่งมีความจำเป็นมากๆ และสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่าง
 

มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสังคมออนไลน์?

 
        ถ้ามองทิศทางแนวโน้มว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องบอกว่าสื่อออนไลน์เหล่านี้จะมาใกล้ตัวเรามากขึ้นแน่นอน จะเห็นได้ชัดว่ายอดขายสมาร์ทโฟนมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นำหน้าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(PC) และแบบ Notebook แซงนำขึ้นมาแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะยิ่งทิ้งห่างไปเรื่อยๆ เมื่อสมาร์ทโฟนมียอดขายเพิ่มขึ้นขนาดนี้ ผลก็คือเราสามารถถูกตามตัวได้ทุกที่ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าอิสรภาพของชีวิตเริ่มเหลือน้อยลง
 
        เมื่อสมาร์ทโฟนสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้และพกพาได้ง่าย มันจะเกิดสภาวะเหมือนยุคโทรศัพท์บ้านมาเป็นโทรศัพท์มือถือ เพียงแค่ต่างกันตรงที่ไม่ได้ถูกผูกมัดด้วยเสียงอย่างเดียวแล้ว แต่เราจะถูกผูกมัดด้วยสังคมออนไลน์รอบตัวเราอย่างมัดแน่น เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็เข้าอินเตอร์เน็ตได้หมด จะเห็นว่าเราถูกเขาโอบกระชับมาอีกขั้นหนึ่งแล้วโดยไม่รู้ตัว และยังมีอีกกระแสหนึ่งที่ไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน คือกระแสแท็บเล็ต ที่ดังที่สุดก็คือ ipad ต้องบอกว่าคนที่จุดกระแสทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตก็คือ Apple แต่ก่อนสมาร์ทโฟนที่ดังก็คือ Blackberry แต่ส่วนใหญ่เขาเน้นลูกค้าที่เป็นตลาดองค์กร เพราะมีระบบการรักษาความลับได้เป็นอย่างดี แต่ว่ามาดังเอาจริงๆ ตอนที่ Apple ออก iphone ขึ้นมา รูปแบบก็สวย สอดคล้องกับเทคโนโลยีด้วย ก็ขายดีมาก เจ้าอื่นก็แข่งกันขึ้นมาด้วย ก็เลยได้รับความนิยมกันใหญ่
 
สื่อออนไลน์เหล่านี้มาใกล้ตัวเรามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สื่อออนไลน์เหล่านี้มาใกล้ตัวเรามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
        พอมาถึงแท็บเล็ตก็เหมือนกัน เป็นการผสมผสานระหว่างสมาร์ทโฟนกับ Notebook แล้วหารสอง กลายเป็นแท็บเล็ต ก็เน้นให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก คือเป็นสมาร์ทโฟนที่หน้าจอมันใหญ่หน่อย ทำให้ดูเนื้อหารายละเอียดได้มากกว่าสมาร์ทโฟน น้ำหนักเบาพกพาสะดวก ราคาไม่แพงมาก พอแข่งกันอย่างนี้อีกซักพักก็จะรู้เลยว่าราคาจะลงต่ำไปเรื่อยๆ เราจะเห็นแนวโน้มว่าสิ่งที่พกติดตัวได้สะดวก เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต จะมียอดขายที่ทิ้งขาดคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ พอเป็นแท็บเล็ตมันใช้แทนคอมพิวเตอร์ได้เกือบหมดเลย มากกว่าสมาร์ทโฟนมากเพราะหน้าจอมันใหญ่พอสมควร
 
        เมื่อเป็นอย่างนี้ก็หมายถึงว่า ชีวิตเราเองจะถูกกระชับด้วยเครือข่ายออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ และมันจะติดตามเราไปได้ทุกที่ พอมันสะดวกอย่างนี้ก็ทำให้เราอยากใช้มัน ว่างๆ ไม่รู้จะทำอะไรดีก็เข้าออนไลน์ดีกว่า เราก็จะคุ้นกับมัน และหลงไปอยู่ในสังคมออนไลน์มากขึ้นๆ โดยไม่รู้ตัว นิสัยคนก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปๆ ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป นี่คือเทรนแนวโน้มที่เกิดขึ้นจากยอดขายผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่บอกเราว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสังคมทั้งในไทยและในโลกจากนี้ไป
 
        มีบางคนเคยเห็นคำพูดในโฆษณาที่ว่า ให้ปิดเพื่อเปิด คำนี้มีความหมายคือ ปิดการใช้ออนไลน์ซะบ้าง เพื่อจะเปิดใจพูดคุยสื่อสารกับบุคคลอันเป็นที่รักรอบตัวเรา พูดง่ายๆ ว่าอย่าหลงไปในโลกออนไลน์ จนลืมโลกแห่งความเป็นจริง เพราะชีวิตเราจะมีความสุขอยู่ได้นั้นคนที่อยู่รอบตัวเรามีความสำคัญมาก อย่าลืมอย่าทอดทิ้งเขา
 

เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วขนาดนี้ เราต้องทำอย่างไรบ้าง?

 
        อยากให้จับหลักอยู่อย่างหนึ่ง คืออย่ามานั่งเสียเวลาดูว่า จะทำอย่างไรกับเทคโนโลยีตัวนี้ แล้วเดี๋ยวก็มีตัวใหม่ขึ้นมา มันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนบางคนตามไม่ทันแล้วงง ให้ถือหลักอย่างเดียวว่าใช้ได้ตลอด คือเราต้องมีปฏิสัมพันธ์(ความเกี่ยวข้อง) กับเทคโนโลยีทุกอย่าง คือเราเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีแต่อย่าเป็นทาสเทคโนโลยี ถ้าเราใช้เทคโนโลยีคือเราเป็นนาย เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือของเรา อย่างนี้จะเทคโนโลยีอะไรก็แล้วแต่ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่เราใช้โดยที่ว่าเราเป็นทาสเทคโนโลยีโดยไม่รู้ตัว อย่างนี้เราจะแย่เลย จะถูกเทคโนโลยีรุมรัดตัวเรา ยิ่งก้าวหน้ามากเท่าไหร่อิสระแห่งชีวิตตัวเองก็ยิ่งจะเหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะเราเป็นเหมือนทาสที่เจ้านายปล่อยให้มีช่วงเวลาว่างน้อยมาก
 
การพูดคุยกันในสังคมออนไลน์ทั้งที่ไม่รู้จักกัน สะท้อนให้เห็นถึงอะไรบ้าง?
 
        จริงๆ แล้วคนเรานั้น เหงา และอยากมีเพื่อน แต่พอคุ้นกับคอมพิวเตอร์มากๆ ก็ต้องระวังไว้อย่างหนึ่งว่า ในชีวิตจริงของคน จริงๆ มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เช่น เราพูดกับคนนี้ไปอย่างนี้ ปฏิกิริยากลับมาอีกแบบหนึ่ง พูดกับคนนิสัยไม่เหมือนกัน ปฏิกิริยาก็กลับมาอีกแบบหนึ่ง คนที่คุ้นกับเทคโนโลยีมากเกินไปจนห่างโลกแห่งความเป็นจริง จะมีความรู้สึกว่ามันแปลกๆ ก็กลับเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์เหมือนเดิม และหลุดเข้าไปในนั้นเลย คือคนเริ่มเหงา เกิดความแปลกแยกจากตัวเองกับสังคมรอบตัว แต่ธรรมชาติมนุษย์ต้องการเพื่อน ก็เลยไปหาเพื่อนในสังคมออนไลน์ เพราะไม่ต้องรับผิดชอบ พอเราเสนออะไรออกไป ใครจะชอบหรือไม่ก็ไม่ต้องไปสนใจใยดี เพราะเขาไม่รู้ว่าเราเป็นใคร อยู่ที่เราว่าอยากให้เขารู้แค่ไหน แต่ความรับผิดชอบในสังคมออนไลน์มันน้อยกว่าสังคมจริงมาก
 
จะสังเกตได้อย่างไรว่าตกเป็นทาสเทคโนโลยีไปแล้ว ทั้งที่ผู้ใช้ก็มีความสุขดี?
 
        รู้สึกว่ามีความสุขคือมันเพลิดเพลินในตอนนั้น ก็เหมือนคนสูบบุหรี่ที่เขาว่าเขามีความสุข จริงๆ แล้วคนที่กินเหล้าดูดบุหรี่ เด็กติดเกมส์ออนไลน์ที่เขาว่าเขามีความสุขจนเสียการเรียน เราคิดว่าเราควรจะสนับสนุนเขาหรือไม่ นี่คือการเป็นทาส ทาสบุหรี่ ทาสเหล้า ทาสเกมส์ออนไลน์ หรือทาสของเทคโนโลยี มีลักษณะคล้ายกัน เป็นทาสด้วยความเต็มใจ
 
จะสังเกตได้อย่างไรว่าตกเป็นทาสเทคโนโลยีไปแล้ว
จะสังเกตได้อย่างไรว่าตกเป็นทาสเทคโนโลยีไปแล้ว
 
        ถามว่าแยกอย่างไรว่าเราเป็นนายใช้เทคโนโลยีหรือเราเป็นทาส อยู่ที่ว่าเราจะใช้มันอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจนเพื่อประโยชน์ เพื่อความเจริญก้าวหน้าหรือไม่ ถ้าเราใช้อย่างมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์จริงๆ อย่างนี้ถือว่าใช้อย่างเป็นนาย แต่ถ้าใช้เพราะความคุ้นเคย เพราะความเหงา หรือเพราะไม่รู้จะทำอะไร ถ้าไม่ใช้แล้วมันอึดอัด ก็จะกลายเป็นทาสเทคโนโลยีซะแล้ว
 
        ถ้าเราใช้อย่างมีวัตถุประสงค์ เทคโนโลยีจะก้าวหน้าอย่างไรก็ใช้ไปเถอะ เราจะไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยีของเขาหรอก เพราะเราจะเอามาเป็นเครื่องมือของการทำงาน เครื่องมือในการศึกษาเล่าเรียน อย่างนี้ไม่ต้องไปปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ต้องใช้เทคโนโลยีอย่างฉลาด คือใช้อย่างเป็นนายนั้นเอง
 
มีความเห็นอย่างไรกับคำพูดที่ว่า ในยุคนี้ต้องรู้อยู่ 2 อย่างคือภาษาอังกฤษกับเทคโนโลยี จึงจะถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถ?
 
        ไม่ว่าใครจะทำงานอะไร สาขาความรู้ด้านไหน มีความสำคัญทั้งนั้น เพียงแต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ทักษะ 2 ด้านนี้มีความโดดเด่นขึ้นมาเท่านั้นเอง ตัวอื่นยังสำคัญเหมือนเดิม เพราะเมื่อเรารู้ภาษาอังกฤษการหาข้อมูลก็สะดวกมากขึ้น เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้มากกว่า และเราเองก็สามารถนำเสนอความคิดเห็นของเราให้ผู้อื่นได้ด้วย มันเป็นความได้เปรียบว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเท่านั้นเอง
 
ให้ใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นนาย ไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี และไม่ใช่เห่อตามเขา
ให้ใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นนาย ไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี และไม่ใช่เห่อตามเขา
 
        เราไม่ต้องปฏิเสธความจริง หลักการที่ดีก็คือ รู้เขารู้เรา เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงก็ให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี แต่ใช้อย่างเป็นนาย ไม่ใช่ปฏิเสธปิดล้อมแยกตัวเองปลีกตัวห่างจากเทคโนโลยี ไม่รับ ไม่ซื้อ ไม่ใช้ เราไม่ต้องขังตัวเองไว้อย่างนั้น ให้รับรู้สภาพความเป็นไปทั้งหมดและกำหนดจุดยืนตัวเองว่า เมื่อมันเป็นอย่างนี้เราต้องทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง รู้เขาคือรู้สภาวะแวดล้อมทั้งหมด แล้วกำหนดจุดยืนตัวเองคือรู้เรา ว่าเราจะทำอะไรมีเป้าหมายชีวิตอย่างไร จะใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงต่อชีวิตตัวเองอย่างไร อย่างนี้คือรู้เขารู้เรา ก็จะทำให้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเป็นนาย ไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี ไม่ใช่เห่อตามเขา พอเขามีสมาร์ทโฟน หรือมีแท็บเล็ตเราก็ต้องมีบ้างไม่งั้นเดี๋ยวเชย อย่างนี้ไม่ใช่ ถ้าจะเอาเป็นแบบแฟชั่นจะได้คุยอวดกันว่าเราทันสมัยนี่แสดงว่าเป็นทาสเทคโนโลยี แต่ถ้าเกิดว่าจะซื้อจะใช้อย่างไร แล้วใช้อย่างมีเป้าหมายนั่นคือเราเป็นนายเทคโนโลยี
 
ผู้ปกครองควรจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้ลูกหรือไม่
ผู้ปกครองควรจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้ลูกหรือไม่
 
        ผู้ปกครองบางคนอาจคิดว่าควรจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้ลูกหรือไม่ เมื่อลูกมาตื้อขอให้ซื้อให้ ก็ให้ดูตรงที่ว่า ถ้าลูกเราจะซื้อไปใช้ก็ต้องถามว่าเอาไปใช้เพื่ออะไร ถ้าใช้เพื่อเป็นแฟชั่นให้เหมือนคนอื่นเขา จะได้ไม่อายเขาอย่างนี้ไม่ใช่ แต่ถ้าซื้อไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา ต่อการทำงาน อย่างนี้ก็น่าสนับสนุนถ้ากำลังเราไหว และต้องสอนลูกให้เข้าใจตรงนี้ ถ้าเขาจับประเด็นตรงนี้ได้ เขาจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าเรื่องใดก็ตามเขาจะเป็นคนที่รู้จักคิด มองสิ่งแวดล้อมรอบตัว จะเป็นคนที่สามารถควบคุมสถานการณ์รอบตัวได้ จะมีทิศทางชีวิตที่ชัดเจนแน่นอน
 
        แต่คนที่เป็นทาสเทคโนโลยีจะเป็นคนที่แล้วแต่กระแสจะพาไป เขาโฆษณาอย่างไรก็แห่ตามเขาไปเรื่อยๆ จะเป็นเหมือนขอนไม้ที่ลอยในมหาสมุทร แล้วแต่คลื่นจะพัดพาไปทางไหน เราจะเป็นเรือที่วิ่งตัดมหาสมุทรไปสู่เป้าหมายปลายทาง หรือจะเป็นเศษไม้ที่ลอยเคว้งคว้างกลางมหาสมุทร อยู่ที่ตัวของเรา พ่อแม่จะฝึกลูกต้องฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีเข็มทิศชีวิตในการมุ่งที่จะทำอะไร อย่างนี้ถือว่าเราเป็นนายเทคโนโลยีแล้ว
 
พอจะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่สามารถดึงลูกออกจากสังคมออนไลน์ได้?
 
        จริงๆ คนเรามันอยู่ที่สิ่งแวดล้อม บางคนติดเทคโนโลยีขนาดนี้ แต่พอเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่นว่าไปอยู่ในชนบทซึ่งไม่มีอินเตอร์เน็ต จะรู้สึกว่ามันก็เฉยๆ ไม่ได้เดือดร้อนอะไรอย่าว่าแต่ติดเทคโนโลยีเลย ขนาดคนติดเหล้าติดบุหรี่พออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีเหล้าบุหรี่ให้เห็น และรอบๆ ไม่มีใครเสพเลย มันก็เฉยๆ ไม่มีความรู้สึกว่ามันต้องทรมานในการอด
 
        ในโครงการอบรมธรรมทายาท เมื่อมาบวชโดยรอบก็ไม่มีใครสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าเลย เขาก็บอกว่าทำได้ไม่ลำบากเลย หรือไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต มือถือก็ปิด แล้วไปนั่งสมาธิ(Meditation)สัก 7 วัน ก็รู้สึกว่าสบายๆ ปลอดโปร่ง ฉะนั้นสิ่งแวดล้อมนั้นมีส่วนมาก ทำให้เราเองมีเวลาถอยตั้งหลัก ฉะนั้นถ้าพ่อแม่อยากจะฝึกลูกก็ให้หาเวลาให้เขาตั้งหลักในชีวิต ให้มาอบรมธรรมทายาทช่วงปิดเทอม ฝ่ายชายก็บวชเณรหรือบวชพระ ให้เขารู้สึกว่าเมื่อต้องห่างจากเทคโนโลยีเขาก็อยู่ได้ และให้เขาได้รู้วิธีการใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นนาย เมื่อกลับไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงเขาก็จะเป็นคนใหม่
 
เทคโนโลยีกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีการปรับให้เข้ากับยุคสมัยบ้างหรือไม่?
 
        เทคโนโลยีนั้นเป็นของกลาง อยู่ที่เราจะนำไปใช้ทำอะไร อย่างทีวีช่อง DMC เราเป็นรายการธรรมะก็เป็นประโยชน์ สื่อออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าใช้ในการเผยแผ่ข้อมูลที่ไม่ดีมันก็เป็นภัย แต่ถ้าเผยแผ่ข้อมูลที่ดีก็เป็นประโยชน์ ฉะนั้นเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าเราก็ให้รู้เท่าทัน และหาทางใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่เนื้อหาที่ดีๆ เป็นช่องทางหนึ่งในการเผยแผ่ธรรมะในพระพุทธศาสนาเท่านั้นเอง
 
        ทางด้านเว็บไซต์ก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือโซเชียลออนไลน์ อย่าง facebook, twitter อะไรต่างๆ ก็เริ่มมีมากขึ้น ในสังคมสงฆ์เองก็เช่นกัน พระก็มีทั้งพระบวชใหม่ สามเณรก็มี บวชมานานแล้วก็มี มีหลายรูปแบบ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากมีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีเป้าหมาย ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อหาข้อมูลหรือเผยแผ่ธรรมะ อย่างนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ ใช้อย่างเป็นนายเทคโนโลยี แต่ถ้าใช้เพื่อคุยสนุกสนานแชทไปแชทมา อย่างนี้ก็ไม่เหมาะกับสมณะรูป จึงขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ด้วยวัตถุประสงค์อย่างไรเป็นหลักเท่านั้นเอง

http://goo.gl/4T9GN


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำไมจีวรพระต้องเป็นสีเหลือง
      ขอไม่นับถือพระสงฆ์
      ข้อคิดธรรมะของพระสุธรรมญาณวิเทศ (สุธรรม สุธมฺโม) จากหนังสือ "หน้าสุดท้าย"
      I can’t respect monks, can I?
      กราบไหว้ทำไม งมงาย !
      Why do people have to pay homage? Ignorant!
      โซเดียม อันตรายใกล้ตัว
      บวชให้สุก
      พลังหญิง
      ตักบาตรใส่บุญ(ตอนที่2)
      ตักบาตรใส่บุญ (ตอนที่1)
      ปัญหามรดก
      ยิ่งใหญ่ในรายละเอียด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related