คำพูดหยาบคายจนกลายเป็นสงครามคีย์บอร์ดในสังคมออนไลน์

ปัจจุบันนี้คนเราพูดคุยกันน้อยลง แล้วหันไปให้ความสนใจกับโทรศัพท์มือถือ หรือการใช้สังคมออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบาย ประหยัด ทั้งใกล้ไกลสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านคีย์บอร์ดเล็กๆ เหล่านี้ ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเกิดขึ้นได้ https://dmc.tv/a14488

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข้อคิดรอบตัว
[ 20 ต.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18265 ]
 
 
สงครามคีย์บอร์ด
 
        จะสังเกตเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้คนเราพูดคุยกันได้น้อยลง แล้วหันไปให้ความสนใจกับโทรศัพท์มือถือ หรือการใช้สังคมออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบาย ประหยัด ทั้งใกล้และไกลก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านคีย์บอร์ดเล็กๆ เหล่านี้ ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเกิดขึ้นได้
 

มีความคิดเห็นอย่างไรกับปัญหาสงครามคีย์บอร์ด?

 
        คนเราทุกคนนั้นมีกิเลส แต่ปกติแล้วสิ่งที่จะช่วยให้เราสามารถควบคุมกิเลสได้นั้น หลักๆ มีอยู่ 3 อย่าง คือ
 
        1. พลังขับเคลื่อนทางศีลธรรม เช่น ถ้าเป็นชาวพุทธก็จะรักบุญกลัวบาป
 
        2. พลังทางครอบครัว เช่น ถ้าทำไปแล้วก็กลัวว่าพ่อแม่จะไม่สบายใจ
 
        3. พลังขับเคลื่อนทางสังคม เช่น ถ้าทำไปแล้วสังคมไม่ยอมรับก็จะเป็นแรงกดดันอย่างหนึ่งได้
 
        ในสังคมออนไลน์นั้นเราสามารถปกปิดตัวเองได้ โดยที่คนอื่นไม่รู้ว่าเราคือใคร ฉะนั้นแรงควบคุมจึงเหลือแค่ด้านศีลธรรมเป็นหลัก เราไม่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองโพสเท่าไหร่เพราะเราใช้นามแฝงได้ คนอื่นไม่รู้ว่าเราเป็นใคร แรงควบคุมทางสังคมก็อ่อนแรงลง เราจะเห็นว่ามีการใช้คำหยาบๆ คายๆ บ้าง และปกติในชีวิตจริงคนที่โพสคำเหล่านั้นเขาจะไม่ใช้กัน เพราะจะทำให้เสียภาพลักษณ์หมด แต่พอเข้าไปในเว็บก็รู้สึกว่าปลดปล่อย อยากจะพูดหรือทำอะไรก็เต็มที่ไปเลย รวมทั้งความรับผิดชอบต่อครอบครัวก็ไม่ค่อยมีด้วย เพราะมันไม่แสดงตัวตน เหลือแต่แรงควบคุมทางด้านศีลธรรมเป็นหลัก
 
ในสังคมออนไลน์นั้นเราสามารถปกปิดตัวเองได้ โดยที่คนอื่นไม่รู้ว่าเราคือใคร
ในสังคมออนไลน์นั้นเราสามารถปกปิดตัวเองได้ โดยที่คนอื่นไม่รู้ว่าเราคือใคร
 
        ฉะนั้น จากทั้ง 3 แรงที่คอยคุมอยู่แล้วเหลือแค่แรงเดียว ก็จะทำให้อ่อนแรงลง จึงจะเห็นได้ว่าคำศัพท์แสลงที่ปกติในชีวิตประจำวันไม่ค่อยได้ใช้ ทำไมในสังคมออนไลน์เขาใช้กัน และมันดูเถื่อนๆ อย่างนั้นก็เป็นเพราะอย่างนี้
 
        บางคราวในสังคมออนไลน์ที่มีการแสดงตัวตนก็มี เรากับเพื่อนและเพื่อนก็รู้ว่าเราเป็นใคร แต่ก็ยังมีคำพูดในลักษณะความสำรวมระวังตัวมันน้อยลงไป มันก็อยู่ที่ความคุ้นเคยของแต่ละคนด้วย ถ้าในชีวิตประจำวันเราไม่มีเวลาไปปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากเท่าไหร่ การพูดคุยอะไรก็มีเวลาจำกัด แต่ในสังคมออนไลน์นั้นเหมือนว่ามันแทรกเข้ามาในชีวิตประจำวันเลย ทำงานอยู่ก็สามารถเข้าไปพูดคุยกันได้ โดยใช้คำสั้นๆ เพื่อไม่ให้เสียเวลา จึงเป็นการย่อคำให้สั้นลง ความไพเราะ ความสุภาพ ก็จะหย่อนลงไปด้วย บางครั้งก็เอาความนึกคิดของตัวเองสื่อออกไปด้วยตาม status ต่างๆ เหมือนเป็นการเปลือยตัวเองออกมา มารยาททางสังคมที่ควบคุมอยู่ก็อ่อนแรงลงไปด้วย มันก็เลยเกิดอาการอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
 

การติดแชทในสังคมออนไลน์จะมีผลต่อการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหรือไม่?

 
        มีมากๆ เลย เพราะปกติคนเราทุกคนก็ต้องการความเป็นหนึ่ง ถ้าเราเองไปอยู่กับใครแล้วเขาไม่สนใจเรา มองเราเป็นอากาศเราจะรู้สึกอย่างไร และปกติคนเราเมื่อเจอกันก็ต้องพูดคุย ยิ้มแย้ม ทักทายกัน แต่ทันทีที่มีสังคมออนไลน์เข้ามา โดยเฉพาะทางมือถือที่มีติดตัวไปด้วยทุกที่ พอมีอะไรเข้ามาหน่อยเราก็ต้องมากดๆ นั่งแชท นั่นหมายถึงเรากำลังอยู่กับอีกคนหนึ่งนะ มีใครก็ไม่รู้แทรกตัวเข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์ แล้วก็ดึงความสนใจและเวลาของเราเองไปอยู่กับเขาแทน ก็ลองคิดดูว่าคู่สนทนาที่อยู่กับเรานั้นเขาจะรู้สึกอย่างไร อาจจะเป็นเพื่อนเรา คนในครอบครัวเรา หรือจะเป็นใครก็แล้วแต่ เขาจะรู้สึกทันทีว่า เราไม่เห็นความสำคัญในตัวเขา ไม่ให้เกียรติเขา เรากำลังปันใจเป็นอื่นไปอยู่กับใครก็ไม่รู้ในโลกออนไลน์ ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นมาทันทีซึ่งเป็นความรู้สึกที่ไม่ดีและมีผลกระทบต่อเขามาก
 
        ตรงนี้มันจะทำให้คนเรามีความคุ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง จะเห็นว่าถ้าใครทำอะไรจนคุ้นเคยมันจะติด ถ้าไม่ได้ทำแล้วมันจะรู้สึกหงุดหงิดเหมือนมันขาดอะไรไป ดังนั้นคนปกติแม้เป็นคนธรรมดา แต่พอได้แชทจนเคยแล้ว พอไม่ได้แชทมันจะรู้สึกแปลกๆ ความคุ้นเคยเปลี่ยนไป
 
        มีคนบอกว่า แค่เทคโนโลยีเปลี่ยนในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ ความคุ้นเคยมนุษย์ก็เปลี่ยนแล้ว สมัยก่อนนิ้วที่คนเราคุ้นก็คือนิ้วชี้ ตอนนี้มันกลายเป็นนิ้วโป้ง เพราะเวลากดอะไรบนมือถือก็จะใช้นิ้วหัวแม่โป้งกดกัน ยิ่งต้องพิมพ์อะไรบนมือถือแล้ว ก็ต้องใช้นิ้วโป้งทั้ง 2 ข้างช่วยกันกดพิมพ์ แค่เทคโนโลยีเปลี่ยน ความชำนาญของนิ้วก็ยังเปลี่ยนตามเลย
 
        มีแบบสำรวจจากอเมริกาออกมาว่า ระหว่างมือถือที่ใช้แชทกับเพื่อนหญิงชายที่มีตัวตนจริงๆ นั้น จะเลือกอะไร ผลออกมาบอกว่าเขาเลือกมือถือ เพราะถ้าอยู่กับเพื่อนแล้วไม่มีมือถือมันรู้สึกชีวิตมันขาดๆ อะไรไป แต่ถ้าเพื่อนไม่อยู่ก็รู้สึกไม่เป็นไรเพราะเดี๋ยวก็หาเพื่อนทางออนไลน์ได้ กลายเป็นว่าความคุ้นเคยที่เรามีให้กับมือถือมันเหนือกว่าที่เราให้กับตัวบุคคลจริงๆ ไปซะแล้ว มือถือเลยกลายเป็นเพื่อนคู่ชีวิตเราแทน เมื่อชีวิตเราขออยู่กับมือถือ อยู่กับโลกออนไลน์แล้ว ถ้าถึงจุดนี้จริงๆ แล้วก็ต้องบอกว่ามันเกินเลยไปแล้ว เราควรจะเบรกและหาจุดพอดีกันดีกว่า ไม่เช่นนั้นแล้วมือถือมันจะทำลายชีวิตจริงของเราได้
 
โลกออนไลน์มีประโยชน์มากถ้าใช้เป็น
โลกออนไลน์มีประโยชน์มากถ้าใช้เป็น
 
        ลองคิดดูว่า ถ้าเรากำลังทำงานอยู่แล้วมีเสียง ติ๊งๆ อะไรดังขึ้นจากมือถือ ทำให้เราหยุดการทำงานแล้วมาดู ระหว่างดูแค่แป๊บเดียวนั้น สมาธิ(Meditation)ในการทำงานก็เสียแล้ว ยิ่งถ้ากดตอบไปด้วยก็จะเสียเวลามากขึ้นไปอีก ประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงไปครึ่งต่อครึ่งเลย เราจะเหลือตัวเองอยู่แค่ไม่ถึงครึ่งคน เพราะมันไม่เป็นเรื่องเป็นราว มันมาเรื่อยๆ ถามว่าโลกออนไลน์มีประโยชน์หรือไม่ ก็ต้องบอกว่ามีประโยชน์มากถ้าใช้เป็น เป็นแหล่งข้อมูลของเราเองมากมาย และเป็นแวดวงในการสื่อสารของเราได้อย่างดี อย่างที่วัดของเราเองตอนนี้มีการอบรมกันขนานใหญ่ ครูบาอาจารย์ กลุ่มต่างๆ เข้ามา ก็ต้องมีจุดอบรมเกิดขึ้นเป็น 100 จุด ก็จะมีการตั้งวงแชทเหมือนกัน รู้สึกใช้โปรแกรม Line แต่เขามีจำกัดว่า วงหนึ่งมีสมาชิกได้ไม่เกิน 100 คน ดังนั้นจึงต้องตั้ง 3 วง เพราะคนที่ทำงานด้วยกันมันเกิน 100 คน เมื่อใครทำงานแล้วเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาแล้วก็เอาข้อมูลมาแชร์กัน หรือไปเจออะไรดีๆ ก็เอามาแชร์กัน ให้ทุกคนรับรู้รับทราบ ส่วนกลางเองต้องการส่งข้อมูลอะไรก็ส่งใน Line  แทน ทุกคนก็จะรู้ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าใช้ในเชิงเป็นประโยชน์สร้างสรรค์อย่างนี้ก็จะมีคุณค่ามาก ทำให้เราสามารถสื่อสารกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แทนที่จะมานั่งโทรศัพท์บอกทีละคนเหมือนแต่ก่อนก็ไม่ต้องแล้ว แต่ใช้วิธีส่งข้อความลงไปใน Line แล้วสมาชิกทั้ง 100 คนนั้นก็สามารถรับรู้ได้หมด เมื่อ copy ไปลงในวงที่ 2 วงที่ 3 หรือกี่วงก็แล้วแต่ สมาชิกทั้งหมดก็สามารถรับรู้ได้หมดเลย ทำให้ประหยัดเวลาในการส่งข้อมูลข่าวสารอย่างมหาศาลเลย แต่ถ้าหากใช้ไม่เป็น โทษก็มหันต์ได้เหมือนกัน โบราณบอกว่า สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นก็มีโทษมหันต์แฝงอยู่เสมอ ใช้ให้เป็นก็จะเกิดประโยชน์มหาศาล ใช้ไม่เป็นมันก็บั่นทอนชีวิตของเราเอง
 
การแชทในสังคมออนไลน์ด้วยคำพูดที่หยาบคายนั้นถือว่าผิดศีลหรือไม่?
 
        การสื่อสารนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เสียงอย่างเดียว เราจะเขียนเป็นตัวหนังสือก็ได้ แต่ถ้าเขียนในสิ่งที่ไม่จริงแล้วมันก็เหมือนกับการพูดนั่นแหละ คือสื่ออะไรออกไปแล้วเขาเข้าใจสิ่งนั้นก็เหมือนกัน ถ้าเป็นเรื่องโกหกก็ผิดศีล หรือขยายมาเป็นคำหยาบมันก็ผิด เป็นกุศลกรรมบถ จะเป็นพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ก็ผิดทั้งนั้นถ้าเราตั้งใจ ถ้าเราไม่ตั้งใจก็ยังไม่ผิดศีลแต่ผิดธรรม มันจะทำให้มีวิบากกรรมว่าต่อไปเราจะมีคนอื่นมาทำให้เจ็บใจหรือเดือนร้อนใจโดยไม่เจตนาได้เหมือนกัน ฉะนั้นเราต้องตั้งสติดีๆ
 
สงครามคีย์บอร์ด
สงครามคีย์บอร์ด
 
        เคยอ่านในพระไตรปิฏก ได้พบเรื่องราวว่า มีชาวประมงไปจับปลาได้ตัวหนึ่ง เป็นตัวใหญ่สีทองสวยงามมาก แต่พออ้าปากทีมีกลิ่นเหม็นหึ่งไปทั้งเมือง เพราะวิบากกรรมในอดีตเกิดจากเคยไปตำหนิบุคคลที่มีศีลมีธรรม มันตามมาอย่างนี้ มาดูในยุคโลกออนไลน์ในปัจจุบันก็เห็นภาพอย่างนั้นเลยว่า ใครที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คก็ตาม หรือเว็บไซต์อะไรต่างๆ ก็ตาม แล้วไปแสดงความคิดเห็น คำพูดต่างๆ ของเราออกไป แล้วใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย ถ้อยคำที่ล่วงเกินผู้อื่น โดยเฉพาะถ้าไปล่วงเกินบุคคลที่มีศีลมีธรรมสูง มีคุณสูง แล้วสิ่งที่ใส่เข้าไปนั้นมันไปกว้างขวาง เพราะในโลกออนไลน์มันไม่มีขอบเขตประเทศอะไร มันสามารถข้ามประเทศไปได้ทั้งโลกเลย เห็นอย่างนี้แล้วก็ไม่น่าแปลกใจหรอกว่า ทำไมปลาในครั้งพุทธกาลอ้าปากทีเหม็นทั้งเมือง ต่อไปในโลกออนไลน์ใครใช้ออนไลน์ไม่เป็นประโยชน์ ใช้ในทางที่เป็นโทษแล้วละก็ ภพต่อไปอ้าปากทีอาจจะเหม็นทั้งโลกเลยก็เป็นได้ ตามวิบากกรรมที่ตัวเองได้ทำเอาไว้ มันยิ่งกว่าสมัยก่อนด้วยคำพูดมาก เพราะถ้าใช้คำพูดมันก็แค่ไม่กี่คนที่ได้ยิน ต่อมามีเครื่องขยายเสียงก็ได้ยินกันกว้างขึ้น มีหนังสือพิมพ์คนก็รู้กว้างขึ้น ต่อมาก็มีวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต แล้วพัฒนามาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค สื่อพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สิ่งเราคิดสิ่งที่เราพูดนำเสนอออกไป สามารถไปได้อย่างกว้างขวาง คุณอนันต์ โทษมหันต์ เพราะฉะนั้นต้องคิดว่ากฎแห่งกรรมมีจริง บุญบาปมีจริง อันตรายมากๆ ต้องใช้ในทางสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์จริงๆ
 
การที่บางคนขยันตั้ง status ไม่รู้จักเก็บอาการไว้บ้างอย่างนี้เรียกว่าพร่ำเพรื่อหรือไม่และจะแก้ปัญหานี้อย่างไร?
 
        เกิดจากว่าคนเรามีความรู้สึกเหงา แต่ก่อนในสังคมเกษตรคนเราอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ต่อมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมก็อยู่กันแบบเป็นครอบครัวเดี่ยว มีพ่อ แม่ ลูก แล้วลูกก็ไม่ค่อยมีมาก จึงเป็นครอบครัวเล็กๆ พ่อแม่ก็งานยุ่ง ลูกก็อยู่กับเพื่อนบ้างอะไรบ้าง สังคมมันแยกกระจายไป ยิ่งพอเป็นยุคข้อมูลข่าวสารอย่างนี้มันก็กลายเป็นแต่ละคนเป็นปัจเจกชนไปเลย คืออยู่ตัวคนเดียวแล้วมันเหงา อยู่ในตัวเมืองที่มีคนเป็นล้านแต่มันเหงา ก็เลยต้องเข้าไปหาสังคมของเขาหรือโลกออนไลน์นี้แหละ แล้วก็จมหายไปในนั้น
 
เมื่อคนเรามีความรู้สึกเหงามากขึ้น ก็เลยต้องเข้าไปหาเพื่อนในโลกออนไลน์แทน
เมื่อคนเรามีความรู้สึกเหงามากขึ้น ก็เลยต้องเข้าไปหาเพื่อนในโลกออนไลน์แทน
 
        วิธีการแก้เหงาก็คือว่า การสื่อสารกับเพื่อนในวงการออนไลน์ โดยการเล่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ กำลังคิดอยู่ อย่างเช่นขนาดไปทานข้าวก็ยังถ่ายรูปกับข้าวไปโชว์ในโลกออนไลน์เลย ว่ากำลังทานอะไรอยู่ กำลังไปไหนมาไหน ซึ่งก็ไม่รู้จะไปบอกเขาทำไม แต่จริงๆ มันเป็นการแสดงถึงว่า มันคือความเหงาในใจของคนนั่นเอง
 
        จริงๆ มันมีวิธีการแก้เหงานะ ก็แค่หลับตาเบาๆ เอาใจไปหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อยู่กับตัวเราเอง แล้วเราจะพบว่าการที่เราอยู่คนเดียวโดยวิธีการอย่างนั้นแล้วมันไม่เหงาเลย ใจจะอิ่มแล้วก็เป็นสุข มีความสุข สดชื่น ถ้าในโลกออนไลน์การคลายเหงาด้วยวิธีการสื่อสารกับเพื่อนอย่างนั้น มันเหมือนคนที่กระหายน้ำแล้วดื่มน้ำทะเลแก้กระหาย แล้วก็กระหายยิ่งกว่าเดิม แต่ถ้านั่งหลับตาทำภาวนาแล้วละก็เราจะอิ่มใจ เป็นการแก้กระหายด้วยการดื่มน้ำที่ใสบริสุทธิ์
 
        ฉะนั้น สังคมการสื่อสารยิ่งพัฒนามากเท่าไหร่ ชีวิตความเป็นส่วนตัวของเราเองก็ยิ่งลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เท่านั้น เราจึงต้องรู้จักการสร้างความสงบใจ ตรงนี้จะเป็นยาที่สำคัญมากๆ ในการรับมือกับยุคข้อมูลข่าวสาร เพราะข้อมูลมันท่วมโลกและมันจะท่วมตัวเรา ไม่ใช่เฉพาะข้อมูลที่เป็นความรู้อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เราไปเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับเขาทั้งหลายด้วย ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยจะมีสาระเท่าไหร่ มันกำลังจะท่วมตัวเราและแย่งชิงเวลาของเราไป จนกระทั่งเวลาความเป็นส่วนตัวของเราแทบไม่มีเลย บางคนในเวลากลางคืนมือถือก็ยังไม่กล้าปิด อย่างมากก็แค่ปิดเสียง ดึกๆ ลุกไปเข้าห้องน้ำก็ยังมาเปิดดูว่ามีใครเข้ามาหรือไม่ ก็เลยไม่นอนนั่งกดๆ เล่นไป ทำให้ชีวิตความเป็นส่วนตัวแม้แต่เวลานอนยังไม่เหลือเลย ฉะนั้นควรจัดสรรให้พอดีและรู้จักการสงบใจด้วยการทำสมาธิด้วย แล้วเราจะเอาตัวรอดได้อย่างดีในสังคมยุคออนไลน์
 
เราจะใช้การสื่อสารทางโลกออนไลน์อย่างไรให้เกิดประโยชน์ และจะรู้ได้อย่างไรว่ามันจะเกิดโทษได้?
 
        ให้คิดง่ายๆ ว่า สิ่งที่เราเองกำลังจะโพสออกไปนั้น คนอื่นเขาอยากรู้หรือไม่ เมื่อเรากำลังโพสนั้นเป็นการสนองความต้องการของเรา หรือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ คนอื่นรู้แล้วดีและเป็นประโยชน์สำหรับเขาด้วยหรือไม่ ให้คิดอย่างนี้
 
        หนทางสู่ความสำเร็จเขาบอกว่า ต้อง out side in ไม่ใช่ in side out เพราะ in side out คือเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง อยากจะพูด อยากจะทำอะไรก็ถือตัวเองเป็นใหญ่ คนอย่างนี้ในชีวิตจริงจะมีปัญหามาก แต่คนที่ out side in คือเป็นคนเอาใจเขามาใส่ใจเรา อย่างนี้จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ อยู่กับใคร ใครก็รัก เพราะว่าเข้าใจเขา ฉะนั้นถ้าเราจะสื่ออะไรออกไปก็ให้ดูว่าเป็นเรื่องที่ดี มีประโยชน์หรือไม่ เช่น ไปเจอคำคม ข้อคิดที่น่าสนใจ โพสไปแล้วน่าจะเกิดประโยชน์กับผู้อื่นได้ อย่างนี้ถือว่าดีใช้ได้ แล้วเราเองจะกลายเป็นคนที่มีสมาชิกเพื่อนเยอะด้วย เพราะเป็นคนที่มีสาระและมีประโยชน์
 
เราจะใช้การสื่อสารทาง social network อย่างไรให้เกิดประโยชน์
เราจะใช้การสื่อสารทาง social network อย่างไรให้เกิดประโยชน์
 
        โดยทั่วไปแล้วมนุษย์เรานี้แปลก คือชอบสนใจเกี่ยวกับเรื่องที่มันร้ายๆ ฉะนั้นในแวดวงสื่อสารมวลชน ตั้งแต่สมัยที่สื่อหลักเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เราจะเห็นว่าจะมีข่าวคนยิงกัน ปล้น ฆ่ากัน ข่าวไม่ดีทั้งหลายเต็มเลย แต่ข่าวคนทำความดีนั้นกลับไม่ค่อยมี มีก็เป็นข่าวเล็กๆ อยู่ข้างใน จะมีโอกาสเป็นข่าวขึ้นหน้า 1 ก็ต้องเป็นข่าวที่แปลกและสะเทือนใจคน จึงมีคำพูดที่ว่า “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์” ถ้าเป็นข่าวดีๆ ต้องไปขอพื้นที่จ่ายเงินลงโฆษณาถึงจะได้ลงข่าวดี แต่ถ้าเป็นข่าวร้ายๆ แล้วไม่ต้องจ่ายเงินเลย เดี๋ยวเขาเอามาลงเอง นี่คือธรรมชาติของมนุษย์
 
        คนทุกคนสามารถเป็นสื่อมวลชนในตัวเองได้ เป็นคนนำเสนอเรื่องราวในโซเชียลมีเดียได้ พอเป็นอย่างนี้แล้วเราต้องระวังตรงนี้ด้วย ถ้าเราไม่ระวังแล้วเราเข้าไปในกระแสของเขา แล้วเราทำตัวเองเหมือนสื่อมวลชนที่เอาแต่เรื่องไม่ดีออกไป คำพูดก็ใช้แต่คำพูดร้ายๆ ถ้าเป็นกระทู้ก็เป็นกระทู้ที่โจมตีว่าร้ายกันในทางเสียหาย อย่างนี้เท่ากับว่าทุกคนกำลังขับเคลื่อนสังคมไปในทางลบ แต่ถ้าทุกคนตระหนักและรู้จักควบคุมตัวเองให้ดี เราเป็นคนหนึ่งที่จะไม่เติมฟืนเติมไฟเข้าไปในกองเพลิงนั้น แต่ช่วยถอนฟืนออกมา แล้วให้สิ่งดีๆ กับสังคมออนไลน์ เราจะเป็นคนที่มีส่วนในการพัฒนาโซเชียลมีเดียเหล่านี้ให้เป็นสื่อที่มีคุณค่า และเป็นประโยชน์ต่อสังคมเพื่อนมนุษย์ได้อย่างดีทีเดียว
 
รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอสงครามคีย์บอร์ด
ชมวิดีโอสงครามคีย์บอร์ด   Download ธรรมะสงครามคีย์บอร์ด
 
 
 
 

http://goo.gl/z9VnZ


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำไมจีวรพระต้องเป็นสีเหลือง
      ขอไม่นับถือพระสงฆ์
      ข้อคิดธรรมะของพระสุธรรมญาณวิเทศ (สุธรรม สุธมฺโม) จากหนังสือ "หน้าสุดท้าย"
      I can’t respect monks, can I?
      กราบไหว้ทำไม งมงาย !
      Why do people have to pay homage? Ignorant!
      โซเดียม อันตรายใกล้ตัว
      บวชให้สุก
      พลังหญิง
      ตักบาตรใส่บุญ(ตอนที่2)
      ตักบาตรใส่บุญ (ตอนที่1)
      ปัญหามรดก
      ยิ่งใหญ่ในรายละเอียด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related