บูรพกษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าพระไตรปิฎกภาษาบาลีเข้ามาสู่ประเทศไทยใน ๒ ช่วง คือประมาณปี พ.ศ. ๑๖๐๐ เมื่อพระพุทธศาสนาเถรวาทเผยแผ่จากประเทศพม่าเข้าสู่ภาคเหนือของไทย และประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่ จากประเทศศรีลังกามาทางนครศรีธรรมราช https://dmc.tv/a19751

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 19 มี.ค. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18283 ]
บูรพกษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก


     พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าพระไตรปิฎกภาษาบาลีเข้ามาสู่ประเทศไทยใน ๒ ช่วง คือประมาณปี พ.ศ. ๑๖๐๐ เมื่อพระพุทธศาสนาเถรวาทเผยแผ่จากประเทศพม่าเข้าสู่ภาคเหนือของไทย และประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่
จากประเทศศรีลังกามาทางนครศรีธรรมราช

     ในช่วงเวลาดังกล่าว บูรพกษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรหลายพระองค์ได้น้อมรับเอาหลักธรรมอันดีงามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมาใช้เป็นแม่บทแบบแผนในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น และทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างพุทธศาสนิกชนที่ดี

     อาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ ๓ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราชให้มาพำนักที่วัดอรัญญิก เพื่อมาเผยแผ่พระธรรมวินัยแก่ประชาราษฎร์และตั้งคณะสงฆ์แบบลังกาวงศ์ในอาณาจักรสุโขทัยจนพระพุทธศาสนามีความรุ่งเรืองไพศาลดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ ว่า


“.. คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้
ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาใน
*พระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน...”

“...พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตรหลวก กว่า
ปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ...”


(คำอ่านจารึกจากฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร)
 
ตู้พระธรรมไม้จำหลักปิดทอง เขียนสีประดับกระจก
เล่าเรื่องทศชาติ ศิลปะอยุธยาพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑

      ต่อมาในสมัยพระยาลิไทย พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ ๖ ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนสุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา พระองค์มักจะทรงเผดียงพระสงฆ์เข้าไปเรียนพระไตรปิฎกในมหาปราสาท และทรงจัดระเบียบคณะสงฆ์แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่าย “คามวาสี” และฝ่าย “อรัญวาสี” โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎกส่วนฝ่ายอรัญวาสีให้เน้นการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท

ส่วนพระองค์เองทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จออกผนวช ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์วิเสสเป็นอย่างดี จนทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง สอนเรื่องนรกสวรรค์ บุญบาป นับเป็นงานวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งยังทรงมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ไปสู่แผ่นดินล้านนาอีกด้วย
 

สมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมได้รับการส่งเสริม พระภิกษุสงฆ์
ที่มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกได้รับการเคารพยกย่อง ทำให้มีกุลบุตรมาบวชเรียนเป็นจำนวนมาก

     อาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช เป็นยุคที่มีพระภิกษุผู้เชี่ยวชาญในการรจนาคัมภีร์ภาษาบาลีและรอบรู้พระไตรปิฎกจำนวนมาก ก่อให้เกิดการทำสังคายนาครั้งแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๐๒๐ ที่วัดมหาโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด เมืองเชียงใหม่ โปรดให้ชุมนุมพระเถรานุเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูป มีพระธรรมทินเถระเป็นประธานสอบชำระพระไตรปิฎกและจารลงในใบลาน ใช้เวลา ๑ ปี จึงแล้วเสร็จ เรียกการสังคายนาที่เชียงใหม่ครั้งนี้ว่า การสังคายนาครั้งที่ ๘ หรือ “อัฏฐสังคายนา” เมื่อนับตั้งแต่การสังคายนาครั้งแรกในอินเดียโบราณ

    อาณาจักรอยุธยา พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทด้านการพระศาสนาอย่างยิ่งพระองค์หนึ่ง ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งประชาชนยกย่อง ถวายพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
 

     ก่อนขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ทรงพระผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ทรงรอบรู้ทางด้านพระไตรปิฎกมากจนได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมอนันตปรีชา แม้ภายหลังลาสิกขาขึ้นเสวยราชย์แล้วพระองค์ก็ยังมีพระราชศรัทธาเสด็จลงพระที่นั่งจอมทองสามหลังบอกบาลีแก่พระภิกษุสามเณรอยู่เนือง ๆ มีพระภิกษุสามเณรจากวัดต่าง ๆ ผลัดกันเข้ามาเรียนเป็นประจำ ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้ประชุมราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย

     อาณาจักรธนบุรีเป็นอาณาจักรสุดท้ายก่อนเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่ทรงปกครองกรุงธนบุรีระยะสั้น ๆ เพียง ๑๕ ปี นอกจากทรงเป็นนักรบที่แกล้วกล้านำไพร่พลตีฝ่าวงล้อมกอบกู้เอกราชคืนจากพม่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นนักการศาสนาที่เคร่งครัดอีกด้วย ทรงปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานและฟื้นฟูวัดวาอารามทรงเห็นว่าช่วงสงครามคัมภีร์พระไตรปิฎกกระจัดกระจาย สูญหาย และถูกเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก จึงทรงมุ่งมั่นรวบรวมต้นฉบับที่หลงเหลืออยู่ เพื่อนำมาคัดลอกสร้างเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวงต่อไป และโปรดเกล้าฯให้ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากหลายเมือง อาทิ...

สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับหลวง สมัยธนบุรีแสดงภาพสวรรค์ชั้นดุสิต “บุคคลจำพวกใดเป็นพหูสูต
ตั้งอยู่ในทสกุศลกรรมบถกอปรด้วยปัญญา ปรารถนาพระนิพพาน แลยินดีในคุณพระรัตนตรัย ผู้นั้นได้เกิดในดุสิตสวรรค์

     นครศรีธรรมราช อุตรดิตถ์ และทรงสถาปนาพระอาจารย์สีผู้มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช แม้กรุงธนบุรีจะสิ้นสุดลงก่อนที่พระไตรปิฎกฉบับหลวงจะสำเร็จลุล่วง แต่ต้นฉบับที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราชถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยต่อมา
 

การนับถือพระพุทธศาสนาของบูรพกษัตริย์ไทยนั้นมิได้เป็นไปตามขนบประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาเท่านั้นแต่พระองค์ทรงศึกษาพระธรรมคำสอนในพระไตรปิฎกจนทรงมีความรู้แตกฉาน และนำไปสู่การปฏิบัติเป็นต้นแบบแก่พสกนิกรใต้พระบรมโพธิสมภาร เมื่อผู้นำปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนเป็นที่ประจักษ์ย่อมยังศรัทธาให้เกิดขึ้น และหมู่ชนย่อมเกิดความเลื่อมใสที่จะดำเนินรอยตามพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักของตน เมื่อทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักรให้การส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกันเช่นนี้จึงเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาปักหลักตั้งมั่น สืบทอดมายาวนานจนนำความผาสุกมาสู่ผืนแผ่นดินนี้ตลอดมา
 

ก่องแก้ว วีระประจักษ์. (๒๕๔๕). สารนิเทศจากคัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร
ณัฏฐภัทร จันทวิช. (๒๕๕๓). วัดพนัญเชิงวรวิหาร พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
บุญเตือน ศรีวรพจน์, ประสิทธิ์ แสงทับ. (๒๕๔๒). สมุดข่อย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ. พระมหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
ข้อมูลจาก : Tipitaka (DTP)
 

บทความที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์ใบลาน มรดกธรรมจากพุทธกาล
 

http://goo.gl/PCnlFY


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related