รักษ์ศาสน์ วาดศิลป์ แผ่นดินสยาม

บรรพชนชาวสยามน้อมรับเอาพระพุทธศาสนามานับถือและรักษาไว้ ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ่าน มากี่ยุคสมัย ผ่านมากี่แผ่นดิน อาณาประชาราษฎร์ล้วนอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ พระบรมโพธิสมภารแห่งพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็น “ธรรมราชา” องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ปกครองแผ่นดินโดยธรรมตามหลักพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า https://dmc.tv/a19180

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 22 พ.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18270 ]
รักษ์ศาสน์ วาดศิลป์ แผ่นดินสยาม

ข้อมูลจาก : Tipitaka (DTP)
วารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557
 

      บรรพชนชาวสยามน้อมรับเอาพระพุทธศาสนามานับถือและรักษาไว้ ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ่านมากี่ยุคสมัย ผ่านมากี่แผ่นดิน อาณาประชาราษฎร์ล้วนอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็น “ธรรมราชา” องค์เอกอัครศาสนูปถัมภกปกครองแผ่นดินโดยธรรมตามหลักพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     แม้พระมหากษัตริย์จะได้รับการยกย่องประดุจสมมุติเทพ แต่พระองค์ทรงเคารพบูชาพระรัตนตรัยเหนือสิ่งใด ดังจะเห็นได้จากจารึกวัดป่ามะม่วง จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาเขมร เมื่อ พ.ศ. 1904 ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 44 - 47 ว่า

     “พระบาทกัมรเดงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช เสด็จยืนขึ้นยกอัญชลีนมัสการพระพุทธรูปทอง และพระไตรปิฎกที่เก็บไว้บนพระราชมณเฑียร”

     จารึกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกถูกจารขึ้นในแผ่นดินสยามตั้งแต่หลายร้อยปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย และได้รับการดูแลรักษาอย่างดีภายในพระราชมณเฑียร ซึ่งแม้แต่กษัตริย์ก็ทรงให้ความเคารพพระธรรมคำสอนนั้น
 
จารึกวัดป่ามะม่วง บนหินแปร กว้าง 30 ซม.
สูง 200 ซม. หนา 29 ซม.

     แม้เราจะทราบว่ามีการจารคัมภีร์พระไตรปิฎก และการสร้างอาคารเพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎกในแผ่นดินสยามมานานแล้ว แต่ยังไม่มีหลักฐานใดระบุชี้ชัดว่าชาวสยามเริ่มรู้จักใช้ตู้พระธรรมตั้งแต่เมื่อใด เราสามารถสันนิษฐานได้เพียงว่า เมื่อมีการสร้างหอไตรขึ้น ก็น่าจะมีการสร้างสิ่งที่บรรจุคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอย่างเหมาะสม และมีการตกแต่งที่ประณีตงดงาม ให้สมกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระคัมภีร์อันเป็นตัวแทนของพระบรมศาสดา

     เชื่อกันว่าตู้พระไตรปิฎก หรือตู้พระธรรมหรือเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่าตู้ลายรดน้ำ แต่เดิมเป็นหีบที่ใช้เก็บเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของคหบดีหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ตกแต่งด้วยลายรดน้ำ    เมื่อเจ้าของหีบเสียชีวิตไป ลูกหลานจึงนำมาถวายวัดให้เป็นบุญกุศล พระภิกษุจึงนำมาใช้เพื่อเก็บรักษาคัมภีร์
 
หีบพระธรรมลายรดน้ำ ศิลปะอยุธยา
พุทธศตวรรษที่ 23 ไม้ลงรักปิดทอง

     ตู้ที่ทำขึ้นใช้สำหรับบรรจุพระไตรปิฎกจริง ๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ส่วนบนสอบเข้าทำให้ดูแคบกว่าตอนล่าง ตกแต่งด้วยลายรดน้ำหรือลงรักปิดทอง ภาพลายรดน้ำทั่วไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ภาพเทวดาทวารบาลภาพธรรมชาติ เป็นต้น แม้ความนิยมของลวดลายจะแตกต่างไปตามยุคสมัยแต่ผลงานที่ช่างศิลป์สรรค์สร้างขึ้นล้วนสะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะฝากผลงานชั้นเลิศของตนไว้เคียงคู่และปกปักรักษาคำสอนของพระบรมครู อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยอีกด้วย

     อาทิเช่นความงดงามประณีตและความมีชีวิตชีวาอย่างหาที่ติไม่ได้ของงานศิลป์ลายรดน้ำสมัยอยุธยา กระหนกเปลวที่มีพลังและเป็นกลุ่มก้อนแสดงให้ประจักษ์ถึงความภาคภูมิใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ความสงบผาสุกของราษฎร โดยเฉพาะลวดลายรดน้ำช่วงอยุธยาตอนปลายที่มีความสลับซับซ้อนอ่อนช้อย สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองและสังคมที่หรูหราในช่วงปลายอาณาจักร
 
ตู้พระธรรม ศิลปะอยุธยา
ต้นพุทธศตวรรษที่ 23

     ซึ่งต่างจากลวดลายหลังสงครามสมัยกรุงธนบุรีเชื่อมต่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ 1 - 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงที่บ้านเมืองผ่านความคุกรุ่นของสงคราม สถาปัตยกรรมอันงดงามและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถูกเผาทำลายไปมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์จ้างช่างจารจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน สร้างตู้ใส่ไว้ในหอมณเฑียรธรรม และสร้างพระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ไว้ในพระอารามหลวงทุกแห่ง ส่วนศิลปะลายรดน้ำบนตู้พระไตรปิฎกในช่วงนี้ยังคงความงามเพราะสืบต่อจากสมัยอยุธยาอันรุ่งเรืองแต่ความสูญเสียจากสงครามบั่นทอนขวัญและกำลังใจของช่างศิลป์ทำให้งานที่ออกมาแม้จะไม่ด้อยค่าความงาม แต่ไม่มีพลังและไม่เป็นกลุ่มก้อนเหมือนก่อน
 
 

     สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรมทั้งหลายที่ยังปรากฏให้เราเห็นในทุกวันนี้นั้นผ่านกาลเวลามาหลายยุคสมัย และล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะที่สะท้อนถึงสภาพความรุ่งเรืองของสังคมการดำเนินชีวิต และจิตใจของคนในชาติที่ช่างศิลป์ในยุคสมัยนั้น ๆ สื่อออกมาให้คนรุ่นหลังทราบภายใต้ความงามของศิลปะทุกแขนงจึงมีเรื่องราวแทรกอยู่ ให้มองเห็นสังคมที่สงบสุขไพร่ฟ้าหน้าใสหรือให้รู้สึกถึงช่วงเวลาทุกข์ยากที่มีสงคราม มีการรบพุ่งฆ่าฟันกัน พระพุทธศาสนาในสยามเองก็เดินทางผ่านทั้งแสงเพลิงแห่งสงคราม ทั้งรุ่งเรืองในยามที่แผ่นดินสงบ แต่ไม่ว่าจะผ่านช่วงเวลาใดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของผู้คนยังมั่นคง และแสดงออกมาในรูปแบบศิลปะแขนงต่าง ๆ ทั้งสถาปัตยกรรมโบสถ์ วิหาร ที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งลายภาพจิตรกรรมที่บรรจงวาดไว้ ทั้งความงดงามของลายรดน้ำบนตู้พระไตรปิฎกที่งามสมศรัทธาแห่งช่างศิลป์แผ่นดินสยามวาดไว้ให้เป็นที่ประจักษ์ว่าจะปกปักรักษาคัมภีร์ที่จารจารึกพระธรรมคำสอนอันล้ำค่าให้ปลอดภัย ขณะเดียวกันก็บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์แผ่นดินสยามให้คนรุ่นหลังภาคภูมิใจในความเป็นชาติและให้ยืนหยัดรักษาพระศาสนาให้คู่แผ่นดินไทย แผ่นดินธรรมตลอดไป
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์ใบลาน มรดกธรรมจากพุทธกาล
 

http://goo.gl/q5UglO


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related