หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๐)

การไปร่วมสัมมนาครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยได้ร่วมลงนามทำสัญญาความร่วมมือ (MOU) กับทางวิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ เฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และจากการลงนาม MOU นี้ ทำให้เรามีกิจกรรมร่วมกันหลาย โครงการแต่เน่อื งจากผู้เขียนยังนำเสนอบทความเส้นทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาไม่สิ้นสุด จึงจะขอนำเสนอผลงานที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทั้ง ๒ ฝ่ายในอนาคต ในโอกาสนี้ขอเสนอบทความต่อจากฉบับที่แล้ว ดังนี้ https://dmc.tv/a21244

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 28 มี.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18276 ]
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๐)

เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม)และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙
 

     ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาผู้เขียนและคณะได้ร่วมกิจกรรมงานสัมมนาเสนอผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๗ ในหัวข้อ “ภูมิศาสตร์วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา” ณ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวงอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งมีนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศกว่า ๑๕ ประเทศ ร่วมเสนอผลงานวิจัย บทความ และมีการบรรยายพิเศษที่น่าสนใจ โดยเอกอัครราชทูตบังกลาเทศประจำประเทศไทย Her Excellency Ms. Saida Muna Tasneem นำเสนอในหัวข้อ “แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในบังกลาเทศ” และมีการบรรยายที่น่าสนใจจากนักวิชาการอีกหลาย ๆ ท่าน ซึ่งทำให้เราได้รับทราบอย่างชัดเจนว่า ประเทศบังกลาเทศมีแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่ย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ ๓ อีกด้วย

     การไปร่วมสัมมนาครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยได้ร่วมลงนามทำสัญญาความร่วมมือ (MOU) กับทางวิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ เฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และจากการลงนาม MOU นี้ ทำให้เรามีกิจกรรมร่วมกันหลายโครงการแต่เน่อื งจากผู้เขียนยังนำเสนอบทความเส้นทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาไม่สิ้นสุด จึงจะขอนำเสนอผลงานที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทั้ง ๒ ฝ่ายในอนาคต ในโอกาสนี้ขอเสนอบทความต่อจากฉบับที่แล้ว ดังนี้

     การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่กัมพูชาในพุทธศตวรรษที่ ๗-๑๔ นั้น ศาสนาสำคัญของชาวกัมพูชา คือ ศาสนาพราหมณ์ ส่วนพระพุทธศาสนาได้รับการนับถือในกลุ่มคนจำนวนน้อย ในครั้งนั้นจดหมายเหตุของจีนเรียกกัมพูชาว่าฟูนัน ซึ่งมีวัฒนธรรมที่รับแบบแผนทั้งด้านการปกครอง ศิลปะ การช่างและวิทยาการต่าง ๆ จากชาวอินเดีย ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑
 

ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ
ระหว่างสถาบันวิจัยฯ กับวิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ
 
     พระเจ้าเกาณฑินยะชัยวรมัน กษัตริย์ฟูนัน ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา แม้ว่าอาณาจักรฟูนันนับถือศาสนาพราหมณ์เป็นหลักแต่พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองควบคู่กันไปพระภิกษุชาวฟูนันชื่อสังฆปาละ1เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระอภิธรรม ทรงความรู้แตกฉานในพระพุทธศาสนา ได้รับอาราธนาจากจักรพรรดิจีนให้เป็นผู้สอนธรรมะในราชสำนัก และแปลคัมภีร์วิมุตติมรรค2 ซึ่งแต่งโดยพระอุปติสสเถระเป็นภาษาจีน หลักฐานทางโบราณคดีด้านศาสนาที่เก่าแก่ของกัมพูชาคือ ศิลาจารึกที่วัดไพรเวียรใกล้เมืองวยาธปุระซึ่งระบุ พ.ศ. ๑๒๐๗ มีข้อความกล่าวถึงกษัตริย์สองพี่น้องที่บวชในพระพุทธศาสนา และจากบันทึกของพระสงฆ์จีนอี้จิง3 ผู้จาริกไปอินเดียทางเรือผ่านทะเลใต้ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ กล่าวถึงดินแดนกัมพูชาในยุคนั้นว่า พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ในเมืองมีวัดทั่วไปทุกแห่ง ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ชาวเมืองและเจ้านายนิยมบวชในพระพุทธศาสนา ทั้งกล่าวด้วยว่าดินแดนต่าง ๆ ในทะเลใต้นับถือปฏิบัติพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ รวมทั้งนิกายมูลสรรวาสติวาทซึ่งเป็นนิกายหินยานที่ใช้ภาษาสันสกฤตจารึกพระธรรมวินัย
 

เอกอัครราชทูตบังกลาเทศประจำประเทศไทย
Her Excellency Ms. Saida Muna Tasneem
กำลังอภิปรายในหัวข้อ “แหล่งโบราณคดี
ทางพระพุทธศาสนาในบังกลาเทศ”

     ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ที่นครธมสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗4 ผู้ทรงอานุภาพพระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ทรงสร้างวัดวาอารามพุทธสถาน ปราสาทต่าง ๆ ฝ่ายมหายาน และพระพุทธรูปจำนวนมากมาย ทรงสถาปนาปราสาทตาพรมให้เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีพระมหาเถระเป็นอาจารย์ใหญ่อยู่ถึง ๑๘ องค์และอาจารย์รองลงมาถึง ๒,๗๔๐ องค์ ทรงให้ราชกุมารเสด็จไปศึกษาพุทธศาสนาเถรวาทที่ลังกา และผนวชที่วัดมหาวิหารในเกาะลังกา
 
พระสุธรรมญาณวิเทศกำลังนำเสนอบทความทางวิชาการในหัวข้อ “DIRI กับโครงการอนุรักษ์
คัมภีร์พุทธโบราณด้วยระบบดิจิทัล (Digitization)”

บรรยากาศพิธีเปิดงานสัมมนาเสนอผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๗ ในหัวข้อ
“ภูมิศาสตร์วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา”
 
     ในปลายยุคเมืองพระนคร ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนามหายานเสื่อมถอยลง คงเหลือแต่พระพุทธศาสนาเถรวาทที่เจริญรุ่งเรือง และได้รับการนับถือจากผู้คนทุกระดับตั้งแต่กษัตริย์ลงไป
 
พระพุทธรูปก่อนเมืองพระนครพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
ที่มา https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/236x/72/56/0a/72560aa6fef5d6e8bae0198dd01cbd7d.jpg




ปราสาทตาพรม เสียมราฐ กัมพูชา สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พุทธศตวรรษที่ ๑๘
ที่มา http://www.adirexphotogallery.com/images/photo_130760226283/13076031491290.jpg


พระเจดีย์ถูปาราม อนุราธปุระพุทธสถานแห่งแรกในศรีลังกา
สร้างโดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญที่ได้จากพระเจ้าอโศก
http://dhammapiwat.com/wp-content/uploads/2015/12/thuparama.jpg

    ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คือ ศรีลังกา ในคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยและส่งพระเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่าง ๆ รวม ๙ สาย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ นั้น พระมหินทเถระได้มายังเกาะศรีลังกาของชาวสิงหลซึ่งปกครองโดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพระองค์ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทรงอุทิศมหาเมฆวันอุทยานเป็นวัดถวายแด่พระภิกษุ มีชื่อว่าวัดมหาวิหาร พระพุทธศาสนาที่เข้าสู่ลังกาในยุคนี้ เป็นพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทพระมหินทเถระทรงนำพระไตรปิฎกและอรรถกถาไปสู่ลังกาด้วย ต่อมาพระนางอนุฬาเทวีมเหสีทรงปรารถนาจะอุปสมบทพร้อมด้วยสตรีบริวารจำนวนมาก
 

อภัยคีรี อนุราธปุระ ศรีลังกาพุทธศตวรรษที่ ๕
ที่มา http://www.aroi.com/html/content/ID140707154457/09_2.jpg
 
     พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะจึงทรงส่งคณะทูตไปทูลขอพระนางสังฆมิตตาเถรีจากพระเจ้าอโศกให้มาเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่สตรีชาวลังกาพระนางสังฆมิตตาเถรีซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกทรงมาดังประสงค์ พร้อมกับทรงนำกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาที่ลังกาทวีปและทรงตั้งคณะภิกษุณีของลังกาขึ้นในครั้งนั้น

เมื่อพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะสวรรคตแล้ว กษัตริย์สิงหลและกษัตริย์ทมิฬทำ สงครามผลัดกันครองราชสมบัติในลังกาสืบมาอีก ๑๐ กว่าพระองค์ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๕ พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย กษัตริย์สิงหล เสด็จขึ้นครองราชย์เหล่าพระภิกษุสงฆ์พิจารณาเห็นความไม่มั่นคงของเหตุการณ์บ้านเมือง และเห็นว่าการทรงจำพระธรรมวินัยสืบอายุพระศาสนาอย่างที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาต่อไปนี้คงทำ ได้ยาก จึงร่วมกันสังคายนาพระธรรมวินัยแล้วจดจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร พระธรรมวินัยฝ่ายเถรวาทจึงได้จารึกเป็นอักษรลงในใบลานไว้เป็นหลักฐานตั้งแต่นั้น จนเมื่อ พ.ศ. ๙๕๖ พระพุทธโฆษาจารย์เดินทางจากอินเดียมายังศรีลังกา และปริวรรตคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ (บาลี)
 

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากศรีลังกาไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘
(ภาพโดยชัชวาลย์ เสรีพุกกะณะ)

     ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๗ ลังกาเดือดร้อนวุ่นวายด้วยภัยสงครามจากอินเดียและความไม่สงบภายใน สถานการณ์ด้านพระศาสนาก็สั่นคลอนไปด้วย จนเมื่อพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ ทรงฟื้นฟูสถานการณ์ด้านศาสนาโดยทรงอาราธนาพระสงฆ์จากเมียนมาร์ให้กระทำอุปสมบทกรรมในลังกา เมื่อพระโอรสเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑5 ทรงยังคณะสงฆ์ที่แตกแยกมานานให้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาจนกระทั่งลังกาได้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ปรากฏเกียรติคุณแพร่ไปทั่ว มีพระสงฆ์และนักปราชญ์เดินทางจากนานาประเทศใกล้เคียงมาสืบพระพุทธศาสนาในลังกา แล้วนำกลับไปเผยแผ่ในประเทศของตนเป็นอันมาก

     โปรดติดตามเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในฉบับถัดไป และเนื่องจากปีนี้พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนีมีอายุวัฒนมงคลได้ ๗๒ ปี ทางคณะนักวิจัยของสถาบันฯ จึงตั้งใจบูชาธรรมด้วยการจัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ “คำถาม - คำตอบธรรมกาย” ในวันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง วัดพระธรรมกาย

1 พ.ศ. ๑๐๐๒-๑๐๖๕
2 วิมุตติมรรคเป็นคัมภีร์คู่กับคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์
3 義淨 หรือ 义净; pinyin: Yìjìng; Wade-Giles: I Ching (635-713 CE)
4 พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๒
5 พ.ศ. ๑๖๙๗-๑๗๓๐





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related