วิบากกรรมจะเบาบางลงได้อย่างไร

ชีวิตที่ท่องเที่ยวไปในวัฎสงสาร ไม่มีใครที่ไม่เคยทำบาปอกุศล แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเป็นพระบรมโพธิสัตว์ ก็ผิดพลาดทำบาปอกุศล ต้องพลัดไปในอบายภูมิ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน มีปรากฎในชาดกหลายพระชาติ https://dmc.tv/a18246

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะสอนใจ
[ 24 มิ.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]
วิบากกรรมจะเบาบางลงได้อย่างไร ?

 

ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/Dhammavipulo 
วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557
 


     ชีวิตที่ท่องเที่ยวไปในวัฎสงสาร ไม่มีใครที่ไม่เคยทำบาปอกุศล แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเป็นพระบรมโพธิสัตว์ ก็ผิดพลาดทำบาปอกุศล ต้องพลัดไปในอบายภูมิ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน มีปรากฎในชาดกหลายพระชาติ

     ตันเหตุ คือ กิเลส บังคับให้ทำกรรม มีผลของกรรม คือ วิบาก
     กิเลส กรรม วิบาก เรียกว่า ไตรวัฎ
     องค์ประกอบทั้ง 3 ประการ ทำให้สรรพชีวิตวนเวียนอยู่ในวัฎสงสาร

     วิธีทำให้บาปอกุศลเกิด มีหลายวิธี แต่หลักใหญ่ๆมี 3 ประการ คือ อกุศลกรรมบถ 10 , อบายมุข 6 และมิจฉาวณิชชา 5

     พอทำบาปอกุศลแล้ว ก็จะมีผลตามมาที่เรียกว่า วิบากกรรม ส่งผลให้ประสบทุกข์ต่างๆมากมาย แต่สรุปได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

          1. ทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ
          2. ทุกข์จากปัญหาเศรษฐกิจ
          3. ทุกข์จากปัญหาครอบครัวและสังคม

     วิบากกรรมจะเบาบางลง หรือไม่มีโอกาสส่งผลได้ใน 3 กรณี คือ

          1. วิบากกรรมส่งผลจนหมดกำลังแล้ว เหมือนลูกกระสุนที่ออกจากปากกระบอกปืน พอหมดกำลัง ก็ตกลง

          2. ขอขมา อโหสิกรรมให้กัน เรื่องนี้เป็นอริยประเพณีของพระอริยเจ้า
     เมื่อมีพระสาวก พระสาวิกาที่ใกล้ชิด จะปรินิพพานก่อนพระบรมศาสดา จะมาเข้าเฝ้าเพื่อทูลขอขมา และทูลลาปรินิพพาน เช่น พระมหาโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พระนางพิมพา เป็นต้น

     เพราะต่างก็ทรงอภิญญา ระลึกชาติได้ว่า ในอดีตชาติ เคยสร้างบารมีติดตามพระบรมศาสดา เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ อาจมีสิ่งทีผิดพลาดล่วงเกิน จึงมาทูลขอขมาก่อนเข้านิพพาน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่อนุชนที่ตามมาในภายหลัง จนกลายมาเป็นประเพณีการขอขมา ในวาระโอกาสต่างๆของในสังคมไทย เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลาบวช ก่อนละสังขาร เป็นต้น

          3. สั่งสมบุญให้มาก แล้วอธิษฐานจิต ให้บุญไปตัดรอนวิบากกรรมให้เบาบางลง ไม่ได้โอกาสส่งผล อุปมาเหมือน น้ำในคลอง ตอใต้น้ำ และเรือ

     ถ้าน้ำในคลองมีมาก ตอใต้น้ำ ถึงมีอยู่ แต่ทำอะไรเรือไม่ได้ เรือก็แล่นไปแล่นมาราบรื่น อุปมาเหมือนคนที่สั่งสมบุญกุศลอย่างต่อเนื่อง บุญยังได้ช่องส่งผลอยู่ บาปอกุศลที่มีอยู่ ก็ไม่มีโอกาสได้ช่องส่งผล

     ตรงกันข้าม ถ้าน้ำในคลองมีน้อย ตอผุด เรือก็ติดตอ อุปมาเหมือนคนที่ไม่ได้สั่งสมบุญกุศลอย่างต่อเนื่อง พอบุญเก่าหย่อนกำลังลง บุญใหม่ก็ไม่ได้ทำ บาปอกุศลก็ได้ช่องส่งผล ชีวิตก็พบเจอแต่อุปสรรครอบด้าน

     เราไม่ควรให้น้ำลดก่อน แล้วค่อยมาเติมน้ำ หมายความว่า ไม่ควรให้ชีวิตประสบทุกข์ก่อน แล้วค่อยมาสั่งสมบุญ ควรสั่งสมบุญกุศลอย่างต่อเนื่อง ให้บุญกุศลส่งผล จนบาปอกุศลไม่มีโอกาสได้ช่องส่งผล ชีวิตก็จะมีแต่ความเจริญก้าวหน้า ราบรื่น ไม่เป็นชีวิตที่ทุรกันดาร

     ข้อที่ 1. วิบากกรรมส่งผลจนหมดกำลัง เป็นปัจจัยภายนอก เหลือข้อ
     ข้อที่ 2. ขอขมา อโหสิกรรมให้กัน และ
     ข้อที่ 3. สั่งสมบุญให้มาก เป็นปัจจัยภายใน เราต้องทำเอง ชีวิตจึงจะราบรื่น เหมือนรถไฟความเร็วสูง ไม่เป็นชีวิตที่ทุรกันดาร เหมือนถนนลูกรังในชนบทที่คนโบราณชอบ
 

http://goo.gl/APzIo3


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ชวนต่างชาติให้สนใจ ทาน ศีล ภาวนา
      อยากผอม
      บุญกับวาสนา
      เกิดเป็นขอทาน
      คิด พูด ทำ อย่างไหนบาปที่สุด
      คิดในกรอบกับคิดนอกกรอบ
      วิบากกรรมกระดูกพรุน
      เด็กชอบกัดเล็บ
      นอนกัดฟัน
      ชีวิตที่คุ้มค่า
      ดาราซึมเศร้า
      กำลังใจในหน่วยงาน
      ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related