เหตุการณ์ในช่วงปลายพุทธกาลที่นำไปสู่การเกิดนิกายเถรวาท

มูลเหตุของความแตกแยกตั้งแต่สมัยปลายพุทธกาลจนถึงการสังคายนาครั้งที่ 1 2 และ 3 https://dmc.tv/a16975

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พระพุทธศาสนา
[ 10 พ.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18272 ]

เหตุการณ์ในช่วงปลายพุทธกาลที่นำไปสู่การเกิดนิกายเถรวาท

 

ในช่วงปลายพุทธกาลยังไม่ได้มีการแบ่งแยกนิกายแต่อย่างใด แต่พอสรุปเหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่การเกิดนิกายได้ดังต่อไปนี้

 

 

 พระภิกษุถือเคร่งในการปฏิบัติที่แตกต่างกัน

         ในเรื่องความแตกแยกนี้มีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลในเรื่องของความเข้มข้นที่แตกต่างในการปฏิบัติ ทำให้พระสงฆ์เกิดความแตกแยกกัน เมื่อพระศาสดายังคงประชนม์ชีพอยู่ก็ทรงตัดสินชี้ขาดได้ แต่เมื่อปรินิพพานไปแล้วก็ไม่มีผู้ใดตัดสินได้ เพียงการปฏิบัติเล็กน้อยที่แตกต่างก็เป็นมูลเหตุของความแตกแยกได้ในที่สุด

 

บวกกับพระพุทธองค์ทรงมีพระดำรัสกับพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ สงฆ์เมื่อต้องการ ก็พึงถอนสิกขาบทเพียงเล็กน้อยโดยกาลล่วงไปแห่งเรา" (ที.ม. (ไทย) 10/216/165) ทรงอนุญาติให้สงฆ์สามารถยกเลิกสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ไม่มีพระภิกษุรูปใดตอบได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยนั้นคือสิกขาบทหมวดใดบ้าง ฝ่ายพระมหากัสสปะเห็นว่าให้คงสิกขาบทไว้ทุกข้อ ต่อมาทำให้มีพระภิกษุบางกลุ่ม หรือพระภิกษุต่างถิ่นต่างภูมิประเทศต่างสภาพอากาศ ที่เห็นแก่การประพฤติพรหมจรรย์เน้นปรมัตธรรม  ไม่เคร่งในสิกขาบทบางข้อ  โดยมีการตีความหมายของสิกขาบทเพื่อเอื้อประโยชน์แก่การปฏิบัติของตน ก็ทำให้เกิดข้อแตกแยกในการปฏิบัติ

 

ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้แทนพระพุทธองค์

พระบรมศาสดาทรงยกย่องพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะว่าเป็นผู้ที่สมควรจะปกครองพระภิกษุสงฆ์ได้   "ความจริงเราสารีบุตรหรือโมคคัลลานะเท่านั้นควรบริหารภิกษุสงฆ์" (ม.ม. (ไทย) 13/160/182) แต่ภายหลังพระมหาเถระท้ังสองรูปได้นิพพานไปก่อนพระพุทธองค์ พุทธองค์ถึงกับตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสารีบุตรและโมคคัลลานะปรินิพพานแล้ว บริษัทของเรานี้ปรากฏเหมือนว่างเปล่า สารีบุตรและโมคคัลลานะอยู่ในทิศใด บริษัทของเราไม่ว่างเปล่า ไม่มีความห่วงใยในทิศนั้น" (สัง.ม. (ไทย) 19/380/235) น่ั่นคือหลังจากที่พระมหาเถระทั้งสองได้นิพพานแล้วไม่มีพระภิกษุรูปใดได้รับยกย่องในการบริหารสงฆ์แทนพระพุทธองค์ จึงทรงแต่งตั้งพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์ (ระแบบ ฐิตญาโณ, 2542 : 76) "ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"  (ที.ม. (ไทย) 10/216/164)

พระพุทธศาสนาไม่มีพระเถระที่เป็นประมุขแทนพระบรมศาสดาได้ เมื่อมีความเห็นและข้อปฏิบัติในเรื่องธรรมวินัยแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ พระภิกษุก็จะรับฟังพระเถระหรือพระสงฆ์ที่ตัวเองนับถือในท้องที่ของตนมากกว่า นี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของความแตกแยก

 

 

 

 ความสนใจเฉพาะทางที่ต่างกัน

ในสมัยพุทธกาลมีการแบ่งกลุ่มกันตามจริตอัธยาศัยของพระภิกษุ บวกกับการที่พุทธองค์ทรงแต่งตั้งพระภิกษุผู้เป็นเอตทัคคะทางด้านต่างๆ เช่น ภิกษุผู้ใคร่ในพระวินัยก็จะไปเป็นศิษย์ของพระอุบาลี ภิกษุผู้ใคร่ในธรรมก็จะเป็นศิษย์ของพระสารีบุตร พระอานนท์ เป็นต้น ภิกษุจริตเดียวกันพักในที่เดียวกัน มีการทรงจำบอกกล่าวร่ำเรียนพุทธวจนะสืบทอดกันมาเป็นสายๆ แต่พอนานวันเข้าก็เกิดเป็นฝักเป็นฝ่าย เกิดทิฏฐิมานะ เห็นว่าพวกของตนดีกว่ามาก่อน เช่น การทะเลาะเบาะแว้งกันของศิษย์พระวินัยธรและพระธรรมกถึก เป็นต้น เกิดเป็นความแตกแยกได้ในที่สุด

 

 ไม่ทรงขัดแต่ปรับปรุงคำสอนของลัทธิอื่นให้สมบูรณ์ขึ้น

การที่พระพุทธองค์ไม่กล่าวตำหนิคำสอนในลัทธิอื่น และมีหลายครั้งที่พุทธองค์ทรงตรัสเห็นพ้องด้วยกับคำสอนในลัทธิอื่น คือ ทรงปรับปรุงคำสอนนั้นให้สมบูรณ์ขึ้น เช่นในกูฏทัณฑสูตร การบูชายัญของพราหมรณ์ที่ต้องฆ่าสัตว์ ทรงแสดงธรรมว่าการฆ่าสัตว์นั้นไม่ประโยชน์เป็นบาป การบูชายัญที่ไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ได้บุญมากกว่า เป็นต้น บวกกับพิธีกรรมต่างๆ เช่น การบำเพ็ญเพียร หากทำเพื่อความหลุดพ้นทำให้จิตบริสุทธิ์มากขึ้นก็ไม่ได้ทรงห้าม ดังนั้น จึงทำให้มีการบำเพ็ญตบะที่หลากหลาย ตลอดจนพิธีกรรมที่แตกต่างในหมู่ชาวพุทธ จึงนำไปสู่ความแตกแยกทางทัศนะได้อย่างง่ายๆ

 

 

 

จากมูลเหตุทั้งหมด พอจะสรุปว่าเกิดจากมีทิฏฐิสามัญญตา(ความเห็น) และสีลสามัญญตา(ข้อปฏิบัติ) ไม่ตรงกัน  เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่ออกไปมาก  ทำให้มีกุลบุตรเข้ามาบวชในพระธรรมวินัยมากขึ้น ซึ่งก็มีเจตนาในการบวชที่แตกต่างกัน บางคนตั้งในบวชบางคนก็ไม่ตั้งใจ ทำให้มีความเห็นและประพฤติเสื่อมเสีย ซึ่งก็เกิดจากการที่พระภิกษุสงฆ์ไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติให้เกิดผล(ปฏิเวธ)อย่างจริงจัง  เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นสาเหตุของความแตกแยกในที่สุด

 

อ่านต่อ เรื่อง การสังคายนาครั้งที่ 1 >>


http://goo.gl/lbIMfe


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีทอดกฐินสามัคคีสร้างทุกสิ่ง ณ ธุดงคสถานแก้วโนนแดง
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนแท่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินสร้างศาลาปฏิบัติธรรมจันทสโร
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนลำดวนสวรรค์ จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างทุกสิ่ง
      วัดพระธรรมกาย จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2564
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จัดงานบุญพิธีทอดกฐินสามัคคี
      ธุดงคสถานแก่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม
      ธุดงคสถานนครธรรม จัดพิธีบุพเปตพลีออนไลน์
      วัดพระธรรมกายออเรกอน จัดพิธีบูชาข้าวพระ
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมพัทลุง จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ถวายเครื่องปรับอากาศ
      ศูนย์อบรมเยาวชนเถินเทิดธรรม จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างทุกสิ่ง
      บรรยากาศชวนบวชโครงการอุปสมบท บูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมเพชรบูรณ์ จัดพิธีทอดกฐินสามัคคีเพื่อสร้างหอฉัน
      วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพให้แก่ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 ชุด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related