ทำอย่างไรให้ปากสวย ปากหอม

ปากมี ลักษณะพิเศษกว่าอวัยวะอื่นๆ บนใบหน้า ตามี 2 ตา ทำหน้าที่ดูอย่างเดียว หูมี 2 หู ทำหน้าที่ฟังอย่างเดียว แต่ปากมีปากเดียว แต่ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ทั้งกิน ทั้งพูด จึงต้องสับหลีก แบ่งเวลาใช้งาน แต่บางคนก็ใช้ไปพร้อมกันทั้ง 2 อย่าง คือ ทั้งกิน ทั้งพูดในเวลาเดียวกัน https://dmc.tv/a18270

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แก้กรรม-รู้ทันวิบากกรรม
[ 27 มิ.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18273 ]
ทำอย่างไรให้ปากสวย ปากหอม?
 
ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/Dhammavipulo 
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

 

 
 
     ปากมี ลักษณะพิเศษกว่าอวัยวะอื่นๆ บนใบหน้า

     ตามี 2 ตา ทำหน้าที่ดูอย่างเดียว
     หูมี 2 หู ทำหน้าที่ฟังอย่างเดียว

     แต่ปากมีปากเดียว แต่ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ทั้งกิน ทั้งพูด จึงต้องสับหลีก แบ่งเวลาใช้งาน แต่บางคนก็ใช้ไปพร้อมกันทั้ง 2 อย่าง คือ ทั้งกิน ทั้งพูดในเวลาเดียวกัน

     กินได้ แต่กินไม่เป็น มีปัญหาตามมา ทั้งไขมันในเลือดสูง เบาหวาน
     พูดได้ แต่พูดไม่เป็น มีปัญหาตามมา เขาเรียกว่า แกว่งปากไปหาเท้า

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงองค์ประกอบที่พระองค์จะกล่าว หรือไม่กล่าวเอาไว้ว่า...

     1. คำไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่ชอบใจ เช่น คำใส่ร้ายป้ายสี ใส่สีตีไข่ ปรารถนาทำลายชื่อเสียงคนอื่น เป็นต้น พระองค์ไม่ตรัส

     2. คำจริง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่ชอบใจ เช่น คำนินทา เอาความไม่ดีของคนอื่นมานินทาลับหลัง แม้เป็นคำจริง แต่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น พระองค์ไม่ตรัส

     3. คำจริง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่ชอบใจ เช่น คำแนะนำตักเตือน ไม่นิยมพูดตักเตือนในที่สาธารณชน จะทำให้เข้าใจผิด คิดว่าเป็นการประจาน ถ้าปรารถนาดี ควรเรียกมาแนะนำเป็นการส่วนตัว เป็นต้น พระองค์ตรัส แต่จะดูเวลา สถานที่ๆ เหมาะสม

     4. คำจริง ไม่เป็นประโยชน์ แต่เป็นที่ชอบใจ เช่น คำส่อเสียด ยุยงให้แตกแยก เอาความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนข้างนี้ เอาความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนข้างโน้น พระองค์ไม่ตรัส

     5. คำไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ แต่เป็นที่ชอบใจ เช่น คำยกยอปอปั้น เกินความเป็นจริง หวังผลประโยชน์ จากคนที่ถูกยกยอปอปั้น เป็นต้น พระองค์ไม่ตรัส

     6. คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นที่ชอบใจ เช่น คำยกย่องชมเชย ควรกล่าวในที่สาธารณชน เป็นการให้กำลังใจ และเป็นแบบอย่างอันดีงาม แก่ผู้ได้ยินได้ฟัง เป็นต้น พระองค์ตรัส แต่จะดูเวลา สถานที่ๆ เหมาะสม

     ข้อ 3, 6 ที่พระองค์ตรัส คือ ต้องเป็นคำจริง และเป็นประโยชน์ ส่วนชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญ อุปมาคนไข้ที่ไม่ชอบรสชาติของยา แต่กินแล้วหายจากโรค พระองค์จะดูเวลา และสถานที่ๆเหมาะสม

     อยากให้ปากสวย ปากหอม "พูดคำจริง เป็นประโยชน์ และถูกกาลเทศะ"

http://goo.gl/BtLW2o


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      โทษภัยของการพนัน
      วิบากกรรมปาณาติบาต
      โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2
      วิบากกรรม วิบากกาม
      โทษภัยของการพูดโกหก ผิดศีลข้อที่ ๔
      วิบากกรรมที่ทำให้ท้องเสียและท้องผูก
      วิบากกรรมที่ทำให้เป็นวัณโรค
      วิบากกรรมที่ทำให้ฆ่าตัวตาย
      วิบากกรรมที่ทำให้หน้าแก่เกินวัย
      กรรมที่ทำให้มีขางาม
      ทุกข์ในอัตภาพสัตว์เดรัจฉานและมนุษย์
      ฆ่าตัวตาย กรรมที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตาย
      กรรมที่ทำให้รูปงาม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related