เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวอินโด ตอนที่ 2

การละเล่น การละเล่นที่มีมาแต่เก่าก่อนของชาวอินโดนีเซียมีหลายอย่าง ที่น่าสนใจคือ วายังกูลิต (Wayang Kulit) หรือที่นิยมเรียกกันว่า วายังเป็นการแสดงหุ่นเชิดฉายเงาบนจอคล้ายหนังตระลุง มีเครื่องดนตรีประกอบ 4 ชิ้น เค้าโครงเรื่องส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับสงครามในศาสนาฮินดูที่เล่าสืบต่อกันมาของชาวชวาและชาวบาหลี ใช้หุ่นกว่า 60 ตัว ผู้พากย์จะต้องมีความชำนาญในการใช้ภาษากาวี ซึ่งเป็นภาษาโบราณที่ตัวละครฝ่ายดีพูด และภาษาบาหลีสำหรับตัวละครฝ่ายร้ายพูด https://dmc.tv/a18390

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 13 ก.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18270 ]

เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวอินโด ตอนที่ 2

เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวอินโด ตอนที่ 2

 

เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวอินโด ตอนที่ 2

 

 

 วายังกูลิต

     การละเล่นที่มีมาแต่เก่าก่อนของชาวอินโดนีเซียมีหลายอย่าง  ที่น่าสนใจคือ วายังกูลิต  (Wayang Kulit)  หรือที่นิยมเรียกกันว่า  วายังเป็นการแสดงหุ่นเชิดฉายเงาบนจอคล้ายหนังตระลุง  มีเครื่องดนตรีประกอบ  4  ชิ้น  เค้าโครงเรื่องส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับสงครามในศาสนาฮินดูที่เล่าสืบต่อกันมาของชาวชวาและชาวบาหลี  ใช้หุ่นกว่า  60  ตัว  ผู้พากย์จะต้องมีความชำนาญในการใช้ภาษากาวี  ซึ่งเป็นภาษาโบราณที่ตัวละครฝ่ายดีพูด  และภาษาบาหลีสำหรับตัวละครฝ่ายร้ายพูด

 

 

ตมิลาน วงดนตรีพื้นเมืองของ อินโดนีเซีย

     อินโดนีเซียมีวงดนตรีพื้นเมือง  เรียกว่า  ตมิลาน  (Gamelan)  ประกอบด้วย  เครื่องดนตรีคล้ายระนาด  กลอง  ฆ้อง  ซอสองสาย  และขลุ่ย  ในอดีต  นอกจากตมิลานจะเป็นดนตรีประจำราชสำนักของสุลต่านต่างๆ  บนเกาะชวาแล้ว  ยังใช้เผยแผ่ศาสนาอิสลามด้วย  แต่ปัจจุบันกลายเป็นวงดนตรีสำหรับการฟ้อนรำและการแสดงหนังตะลุง

 

 

     ชาวอินโดนีเซียประกอบด้วยหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์  มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่แตกต่างกันไป  ชาวชนบทที่อาศัยอยู่ไกลจากตัวเมืองยังมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ  มีประเพณีดั้งเดิมเป็นหลักปฏิบัติ  ส่วนพวกที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองและได้รับการศึกษาแบบตะวันตกก็จะมีวิถีชีวิตที่ทันสมัยขึ้น

เราสามารถแบ่งชาวอินโดนีเซียตามประเพณี  วัฒนธรรมได้เป็น  3  กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1) กลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนเกาะชวาและบาหลี  ผู้คนส่วนใหญ่ยึดมั่นในแนวทางศาสนาของศาสนาฮินดูและพุทธ

2) กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของเกาะต่างๆ  ผู้คนดำเนินชีวิตโดยยึดตามหลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด

3) กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณเทือกเขาในส่วนลึกของประเทศ  มีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม  มักดำเนินชีวิตด้วยการล่าสัตว์และการเพาะปลูก

     เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในประเทศนับถือศาสนาอิสลาม  จึงมีการกำหนดกฎหมายประเพณีในสังคมตามความเชื่อในศาสนาอิสลามที่สืบทอดกันมานาน  ให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  ซึ่งมีสาระสำคัญ  คือ  ความผูกพันระหว่าง  สามีกับภรรยา  พ่อแม่กับลูก  และพลเมืองกับสังคมที่ตนอยู่  ทุกคนต้องช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยกันในงานต่างๆ  เช่น  การเพาะปลูก  การเก็บเกี่ยว  การแต่งงาน  การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  ฯลฯ

การครองเรือน

     หลักของศาสนาอิสลามถือว่าผู้ชายเป็นผู้นำ  เป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้เลือกถิ่นที่อยู่  เป็นผู้รับผิดชอบต่อความทุกข์สุขของครอบครัว  และเป็นผู้สืบสกุล  ชาวอินโดนีเซียแต่งงานและหย่าร้างตามบทบัญญัติของกฎหมาย  ซึ่งให้สิทธิสามีเป็นผู้บอกเลิก

การถือศีลอด

     ในเดือนเราะมะฎอน  ชาวมุสลิมอินโดนีเซียต้องอดอาหารเครื่องดื่มระหว่างเวลาก่อนรุ่งอรุณจนตะวันตกดิน  เพื่ออบรมให้มีความอดทนต่อความหิวกระหาย

     เราะมะฎอน  คือ  เดือนที่ 9  ของปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์หรือปฏิทินอิสลาม  เป็นเดือนที่ชาวมุสลิมต้องถือศีลอดตลอดทั้งเดือน

 

 

พิธีเวอลามาตัน

พิธีเวอลามาตัน

     เป็นพิธีกรรมของชาวมุสลิมในเกาะชวา  โดยจะเชิญอิหม่ามหรือผู้รู้ในศาสนามาอ่านบทสวด  หลังจากนั้นจะรับประทานอาหารร่วมกัน  มักจัดขึ้นเพื่อฉลองโอกาสพิเศษต่างๆ  เช่น  งานวันเกิด  การเข้าสุนัต  งานแต่งงาน  งานขึ้นบ้านใหม่

วันขึ้นปีใหม่ของฮินดู  (Nyepi)

     หรือเรียกอีกอย่างว่า  “วันแห่งความเงียบ”  เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคคติของชาวบาหลี  ซึ่งแต่ละปีจะไม่ตรงกัน  ในวันนี้ชาวบาหลีจไม่ประกอบกิจกรรมใดๆ แม้แต่การหุงหาอาหาร  จะพร้อมใจกันบุชาเทพเจ้า  ประกอบพิธีมงคลขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไป  เป็นช่วงเวลาของการทำจิตใจให้ผ่อนใสเพื่อต้อนรับปีใหม่

เทศกาลเซอซาจี

     จัดขึ้นที่เกาะชวาและเกาะบาหลี  เป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณมากินอาหารที่ชาวบ้านเตรียมไว้

พิธีจีวา

     ชาวอินโดนีเซียบางกลุ่มเชื่อว่า  จิตวิญญาณหรือจีวาของมนุษย์อยู่ที่ศีรษะ  จึงมีการประกอบพิธีจีวาเพื่อเพิ่มพลังและสร้างความแข็งแกร่ง  ขจัดความอัปมงคลและมลทินให้แก่จิตวิญญาณซึ่งสิงสถิตอยู่ทุกแห่ง  ไม่ว่าจะเป็นคน  สัตว์  หรือต้นไม้  โดยเชื่อว่าเป็นการสร้างสมดุลและความรุ่งเรืองให้แก่ชุชน

 

 

การแต่งกาย

       เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม   การแต่งกายจึงโน้มไปตามประเพณีของศาสนา

     ผู้ชาย  สวนเสื้อผ้าบาติกและนุ่งกางเกงขายาว  ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะนุ่งโสร่ง  สวมเสื้อคอปิดแขนยาว  สวมหมวกทรงกลมหรือหมวกหนีบซึ่งทำด้วยสักหลาดสีดำ  บางครั้งจะนุ่งโสร่งทับกางเกง  ปัจจุบันผู้ชายอินโดนีเซียนิยมแต่งกายแบบสากล  แต่ยังคงสวมหมวกแบบเดิม

     ผู้หญิง  ใช้ผ้าไคน์หรือผ้าบาติกพันรอบตัว  เวลานุ่งจะต้องให้ยาวกรอมเท้าและใช้นุ่งอยู่กับบ้านเท่านั้น  สวมเสื้อที่เรียกว่า  เคบาจา (Kebaja)  เป็นเสื้อที่รัดติดกับตัว  แขนยาว  ผ่าหน้า  กลัดกระดุม  ตัวเสื้อมีสีสันสดใส  ปักฉลุลายลูกไม้  หญิงสาวอินโดนีเซียนิยมไว้ผมยาวแล้วเกล้าเป็นมวย  ประดับศีรษะด้วยพลอยหรือดอกไม้  ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ  แต่ไม่ปิดหน้า ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น

 

 

เร็นดัง

เร็นดัง (Rendang)

     หรือแกงมัสมั่นเนื้อแบบอินโดนีเซีย ทำมาจากเนื้อวัวเคี่ยวกับกะทิและพริกแกงจนน้ำแกงแห้ง

 

บักมีโกเร็ง

บักมีโกเร็ง (Bakmi Goreng)

     หรือบะหมี่ผัด  ใช้บะหมี่เส้นค่อนข้างใหญ่ผัดกับน้ำมะพร้าวใส่เนื้อสัตว์  ผัก  แล้วปรุงรสด้วยน้ำพริกเผา  น้ำมะนาว  รสชาติคล้ายผัดหมี่บ้านเรา

 

กาโด กาโด

กาโด กาโด (Gado Gado)

     ประกอบไปด้วยถั่วเขียว  มันฝรั่ง  ถั่วงอก  เต้าหู้  ไข่ต้ม  แตงกวา  กะหล่าปลี  ข้าวเกรียบกุ้ง  นิยมรับประทานกับน้ำสลัดที่มีรสชาติคล้ายน้ำจิ้มสะเต๊ะ

 

สะเต๊ะ

สะเต๊ะ

     หรือที่คนอินโดนีเซียเรียกกันว่า  ซะเต  นิยมนำไก่  หมู  เนื้อ  แล่  เป็นชิ้นบาง  หมักเครื่องปรุงรสแล้วเสียบไม้ปิ้ง  รับประทานคู่กับน้ำจิ้ม ถั่วลิสง

 

ขนมเค้กอินโดนีเซีย

ขนมเค้กอินโดนีเซีย (Indonesia Layer Cake)

     เป็นเค้กที่มีเอกลักษณ์ เนื่องจากมีการเพิ่มกลิ่นเครื่องเทศ ทำให้เค้กมีกลิ่นหอม

ซาลัก

ซาลัก (Salak)

     หรือสละ  เป็นผลไม้ที่มีมากและขึ้นชื่อที่สุดของอินโดนีเซีย  มีรสชาติ  หอม  อร่อย

     ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่ไม่นิยมกินอาหารทะเล  เพราะมุสลิมไม่บริโภคสัตว์ไม่มีเลือดอย่างเช่นสัตว์ทะเล

 

 

ปันจักสีลัต

ปันจักสีลัต  (Pen1cak Silat)

     มาจากคำว่า “ปันจัก”  ในภาษาอินโดนีเซีย  หมายถึง  การป้องกันตนเอง คำว่า “สีลัต”  มายถึง ศิลปะ  รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องการตนเอง  กีฬาประเภทนี้มีถิ่นกำเนิดที่เกาะสุมาตรามากว่า  400  ปีแล้ว  เดิมเป็นศิลปะต่อสู้ของคนเชื้อสายมลายูในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์  เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า  เน้นให้เห็นลีลาการเครื่องไหวที่สวยงาม

     ก่อนการแข่งขันนักกีฬาจะต้องทำความเคารพกันและกัน  เรียกว่า “สาลามัต”  คือต่างสัมผัสมือกันแล้วแตะที่หน้าผาก  จากนั้นจึงเริ่มวาดลวดลายร่ายรำตามศิลปะสีละ  บางครั้งนักสู้  เมื่อรำไปรำมาเพื่อการลองเชิงพอสมควรแล้ว  นักกีฬาต้องหาทางพิชิตคู่ต่อสู้ให้ล้มลง  หรืออาจตัดสินจากเสียงปรบมือของผู้ชมในสนานว่าฝ่ายใดดังกว่า  ฝ่ายนั้นก็จะเป็นผู้ชนะ

     กีฬาปันจักสีลัตได้บรรจุให้มีการแข่งขันครั้งแรกในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่  14  ณ  กรุงจาการ์ตา  ประเทศอินโดนีเซีย  เมื่อปี  พ.ศ. 2530

บทความที่เกี่ยวข้องกับเป็น อยู่ คือ...วิถีอินโด ตอนที่ 2

อาเซียน 10 ประเทศ
อินโดนีเซียหนึ่งในประชาคมอาเซียน
ทำเลที่ตั้ง ประเทศอินโดนีเซีย
ปกบ้านครองเมือง ประเทศอินโดนีเซีย
ทำมาค้าขาย ประเทศอินโดนีเซีย
เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวอินโด


http://goo.gl/T4oemF


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related