บุญ คือ อะไร ?

บุญเป็นเครื่องชำระจิตให้ผ่องใส (เมื่อจิตผ่องใสย่อมไปสู่โลกสวรรค์) บุญเป็นคุณเครื่องแห่งความสำเร็จทั้งปวง (ความสุขทั้งมวลล้วนมาจากบุญ) https://dmc.tv/a14813

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
[ 13 ธ.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18257 ]
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
 
 
บุญ คือ อะไร ?
 
ตอบ  บุญเป็นชื่อของความสุข

    บุญเป็นเครื่องชำระจิตให้ผ่องใส (เมื่อจิตผ่องใสย่อมไปสู่โลกสวรรค์)
    บุญเป็นคุณเครื่องแห่งความสำเร็จทั้งปวง (ความสุขทั้งมวลล้วนมาจากบุญ)



ถ้ามีคำถามว่า บุญ เป็นชื่อของความสุข เป็นอย่างไร ?

ตอบ    บุญเป็นชื่อของความสุข สมดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปุญญสูตร ว่า

2. ปุญญสูตร
ว่าด้วยเรื่องอย่ากลัวต่อบุญเลย


    [200] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า  บุญ  นี้เป็นชื่อแห่งความสุข  อันน่าปรารถนา  น่าใคร่  น่ารัก  น่าพอใจ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ที่ตนเสวยแล้วสิ้นกาลนาน แห่งบุญทั้งหลายที่ตนได้ทำไว้สิ้นกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด 7 ปีแล้ว ไม่กลับมาสู่โลกนี้ตลอด 7 สังวัฏฏวิวัฏฏกัป

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อกัปฉิบหาย (โลกแตก) อยู่  เราเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อกัปเจริญอยู่ เราย่อมเข้าถึงวิมานแห่งพรหมที่ว่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ใครครอบงำไม่ได้ เป็นผู้สามารถเห็นอดีต อนาคตและปัจจุบันโดยแท้ เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ อยู่ในวิมานพรหมนั้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราได้เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ 36 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระธรรมราชามีสมุทรสาครสี่เป็นขอบเขต เป็นผู้ชนะวิเศษแล้ว ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท ประกอบด้วยรัตนะ 7ประการ หลายร้อยครั้ง จะกล่าวไปใยถึงความเป็นพระเจ้าประเทศราชเล่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอแล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรม 3 ประการของเราคือ ทาน 1 ทมะ 1 สัญญมะ 1.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
 
    กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษา บุญนั่นแล อันสูงสุดต่อไปซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน 1 ความประพฤติ สงบ 1 เมตตาจิต 1 บัณฑิตครั้นเจริญ ธรรม 3 ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข.

    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จากพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2525 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ปุญญสูตร เล่มที่ 45 หน้าที่ 141-143
 

ถ้ามีคำถามว่า บุญเป็นเครื่องชำระจิตให้ผ่องใส เป็นอย่างไร ?

ตอบ
  จิตเศร้าหมองด้วยกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง แต่จิตจะผ่องใสได้ด้วยการทำบุญ คือ

    ทาน กำจัดความโลภ
    ศีล กำจัดความโกรธ (การเบียดเบียนสัตว์อื่น)
    ภาวนา กำจัดความหลง

    เมื่อทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ทาน ศีล ภาวนา จิตย่อมผ่องใส การเจริญภาวนา คือ การตามระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทำให้จิตผ่องใสได้โดยง่าย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้กับนางวิสาขา ในอุโปสถสูตรว่า

10. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ ๓ อย่าง

ฯลฯ
    วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายามอย่างไร

    อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงตถาคตว่า อิติปิ โส ภควา ฯเป ฯ ภควา เมื่อเธอระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ ฯลฯ

    วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร

    อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า สฺวากฺขาโต ฯเปฯ วิญฺญูหิ เมื่อเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิด อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ ฯลฯ 

    วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร

    อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร นี้คือใคร คู่แห่งบุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

    เมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้
ฯลฯ

ย่อมาจากพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2525 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต อุโปสถสูตร เล่มที่ 34 หน้าที่ 384-385

ถ้ามีคำถามว่า บุญเป็นคุณเครื่องแห่งความสำเร็จทั้งปวง เป็นอย่างไร ?

ตอบ  บุญเป็นคุณเครื่องแห่งความสำเร็จทั้งปวง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สิริชาดก ดังต่อไปนี้


4. สิริชาดก
โภคะเกิดแก่ผู้มีบุญ


      [451] ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลปะหรือไม่ ก็ตามย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก ผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น.
 
      [452] โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลยสัตว์เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงเทียวสำหรับผู้มีบุญอันกระทำไว้ ใช่แต่เท่านั้นรัตนะทั้งหลายก็บังเกิดขึ้น แม้ในที่มิใช่บ่อเกิด.

    ก็พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว จึงตรัสสืบไปว่า

    ดูก่อนคฤหบดี ชื่อว่า บ่อเกิดอย่างอื่นเช่นกับบุญของสัตว์เหล่านี้ ย่อมไม่มีเพราะว่า รัตนะทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่คนผู้มีบุญ แม้ในที่อันมิใช่บ่อเกิดทั้งหลาย แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ว่า :-

    ขุมทรัพย์ คือ บุญนี้ ให้สมบัติอันน่าใคร่ทั้งปวง แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมปรารถนาผลใด ย่อมได้ผลนั้นทั้งหมดด้วยขุมทรัพย์คือ บุญนี้.

    ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม 1
    ความเป็นผู้มีเสียงไพเราะ 1
    ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม 1
    ความเป็นผู้มีรูปสวย 1
    ความเป็นอธิบดี (ความเป็นใหญ่) 1
    ความเป็นผู้มีบริวาร 1

ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์ คือ บุญนี้

    ความเป็นเจ้าประเทศราช 1
    ความเป็นผู้มีอิสริยยศ 1
    ความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิอันเป็นที่รัก 1
    ความเป็นราชาแห่งเทวดาในเทวโลก 1

ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์ คือ บุญนี้.

    สมบัติอันเป็นของมนุษย์ 1
    ความรื่นรมย์ยินดีในเทวโลก 1
    นิพพานสมบัติ 1

ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์ คือ บุญนี้.
 
    ผลทั้งหมด คือ ความที่บุคคลอาศัยมิตตสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยมิตร

แล้วประกอบความเพียรด้วยอุบายอันแยบคาย ได้เป็นผู้ชำนาญในวิชชา (วิชชา 3, วิชชา 8) และวิมุตติ อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์ คือ บุญนี้.

    ปฏิสัมภิทา 1
    วิโมกข์ (ความหลุดพ้น) 1
    สาวกบารมี (พระอรหันต์) 1
    ปัจเจกโพธิ (พระปัจเจกพุทธเจ้า) 1
    พุทธภูมิ (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) 1

ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์ คือ บุญนี้.

    ปุญญสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยบุญนี้ ให้ความสำเร็จผลอันใหญ่ยิ่งอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ทั้งหลาย จึงสรรเสริญความเป็นผู้มีบุญอันได้กระทำไว้ (ได้ทำบุญไว้ดีแล้ว) ดังนี้.
ฯลฯ

ย่อมาจากพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2525 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก สิริชาดก เล่มที่ 58 หน้าที่ 273-283

 

http://goo.gl/bfrsU


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา : ตอน พระอนุรุทธเถระผู้มีจักษุทิพย์
      เพราะบูชาพระเจดีย์จึงมีรัศมีสว่างไสว บูชาด้วยดอกไม้แปดดอก
      พระปัญจทีปทายิกาเถรี กับอานิสงส์บูชาพระเจดีย์จึงมีทิพยจักษุ
      พระอุปวาณเถระ กับอานิสงส์การบูชาพระเจดีย์
      พระมหากัสสปะเถระ กับอานิสงส์สร้างพระสถูปเจดีย์
      ศีลดี คือ อะไร ?
      เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?
      ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?
      นรก-สวรรค์
      อานิสงส์ของการฟังธรรม
      ทำทานอย่างไร จึงจะได้ บุญมาก ?
      ทำไมคนจึงต่างกัน ?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related