การมีสุขภาพปากและฟันที่ดี

การรักษาสุขภาพปากและฟันที่ดี เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณจะทำเพื่อเหงือกและฟันของคุณ ฟันที่แข็งแรงไม่เพียงแต่จะช่วยให้ดูดีและรู้สึกดีเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้คุณรับประทานได้สะดวก https://dmc.tv/a11918

บทความธรรมะ Dhamma Articles > สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี
[ 16 ส.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18254 ]
สุขภาพปากและฟันที่ดีคืออะไร



การแปรงฟันที่ถูกวิธีช่วยให้รักษาสุขอนามัยในช่องปาก

 
สุขภาพปากและฟันที่ดีหมายถึง
            - ฟันที่แลดูสะอาดไม่มีเศษอาหารติดอยู่
            - เหงือกสีชมพู ไม่เจ็บ หรือมีเลือดออกเวลาแปรงฟันหรือขัดฟัน
            - ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นปาก

       ถ้าเหงือกมีอาการเจ็บหรือเลือดออกเวลาแปรงฟันหรือขัดฟัน หรือมีปัญหาเรื่องกลิ่นปากตลอดเวลา ควรพบทันตแพทย์ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหา

       ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคเพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดี ตลอดจนแนะนำบริเวณที่ต้องดูแลเป็นพิเศษระหว่างแปรงฟันหรือขัดฟัน

สุขภาพปากและฟันที่ดีจะปฏิบัติได้อย่างไร

       การรักษาสุขภาพปากและฟันที่ดี เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณจะทำเพื่อเหงือกและฟันของคุณ ฟันที่แข็งแรงไม่เพียงแต่จะช่วยให้ดูดีและรู้สึกดีเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้คุณรับประทานได้สะดวก และพูดได้อย่างชัดถ้อยชัดคำอีกด้วย สุขภาพปากและฟันที่ดีจึงมีความสำคัญต่อการความเป็นอยู่ที่ดี

       การดูแลประจำวัน ซึ่งก็คือการแปรงฟันอย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันเกี่ยวกับช่องปาก ทำให้เจ็บตัวน้อยกว่า ประหยัดกว่า และวิตกกังวลน้อยกว่าการที่ต้องรับการรักษาเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว

ความหมายของการทำความสะอาดช่องปากคือ


    สะอาด หมายถึง ลดคราบจุลินทรีย์ให้เหลือน้อยที่สุด
    ทั่วถึง หมายถึง แปรงทุกซี่ ทุกด้าน เน้นการแปรงบริเวณขอบเหงือกเป็นสำคัญเพราะจะเป็นจุดหมักหมม ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย
    สม่ำเสมอ หมายถึง แปรงฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
    ไม่เป็นอันตรายต่อเหงือกและฟัน หมายถึง วิธีการแปรงฟันนั้น ต้องไม่ทำให้ฟันสึก
    ไม่กดขนแปรงอย่างรุนแรงจนเหงือกอักเสบ

ดังนั้น วิธีการทำความสะอาดช่องปาก ให้สะอาดอย่างแท้จริง ประกอบด้วย

การแปรงฟันที่ถูกวิธี หมายถึง
        แปรงฟันทั่วทุกซี่ ทุกด้าน และเมื่อแปรงแล้วฟันจะต้องสะอาดเรียบและลื่น
        เน้นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง ได้แก่ ฟันกราม และฟันด้านลิ้น
        แปรงสีฟัน เลือกให้พอเหมาะกับช่องปาก ขนแปรงอ่อนนุ่ม ไม่ทำอันตรายกับเหงือกและฟัน ความยาวของขนแปรงคลุมตัวฟัน ประมาณ 1 ถึง 1.5 ของซี่ฟัน
        ยาสีฟัน ที่ใช้ต้องมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพราะจะช่วยลดสภาวะความเป็นกรดในช่องปาก และเสริมสร้างความแข็งแรงของตัวฟัน
    การใช้เส้นใยขัดฟัน
        เพื่อทำความสะอาดซอกฟัน ซึ่งเป็นบริเวณที่การแปรงฟัน ไม่สามารถทำความสะอาดได้
        เน้นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสูง คือ บริเวณฟันกราม ใช้อย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง


 การเลือกใช้อุปกรณ์
     แปรงสีฟัน
    1. ลักษณะขนแปรงอ่อนนุ่ม ไม่มีความคม และมีการสปริงตัว ของขนแปรงที่ดี จึงจะช่วยทำความสะอาดฟันได้ดี
    2.  แปรงสีฟันมีขนาดพอเหมาะกับช่องปาก ความยาวของขนแปรงคลุมตัวฟัน ประมาณ 1-1.5 ของซี่ฟัน
    3. ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันหากขนแปรงหมดสภาพ หรือใช้มาแล้ว ๓ เดือน
    4. ด้ามแปรงควรตรงตลอด จะช่วยให้ทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง

     ยาสีฟัน
       ยาสีฟันทุกยี่ห้อช่วยในการหล่อลื่นขณะแปรงฟัน ทำให้แปรงได้สะดวกขึ้น แม้ยาสีฟันบางยี่ห้อจะมีรสชาติ
       ถูกปาก แต่หากเกิดอาการแพ้ยาสีฟันนั้น ให้เลิกใช้ทันที (ยาสีฟันที่มีรสเย็นกลิ่นหอม ไม่ได้หมายความว่าจะช่วย
       ลดกลิ่นปากได้ ดังนั้นจึงควรเลือกยาสีฟันให้เหมาะสม)

   วิธีการแปรงฟัน (ดังรูป)
 
การแปรงฟันที่ถูกวิธี
 
     1. บีบยาสีฟันจากส่วนท้ายของหลอดปริมาณพอเหมาะไม่มากเกินไป (ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของแนวขนแปรง)
     2. ฟันล่างปัดขึ้น ฟันบนปัดลง ฟันกรามปัดเขย่าๆ ห้ามแปรงไถๆ จะทำให้เหงือกร่น
     3. การแปรงฟันบน หงายแปรงเอียง 45 องศา ขยับแปรงไปมาเล็กน้อย แล้วปัดขนแปรงลงล่างทั้งด้านนอก และด้านในของฟันทุกซี่
     4. การแปรงฟันล่างให้คว่ำแปรงลงเอียง 45 องศา ขยับแปรงไปมาเล็กน้อย แล้วปัดขนแปรงขึ้นบนทั้งด้านนอก และด้านในของฟันล่างทุกซี่
     5. แปรงฟันบดเคี้ยววางแปรงสีฟันให้หน้าตัดขนแปรงอยู่บนฟันด้านบดเคี้ยว และถูไปมาทั้งฟันบน และฟันล่าง
     6. บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด
 
การมีสุขภาพปากและฟันที่ดีช่วยเสริมบุคลิกภาพ 
บุคลิกภาพที่ดีของการมีรอยยิ้มที่มีฟันขาวและแข็งแรง
 
ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อฟันผุ โรคเหงือก และปัญหาเกี่ยวกับฟันอื่นๆ
ข้อควรจะปฏิบัติในระยะระหว่างการนัดพบทันตแพทย์
             1. การแปรงฟันอย่างทั่วถึงวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง
             2. การรับประทานอาหารที่ถูกสัดส่วน และจำกัดอาหารว่างระหว่างมื้อ
             3. การใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
             4. การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ ในกรณีที่ทันตแพทย์แนะนำ
             5. การให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีดื่มน้ำที่ผสมฟลูออไรด์ หรือให้อาหารเสริมฟลูออไรด์

แหล่งข้อมูลจาก www.colgate.co.th, เว็บไซต์คุณหมออารมณ์ดี

http://goo.gl/Ezis9


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ฟันน้ำนมสำคัญไฉน ทำไมต้องมีการดูแลฟันน้ำนม
      วิธีรักษาฝ้า และยารักษาฝ้า ตอนที่ 2
      วิธีรักษาฝ้า และยารักษาฝ้า ตอนที่ 1
      การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรค
      การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย
      AHA , BHA คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
      มะเร็ง รู้ทันโรคมะเร็ง
      ปัญหาครอบครัว : เมื่อต้องเลี้ยงลูกคนเดียว
      เด็กพูดจาหยาบคาย สาเหตุและวิธีแก้ไขเด็กพูดคำหยาบคาย
      แผลกดทับ สาเหตุและวิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ
      น้ำมันหอมระเหย
      รากเทียม
      เลือกคู่...ดูอย่างไร




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related