การผ่าฟันคุดหลังผ่าตัดไม่กี่วันก็หาย ไม่น่ากลัวและช่วยให้หน้าเรียวขึ้นได้จริงหรือไม่

อาการปวดบวมจนแทบอ้าปากไม่ขึ้น เนื่องจากฟันคุดสามารถรักษาได้ด้วยการไปพบทันตแพทย์เพื่อผ่าตัด อาการหลังผ่าฟันคุดก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดกัน https://dmc.tv/a12034

บทความธรรมะ Dhamma Articles > สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี
[ 28 ส.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18255 ]
ฟันคุด
การผ่าฟันคุด

ฟันดี มีสเน่ห์ ตอน ฟันคุด

การผ่าฟันคุดน่ากลัว จะทำให้ปวด บวม และเจ็บมากไหม?

     ในปัจจุบันมีคนไข้โดยเฉพาะวัยรุ่น มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดฟันกรามล่าง ซี่สุดท้าย บางคนมีอาการมากถึงกับอ้าปากไม่ขึ้น อาการเหล่านี้เป็นอาการของ ฟันคุด

ฟันคุดทำฟันจัดให้หายคุดแบบชิลล์ๆ



ฟันคุด คือ อะไร

     ฟันคุด (Tooth Impaction) ก็คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ในช่องปาก เป็นฟันที่อาจจะเกิดจากที่มีฟันซี่อื่น หรือกระดูกขัดขวางการขึ้นของฟัน ทำให้ฟันนั้นขึ้นไม่ได้ ก็จะเรียกว่า ฟันคุด

ฟันคุด เกิดจากฟันที่มีขนาดใหญ่กว่าเหงือก

ลักษณะการเกิดฟันคุดในช่องปาก

สาเหตุของฟันคุด เกิดมาจากอะไร
     สาเหตุของฟันคุด ยังไม่มีการศึกษาถึงสาเหตุที่แน่นอนของฟันคุด แต่ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน ถ้าขนาดของขากรรไกรเล็ก แต่ว่าขนาดของฟันโต ฟันจึงไม่สามารถจะขึ้นมาได้ในช่องปาก ก็จะเกิดเป็นฟันคุด
 
     ดังนั้น ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องมีฟันคุด ถ้าเรามีขนาดของขากรรไกรใหญ่พอที่จะให้ฟันขึ้นได้ ก็จะ ไม่เรียกว่า ฟันคุด เพราะว่าถ้าฟันเล็กแล้วขากรรไกรโต ฟันขึ้นได้ทุกซี่ ก็จะไม่มีฟันคุด ก็จะเป็นฟันขึ้นธรรมดาเท่านั้นนั่นเอง
 
ฟันซี่ปกติข้างฟันคุดจะถูกเบียดจนเป็นแผล และผุได้
 
ฟันปกติข้างๆ ฟันคุดก็จะผุไปด้วย ถ้าไม่รีบรักษา
 

เราต้องเอาฟันคุดออกเมื่ออายุเท่าไหร่

     ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรเอาฟันเจ้าปัญหาออก ก็คือ อายุระหว่าง 16 - 25 ปี เพราะว่าจะทำให้เกิดผลเสียน้อย เนื่องจากเป็นช่วงที่รากของฟันยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กระดูกขากรรไกรก็ยังไม่หนา การหายของแผลก็เป็นไปได้อย่างง่าย เป็นผลดีมากกว่าเอาออกเมื่อมีอายุมากกว่านี้
 
 
ถ้าเราไม่อยากเอาฟันคุดออก จะมีข้อเสียหรือไม่
ผลเสียของการไม่เอาออก อย่างแรก ก็คือ
 
 1. อาจทำให้กิดเหงือกอักเสบซ้ำได้ และอาจจะอักเสบจนทำให้เราอ้าปากไม่ขึ้นได้ ก็จะเป็นซ้ำๆ ไม่ยอมหาย จะกลับมาเป็นอีกเรื่อยๆ
 
2. อาจทำให้ฟันซี่ติดกันกับฟันคุด ผุได้
 
3.  ตรงบริเวณที่เกิดฟันคุด กระดูกขากรรไกรจะบาน อาจเป็นสาเหตุให้กระดูกขากรรไกรหักได้ง่าย
 

วิธีการผ่าฟันคุดทำได้อย่างไรบ้าง

      วิธีการเอาฟันคุดออก อันดับแรกคุณหมอก็จะใส่ยาชา เมื่อชาเต็มที่แล้วก็จะเปิดเหงือก ตรงส่วนที่คลุมฟันคุดซี่นั้นอยู่ออก แล้วแบ่งฟันออกเป็นส่วนเล็กๆ จากนั้นค่อยๆ เอาฟันออกทีละส่วนเล็กๆ เมื่อเอาออกหมดแล้วก็ล้างด้วยน้ำล้างแผลให้สะอาด แล้วเย็บปิดบาดแผลเท่านั้นเอง ดังนั้น การผ่าฟันคุดก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดกัน
 
ผ่าฟันคุด ไม่กี่วันก็หายเป็นปกติ
 
 เมื่อมีอาการปวดฟันคุดควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อรักษา
ไม่กี่วันก็หายเป็นปกติ
 
อาการหลังผ่าฟันคุด ใช้เวลากี่วันจึงจะหาย
     หลังจากผ่าฟันคุดแล้วก็มีเลือดออกซึมๆ ตรงบาดแผล เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และมีอาการปวด บวม แดงที่แก้ม ใช้เวลาไม่กี่วันก็จะหายเป็นปกติ
 
วิธีการดูแลหลังจากผ่าฟันคุดที่ถูกต้อง

       1. กัดผ้าที่คุณหมอให้ไว้ อย่างน้อย 2  ชั่วโมง ถ้ากัดไปแล้ว 2 ชั่วโมงแต่ยังมีเลือดออกซึมๆ อยู่บ้าง ก็ให้กัดต่อไปจนเลือดจะหยุดไหล

       2. ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งแรง อาจเป็นผ้าขนหนู หรือผ้าบางๆ ประคบนอกปาก จากบริเวณใบหู ถึงใต้คาง ข้างที่ผ่าฟันคุด 1 วัน

       3.  พอหลังจากวันที่ 1 เป็นวันที่ 2 แล้ว ก็เปลี่ยนเป็นประคบน้ำอุ่น ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัดๆ บริเวณเดิม ขณะประคบอาจมีอาการปวด บวมแดงได้เพราะเป้นอาการของผลข้างเคียงจากการผ่าฟันคุด

       4. ต้องรับประทานยาแก้ปวดตามที่คุณหมอให้มา และรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด สามารถแปรงฟันได้ แต่ต้องระวังไม่ให้โดนแผลผ่าฟันคุดเท่านั้นเอง

        5. ไปพบทันตแพทย์ให้ตัดไหม ตามนัด 7 วัน
 
      เราได้รู้จักฟันคุดมากขึ้นแล้วนะคะ หากท่านใดเริ่มสงสัยตัวเองว่าจะมีปัญหาฟันคุด อย่าลืมรีบไปปรึกษาทันตแพทย์
การผ่าฟันคุด มีค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร ราคาแพงหรือไม่
     สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันคุดนั้น ทั่วๆ ไปก็จะมี ราคา 800-3,000 บาท ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลักษณะความผิดปกติของฟันคุด
 
 
ผ่าฟันคุดช่วยให้รูปหน้าที่เรียวขึ้นได้จริงหรือไม่
 
     อาจจะช่วยหรือไม่ช่วยให้ใบหน้าเรียวขึ้นก็ได้ เป็นกรณีๆ ไป แต่ที่แน่นอนที่สุดเมื่อมีการผ่าฟันออกไปก็จะช่วยลดอาการปวด บวม ซึ่งการจะช่วยให้ใบหน้าเรียวได้ด้วยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการตั้งใจจัดฟัน


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนเมื่อผ่าตัดฟันคุด

     ผลแทรกซ้อนของการผ่าตัดฟันคุดที่พบได้ เช่น หลังคายผ้าก๊อซแล้วยังมีเลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากผิดปกติ มีไข้หรือมีการติดเชื้อหลังการผ่าตัด หลังผ่าตัด 2 - 3 วันแล้วยังอาการปวดบวมไม่ยอมทุเลา และกลับมีอาการเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือมีอาการชาของริมฝีปากล่างนานผิดปกติทั้งที่หมดฤทธิ์ชองยาชาแล้ว
 
     ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อหาทางแก้ไข ซึ่งในความเป็นจริงผลแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมาก ไม่ต้องกังวลจนเกินไปจนทำให้ไม่ยอมไปผ่าตัด เพราะจะทำให้มีอันตรายมากยิ่งกว่าเสียอีก เช่น ยิ้มปากเบี้ยว เป็นต้น

     เพียงแค่ท่านไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและเอกซเรย์ฟันก็จะทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่ในตำแหน่งใดบ้าง หลังจากนั้นก็เริ่มทยอยผ่าออกเสียก่อนที่จะมีอาการปวดบวม หรือทำให้ฟันข้างเคียงมีปัญหา การผ่าตัดในช่วงที่อายุยังน้อย (18 - 25 ปี) สามารถทำได้ง่าย แผลหายเร็วและผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดก็ต่ำ เพราะฉะนั้นมีฟันคุดแล้วอย่ารั้งรอ รีบผ่าตัดออกเสียแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่เกิดผลเสียในภายหลัง




 
ขอเชิญรับชมวีดิโอเพื่อสุขภาพ ตอน ฟันคุด
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ


 
แผนผังแสดงกรรมที่ส่งผลให้เป็นโรคฟัน
 
กรรมที่ส่งผลให้เป็นโรคฟัน 
 
วิบาก
รายละเอียด
มีปัญหาเรื่องฟันบ่อยๆ ปวดฟัน  
1.อดีตชาติ เตะเมียล้มจนฟันหัก
2.อดีตชาติ นินทาลับหลัง
3.อดีตชาติ ด่าว่าพ่อแม่
1.อดีตชาติ นินทาคนลับหลัง
ฟันผุรุนแรง/เหงือกบวม
1.อดีตชาติ พูดให้คนเจ็บช้ำน้ำใจเป็นประจำ
1.อดีตชาติ เป็นพ่อสื่อ แม่สื่อ พูดไม่ตรงความจริง
ฟันเขยิน
1. อดีตชาติ ล้อเลียนคนฟันเขยิน
ฟันแตก
1.อดีตชาติ พูดเหน็บถากถางคนอื่น
1.อดีตชาติ พูดขายสินค้าเกินความเป็นจริง
2.อดีตชาติ ชอบสบถ คำหยาบถึงอวัยวะเพศ
3.อดีตชาติ พูดให้คนเจ็บช้ำน้ำใจเป็นประจำ
1.อดีตชาติ พูดไม่ระวังทำให้คนอื่นเดือนร้อน
2.ปัจจุบัน ดูแลรักษาฟันไม่ทั่วถึง
รากฟันอักเสบ
1.อดีตชาติ ปากร้ายด่าว่าคนอื่น
1.อดีตชาติ พูดตัดรอนกำลังใจ
 
 


http://goo.gl/w9PXG


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ฟันน้ำนมสำคัญไฉน ทำไมต้องมีการดูแลฟันน้ำนม
      วิธีรักษาฝ้า และยารักษาฝ้า ตอนที่ 2
      วิธีรักษาฝ้า และยารักษาฝ้า ตอนที่ 1
      การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรค
      การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย
      AHA , BHA คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
      มะเร็ง รู้ทันโรคมะเร็ง
      ปัญหาครอบครัว : เมื่อต้องเลี้ยงลูกคนเดียว
      เด็กพูดจาหยาบคาย สาเหตุและวิธีแก้ไขเด็กพูดคำหยาบคาย
      แผลกดทับ สาเหตุและวิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ
      น้ำมันหอมระเหย
      รากเทียม
      เลือกคู่...ดูอย่างไร




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related