การรักษาศีลได้บุญอย่างไรและถ้าจะรักษาศีลได้ดีต้องฝึกสติอย่างไร

เมื่อใดใจออกจากศูนย์กลางกาย แปลว่าสติหย่อนจะทำให้เผลอไปทำผิดศีลได้ ถ้าเราห้ามใจไม่ให้ทำความชั่ว นอกจากเป็นการรักษาศีลได้แล้ว ยังเป็นการฝึกสติให้อยู่ในตัวควบคู่กันไปอีกด้วย https://dmc.tv/a12070

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 2 ก.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18282 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 

คำถาม: คนที่จะรักษาศีลได้ จะต้องฝึกสติอย่างไรคะ จึงจะไม่เผลอ การรักษาศีลจะได้บุญตรงไหนคะ?

คำตอบ:  สติในความหมายของการปฏิบัติ คือการประคองใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย เป็นเพราะเราสามารถประคองใจไว้ที่ศูนย์กลางกายได้ เราจึงสามารถห้ามใจไม่ให้ไปทำความชั่วต่าง ๆ
 
        ถ้าเวลาใดใจหลุดออกจากศูนย์กลางกาย แสดงว่าสติหย่อนจะทำให้พลั้งเผลอไปทำผิดศีลได้ เพราะฉะนั้นการที่เราห้ามใจไม่ให้ทำความชั่ว นอกจากเป็นการรักษาศีลได้แล้ว ยังเป็นการฝึกสติให้อยู่ในตัวควบคู่กันไปอีกด้วย หมั่นประคองใจไว้ที่ศูนย์กลางกายไปเถอะ แล้ววันหนึ่งเราจะเข้าใจเอง
 
การรักษาศีลควบคู่กับสติ
การรักษาศีลควบคู่กับสติ
 
        การรักษาศีลจะได้บุญตรงที่ว่า ธรรมชาติของใจเมื่อจรดเข้าศูนย์กลางกายได้เมื่อใด ความสว่างก็เกิดขึ้นในใจ อุปมาเหมือนหัวไม้ขีดไฟ ถ้ามาสีเร็วๆ กับข้างกล่องไม้ขีดเมื่อใด เมื่อนั้นไฟจะติดขึ้นมาทันที เช่นเดียวกับใจ เมื่อจรดกับศูนย์กลางกายได้เมื่อใดความสว่างจะเกิดวูบขึ้นมาภายใน ทำให้เราสามารถห้ามตัวเองไม่ให้ทำความชั่วได้
 
        เราจะเรียกว่าความมีสติก็ได้ บุญเกิดขึ้นตรงความสว่างนั่นแหละ และบุญที่เกิดนี้ก็มีฤทธิ์ที่จะฆ่าความชั่วความมืดภายในทั้งหลายได้อีกด้วย
 
คำถาม: ศีล ๑๐ มีอะไรบ้างคะ ดีกว่าศีล ๘ มากหรือเปล่า ?
 
คำตอบ:  ศีล ๑๐ คือศีลของสามเณร มีข้อเพิ่มจากศีล ๘ ของญาติโยมที่ไปถือศีลอุโบสถกันในวันพระอีก ๒ ข้อ คือศีลของสามเณรใช้ศีลข้อ ๖ วิกาลโภชนาฯ เหมือนกัน คือห้ามกินข้าวเย็น แล้วท่านแบ่งศีลข้อที่ ๗ ออกเป็น ๒ ตอน คือ
 
        ตอนที่ ๑ นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนะ แปลว่าห้ามร้องเพลง ฟังเพลง ดูการละเล่นต่าง ๆ อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์คือที่ทำให้อยากมีคู่ครองนั่นแหละ
 
        ตอนที่ ๒ มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ-วิภูสะนัฏฐานา คือแม้แต่ทัดดอกไม้ลูบไล้ของหอม เขียนคิ้วทาปากประดับประดาด้วยเพชรนิลจินดาก็ห้าม
 
        แล้วศีลข้อที่ ๘ คืออุจจาสะยะนา ห้ามไม่ให้นอนบนฟูกหนา ๆ นิ่ม ๆ ก็กลายเป็นข้อที่ ๙ ของสามเณร
 
สามเณรผู้ถือศีล ๑๐ ข้อ
สามเณรผู้ถือศีล ๑๐ ข้อ
 
        แล้วก็เพิ่มศีลข้อที่ ๑๐ มาให้เป็นการเฉพาะของสามเณร คือชาตะรูปะระชะตะ ปะฎิคคะหะณา ไม่ให้จับเงินจับทอง ซึ่งใช้เป็นสื่อในการซื้อขายสินค้ากันตามกฎหมายของสังคมนั้นๆ
 
        ศีลของสามเณรก็มีอยู่ ๑๐ ข้อด้วยกันอย่างนี้ ถามว่าดีกว่าศีล ๘ มากไหม ตอบว่าดีมากแน่นอน เพราะคนที่ออกจากครอบครัวมาบวชเป็นสามเณร เตรียมจะบวชเป็นพระภิกษุ ก็ควรเอาศีลมาเป็นเกราะป้องกันตัวให้ปลอดภัยจากความฝักใฝ่ในการครองเรือน จะได้ออกบวชได้สำเร็จ
 
        ท่านมีศีลมาก ท่านก็ปลอดภัยจากทุกข์ในทางโลกมากกว่าโยมที่เป็นชาวบ้าน ซึ่งถือศีลน้อยข้อกว่าแน่นอน
 

คำถาม: ผู้ที่บอกว่าถือศีล ๘ เป็นประจำแต่ไม่ถือ ๒ ข้อ และเว้นไม่ถือศีลอาทิตย์ละ ๒ วัน อย่างนี้เรียกว่าเขาถือศีล ๖ ได้ไหม และจะมีทางไปนิพพานได้ไหมคะ ?

 
ทางไปนิพพาน
ทางไปนิพพาน
 
คำตอบ:  มันก็แปลกดีนะ บอกว่าถือศีล ๘ เป็นประจำแต่ไม่ถือ ๒ ข้อ มันก็ไม่ใช่ศีล ๘ ละซิ ทางไปนิพพานน่ะมี แต่หนูจะได้ไปนิพพานหรือเปล่าไม่รู้ เพราะหนูถือศีลไว้ ๖ ข้อ แล้ว ๒ ข้อ ที่ขาดไป ก็ไม่ได้บอกว่าข้อไหนบ้าง ถ้าเป็น ๒ ใน ๕ ข้อแรก ถือว่าศีล ๕ ขาด ชาติหน้านอกจากไม่ถึงนิพพานแล้ว ยังตกนรกด้วยนะหนูนะ
 
        คำว่าศีล ๖ ก็ไม่มีในระบบ ถ้าทำศีลข้อ ๖ หรือ ๗ หรือ ๘ ขาดไปเพียงข้อใดข้อหนึ่ง นอกนั้นอยู่ครบก็เรียกว่ารักษาศีล ๕ ได้ แต่ศีล ๘ เป็นศีลพวง ขาดข้อเดียวก็ถือว่าขาดศีล ๘ ทั้งหมดนะหนูนะ
 
คำถาม: สามเณรถือศีล ๑๐ ซึ่งเพิ่มจากศีล ๘ อีก ๒ ข้อ ขอเรียนถามศีลข้อที่ ๙ และ ๑๐ ว่าเป็นอย่างไรครับ?
คำตอบ:  ศีล ๘ เป็นศีลสำหรับอุบาสก อุบาสิกา พอมาเป็นศีล ๑๐ สำหรับสามเณร ท่านแยกศีลข้อที่ ๗ ที่ว่า “ ห้ามไม่ให้เขียนคิ้วทาปาก ห้ามประดับตกแต่งต่างกายด้วยเพชรนิลจินดา และเอาดอกไม้มาแซมผม” ท่านให้แยกเป็น ๒ ตอน คือ
 
        ตอนต้น “ห้ามไม่ให้ร้องรำทำเพลงและดูการละเล่น” เป็นศีลข้อที่ ๗ ของศีล ๑๐ และตอนปลาย “ห้ามไม่ให้เขียนคิ้วทาปากห้ามไม่ให้ประดับตกแต่งร่างกายด้วยเพชรนิลจินดาและเอาดอกไม้มาทัดหู” เป็นศีลข้อที่ ๘ ของศีล ๑๐
 
        ส่วนศีลข้อที่ ๘ ของศีล ๘ ห้ามไม่ให้นอนที่นอนสูงใหญ่ภายมในมีนุ่นและสำลีนิ่ม ๆ ก็กลายเป็นศีลข้อที่ ๙ ของศีล ๑๐
 
ศีลข้อที่ ๑๐ ก็คือห้ามไม่ให้หยิบทอง จับจ่ายซื้อของอย่างชาวบ้าน
ศีลข้อที่ ๑๐ ก็คือห้ามไม่ให้หยิบเงินทอง จับจ่ายซื้อของอย่างชาวบ้าน
 
        ศีลข้อที่ ๑๐ ก็คือห้ามไม่ให้หยิบเงินทอง จับจ่ายซื้อของอย่างชาวบ้าน
 
        สำหรับศีล ๑๐ นั้น เป็นศีลเฉพาะของสามเณร ส่วนศีล ๘ คือศีลของฆราวาสที่ถือปฏิบัติ เพื่อให้ กาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น โดยเน้นการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ข้องเกี่ยวทางเพศกับใคร ผู้ที่สมาทานศีล ๘ หรือบวชเป็นสามเณรสมาทานศีล ๑๐ ก็เพื่อตีกรอบตัวเองให้สามารถประพฤติธรรม เพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่ายขึ้น
 
คำถาม: ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้ว ละล่วงละเมิดศีล ๕ ได้บ้างไหม หรือไม่ได้เลยครับ?
คำตอบ:  จำไว้ก็แล้วกัน ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมกายในตัวได้ อย่างน้อยต้องรักษาศีล ๕ ได้ครบ
 
        คราวนี้พอมีศีล ๕ ครบ และปฏิบัติธรรมจนเห็นธรรมกายในตัวชัดเจนดีแล้ว ถ้าไปทำผิดศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่งเข้า การรู้การเห็นก็เลือนไป ต้องมาเริ่มต้นรักษาศีล นั่งสมาธิกันใหม่อย่างจริงจังคือเริ่มต้นใหม่นั่นเอง
 
ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมกายในตัวได้ อย่างน้อยต้องรักษาศีล ๕ ได้ครบ
ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมกายในตัวได้ อย่างน้อยต้องรักษาศีล ๕ ได้ครบ
 
        เพราะฉะนั้น ใครได้เข้าถึงธรรมกายในตัวแล้ว ควรรักษาให้ดีอุปมาเหมือนปลูกต้นไม้ ถ้าเราปลูกขึ้นมา แล้วปล่อยให้มันเฉากว่าจะรดน้ำพรวนดินให้มันฟื้นขึ้นมาได้นั้นยากกว่าปลูกใหม่
 
        ดังนั้นพวกเราจงตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ เพราะศีล ๕ เป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ และเป็นพื้นฐานของการสร้างความดีทั้งปวง

http://goo.gl/vtO18


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related