การแสดงความเคารพต่อเจ้าที่เจ้าทางนั้นสมควรหรือไม่

พระภูมินั้นเราเคารพก็ดี แต่เราควรเคารพให้ถูกตัวจริง พระภูมิตัวจริงที่เป็นเจ้าของที่ทางนั้นมีชื่ออยู่ในโฉนด อยู่ในทะเบียนบ้าน https://dmc.tv/a13007

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 4 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18258 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 
 

คำถาม: การที่เราไปเคารพเจ้าที่เจ้าทาง เช่น พระภูมิ พระพรหมเป็นการสมควรหรือไม่คะ?

 
คำตอบ: เรื่องเจ้าที่เจ้าทาง เช่น พระภูมิเคยได้พูดกันมามากแล้ว พระภูมินั้นเราเคารพก็ดี แต่เราควรเคารพให้ถูกตัวจริง พระภูมิตัวจริงที่เป็นเจ้าของที่ เจ้าของทางด้วยมีชื่ออยู่ในโฉนด อยู่ในทะเบียนบ้าน
 
เคารพเจ้าที่เจ้าทาง พระภูมิ
เคารพเจ้าที่เจ้าทาง พระภูมิ
 
        อยากรู้ว่าใครเป็นพระภูมิตัวจริงของบ้านให้ไปดูได้ที่ทะเบียนบ้าน ถ้าคุณพ่อของเรามีชื่อเป็นเจ้าบ้านท่านก็คือพระภูมิตัวจริง เคารพท่านเถอะ อย่าไปดื้อกับท่าน เดี๋ยวท่านไล่ออกจากบ้านเอาง่ายๆ พบท่านก็ไหว้ท่านเสียดีๆ แล้วก็ช่วยท่านทำมาหากิน รักษากรรมสิทธิ์ในบ้านเอาไว้ให้ได้ ถ้าท่านเอาที่เองบ้านไปจำนอง ไปเล่นแชร์ละก็ยุ่งตายเลย
 
        ถ้าเปิดโฉนดที่ดินเห็นเป็นชื่อเรา ก็แน่นอนว่าเราคือพระภูมิ มีหน้าที่รักษาแผ่นดินนี้ไว้จะได้มีที่อยู่อาศัย แต่ถ้าเป็นบ้านเช่า พระภูมิคือเจ้าของบ้าน ถึงเวลาก็เอาค่าเช่าไปให้เจ้าของบ้านซะนะ มิฉะนั้น เขาอาจจะไม่ให้เราอยู่ก็ได้
 
        เรื่องไปไหว้พระพรหม จะไปไหว้ที่ไหน หน้าตาพระพรหมเป็นอย่างไรก็ไม่รู้จัก ยิ่งเขาเล่าว่ามี 4 หน้า มีแขนมากยังกับปู ยิ่งคิดไม่ออกเลยว่าจะนอนจะนั่งท่าไหน ทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์มี 20 มือ ยังแพ้พระรามที่มี 2 มือ
 
ไหว้พระพรหม
ไหว้พระพรหม
 
        คิดดูให้ดีๆ ว่าไหว้พวกนี้แล้วได้อะไร ไปไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีกว่า พระองค์มีคำสั่งสอนอันประเสริฐ กราบไหว้แล้วศึกษาคำสั่งสอนดีๆ ของท่าน ซึ่งมีธรรมะถึง 84,000 ข้อให้เราได้ศึกษาได้ปฏิบัติตาม
 
        ชาวพุทธที่แท้จริงจะกราบไหว้บูชาสิ่งใด ก็จะกราบไหว้บูชาด้วยเหตุผล เป็นต้นว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีพระคุณ หรือสิ่งนั้นทำให้ระลึกถึงคุณงามความดี เขากราบไหว้เพื่อเทิดทูนความดีที่มีอยู่จริงๆ ไม่ใช่ไหว้เพราะกลัว เพราะไม่รู้ หรือทำไปตามๆ กันโดยหาเหตุผลไม่ได้ ซึ่งเป็นความงมงาย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล เพราะฉะนั้นชาวพุทธจึงควรเป็นผู้ที่มีทั้งเหตุและผล 
 

คำถาม: เดินผ่านวัดทุกวัน แล้วยกมือไหว้วัด นอกจากไหว้แล้ว ควรกล่าวคำพูดอะไรดีเจ้าคะ? ไหว้ทุกวันแต่ไม่ได้พูด

 
คำตอบ: ที่เราไหว้วัดน่ะ ไหว้อะไร ไหว้วัดหรือไหว้พระ ปู่ย่าตาทวดของเราเวลาท่านเดินผ่านวัดวาอาราม ผ่านโบสถ์ท่าน นึกถึงพระประธานในโบสถ์ นึกไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นึกถึงคำสอนของพระองค์แล้วนึกกราบนึกไหว้ไป นึกถึงพระสงฆ์องคเจ้าที่ประพฤติปฏิบัติดี แล้วก็ไหว้ก็กราบกันไป
 
ไหว้วัดหรือไหว้พระ
ไหว้วัดหรือไหว้พระ
 
        อาคารสถานที่เป็นเพียงวัตถุ ที่เกี่ยวเนื่องถึงสิ่งที่ท่านเคารพบูชา พวกเราจะไหว้วัดตามอย่างท่าน ต้องนึกเหมือนอย่างที่ท่านนึกอย่าไปนึกเพียงว่าช่อฟ้า ใบระกาของโบสถ์หลังนี้สวยงามจริงๆ เลยยกมือไหว้ ไหว้อย่างนี้ไม่ถูกต้องนะ เราเป็นชาวพุทธควรไหว้ให้ถูก นึกให้ถูกตัวจริง แก่นแท้ของสิ่งที่เราให้ความเคารพ ส่วนจะพูดหรือไม่พูดก็ไม่ว่ากัน
 
คำถาม: ได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่คุยกันโดยเอ่ยถึง “โจรเสื่อมยาก” เป็นอย่างไรครับ?
 
คำตอบ: โจรเสื่อมยาก เป็นโจรสมัยโบราณ สมัยนี้คงหาโจรประเภทนี้ยากมาก โจรเสื่อมยากตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่า คือโจรที่มีคุณสมบัติ 8 ประการ ถือเป็นคุณธรรมของโจร คือ
 
โจรเสื่อมยากคือโจรที่มีคุณสมบัติ 8 ประการ
โจรเสื่อมยากคือโจรที่มีคุณสมบัติ 8 ประการ
 
1. ถ้าเจ้าทรัพย์ไม่ต่อสู้ จะไม่ฆ่า
 
2. ปล้นเอาทรัพย์แต่พอสมควร เมื่อได้ทรัพย์มาแล้ว ก็เอามาแบ่งกันเป็น 3 ส่วน คือ
 
    ส่วนที่ 1 กินเลี้ยงกัน
    ส่วนที่ 2 เอาไปตั้งตัว
    ส่วนที่ 3 เอาไปเสียภาษีให้หลวง
 
        นอกจากนี้ยังถือคติว่า ปล้นบ้านไหนถึง 3 ครั้งแล้ว ต้องหยุดไม่ปล้นบ้านนั้นซ้ำอีก ถ้าโจรชุดอื่นมาปล้นบ้านนี้อีกเป็นครั้งที่ 4 ถือว่าฉีกหน้ากัน เสือคู่นี้อยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้เสียแล้ว
 
3. ไม่ลวนลาม ไม่ล่วงเกิดภรรยาของเจ้าทรัพย์
 
4. ไม่ลวนลาม ไม่ล่วงเกิน ลูกสาวเจ้าทรัพย์
 
5. ปล้นได้ทรัพย์แล้วต้องแบ่งส่วนหนึ่งไปทำบุญเสมอ
 
6. ไม่ปล้นบ้านใกล้เรือนเคียง หรือถิ่นของตนเอง
 
7. ไม่ขโมยราชทรัพย์ คือ ถ้าเป็นทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ จะไม่หยิบฉวยไปเด็ดขาด และไม่ต่อสู้กับทหารหลวง
 
8. ไม่ปล้นไม่ทำร้ายนักบวช
 
        ก็ฟังๆ เอาไว้ อย่าไปเอาเป็นอารมณ์ หรืออย่าไปอยากเป็นโจรประเภทนี้เข้า ยังไงๆ เป็นโจร ก็มีแต่นรกเป็นที่ไป หลวงพ่อเคยอ่านพบในพระไตรปิฏกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้
 
        “โจรประกอบด้วยองค์ 8 ย่อมถึงความพินาศโดยพลัน ไม่ตั้งอยู่นาน คือทำร้ายผู้มิได้ทำร้าย 1 ขโมยของไม่ให้มีเหลือ 1 พาสตรีไป 1 ข่มขืนหญิงสาว 1 ปล้นนักบวช 1 ปล้นพระคลังหลวง 1 ทำกรรมในที่ใกล้ เกินไป 1 ไม่ฉลาดในการฝังทรัพย์ 1” สันนิษฐานว่าโจรโบราณรู้ธรรมะเหมือนกัน อุตส่าห์เอาไปถือปฏิบัติ แต่เจ้ากรรมที่ตัดใจไม่ขาด ยังรักษาอาชีพโจรเอาไว้ ฉลาดแบบนี้ไม่พ้นนรกหรอกนะ

http://goo.gl/KnxxN


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related