พระโปฐิลเถระ
การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า การศึกษาคันถธุระ ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในอัตภาพ เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจความเพียรพยายามแล้ว บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ
ธรรมะเพื่อประชาชนพระนันทกเถระ (๒)
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา พระนันทกะเป็นเลิศทางด้านให้โอวาทแก่ภิกษุณีสงฆ์
ธรรมะเพื่อประชาชนพระนันทกเถระ (๑)
ความเคลือบแคลงสงสัยของหมู่ชน ย่อมไม่มีในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ว่าพระจันทร์จะพร่องหรือเต็มก็ตาม แต่พระจันทร์ก็คงเต็มดวง ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้น มีความชื่นชมยินดีต่อการแสดงธรรมของพระนันทกะ และมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ก็ฉันนั้น
ธรรมะเพื่อประชาชนพระปิลินทวัจฉะ (๒)
หมู่สัตว์ที่เกิดมาแล้วจำจะต้องตายในโลกนี้ หากได้ทำกรรมอันใดไว้คือบุญและบาป บุญ และบาปทั้งสองประการนั้นแลเป็นสมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไป อนึ่ง บุญและบาปย่อมเป็นของติดตามเขาไป ประดุจเงาติดตามตนไป เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณกรรมสะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก ด้วยว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก
ธรรมะเพื่อประชาชนพระปิลินทวัจฉะ (๑)
สัตว์ทั้งปวงซึ่งเป็นมิตรและมิใช่มิตร ย่อมไม่เบียดเบียนเรา เราเป็นที่รักของสัตว์ทุกจำพวก นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
ธรรมะเพื่อประชาชนพระโสณโกฬิวิสเถระ
ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์ ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น
ธรรมะเพื่อประชาชนพระพาหิยทารุจิริยเถระ
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละไปตามลำดับ บุคคลเมื่อเห็นมรณภัยแล้ว พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสู่สันติเถิด”
ธรรมะเพื่อประชาชนพระวักกลิเถระ
ชนใดแล มีศรัทธาตั้งมั่น มีฉันทะตั้งมั่นในพระรัตนตรัยโดยส่วนเดียว เลื่อมใสยิ่งแล้ว ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย บรรดาการเห็นทั้งหลาย ที่ชนมีศรัทธาตั้งมั่น เลื่อมใสยิ่งแล้ว ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคตนั่น ชื่อว่าเป็นศรัทธาที่ยอดเยี่ยม ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
ธรรมะเพื่อประชาชนพระมหากัปปินเถระ
บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ
ธรรมะเพื่อประชาชนพระมหากัจจายนเถระ
หากว่าบุรุษพึงทำบุญไซร์ ก็ควรทําบุญนั้นให้บ่อยๆ ควรทําความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญเป็นเหตุนําความสุขมาให้
ธรรมะเพื่อประชาชนพระสุภูติเถระ
ท่านจงเจริญพุทธานุสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ครั้นเจริญพุทธานุสตินี้แล้ว จักยังมนัสให้บริบูรณ์ จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็นจอมแห่งเทวดาเสวยเทวสมบัติถึง ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อยู่ในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการเจริญพุทธานุสติ
ธรรมะเพื่อประชาชนพระภัททิยะเถระ
ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้ ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่อย่างมีความสุข
ธรรมะเพื่อประชาชนพระอานนท์พุทธอนุชา
สหาย เป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อยๆ บุญทั้งหลายที่ตนทำไว้ดีแล้ว จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ
ธรรมะเพื่อประชาชนพระวนวัจฉะผู้อยู่ในป่า
ความเสวยอารมณ์เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เช่นเป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี เมื่อเบื่อหน่ายในความเสวยอารมณ์นั้น ย่อมคลายความกำหนัด เมื่อคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว พระอริยสาวกย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจอื่นที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกต่อไป
ธรรมะเพื่อประชาชนพระมหากัสสปเถระ (๒)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถวายทานอยู่ตลอด ๗ วัน เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมอันใด ด้วยกรรมอันนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น ไม่ได้ปรารถนาสมบัติของท้าวสักกะจอมเทพ มารสมบัติ และพรหมสมบัติ ก็กรรมของข้าพระองค์นี้ จงเป็นไปเพื่อความเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงธุดงค์คุณ ๑๓ ด้วยเถิด
ธรรมะเพื่อประชาชนพระมหากัสสปเถระ (๑)
ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ
ธรรมะเพื่อประชาชนอัครสาวก ซ้าย-ขวา
ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นอารมณ์ ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ ชนเหล่าใด รู้สิ่งที่เป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นอารมณ์ ย่อมประสบแต่สิ่งที่เป็นสาระแก่นสาร
ธรรมะเพื่อประชาชนพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๒)
พระอัญญาโกณฑัญญะเถระนี้ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธองค์ก่อนใคร เป็นผู้มีความเพียรเครื่องก้าวหน้าอย่างแรงกล้า เป็นผู้ได้ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข อันเกิดแต่วิเวกเนืองนิตย์ คุณอันใดที่พระสาวกผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดาพึงบรรลุ คุณอันนั้นทุกอย่าง พระอัญญาโกณฑัญญะเถระผู้ไม่ประมาท ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ เป็นผู้มีอานุภาพมาก เป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ฉลาดในเจโตปริยญาณ เป็นธรรมทายาทของพระพุทธองค์ มีปกติกราบไหว้ซึ่งพระบาททั้งสองของพระศาสดา
ธรรมะเพื่อประชาชนพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๑)
ภิกษุผู้สันโดษ ย่อมเป็นผู้อยู่เป็นสุขในทิศทั้ง ๔ และเป็นผู้ไม่หงุดหงิด สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดเสียว เทียวไปคนเดียวดังนอแรด
ธรรมะเพื่อประชาชนอยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ธรรมะเพื่อประชาชน Share
แชร์ลิงค์หน้านี้