Jump to content


Photo
- - - - -

พุทธวจนในธรรมบท หมวดความโกรธ - ANGER


  • You cannot start a new topic
  • Please log in to reply
3 replies to this topic

#1 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 posts
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

Posted 25 February 2007 - 02:54 AM

๑. โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ
สํโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺฒมานํ
อกิญฺจนธํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา ฯ ๒๒๑ ฯ
ควรละความโกรธ และมานะ
เอาชนะกิเลสเครื่องผูกมัดทุกชนิด
ผู้ที่ไม่ติดอยู่ในรูปนาม หมดกิเลสแล้ว
ย่อมคลาดแคล้วจากความทุกข์


One should give up anger and pride,
One should overcome all fetters.
Ill never befalls him who is passionless,
Who clings not to Name and Form.



๒. โย เว อุปฺปติตํ โกธํ
รถํ ภนฺตํว ธารเย
ตมหํ สารถึ พฺรูมิ
รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโน ฯ ๒๒๒ ฯ


ผู้ใดยับยั้งความโกรธที่เกิดขึ้นได้ทันที
เหมือนสารถีหยุดรถที่กำลังแล่นไว้ได้
ผู้นั้นไซร้เราเรียกว่า "สารถี"
ส่วนคนนอกนี้ได้ชื่อเพียง "ผู้ถือเชือก"


Whoso, as rolling chariot, checks
His anger which has risen up-
Him I call charioteer.
Others merely hold the reins.



๓. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ
อสาธุํ สาธุนา ชิเน
ชิเน กทริยํ ทาเนน
สจฺเจนาลิกวาทินํ ฯ ๒๒๓ ฯ


พึงเอาชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
พึงเอาชนะความร้าย ด้วยความดี
พึงเอาชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
พึงเอาชนะคนพูดพล่อย ด้วยคำสัตย์


Conquer anger by love,
Conquer evil by good,
Conquie the miser by liberality,
Conquer the liar by truth.



๔. สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย
ทชฺชา อปฺปมฺปิ ยาจิโต
เอเตหิ ตีหิ ฐาเนหิ
คจฺเฉ เทวาน สนฺติเก ฯ ๒๒๔ ฯ



ควรพูดคำสัตย์จริง ไม่ควรโกรธ
แม้เขาขอเล็กๆน้อยๆ ก็ควรให้
ด้วยการปฏิบัติทั้งสามนี้
เขาก็อาจไปสวรรค์ได้


One should speak the truth.
One should not give way to anger.
If asked for little one should give.
One may go, by these three means,
To the presence of celestials.



๕. อหึสกา เย มุนโย
นิจฺจํ กาเยน สํวุตา
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ
ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร ฯ ๒๒๕ ฯ



พระมุนี ผู้ไม่เบียดเบียนใคร
ควบคุมกายอยู่เป็นนิจศีล
ย่อมไปยังถิ่นที่นิรันดร
ที่สัญจรไปแล้ว ไม่เศร้าโศก


Those sages who are harmless
And in body ever controlled
Go to the Everlasting State
Where gone they grieve no more.



๖. สทา ชาครมานานํ
อโหรตฺตานุสิกฺขินํ
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ
อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ อาสวา ฯ ๒๒๖ ฯ


สำหรับท่านผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา
สำเหนียกศึกษาทุกทิพาราตรี
มีใจน้อมไปสู่พระนิพพาน
อาสวะย่อมอันตรธานหมดสิ้น


Of those who are wide-awake
And train themeselves by night and day
Upon Nibbana ever intent-
The defilements fade away.



๗. โปราณเมตํ อตุล
เนตํ อชฺชตนามิว
นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ
นินฺทนฺติ พหุภาณินํ
มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต ฯ ๒๒๗ ฯ


อตุลเอย เรื่องอย่างนี้มีมานานแล้ว
มิใช่เพิ่งจะมีในปัจจุบันนี้
อยู่เฉยๆเขาก็นินทา
พูดมาก เขาก็นินทา
พูดน้อย เขาก็นินทา
ไม่มีใครในโลก ที่ไม่ถูกนินทา


Not only today, O Atula,
From days of old has this been so;
Sitting silent-him they blame,
Speaking too much-him they blame,
Talking little-him they blame,
There is no one in the world who is not blamed.




๘. น จาหุ น จ ภวิสฺสติ
น เจตรหิ วิชฺชติ
เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส
เอกนฺตํ วา ปสํสิโต ฯ ๒๒๘ ฯ


ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
คนที่ถูกสรรเสริญ โดยส่วนเดียว
หรือถูกนินทา โดยส่วนเดียว ไม่มี


There never was, and never will be,
Nor is there now to be found
A person who is wholly blamed
Or wholly praised,



๙. ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ
อนุวิจฺจ สุเว สุเว
อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ
ปญฺญาสีลสมาหิตํ ฯ ๒๒๙ ฯ


๑๐. นิกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว
โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ
พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต ฯ ๒๓๐ ฯ


นักปราชญ์พิจารณารอบคอบแล้ว
จึงสรรเสริญผู้ใด ผู้ดำเนินชีวิตหาที่ติมิได้
ฉลาด สมบูรณ์ด้วยปัญญาและศีล
ผู้นั้น เปรียบเสมือนแท่งทองบริสุทธิ์
ใครเล่าจะตำหนิเขาได้ คนเช่นนี้
แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหม ก็สรรเสริญ


He whom the intelligent praise
After careful examination,
He who is of flawless life, wise,
And endowed with knowledge and virtue-
Who would dare to blame him
Who is like refined gold?
Even the gods praise him,
By Brahma too he is admired.



๑๑. กายปฺปโกปํ รกฺเขยฺย
กาเยน สํวุโต สิยา
กายทุจฺจริตํ หิตฺวา
กาเยน สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๑ ฯ


พึงควบคุม ความคะนองทางกาย
พึงสำรวม การกระทำทางกาย
พึงละกายทุจริต
ประพฤติกายสุจริต


One should guard against bodily hastiness,
One should be restrained in body.
Giving up bodily misconduct,
One should be of good bodily conduct.



๑๒. วจีปโกปํ รกฺเขยฺย
วาจาย สํวุโต สิยา
วจีทุจฺจริตํ หิตฺวา
วาจาย สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๒ ฯ


พึงควบคุม ความคนองทางวาจา
พึงสำรวม คำพูด
พึงละวจีทุจริต
ประพฤติวจีสุจริต


One should guard aginst hastiness in words,
One should be restrained in words.
Giving up verbal misconduct,
One should be of good verbal conduct.



๑๓. มโนปโกปํ รกฺเขยฺย
มนสา สํวุโต สิยา
มโนทุจฺจริตํ หิตฺวา
มนสา สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๓ ฯ


พึงควบคุม ความคะนองทางใจ
พึงสำรวม ความคิด
พึงละมโนทุจริต
ประพฤติมโนสุจริต


One should guard against hastiness of mind,
One should be restrained in thought.
Giving up mental misconduct,
One should be of good mental conduct.



๑๔. กาเยน สํวุตา ธีรา
อโถ วาจาย สํวุตา
มนสา สํวุตา ธีรา
เต เว สุปริสํวุตา ฯ ๒๓๔ ฯ


ผู้มีปัญญา ย่อมสำรวมกาย วาจา ใจ
ท่านเหล่านั้น นับว่า ผู้สำรวมดีแท้จริง


The wise are restrained in deed,
In speech too they are restrained,
They are restrained in mind as well-
Verily, they are fully restrained.



โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#2 Peacefulness ™

Peacefulness ™
  • Members
  • 1,145 posts
  • Gender:Male
  • Location:On the planet Earth.
  • Interests:Almost everything that helps me to become better and better; especially, the Grestest Dharma of the Lord Buddha

Posted 01 March 2007 - 03:41 AM

บทความน่าอ่านดีๆ จาก ท่านกัลยาณมิตร ThDk



เยี่ยมยอดไปเลยครับ ท่าน ThDk

ข้าพเจ้าใคร่ขอ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ท่าน ThDk สำหรับ ความเพียรอุสาหะ ความมานะพยายาม และความตั้งใจ ที่ได้ตั้งใจกระทำไว้ดีแล้ว ด้วยนะครับ

สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ



พุทธวจนในธรรมบท หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA
พุทธวจนในธรรมบท หมวดภิกษุ - THE MONK
พุทธวจนในธรรมบท หมวดตัณหา - CRAVING
พุทธวจนในธรรมบท หมวดช้าง - THE ELEPHANT
พุทธวจนในธรรมบท หมวดนรก - HELL
พุทธวจนในธรรมบท หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดทาง - THE PATH
พุทธวจนในธรรมบท หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST
พุทธวจนในธรรมบท หมวดมลทิน - IMPURITY
พุทธวจนในธรรมบท หมวดความโกรธ - ANGER
พุทธวจนในธรรมบท หมวดความรัก - AFFECTIONS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดความสุข - HAPPINESS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE
พุทธวจนในธรรมบท หมวดโลก - THE WORLD
พุทธวจนในธรรมบท หมวดตน - THE SELF
พุทธวจนในธรรมบท หมวดชรา - OLD AGE
พุทธวจนในธรรมบท หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT
พุทธวจนในธรรมบท หมวดบาป - EVIL
พุทธวจนในธรรมบท หมวดพัน - THE THOUSANDS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY
พุทธวจนในธรรมบท หมวดบัณฑิต - THE WISE
พุทธวจนในธรรมบท หมวดคนพาล - THE FOOL
พุทธวจนในธรรมบท หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดจิต - THE MIND
พุทธวจนในธรรมบท หมวดไม่ประมาท - HEEDFULNESS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดคู่ - THE PAIRS


พึงสร้างบารมี และเสพข้อธรรม ณ เว็บบอร์ดแห่งนี้ อย่างผู้มีสติและมีปัญญา
พุทธกิจ ๔๕ พรรษา (สำหรับ อ่าน และ ฟัง)
The basic knowledge of Buddhism to become a better Buddhist Edition 2
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ คลิ๊กที่นี้
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก คลิ๊กที่นี้
.

Who am I?__>>> CLick Here <<< to see my answer Post # 7

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

For any inquiries please

.

รวมภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า:
คลิ๊กที่นี้
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ ได้รับ ภาพทั้งหมดของ คำสอนคุณยาย ฉบับรวมเล่ม และภาพ (ฉบับสมบรูณ์)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 157 files, 557.61 MB, ธรรมมะเทศนา มงคล 38 โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 58 files, 120.99 MB, for easy listening dharmas.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 121 really-good-to-read e-books, 295.67 MB.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Free Download Manager ช่วย Download ไฟล์ใหญ่ๆ ต่างๆ ฟรีครับฟรี
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Acrobat Reader V.5
.
ที่มา: คลิ๊กที่นี้ ปล. สืบเนื้องมาจาก กระทู้นี้ โพสต์โดย ท่าน ฟ้าร้าง
.
เรื่อง การสร้างบารมีของพระโพติสัตว์ เข้าใจได้ไม่ยาก โปรดลอง คลิ๊กที่นี้
.
สนใจอ่าน

The basic knowledge of Buddhism to become a better buddhist Edition 2 คลิ๊กที่นี้

(With some english explanation)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

"Do not confuse having a career with having a life"
-= Hillary Clinton =-.... >>>>>>>
CLicK HeRe <<<<<< To Be wisher, To Be smarter, and To Know Better !!!
Lastest Revised: 16/12/2006 | 08:43 PM

#3 Tung

Tung
  • Admin
  • 195 posts
  • Gender:Male

Posted 08 July 2013 - 05:37 PM

สาธุๆๆๆๆ



#4 เดินตามปณิธาน

เดินตามปณิธาน
  • Admin_Article_VDO
  • 85 posts
  • Gender:Male

Posted 08 July 2013 - 06:26 PM

สาธุค่ะ