ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

อยากรู้ความหมายของคำว่า*รักษาใจ*


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สิงโตเกเร

สิงโตเกเร
  • Members
  • 164 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 June 2007 - 08:24 PM

ผมคิดไปเองว่าเป็นการรักษาใจของตัวเองไม่ให้ใจตก ไปกับการสร้างบารมีซึ่งยาวนานและยากลำบากมาก
หากแต่ว่าในการทำงานต้องมีการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ร่วมงาน ซึ่งในวัดอาจมีพระเป็นหัวหน้างาน การจะไป
โต้เถียงกับพระเป็นการไม่สมควร(จริงๆเถียงกับผู้ร่วมงานก็ไม่สมควรถ้าเป็นแบบที่คุณยายสอนอ่ะนะ) น้องๆอาสาสมัครที่มาช่วยงานพระศาสนา บ้างคนมาแรกๆก็ฮึกเหิมใจสู้เต็มร้อย หากนานวันไปไม่ได้ใจของน้องๆไว้เท่ากับการสร้างบารมีของน้องๆอาสาสมัครถึงจุดสิ้นสุด นอกจากนี้คนรุ่นใหม่ไฟแรงบางคนอาจกลายเป็นใช้กำลังสมองของตัวเองสร้างกรรมให้ตัวเอง โดยการโจมตีวัดซะอีก หากจะบอกว่าคนในวัดบางทีพูดไปเพราะยังไม่หมดกิเลส แต่ก็ต้องนึกถึงใจน้องเค้าด้วยเค้าก็ยังไม่หมดกิเลสเช่นกัน ท้ายนี้ผมอยากให้พวกเราช่วยกันรักษาใจ ของหมู่คณะไว้ให้ไปถึงที่สุดแห่งธรรมตามประสงค์หลวงพ่อ อย่าให้ตกบุญกันนะครับ dont_tell_anyone_smile.gif

#2 องค์พระใสสว่าง มังกร v-act

องค์พระใสสว่าง มังกร v-act
  • Members
  • 355 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests: การปฎิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 05 June 2007 - 09:06 PM

การรักษาใจของเรานั้นต้องค่อยๆประคับประคองไปครับไม่ให้ใจเสีย เสียอะไรเสียได้เสียไป แต่อย่าให้ใจเสีย ค่อยๆทำไปปรับไปทีละนิดให้เป็นอารมครับ เดียวก็ไม่ยาก
ใจหยุดคือ ที่สุดแห่งบุญ


#3 Doramon

Doramon
  • Members
  • 468 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 05 June 2007 - 09:40 PM

ผมพยายามรักษาใจ โดยการนึกและตรึกองค์พระ ดวงแก้ว หรือนึกถึงบุญเอาไว้บ่อยๆ นึกแล้วสบายใจ อีกอย่างกำลังอยู่ที่เราต้องสร้างขึ้นมาเอง หลวงพ่อบอกว่านั่งสมาธิบ่อยๆ ใจจะมีพลังมีกำลังมาก กำลังใจก็จะเข้มแข็งขึ่นมาเองครับ

#4 พักผ่อน

พักผ่อน
  • Members
  • 422 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 05 June 2007 - 10:36 PM

ในมุมหนึ่ง คล้าย ๆ กับการประคองตนอยู่บนลำไม้ไผ่ครับ หล่นไปด้านซ้ายก็เป็นโลภะ หล่นไปด้านขวาก็เป็นโทสะ ถอยกลับก็เป็นโมหะ

#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 06 June 2007 - 11:06 AM

จริงดั่งที่เจ้าของกระทู้ และทุกท่านว่ามาครับ พอบางทีรับงานใหญ่ ต่างคนต่างแนวคิดต่างประสบการณ์ ความขัดแย้งก็เกิดขึ้น ซึ่งก็ค่อนข้างยากที่เราจะควบคุมใจเราไม่ให้มีโทสะเลย ดังนั้น วิธีการที่ครูบาอารย์ท่านสอนไว้ ผมว่า น่าจะเป็นประโยชน์ครับ คือ โกรธได้ แต่อย่าผูกโกรธ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#6 khunnhoobus

khunnhoobus
  • Members
  • 49 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 June 2007 - 03:17 PM

จริงครับ ผมก็เจอเวลาผู้ประสานงาน หรือว่า ผู้นำบุญ หน้าตาบึ้งตึงพูดจาไม่ดีกับสาธุชน มันกลับกลายจะเป็น
ผลตอบรับที่ได้กลับมาในทางลบ เพราะทางท่านพึ่งมาวัดครั้งแรก มาเจอผู้นำบุญเรียกเก็บเงินค่ารถ
บางคนก็สอบถามแล้วเจอ ผู้ประสานงาน หรือคนในองค์กรเอง ตอบกลับไปแบบไม่เหลือเยื่อใยเลย
แทนที่เราจะได้คนเพิ่ม เรากลับไม่ได้ คนเพิ่มแล้วยังเป็นผลลบกลับมาอีก
คงจะต้องทบทวนคำสอนของคุณยายเกี่ยวกับ การที่น้องๆอาสาสมัครมาช่วยงานให้พูดดี กับเขาอย่าไปว่าเขา
เขาก็ได้บุญงานเราก็สำเร็จ ขอฝากไว้นะครับ หากท่านใดมีหน้าที่ในการดูแล เราต้องช่วยกันครับ ทำให้ได้เหมือนกับ
ที่เราพูดว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกัน ...สาธุครับ

#7 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 06 June 2007 - 06:35 PM

มงคลข้อที่ ๓๖ ครับ
จิตไม่โศก
ทำได้เมื่อไหร่ ก็เข้าใกล้พระธรรมกายแล้วครับ
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก

#8 สิงโตเกเร

สิงโตเกเร
  • Members
  • 164 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 June 2007 - 11:43 PM

คนเข้ามาเจอแบบนี้ผมว่า เขาก็ถอยดีกว่า ไม่มาอีกดีกว่า ผมว่าเขาไม่สนใจหรอกครับหลักวิชา(ไม่ใช่ผมนะ)


#9 light mint

light mint

    ขออนุโมทนาบุญค่ะ

  • Members
  • 1423 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:THAILAND
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 07 June 2007 - 12:11 PM

สร้างบารมี ก็ย่อมมีอุปสรรค เหมือนสภาพอากาศก็มีฝนตกได้ พายุบ้าง

รักษาใจได้ดี ก็จะได้บุญเต็มๆ
หากใจเสีย เศร้าหมอง โกรธ ขุ่นมัว บุญก็หก ตกหล่น อย่างน่าเสียดาย เสียเวลา และอาจทำให้ผู้อื่นใจหมองไปด้วย
หากใจใส ไม่เศร้าหมอง ระลึกถึงบุญ และเบิกบานในบุญอยู่บ่อยๆ บุญก็จะบังเกิดทับทวียิ่งๆขึ้นไป หน้าก็จะยิ้มไปเอง ใครเห็นก็พลอยใสไปกับเราด้วย พลอยมีกำลังใจตามไปด้วย
ขออนุโมทนาบุญนะคะ สาธุ


#10 panu

panu
  • Members
  • 530 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 June 2007 - 04:22 PM

ตามกระทู้นี้คือเรื่องจริง คือการเข้ามาแล้วออกไปของหมู่คณะที่เกิดกับทุกระดับตั้งแต่บุคคลากรสำคัญ ,เจ้าหน้าที่ภายในวัด อาสาสมัครทุกระดับ ผู้นำบุญ และสาธุชน
สาเหตุหลักน่าจะมาจากคำพูด ที่กระทบกัน ผมว่าช่วยๆกันประคับประคอง และมุ่งไปที่เป้าหมายปลายทาง (แทนที่จะคิดเล็กคิดน้อย) นะครับ