ผู้ฝึกปฏิบัติธรรมการนั่งสมาธิ ผู้นี้ กำลังอยู่ในช่วงวันสุดท้าย ของการอบรมปฏิบัติธรรมกับทางวัดธรรมกาย ที่พนาวัฒน์ จ.เชียงใหม่ ในวันนี้ เนื่องจากไม่มีโอกาสได้ไต่ถามพระพี่เลี้ยง และพระอาจารย์ แล้ว จึงฝากให้ดิฉันนำมาสอบถามท่านผู้รู้ในเวปบอร์ดนี้แทนค่ะ
ผู้ฝึกสมาธิเล่าว่า ขณะที่อยู่ในระหว่างการฝึกสมาธิช่วงวันที่ 4 ของการฝึกเมื่อวานนั้น รู้สึกได้ว่าร่างกายภายใน เห็นแสงสว่าง นำมาซึ่งความปิติ จนน้ำตาไหล พร้อมกับขนลุกซูทั่วทั้งร่าง ร่างจะสั่น และมีความรู้สึกว่าถูกดูด ตัวเล็ก ลงไปที่กลางกาย เรื่อยๆ แรกๆ เห็นเป็นเหมือนอุโมงค์สีดำ และท้ายที่สุดก็มีดวงสีขาวเล็กๆ คล้ายฟองน้ำค่อยๆ ผุดขึ้นด้วย หลายฟองค่ะ
จากนั้นวันต่อมา คือวันนี้ เขาก็พยายามนั่งอีก ในช่วงการฝึกอบรมวันสุดท้าย เขารู้สึกได้ถึงแสงสว่างเจิดจ้าภายใน และตาก็กระพริบถี่มาก ซึ่งเหมือนเป็นสัญญาณทำให้เขาีรู้สึกตัวว่ากำลังจะเข้าสู่ ภาวะจิตตกศูนย์กลางกายอีกครั้งแล้ว..ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่แล้ว ความรู้สึกนั้นก็เหมือนติดๆ ดับๆ (ดูดบ้าง ไม่ดูดบ้าง) แถมเกิดอาการเกร็งตามตัว จนเหนื่อยและล้าไปหมด..
ผู้ฝึก เลยไม่แน่ใจว่า เหตุใดจึงเกิดความรู้สึกเช่นนั้น การเกร็งเป็นผลร้ายอะไรหรือไม่ จะแก้ไขได้อย่างไรค่ะ
รบกวนทุกท่านผู้รู้ กรุณาตอบด้วย จะเป็นพระคุณมาก และขออนุโมธนาบุญด้วยนะคะ

นั่งสมาธิ วันแรกจิตตก แล้วทำไมวันที่สองเกิดเกร็ง
เริ่มโดย usr18169, Jul 27 2007 07:14 PM
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 27 July 2007 - 07:14 PM
#2
โพสต์เมื่อ 27 July 2007 - 08:27 PM
ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนนะครับว่า
ผม ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์จากการนั่งสมาธิที่เลอเลิศอันใดนะครับ
เพียงแต่มีประสบการณ์จากการนั่งสมาธิ บ้าง
และเคยฟังคำถามและคำตอบ เกี่ยวกับประสบการณ์จากการนั่งสมาธิ มาบ้างครับ
ขอนำความรู้จำ จากการฟังมาแบ่งปันนะครับ เผื่อเป็นประโยชน์บ้าง
จากข้อมูลที่กล่าวมานั้น เป็นอาการของใจที่สงบ ใจนิ่ง ใจหยุดถูกส่วน ในระดับหนึ่งครับ
เป็นการเริ่มต้นพบประสบการณ์ ใจหยุดแบบหนึ่ง
ในหลากหลายแบบที่แต่ละท่าน เจอเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างครับ
จัดว่าเป็นเรื่องดี ไม่ใช่เรื่องร้ายหรอกครับ
เพียงแต่ผู้ฝึก ใจยังไม่นิ่ง ไม่แน่นเป็นหนึ่งอย่างสมบูรณ์
หรือ ใจหยุดยังถูกศูนย์กลางกายไม่สมบูรณ์
ใจจึงยังไม่เข้าสู่ภายใน ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นทางสายกลางภายใน เท่านั้นครับ
แต่ก็เรียกได้ว่า ผู้ฝึกเริ่มวางใจเป็น ใจจึงเริ่มหยุด ใจกำลังรวมเป็นหนึ่ง
และเข้าใกล้ศูนย์กลางกาย แล้วนะครับ
อาการเกร็ง บ่งชี้ว่า ผู้ฝึก วางใจไม่นุ่ม ไม่เบา ไม่สบาย ไม่ตรงศูนย์ฯ และไม่พอดี
อาจเรียกกันอีกอย่างว่า ผู้ฝึกกำลัง ลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง
คือ
ลุ้นให้ใจ หยุด ถูกส่วน
เร่ง ประสบการณ์ภายใน
เพ่ง นิมิต หรือ เพ่งใจ ให้หยุด นิ่ง
จ้อง นิมิต หรือ จ้องดูใจ ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
สรุปคือ ผู้ฝึก กำลังบังคับใจ จึงเกิดอาการเกร็ง แบบนั้น ครับ
ถามว่าอาการเกร็ง เป็นผลร้ายไหม
ขอตอบว่า ร้ายมากกว่าดี ครับ
เพราะหากยังมีอาการเกร็ง
แสดงว่าผู้ฝึก ทำยังไม่ถูกวิธี หรือ ถูกวิธีแต่ยังถูกไม่สมบูรณ์
ก็ต้องสังเกตแล้วค่อยปรับการวางใจกันไปครับ
แนวทางแก้ไข ที่พอแนะได้ คือ
1 ) อย่ามีความอยากนำหน้า เช่น อยากมีประสบการณ์แบบเดิมที่เคยทำได้
หรือ อยากมีประสบการณ์ภายในแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น
หรืออยากเข้าศูนย์กลางกายได้
หรืออยากเห็นดวงธรรมภายใน กายในกายภายในขึ้น
ถ้าอยาก ( ใจ ) หยุด ต้อง หยุด ( ความ ) อยาก ( ให้ใจหยุด ) ให้ได้ก่อน นะครับ
2 ) คำแนะนำอื่นๆ ก็เชิญแวะไปที่กระทู้ที่คุณ สิริปโภ ได้นำเกร็ดความรู้ การปฏิบัติธรรม มาแบ่งปันไว้ น่ะครับ
เทคนิคง่ายๆ ในการเข้าถึงดวงปฐมมรรค, เรื่องน่ารู้เบื้องต้นในการปฏิบัติธรรม (ฉบับปรับปรุง)
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=1554
ป.ล. แค่ความคิดเห็นส่วนตัวของผม เท่านั้น ก็ ฟังหู ไว้หู พอเป็นแนวทางบ้าง
แล้วอย่าลืมถามพระพี่เลี้ยง และพระอาจารย์ ที่นำปฏิบัติธรรม ด้วยนะครับ
ผม ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์จากการนั่งสมาธิที่เลอเลิศอันใดนะครับ
เพียงแต่มีประสบการณ์จากการนั่งสมาธิ บ้าง
และเคยฟังคำถามและคำตอบ เกี่ยวกับประสบการณ์จากการนั่งสมาธิ มาบ้างครับ
ขอนำความรู้จำ จากการฟังมาแบ่งปันนะครับ เผื่อเป็นประโยชน์บ้าง
QUOTE
ผู้ฝึก เลยไม่แน่ใจว่า เหตุใดจึงเกิดความรู้สึกเช่นนั้น
จากข้อมูลที่กล่าวมานั้น เป็นอาการของใจที่สงบ ใจนิ่ง ใจหยุดถูกส่วน ในระดับหนึ่งครับ
เป็นการเริ่มต้นพบประสบการณ์ ใจหยุดแบบหนึ่ง
ในหลากหลายแบบที่แต่ละท่าน เจอเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างครับ
จัดว่าเป็นเรื่องดี ไม่ใช่เรื่องร้ายหรอกครับ
เพียงแต่ผู้ฝึก ใจยังไม่นิ่ง ไม่แน่นเป็นหนึ่งอย่างสมบูรณ์
หรือ ใจหยุดยังถูกศูนย์กลางกายไม่สมบูรณ์
ใจจึงยังไม่เข้าสู่ภายใน ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นทางสายกลางภายใน เท่านั้นครับ
แต่ก็เรียกได้ว่า ผู้ฝึกเริ่มวางใจเป็น ใจจึงเริ่มหยุด ใจกำลังรวมเป็นหนึ่ง
และเข้าใกล้ศูนย์กลางกาย แล้วนะครับ
QUOTE
การเกร็งเป็นผลร้ายอะไรหรือไม่ จะแก้ไขได้อย่างไรค่ะ
อาการเกร็ง บ่งชี้ว่า ผู้ฝึก วางใจไม่นุ่ม ไม่เบา ไม่สบาย ไม่ตรงศูนย์ฯ และไม่พอดี
อาจเรียกกันอีกอย่างว่า ผู้ฝึกกำลัง ลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง
คือ
ลุ้นให้ใจ หยุด ถูกส่วน
เร่ง ประสบการณ์ภายใน
เพ่ง นิมิต หรือ เพ่งใจ ให้หยุด นิ่ง
จ้อง นิมิต หรือ จ้องดูใจ ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
สรุปคือ ผู้ฝึก กำลังบังคับใจ จึงเกิดอาการเกร็ง แบบนั้น ครับ
ถามว่าอาการเกร็ง เป็นผลร้ายไหม
ขอตอบว่า ร้ายมากกว่าดี ครับ
เพราะหากยังมีอาการเกร็ง
แสดงว่าผู้ฝึก ทำยังไม่ถูกวิธี หรือ ถูกวิธีแต่ยังถูกไม่สมบูรณ์
ก็ต้องสังเกตแล้วค่อยปรับการวางใจกันไปครับ
แนวทางแก้ไข ที่พอแนะได้ คือ
1 ) อย่ามีความอยากนำหน้า เช่น อยากมีประสบการณ์แบบเดิมที่เคยทำได้
หรือ อยากมีประสบการณ์ภายในแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น
หรืออยากเข้าศูนย์กลางกายได้
หรืออยากเห็นดวงธรรมภายใน กายในกายภายในขึ้น
ถ้าอยาก ( ใจ ) หยุด ต้อง หยุด ( ความ ) อยาก ( ให้ใจหยุด ) ให้ได้ก่อน นะครับ
2 ) คำแนะนำอื่นๆ ก็เชิญแวะไปที่กระทู้ที่คุณ สิริปโภ ได้นำเกร็ดความรู้ การปฏิบัติธรรม มาแบ่งปันไว้ น่ะครับ
เทคนิคง่ายๆ ในการเข้าถึงดวงปฐมมรรค, เรื่องน่ารู้เบื้องต้นในการปฏิบัติธรรม (ฉบับปรับปรุง)
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=1554
ป.ล. แค่ความคิดเห็นส่วนตัวของผม เท่านั้น ก็ ฟังหู ไว้หู พอเป็นแนวทางบ้าง
แล้วอย่าลืมถามพระพี่เลี้ยง และพระอาจารย์ ที่นำปฏิบัติธรรม ด้วยนะครับ
ไฟล์แนบ
#3
โพสต์เมื่อ 27 July 2007 - 09:59 PM
คห.ข้างบนตอบไว้ได้อย่างครบถ้วนดีเลยล่ะครับ ขออนุโมทนาด้วย
ถ้าเป็นผมตอบ ผมจะตอบว่าา
สิ่งที่เจอเป็นอาการที่ใจกำลังจะหยุดถูกส่วน ใจก็จะค่อยๆเลื่อนเข้าไปสู่ภายใน แต่พอจิตกระดิกที่เกิดจากการ ลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง จิตก็จะถอนจากสภาวะธรรมที่ละเอียดดังกล่าว
แสดงว่าลุ้นและคาดหวังเยอะไปสักนิด เลยมีอาการเกร็งมาที่กายหยาบด้วย ข้อแนะนำคือให้ทำเหมือนเดิมครับ คือหยุด เฉยๆ อย่างที่เคยทำ ทำใจกลางๆ เดี๋ยวก็ดีเหมือนเดิมครับ
อย่างที่พ่อสอนไว้ ไม่ต้องทำอะไร ทำหยุดนิ่งเฉย อย่างเดียว มีอะไรให้ดูก็ดูไป เป็นผู้ดูที่ดี ครับ
ถ้าเป็นผมตอบ ผมจะตอบว่าา
สิ่งที่เจอเป็นอาการที่ใจกำลังจะหยุดถูกส่วน ใจก็จะค่อยๆเลื่อนเข้าไปสู่ภายใน แต่พอจิตกระดิกที่เกิดจากการ ลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง จิตก็จะถอนจากสภาวะธรรมที่ละเอียดดังกล่าว
แสดงว่าลุ้นและคาดหวังเยอะไปสักนิด เลยมีอาการเกร็งมาที่กายหยาบด้วย ข้อแนะนำคือให้ทำเหมือนเดิมครับ คือหยุด เฉยๆ อย่างที่เคยทำ ทำใจกลางๆ เดี๋ยวก็ดีเหมือนเดิมครับ
อย่างที่พ่อสอนไว้ ไม่ต้องทำอะไร ทำหยุดนิ่งเฉย อย่างเดียว มีอะไรให้ดูก็ดูไป เป็นผู้ดูที่ดี ครับ
#4
โพสต์เมื่อ 27 July 2007 - 10:05 PM
น่าจะเป็นเพราะลุ้นนะครับ อย่างที่สองท่านข้างต้นแนะนำไว้
เนื่องเพราะเคยได้ เคยถึง เลยจำได้ว่าจะเห็นอย่างไร จะรู้สึกอย่างไร ทำให้ลุ้นรีบที่จะไปให้ถึงจุดนั้น ก็เลยหยาบไปนิด
เอาเป็นว่าไม่ทำอะไรเลย หยุดนิ่งเฉยๆเป็นดีที่สุด ให้จำวิธีครับว่าตอนนั้นทำอย่างไร วางใจแบบไหน ทำเรื่อยๆ บ่อยๆ สาธุครับ
เนื่องเพราะเคยได้ เคยถึง เลยจำได้ว่าจะเห็นอย่างไร จะรู้สึกอย่างไร ทำให้ลุ้นรีบที่จะไปให้ถึงจุดนั้น ก็เลยหยาบไปนิด
เอาเป็นว่าไม่ทำอะไรเลย หยุดนิ่งเฉยๆเป็นดีที่สุด ให้จำวิธีครับว่าตอนนั้นทำอย่างไร วางใจแบบไหน ทำเรื่อยๆ บ่อยๆ สาธุครับ
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ = กายเป็นที่พึ่งแห่งกาย
#5
โพสต์เมื่อ 27 July 2007 - 11:16 PM
อนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะครับ สาธุๆๆ
#6
โพสต์เมื่อ 28 July 2007 - 10:08 AM
คห.กล่าวไว้ละเอียดดีแล้วครับ และขออนุโมทนากับทุกๆความเห็นด้วย นิสัยของคนเราจะเป็นอย่างนี้แหล่ะครับ พอได้เห็นก็เริ่มมีความอยาก อยากที่จะเจอประสบการณ์แบบนั้นอีก จึงทำให้ลุ้นเร่งเพ่งจ้องมากเกินไป จนเกิดความเครียดแทนที่จะสบาย การที่ตากระพริบนั้นเป็นหลักฐานได้ดีว่าเพ่งจนเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก จึงส่งผลให้เกิดการตอบสนองที่เปลือกตาน่ะครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#7
โพสต์เมื่อ 28 July 2007 - 11:52 AM
อนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะครับ... สาธุ
#8
โพสต์เมื่อ 28 July 2007 - 07:52 PM

#9
โพสต์เมื่อ 31 July 2007 - 11:37 AM
อนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านด้วยนะคะ...สาธุ
นั่งสบายๆ ไปเรื่อยๆ ดีแล้วค่ะ เมื่อไหร่เราอยากให้มีประสบการณ์ดีๆ อย่างเดิม เราก็จะลุ้น พอลุ้นก็เมื่อยเกร็ง ไม่ดีต่อสุขภาพแน่ๆ ค่ะ นั่งสบาย ๆ ทุกๆ ครั้ง ทุกๆ รอบ หยุด นิ่ง ไปเรื่อย ๆ ใช้ได้แล้วค่ะ
มีผู้ฝึกสมาธิหลายท่าน ที่นั่งมานานแล้ว มักจะบ่นว่า ยังไม่เห็นเลย ก็ไม่อยากให้กังวลเรื่องเห็นหรือไม่เห็น
นั่งสบายๆ ไม่คิดอะไรทั้งสิ้น ทุกๆ ครั้ง ทุกๆ รอบ ใช้ได้แล้วจริงๆ นะคะ ใจเราก็จะพัฒนาขึ้นในทุกๆ ด้าน ลองสังเกตุ
อารมณ์เราดูนะคะ ความคิด สติปัญญา ก็จะพัฒนาขึ้น รวมไปถึงรูปร่าง หน้าตา ก็จะพัฒนาขึ้นสวยงามขึ้น
แล้วเราก็อฐิษฐานจิตหลังนั่งสมาธิทุกๆครั้ง ให้สิ่งที่เราตั้งใจสำเร็จ นี่ก็เป็นผลจากการนั่งสมาธิอีกประการค่ะ
นั่งสบายๆ ไปเรื่อยๆ ดีแล้วค่ะ เมื่อไหร่เราอยากให้มีประสบการณ์ดีๆ อย่างเดิม เราก็จะลุ้น พอลุ้นก็เมื่อยเกร็ง ไม่ดีต่อสุขภาพแน่ๆ ค่ะ นั่งสบาย ๆ ทุกๆ ครั้ง ทุกๆ รอบ หยุด นิ่ง ไปเรื่อย ๆ ใช้ได้แล้วค่ะ
มีผู้ฝึกสมาธิหลายท่าน ที่นั่งมานานแล้ว มักจะบ่นว่า ยังไม่เห็นเลย ก็ไม่อยากให้กังวลเรื่องเห็นหรือไม่เห็น
นั่งสบายๆ ไม่คิดอะไรทั้งสิ้น ทุกๆ ครั้ง ทุกๆ รอบ ใช้ได้แล้วจริงๆ นะคะ ใจเราก็จะพัฒนาขึ้นในทุกๆ ด้าน ลองสังเกตุ
อารมณ์เราดูนะคะ ความคิด สติปัญญา ก็จะพัฒนาขึ้น รวมไปถึงรูปร่าง หน้าตา ก็จะพัฒนาขึ้นสวยงามขึ้น
แล้วเราก็อฐิษฐานจิตหลังนั่งสมาธิทุกๆครั้ง ให้สิ่งที่เราตั้งใจสำเร็จ นี่ก็เป็นผลจากการนั่งสมาธิอีกประการค่ะ
#10
โพสต์เมื่อ 31 July 2007 - 09:11 PM
นั่งไปเรื่อยๆ นุ่มๆๆ นิ่งๆๆเบาๆๆๆสบายๆๆ ไม่ต้องคิดอะไร อย่างที่หลวงพ่อสอน..