ปฐมมรรค กับ ปฐมฌาน
#1
โพสต์เมื่อ 14 August 2007 - 12:10 AM
ก็เลยสงสัยว่าต่างกันยังไง
#2
โพสต์เมื่อ 14 August 2007 - 09:18 AM
ส่วนปฐมฌาน ก็คืออารมสมาธิระกับหนึ่ง มีวิตกวิจารปิติสุขเอกคัตตา ซึ่งถ้าทำใจเป็นสมาธิในระดับนี้แล้วแต่ไปหยุดที่อื่นๆก็จะไม่พบดวงปฐมมรรคครับ
เพราะฉนั้น ที่เจ้าชายสิทธัตทะได้ดวงปฐมมรรค ก็เป็นสิ่งที่แสดงว่าท่านวางใจไว้ถูกที่ถูกทางตั้งแต่ตอนนั้นแล้วครับ
#3
โพสต์เมื่อ 14 August 2007 - 11:33 AM
..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
จะสามารถเข้าถึงดวงปฐมมรรคได้ง่าย ซึ่งก่อนจะได้ดวงปฐมมรรคนี้ต้องผ่านดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุต วิมุติญานทัษนะก่อนจึงจะถึงดวงปฐมมรรค
ส่วนปฐมฌานนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเราเข้าถึงกายละเอียดครับ ทุติยฌานก็คือกายทิพย์ ตติยะฌานก็คือกายพรหม ฌานที่4คืออรูปพรหม และก็จะถึงธรรมกาย จากนั้นย้อนกลับไปทบทวนอริยสัตย์4ที่กายละเอียดอีกครั้งจะได้ธรรมกายพระโสดาทบทวนเรื่อยมาจนถึงอรูปพรหม เสร็จกิจ16ไม่ตกกันดารเรียดว่านิพพานก็ได้นั่นก็คือธรรมกายอรหันต์ครับ
หลายท่านอาจเห็นว่าแค่ปฐมฌานก็ยุ่งยากขนาดนี้เลยหรือ ขอบอกว่าอย่าพึ่งวิตกครับ เพราะขึ้นอยู่กับใจ หากเป็นผู้ที่ฝึกตนอยู่ในศีลสมาธิและมีมรรค8อยู่ในใจอยู่แล้ว สามารถที่จะเข้าถึงปฐมฌานได้ง่าย โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่กล่าวมาก็ได้ครับ และหากใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนจริงๆบางคนอาจเข้าถึงธรรมกายได้เลยก็มีครับ อยู่ที่ว่าใจเราจะมั่นขนาดไหนน่ะครับ
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#4
โพสต์เมื่อ 14 August 2007 - 01:28 PM


ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#5
โพสต์เมื่อ 14 August 2007 - 02:00 PM
#6
โพสต์เมื่อ 14 August 2007 - 02:32 PM

ปฐมมรรค มีการเรียกต่างกันถึง 5 ชื่อ 1. ปฐมมรรค 2. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ 3. ปฐมฌาน
4. เอกายนมรรค 5. ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ท่านแสดงธรรม เพื่อไขข้อข้องใจ ที่มีผู้พูดว่า ธรรมกายติดนิมิต คือดวงแก้วหรือองค์พระ ท่านบอกว่าเมื่อผ่าน
วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ แล้วดวงธรรมหรือองค์พระที่เราตรึกเป็นนิมิตจะหายไป แล้วเกิดดวงใหม่ขึ้นมา
ดวงนี้แหละ ที่เรียกว่า ดวงปฐมมรรค คือโดยทั่วไปตกศูนย์ก่อน ดวงนี้ไม่ใช่นิมิต แต่เป็นดวงธรรม
ที่ฟังมาเป็นอย่างนี้ครับ ผิดถูกอย่างไรเสนอแนะมาได้นะครับ กำลังจะทำให้ได้เหมือนกัน
#7
โพสต์เมื่อ 14 August 2007 - 07:10 PM
ปฐมมรรค นั้น ไม่ใช่อริยมรรคมีองค์ ๘ ครับ
ปฐม แปลว่า เบื้องต้น
มรรค แปลว่า ช่องทาง
ดังนั้น ปฐมมรรค แปลว่า ช่องทางเบื้องต้น
เป็นช่องทางเบื้องต้นของอะไร
เป็นช่องทางเบื้องต้น ของมรรคผลนิพพานครับ
ปฐมมรรคจะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก หลังจากที่ใจหยุดถูกส่วน
จะเห็นเป็นดวงสว่าง ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ขนาดเล็ก เท่ากับ ดวงดาวในอากาศ
ขนาดกลาง เท่ากับ พระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ
ขนาดใหญ่ เท่ากับ พระอาทิตย์ตอนเที่ยงวันหรือยิ่งกว่านั้น
ส่วนรายละเอียดก็เป็นดังที่คุณ sompoti กล่าวมาครับ
Someday I'm gonna be free.
#8
โพสต์เมื่อ 14 August 2007 - 08:52 PM
เป็นไปได้ไหมคะที่จะมีหนังสือที่อธิบายไว้บ้าง
ช่วยแนะนำด้วยนะคะ
แต่อย่างไรก็ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยคะ
#9
โพสต์เมื่อ 14 August 2007 - 11:25 PM


#10
โพสต์เมื่อ 15 August 2007 - 04:03 AM
พระธรรมเทศนาของพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่( สด จนฺทสโร )
เรียบเรียงโดย น.ส.ฉลวย สมบัติสุข
เข้าไป Downloads ไปอ่านกันได้ครับ และเล่มอื่นๆอีกมากครับ
http://www.kalyanami...k.asp?bookid=50
มีหลักเกณฑ์ไว้เพื่อรู้
เมื่อลงมือทำให้วางลง อยุ่กับหยุด จึงจะใช่
รวมเห็น จำ คิด รู้ เป็นจุดเดียว ( หยุดใจ) จึงจะเห็น
อย่าไปกังวล เมื่อถูกส่วน เห็นแน่นอน
#11
โพสต์เมื่อ 15 August 2007 - 09:53 AM
หน้าที่20ย่อหน้าที่2 จนถึงหน้าที่22 บอกถึงกายแต่ละกายในช่วงปฐมฌานถึงฌานที่4หรือจตุตฌาน
และจากหน้าที่23 เป็นลำดับของดวงธรรมภายในครับ
ที่นำมาเสนอนี่ไม่ใช่ว่าผมจะยืนยันว่าถูกต้องนะครับ เพราะผมเองก็ยอมรับว่ามีผิดเช่นกัน ยอมรับว่าข้อมูลของผมเป็นข้อมูลที่เก่ามากแล้ว จำมาจากเทปนำนั่งสมาธิของคุณครูไม่ใหญ่สมัยแรกๆ ตั้งแต่สภาธรรมกายยังเป็นหลังคาจากอยู่เลยน่ะครับ ในสมัยนั้นคุณครูไม่ใหญ่ท่านจะนำนั่งสมาธิโดย2ตั้งแต่พื้นฐานอย่างละเอียด คุณครูไม่ใหญ่ท่านจะไล่ตั้งแต่ฐานที่1-ฐานที่7 จนถึงดวงธรรม และกายธรรมต่างๆตามลำดับ ไม่เหมือนอย่างในปัจจุบัน ซึ่งตัวผมเองขอยอมรับครับว่าอาจมีผิดพลาดสับสนไปบ้าง ต้องกราบขออภัยทุกท่านด้วยนะครับ
ขอขอบคุณพี่อ่อนหัดด้วยนะครับที่ช่วยแก้ไขให้ถูกต้อง
สำหรับคุณไชยา ผมไม่ขอบอกครับว่าถูกหรือไม่ถูก อยากรู้ลองฝึกดูเอาเองครับ หุหุ แต่จะบอกแค่อย่างเดียว ตอนนั่งสมาธิหากรู้สึกวูบอย่างรุนแรงขึ้นมาอย่าฝืนปล่อยให้วูบไปเลยครับและอย่าอยากรู้อยากเห็นอย่าลุ้นเร่งเพ่งจ้อง แล้วจะรู้เองครับ
ส่วนเรื่องปฐมมรรคนั้น ผมจำมาจากหลวงพ่อทัตตะน่ะครับสมัยสภาธรรมกายหลังคาจากเช่นกัน จำได้ลางๆว่าผู้ที่ประกอบด้วยมรรคมีองค์8 จะสามารถเข้าถึงปฐมมรรคได้โดยง่าย อันนี้ผมก็ไม่ขอยืนยันนะครับว่าผมจะถูกเพราะเป็นสิ่งที่จำมา อาจจะมีผิดพลาดบ้างเช่นกัน และผมเองก็ไม่มีหลักฐานยืนยันเสียด้วย เพราะเทปหลวงพ่อทัตตะในสมัยนั้น ปัจจุบันก็ทำออกมาไม่ครบไม่ค่อยมีให้เห็นเท่าไหร่นัก
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#12
โพสต์เมื่อ 15 August 2007 - 11:40 AM
เช่น กายมนุษย์ ดวงปฐมมรรค ก็คือ ดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน ซึ่งเป็นดวงธรรมดวงแรก
ถัดจากนั้น ก็เป็น ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ รวมทั้งหมดเป็น 6 ดวง
เมื่อ ผ่านทั้ง 6 ดวงนี้แล้ว ก็เข้าสู่กายใหม่ เช่นกายฝัน กายทิพย์ กายรูปพรหม ฯลฯ
กายแต่ละกาย ก็มีดวงปฐมมรรค คือดวงธรรมดวงแรก เช่น กยมนุษย์ กายฝัน กายทิพย์ ดังที่กล่าวมานี้
ส่วนปฐมฌาน คือระดับของสมาธิ
สมาธิเริ่มจาก ขนิกสมาธิ คือสมาธิเล็ก ๆ น้อย
ต่อมาก็เป็นอุปจารสมาธิ ซึ่งหยุดนิ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่งมากขึ้น
จากนั้นก็เป็นอัปปนาสมาธิ ซึ่งมีสมาธิมั่คงมากขึ้นไปอีก
จากนั้น ก็เป็น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน ซึ่งเป็นรูปฌาน ไปจนถึงอรูปฌาน เป็นต้น
ใจที่เห็นดวงปฐมมมรคแล้ว นั่นเป็นระดับสภาวะใจที่มีสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิ-ปฐมฌาน
ความแตกต่างของ ปฐมมรรค ปละปฐมฌาน จึงเป็นดังนี้
#13
โพสต์เมื่อ 15 August 2007 - 12:06 PM
ที่ท่าน ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี ถามไว้ว่า
แน่ใจหรือครับว่าถูกต้อง? ในประเด็น
จึงจะถึงดวงปฐมมรรค
คงหมายถึงว่า
การเข้าถึงดวงปฐมมรรค หรือ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์
หรือ ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ท่าน sompoti ให้ข้อมูลเพิ่มเติมนั้น
ต้อง หยุดใจ ให้ ถูกดี ถึงดี และพอดี คือ
ถูกศูนย์(กึ่งกลางกายเหนือสะดือ 2 นิ้วมือ)
ถูกส่วน (นิ่ง นุ่ม แผ่ว เบา อย่างสบาย )
ก็สามารถเข้าถึง ดวงปฐมมรรค ได้แล้ว
โดยไม่มีการผ่านดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แต่อย่างใดครับ
ในประเด็น
อยู่ที่ว่าใจเราจะมั่นขนาดไหนน่ะครับ
คงหมายถึงว่า
การเข้าถึงกายในกาย นั้นต้องผ่านไปตามลำดับ ๆ คือ
เข้าถึง ดวงปฐมมรรค ก่อนแล้วจึงผ่าน
ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุต ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ของแต่กายละกาย
6 ดวง 1 กาย ไปตามลำดับ ๆ กระทั่งเข้าถึงกายธรรมภายใน ดังกล่าว
เพียงแต่บางท่านเข้าใจว่า พอผ่านดวงปฐมมรรค ได้แล้ว
ก็เข้าถึง กายธรรม ได้เลยนั้น มีนัยยะอย่างน้อย 2 ประการครับ
นัยยะแรก ) กายธรรมที่เห็นนั้น (อาจ)เป็นเพียงกุศลนิมิต
แม้กำหนดให้ย่อได้ ขยายได้ ก็เป็นเพียงอุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ยังไม่ใช่ กายธรรมของจริง
*** checking point
สภาวะธรรมของจริง ต้อง
1 ) ยิ่งเห็น ก็ยิ่งชัด และเห็นได้รอบตัว ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน แม้แต่ก้นตนเอง
2 ) ยิ่งใส ใสในใส ใสละเอียดหนัก ยิ่งขึ้นไป
3 ) ยิ่งสว่าง สว่างในสว่าง ยิ่งขึ้นไป
4 ) ยิ่งขยาย คือ สามารถ คมนะ เข้าไปสู่ภายในได้เรื่อย ๆ เข้ากลางของกลาง ไปได้เรื่อย ๆ
ไม่มีติด ไม่มีตัน อุปมาเหมือน ลงไปในบ่อ ที่ไม่มีก้น(บ่อ)
5 ) ยิ่งมีความสุข ยิ่งสุขในสุข สุขนี้ว่าประณีตแล้ว ยังมีสุขที่ประณีตกว่านั้นอีก ไม่ซ้ำสุขกันเลย
6 ) ใจยิ่งสะอาด บริสุทธิ์ ยิ่งนุ่มนวล ควรแก่การงาน ( งานวิปัสสนา / งานกำจัดอวิชชา อาสวะกิเลส )
เป็นต้นครับ
นัยยะที่ 2 ) เข้าถึงกายธรรม จริง ๆ แหละ
เพียงแต่การเคลื่อนเข้าสู่ภายใน ( คมนะ ) รวดเร็วมาก
ผ่าน 6 ดวง 1 กาย ไปเร็วมาก รู้อีกที ก็เห็นกายธรรมแล้ว
ข้อนี้พออุปมาได้ว่า เหมือน การเดินทาง จาก กรุงเทพฯไปเชียงใหม่
หากเดินไป หรือ นั่งรถยนต์ รถไฟ ไป เราก็สามารถเห็นสิ่งที่อยู่สองฟากทางได้
อุปมาเหมือนนักปฏิบัติธรรม ที่หยุดใจ ได้อย่างมีศิลปะเพียงขั้นต้น
จึงค่อยเห็น 6 ดวง 1 กาย ไปตามลำดับ
หากเดินทางไปโดยเครื่องบิน หรือยานพาหนะที่มีความเร็วสูงมาก
ทำให้เรามองไม่เห็นทิวทัศน์ธรรมชาติ สิ่งที่อยู่สองฟากทาง
เห็นอีกที ก็ถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว
อุปมาเหมือนนักปฏิบัติธรรม ที่หยุดใจ ได้อย่างมีศิลปะชั้นสูง
จึงเห็น ดวงธรรมในดวงธรรม กายในกาย รวดเร็วมาก ๆ
แตะใจที กระดิกใจที ก็ผ่านกายในกาย เป็นร้อยกาย หรือล้านกาย ไปแล้วครับ
เว้นแต่ว่า นักปฏิบัติธรรม ที่มีศิลปะการหยุดใจ ในระดับสูง
จะฝึกทบทวน หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง แบบอนุโลม ปฏิโลม
เหมือนฌานลาภีบุคคล ที่ฝึกเข้าปฐมฌาน ไปทุติยฌาน ไปตติยฌาน ไปจตถฌาน
แล้วถอยกลับ จากจตถฌาน สู่ตติยฌาน ไปทุติยฌาน แล้วไปปฐมฌาน
กลับไปกลับมาอย่างนี้แหละครับ
และที่คุณ เคยเข้าวัดกล่าวไว้ว่า
สมัยสภาธรรมกายหลังคาจากเช่นกัน
จำได้ลางๆว่าผู้ที่ประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 จะสามารถเข้าถึงปฐมมรรคได้โดยง่าย
ผมก็พอเคยทราบมาบ้าง แต่จำรายละเอียดได้ไม่มากนัก
คงเป็นการอรรถาธิบาย เรื่อง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร กระมังครับว่า
ผู้ที่ประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 จะสามารถเข้าถึงปฐมมรรค ได้โดยง่าย
(ภายในตัว / ถูกเส้นทางสายกลางภายใน ถูกเอกายนมรรค หรือถูกศูนย์กลางกาบฐานที่ ๗ )
หากเห็นดวงใสสว่าง นอกตัว ก็ยังไม่ถูกถูกเส้นทางสายกลางภายใน ไม่ถูกเอกายนมรรค
จึงยังไม่เรียกว่า เข้าถึงดวงปฐมมรรค น่ะครับ
ประเด็นนี้ ผมก็เห็นด้วยครับ
**** ป.ล. ****
หากว่าความเข้าใจของผม(ที่ยังไม่ได้เข้าถึงสภาวธรรมนั้นจริง) ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
ก็ขออภัยทาน มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
และขอเชิญผู้รู้แจ้ง ตรวจสอบ แก้ไขด้วยนะครับ สาธุ






#14
โพสต์เมื่อ 15 August 2007 - 01:35 PM
เหมือนอะไรครับ เหมือนฝรั่งไงครับ ฝรั่งที่ไม่เคยเห็นแย้ มาถามคนไทยว่า แย้หน้าตาเป็นอย่างไร คนไทยก็อึกๆ อักๆ บอก แย้มี 4 ขา ฝรั่งบอก สุนัขก็มี 4 ขา คนไทยบอกๆ ไม่ใช่ รูปร่างมันไม่เหมือนกัน ฝรั่งถามต่อ แล้วรูปร่างมันเป็นยังไง
อธิบายโดยไม่เห็นภาพอย่างนี้ ก็ย่อมอธิบายยากอยู่แล้วใช่ไหมครับ ดังนั้น วิธีการที่ถูกต้องคือ ให้คนไทย นำรูปภาพของ แย้ โชว์ให้ฝรั่งดูไปเลย หรือ พาไปให้เห็นตัวจริง เสียงจริงเลย ย่อมจะเข้าใจได้ชัดเจน แจ่มแจ้งมากกว่า มากๆ เลย ถูกไหมครับ
เช่นเดียวกัน จะปฐมฌานหรือปฐมมรรค ให้เราทำใจหยุดให้ได้เสียก่อน เดี๋ยวดีเองครับ
#15
โพสต์เมื่อ 15 August 2007 - 03:26 PM
มีในหนังสือ พระธรรมเทศนาของหลวงปู่ครับ หรือในหนังสือ พระอภิธรรมศึกษา ปี 2 ของวัดพระธรรมกายครับ
ละเอียดมาก เรื่อง " กายในกาย และรูปปรมัตถ์ " แถวเสา K6-7 ลองไปแอบเปิดดูได้ อธิบายไว้ละเอียด
6 ดวง + 1 กายมนุษย์ละเอียด ต่อไปก็ 6 ดวง + กายทิพย์ จนถึง กายธรรมอรหัต 18 กายพอดี (+กายมนุษย์
หยาบด้วย) หน้า 43
ท่านDd2683 ครับ อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นครับ ขอขยายหน่อยหนึ่ง
Quote ก็สามารถเข้าถึง ดวงปฐมมรรค ได้แล้ว
โดยไม่มีการผ่านดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แต่อย่างใดครับ
ขอเพิ่มเติมนิดหนึ่งครับ ผ่าน 6 ดวงตามลำดับ คือ ดวงปฐมมรรค ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
ซึ่งจะละเอียดขึ้นไปเรื่อย ๆ คือกลั่นให้ใสบริสุทธิ์ไปตามลำดับ จนถึงกายธรรม
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
#16
โพสต์เมื่อ 19 August 2007 - 08:26 PM
อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ