
อานิสงส์ของการทำบุญ
#1
โพสต์เมื่อ 21 October 2007 - 12:57 AM
สาธุ
#2
โพสต์เมื่อ 21 October 2007 - 10:20 AM
1 ตั้งใจทำ ทำอย่างจริงใจ ไม่มีอคติ
2 เต็มใจทำ ไม่เสียดาย ไม่ได้ฝืนใจทำ
3 เต็มกำลัง แต่อย่าไปเบียดเบียนใคร
4 ทำถูกที่ถูกทางถูกเวลา ถูกกับเนื้อนาบุญ
5 ทำใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ในขณะนั้น
อย่ามัวน้อยเนื้อต่ำใจอยู่เลย ตีตั๋วชั้นใหนก็ไปถึงเหมือนกันนะครับ พวกเราอยู่ขบวนเดียวกันไม่ใช่หรือ
#3
โพสต์เมื่อ 21 October 2007 - 10:21 AM
ไฟล์แนบ
#4
โพสต์เมื่อ 21 October 2007 - 01:13 PM
มองว่า อานิสงส์อันเนื่องจากการทำบุญนั้น น่าจะแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ
(1) แสงสว่างที่เกิดแก่ผู้ให้
ความมากน้อยของแสงสว่างที่เกิดแก่ผู้ให้นั้น ขึ้นอยู่กับ ความมากน้อยของความตระหนี่ที่ถูกขจัดออกในแต่ละครั้งที่มีการให้ (เพราะการละความตระหนี่ เป็น ต้นทางของการละความยึดถือในตัวตนของตน) อันสะท้อนได้จาก สัดส่วนของ ‘จำนวนปัจจัยที่ผู้ให้อิ่มเอมใจในการสละเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา’ ต่อ ‘จำนวนปัจจัยทั้งหมดที่ผู้ให้นั้นมี’
หาก ‘ปัจจัยจำนวน 100 บาท และ1,000,000 บาท ที่นาย ก และนาย ข อิ่มเอมใจในการสละเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนานั้น’ มีสัดส่วนเป็นหนึ่งต่อหนึ่งของ ‘จำนวนปัจจัยทั้งหมดที่ นาย ก และ นาย ข มี’ (กล่าวคือ มีร้อยให้ร้อย มีล้านให้ล้าน) เช่นนี้แล้ว การให้ดังกล่าวสะท้อนถึงแสงสว่างในทางปัญญาระดับเท่ากันที่เกิดแก่ผู้ให้ทั้งสอง
(2) แสงสว่างที่เกิดแก่ผู้รับ
ความมากน้อยของแสงสว่างที่เกิดแก่ผู้รับนั้น ขึ้นอยู่กับ ระดับของคุณประโยชน์ที่ปัจจัยดังกล่าวก่อให้เกิดขึ้น
บนสมมุติฐานว่า ‘ปัจจัยจำนวน 100 บาท และ1,000,000 บาท ที่นาย ก และนาย ข อิ่มเอมใจในการสละเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนานั้น’ ถูกนำไปใช้ในการเดียวกัน เช่น สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือสนับสนุนการก่อสร้างหลังคามหารัตนวิหารคด
ในกรณีนี้ จะเห็นว่า ปัจจัยจำนวน 1,000,000 บาท ย่อมสามารถนำมาซึ่งจำนวนถุงยังชีพหลายถุงมากกว่าเพื่อช่วยผู้ประสบภัยได้จำนวนหลายคนมากกว่าที่ ปัจจัยจำนวน 100 บาทสามารถทำได้ และ ปัจจัยจำนวน 1,000,000 บาท ก็ย่อมสามารถนำมาซึ่งการก่อสร้างพื้นที่ของหลังคาเพื่อคุ้มแดดและฝนแด่เหล่าสงฆ์และสาธุชนได้จำนวนหลายรูปและหลายคนมากกว่าที่ ปัจจัยจำนวน 100 บาทสามารถทำได้ เช่นนี้แล้ว การให้ครั้งนี้จึงก่อให้เกิดแสงสว่างในทางประโยชน์แห่งการใช้งานจริงในระดับที่ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม อย่างที่ทราบว่า อานิสงส์อันเนื่องจากการทำบุญนั้นเป็นอจินไตย กล่าวคือ ไม่อาจแจกแจงถึง exact underlying mechanism เช่นว่า จาก ปัจจัย 100 บาท แรกที่ นาย ข อาจได้เคยสละไปก่อนหน้านี้นั้น ได้ทำให้วันนี้ นาย ข สามารถมีปัจจัยถึง 1,000,000 บาท มาร่วมในการบำรุงพระพุทธศาสนาได้อย่างไร จึงเชื่อว่า หากนาย ก ที่มีร้อยให้ร้อย ในวันนี้ สามารถรักษาแสงสว่างในทางปัญญาที่เกิดแก่ตนได้เท่าเทียมกับ นาย ข ที่มีล้านให้ล้าน ไปได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อยามที่บุญมาส่งผล นาย ก ก็จะสามารถมีล้านให้ล้านได้อย่าง นาย ข และสามารถเติมเต็มอานิสงส์อันเนื่องจากการทำบุญในส่วนที่เป็นแสงสว่างที่เกิดแก่ผู้รับได้อย่างเท่าเทียมกันค่ะ

(แก้ไขตัวสะกดตามที่กรุณาแนะนำมาแล้ว ขอบคุณ คุณ ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี ค่ะ)
#5
โพสต์เมื่อ 23 October 2007 - 08:10 PM
การทำบุญจะได้บุญมากน้อยขึ้นอยู่กับ 3 สิ่ง
1.ผู้ให้บริสุทธิ์
2.ผู้รับบริสุทธิ์
3. วัตถุบริสุทธิ์
สมมุติว่า ในกรณีที่ทั้งสามสิ่งเท่ากัน การคำนวณบุญน่าจะมีส่วนปริมาณของวัตถุมาเกี่ยวข้องด้วยนะครับ
ถ้าจำนวนมากกว่าก็น่าจะได้บุญมากกว่านะครับ
ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า หากใครทราบช่วย Comment ด้วย
น้องใหม่
#6
โพสต์เมื่อ 23 October 2007 - 09:00 PM
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#7
โพสต์เมื่อ 24 October 2007 - 11:50 AM

ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#8
โพสต์เมื่อ 24 October 2007 - 12:36 PM
และผู้ให้ ทั้ง 2 นั้น มีศรัทธาเท่ากัน
ผู้ที่ให้ทานที่จำนวนทานมากกว่า ย่อมได้บุญมากกว่า ครับ
#9
โพสต์เมื่อ 24 October 2007 - 04:54 PM
#10
โพสต์เมื่อ 29 October 2007 - 12:11 PM
#11
โพสต์เมื่อ 02 November 2007 - 08:15 AM