ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

การรักษาศีล 8


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 13 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 boy_kmutt

boy_kmutt
  • Members
  • 91 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ปทุมธานี
  • Interests:กรรมฐาน

โพสต์เมื่อ 02 January 2008 - 09:38 PM

อยากทราบว่าถ้าเรารักษาศีล 8 ในวันธรรมกับรักษาศีล 8 ในวันพระอันไหนได้บุญมากกว่ากันครับ
http://boybuddhism2008.spaces.live.com


#2 ถนัด@สืบสานพุทธ

ถนัด@สืบสานพุทธ
  • Members
  • 107 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 January 2008 - 09:59 PM

ศีล 8 กับ อุโบสถศีล ในวันก่อน ได้ออกฝันในฝันไปแล้วครับ จะเหมือนกันครับ แต่จะต่างกันที่ ศีลข้อ 3 ที่ผู้ถือศีล 8 เป็นปกติ สามารถร่วมหลับนอนกับคู่ของตนได้ตามปกติ แต่ถ้าวันใดที่ได้มีการรับอุโบสถศีลแล้ว ก็คือการละนิวรณ์ ในข้อแรกคือ กามฉันทะ ก็หมายถึง จะต้องไม่ข้องแวะเรื่องกามเลย แม้แต่นิดเดียว โดยจะมีศีล 3 ข้อหลัง เป็นตัวเสริมมิให้เกิดผิดศีลข้อ 3 นั่นเอง

แก้ไขข้อผิดพลาดด้านล่างแล้วนะครับ ข้อมูลส่วนสีแดงผิดนะครับ ผมสับสน จริงๆ หมายถึง คนที่ถือศีล 5 ปกติ ถ้าถือศีล 8 แล้วก็ต้องละหมดครับ

                                        หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ                                           


#3 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 January 2008 - 07:21 AM

QUOTE
ศีล 8 กับ อุโบสถศีล ในวันก่อน ได้ออกฝันในฝันไปแล้วครับ จะเหมือนกันครับ แต่จะต่างกันที่ ศีลข้อ 3 ที่ผู้ถือศีล 8 เป็นปกติ สามารถร่วมหลับนอนกับคู่ของตนได้ตามปกติ


ศีล ๘ ก็คืออุโบสถศีล ครับ มี ๘ ข้อ จะแตกต่างจากศีล ๕ คือ ข้อที่ ๓ ศีล ๘ จะละเว้นจากการเสพเมถุนธรรม หรือจะต้องประพฤติพรหมจรรย์ ข้อ ๖ ละเว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล คือหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว ข้อ ๗ ละเว้นจากการตกแต่งประดับประดาร่างกายด้วยของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ และละเว้นจากการดูการละเล่นฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ข้อ ๘ ละเว้นจากจากการนั่งหรือนอนในที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ หรือที่นั่งที่นอนที่ยัดด้วยนุ่นหรือสำลี สำหรับศีล ๕ โดยเฉพาะศีลข้อ ๓ นั้นสามารถร่วมหลับนอนกับคู่ของตนได้ แต่ห้ามไปยุ่งกับบุรุษหรือสตรีที่มีบัญญัติห้ามไว้ครับ
สำหรับการรักษาศีล ๘ จะรักษาวันไหนก็ได้บุญครับ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเรา ถ้าจะให้ได้บุญมากก็ต้องรักษาทุก ๆ วัน ครับ แต่ถ้าไม่สามารถรักษาทุกวันได้ ก็จะนิยมรักษากันในวันพระครับ อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ...สาธุ

#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 03 January 2008 - 07:37 AM

เรื่องการเปรียบเทียบเกี่ยวกับ อะไร อย่างไหน ได้บุญมากกว่ากันนั้น

โดยส่วนตัว ผมใช้เป็นหลักการ / แนวทางพิจารณาเท่านั้น

เพราะ

1 ) ที่จริงมีรายละเอียดและความซับซ้อน พอสมควร เช่น

ความบริสุทธิ์ ประณีตของวัตถุ ความสะอาด บริสุทธิ์ของศีลและดวงจิต
รวมถึงคุณธรรม การบรรลุธรรมขั้นต่าง ๆของผู้ให้และรับ
โดยเฉพาะของผู้กระทำกุศลนั้น ๆเอง

ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบในกรณีที่คล้าย / ใกล้เคียงกัน จึงยากที่จะตัดสิน/ฟันธง ว่า
ทำบุญ สร้างกุศลอะไร อย่างไหน ได้บุญมากกว่ากัน

กรณีที่เจ้าของกระทู้ ถามก็เช่นกันครับ
ถ้าเปรียบเทียบกว้าง ๆ ก็พอตอบตามหลักการได้ว่า

การรักษาอุโบสถศีล สมควรได้บุญกุศล อานิสงส์มากกว่า การรักษาศีล ๘ ในวันทั่วไปครับ

เพราะ
๑ ) อุโบสถศีล รักษาได้เฉพาะในวันพระ
๒ ) ผู้รักษาโดยมากไปอยู่ในวัด #####เทศ ยากที่จะละเมิดศีล แต่ง่ายที่ใจจะอยู่ในบุญทั้งวัน ได้ฟังธรรม ใจยิ่งใส
๓ ) โดยมากอาราธนาอุโบสถศีลกับพระ ความตั้งใจ อาจจะมากกว่า การสมาทานศีลเอง
ฯล

แต่ถ้าเจาะลึก เช่น
ระหว่างการรักษาอุโบสถศีล ในวันพระ เทียบกับ รักษาศีล ๘ ในวันอื่น ๆ
ของบุคคลที่

๑ ) รักษาแบบตั้งใจ เทียบกับ ไม่ตั้งใจเท่าที่ควร รักษาแบบศีลจุ่ม หรือแบบศีลแช่อิ่ม
๒ ) ขันติและวิริยะ เมื่อเจอสถานการณ์ที่จะทำให้ละเมิดศีล ใครเคร่งครัด ใครใจกระเพื่อม หวั่นไหวกว่ากัน
๓ ) คุณธรรมและคุณวิเศษ ของแต่ละบุคคล
ฯล

คำถาม ?

? คนที่รักษาศีลอุโบสถ แต่ไม่ตั้งใจ เมื่อมีสถานการณ์ให้ละเมิดศีล ก็ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ เช่น
เมื่ออาราธนาศีลอุโบสถกับพระ แล้วก็ไปนอน ตื่นมาอีกทีก็เลยเที่ยงวัน จึงทานอาหารกลางวันเสร็จตอนบ่ายครึ่ง
ถึงเวลาฟังธรรม ก็นั่งหลับ ทำวัตรเช้า เย็น ก็แบบสลึมสลือ สมาธิ ภาวนาก็ไม่เจริญ

กับคนที่รักษาศีล ๘ ในวันทั่วไป
แต่ตั้งใจรักษาศีลอย่างดี รู้องค์แห่งศีล ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของศีลแต่ละข้ออย่างถูกต้อง
ไม่ได้ทำวัตรเช้า เพราะรีบไปทำงาน ทั้งวันก็ระวังกาย วาจาอย่างดี
แต่ทำวัตรเย็นและตั้งใจนั่งสมาธิ ก่อนนอน นึกถึงบุญที่ตั้งใจรักษาศีล ๘ กระทั่งใจใส แล้วก็นอน

ถามว่า แบบนี้ ใครสมควรได้บุญอานิสงส์มากกว่ากัน

ถ้าเทียบแบบนี้คำตอบอาจกลับข้างก็ได้ คือ

คนที่รักษาศีล ๘ ในวันทั่วไป แบบตั้งใจ
สมควรได้บุญมากกว่า
คนที่รักษาศีลอุโบสถแบบไม่ตั้งใจ ก็ได้นะครับ


จากตัวอย่างที่ยกพอเป็นสังเขป นี้ คงพอเข้าใจได้ว่า

อานิสงส์ วิบากบุญ การส่งผลของกรรม โดยหลักการอาจคล้ายกัน
แต่ยังมีความซับซ้อนอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาประกอบด้วย


จึงพอตัดสิน / ฟันธง ได้ว่า อะไร อย่างไหน ได้บุญหรือมีอา่นิสงส์มากกว่ากันครับ



2 ) หากเน้นเพียงแต่ว่า ทำบุญ สร้างกุศลอะไร อย่างไหน ได้บุญมากกว่ากัน
แบบลงทุนแบบไหน ได้ผลตอบแทนมากกว่ากัน
ก็อาจทำให้ เราเป็นคนช่างเลือก ทำบุญ (จนเกินไป) เช่น

รู้ว่า สังฆทาน มีอานิสงส์มากกว่า ปาฏิปุคคลิกทาน ( การให้ทานแบบเฉพาะเจาะจงบุคคล ,ไม่ได้ให้ส่วนรวม )
ก็เลือกทำแต่ สังฆทาน

ส่วนทานอย่างอื่น ๆ เช่น การเลี้ยงดูมารดา บิดา สงเคราะห์ญาติ สาธารณะกุศลต่าง ๆ
ไม่ทำ
เพราะมองว่า อานิสงส์น้อยกว่า สังฆทาน

หรือ รู้ว่า รักษาศีล มีอานิสงส์ยิ่งกว่า ทานกุศล
ก็ไม่ให้ความสำคัญของ การบำเพ็ญทาน เท่าที่ควร

เพราะมองว่า การรักษาศีล มีอานิสงส์ยิ่งกว่า

หนักเข้า พอใคร ๆ ทำบำเพ็ญทาน มาก ๆ บ่อย ๆ ก็พลอยมองไปว่า
พวกทำบำเพ็ญทาน มาก ๆ บ่อย ๆ บ้าบุญ บ้าทานกุศลจนเกินไป อย่างนี้ก็มี

สรุปว่า

การเปรียบเทียบเพื่อเลือกทำกุศล สร้างบุญ ต่าง ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ดีครับ

เพราะเป็นเรื่องของคนมีปัญญา พระบรมศาสดาและบัณฑิตทั้งหลายก็สรรเสริญ

เพียงแต่อย่าเน้นเปรียบเทียบ ให้มากจนเกินไป
อย่าให้ถึงขนาดดูหมิ่นหรือไม่ให้ความสำคัญ ในกุศลอย่างอื่น / ไม่ทำกุศลอย่างอื่น ๆ


QUOTE
เพราะ ทาน ศีล ภาวนา และ ทศบารมีแต่ละอย่าง ต้องสมดุลกัน


ถ้าเน้นสร้างแต่ทานบารมี
ส่วนศีล และภาวนา ไม่เน้นสั่งสม

แบบนี้ อาจรวยมาก บริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ
แต่รูปสมบัติ รูปร่างหน้าตาไม่ดี ไม่แข็งแรง มีโรคมาก ชีวิตมีปัญหาอุปสรรคมาก
เพราะรักษาศีลไม่ดีพอ
และมีสติปัญญาน้อย แยกแยะไม่ได้ว่า
อะไรดี/ชั่ว ถูก/ผิด ควร/ไม่ควร บุญ/บาป
ไหนคนพาล ไหนบัณฑิต ไหนกงจักร ไหนดอกบัว

จึงมีวินิจฉัย การตัดสินใจ ต่าง ๆในการดำเนินชีวิตที่ผิดพลาด

แบบนี้ รวยแต่ทรัพย์สมบัติ รวยรูปสมบัติ รวยลาภ รวยยศ รวยสรรเสริญ
แต่ จนความสุขใจที่สงบ ใจที่มีสันติ
หรือมีความสุขทางใจ น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

เพราะทาน ศีล ภาวนา ไม่สมดุล ครับ

#5 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 January 2008 - 07:43 AM

อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ...สาธุ
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#6 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 03 January 2008 - 08:01 AM

QUOTE
แต่จะต่างกันที่ ศีลข้อ 3 ที่ผู้ถือศีล 8 เป็นปกติ สามารถร่วมหลับนอนกับคู่ของตนได้ตามปกติ


ที่จริง ศีล ๘ ก็งดเว้นจากการเสพเมถุนธรรม
หรือจะต้องประพฤติพรหมจรรย์ ดังที่ นรอ. suppy001 กล่าวไว้ดีแล้วครับ

ไม่ใช่ว่า รักษาศีล ๘ แต่ยังไปร่วมหลับนอนกับคู่ของตน นะครับ

ต้องงดเว้นจากการเสพประเวณีโดยเด็ดขาด
แม้ในคู่ครองของตนเอง
จึงจะชื่อว่า พรหมจริยา คือ ประพฤติอย่างพรหม


งั้นขอเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับศีล 8 ในวันทั่วไปกับรักษาศีล 8 ในวันพระ สักนิดนะครับ


"ความหมายของอุโบสถศีล"
อุโบสถศีล มีบทวิเคราะห์ศัพท์ว่า

อุปะวะสิตัพโพ อุโปสะโถ
แปลว่า
สภาวธรรมอันบุคคลทั้งหลายผู้ต้องการด้วยบุญ พึงเข้าไปอาศัยอยู่ (รักษา) ชื่อว่า อุโบสถศีล

อุปะกิเลเส อุเสติ ทะหะติ อุปะตาเปติ วาติ อุโปสะโถ
ความว่า
การกระทำที่กำจัดอุปกิเลส ๑๖ เผาอุปกิเลส ๑๖ ทำให้อุปกิเลส ๑๖ เดือดร้อน

หมายความว่า ทำอุปกิเลส ๑๖ ให้หมดสิ้นไป ชื่อว่า อุโบสถศีล

"ความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีลกับศีล ๘"

๑. อุโบสถศีล กับ ศีล ๘ มีข้อห้าม ๘ ข้อเหมือนกัน

๒. คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน

๓. อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น
ส่วนศีล ๘ สมาทานรักษาได้ทุกวัน

๔. อุโบสถศีล มีอายุ ๒๔ ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล ๘ ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา

๕. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีล ของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี)


QUOTE
ศีล 8 หรือ อุโบสถศีล เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นมาอีกขึ้นหนึ่ง จากศีล 5

ทั้งยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก เป็นการปูพื้นฐานที่มั่นคงของการปฎิบัติธรรมต่อไป

โดยทั่วไป เราจะใช้คำว่าศีล 8 เมื่อสมาทานรักษาในวาระพิเศษหรือรักษาอยู่เป็นประจำ

และจะใช้คำว่า อุโบสถศีล เมื่อสมาทานรักษาในวันพระ

การรักษาศีล 8 มุ่งเน้นในเรื่องที่สำคัญ คือ การประพฤติพรหมจรรย์ให้มีความบริสุทธิ์

บริบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยข้อปฎิบัติของศีลที่เพิ่มขึ้นมาล้วนสนับสนุนไม่ให้กามกำเริบ

ซึ่งเป็นบทฝึกเพื่อลดละตัณหาหรือความอยาก ตามลำดับขึ้นของการพัฒนาระดับจิตใจ

ซึ่งได้พัฒนามาจากการรักษาศีล 5 มามากพอสมควร จนเกิดความเคยชินเป็นปกติวิสัยแล้ว

พร้อมที่จะยกระดับการรักษาศีลให้สูงขึ้น

ดังนั้นการรักษาศีล 8 จึงเป็นตัวช่วยปรับใจให้ละเอียดประณีตสูงขึ้น เพื่อน้อมนำใจ

สู่การประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ให้ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ ซึ่งถือว่า

เป็นจริยธรรมที่อยู่เหนือกว่าแนวทางการปฎิบัติโดยทั่วไปของมนุษย์ทั้งหลาย

คือ มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องเยี่ยงพรหม ซึ่งอยู่ในภพภูมิที่ใกล้ความหมดกิเลสใกล้พระนิพพานยิ่งขึ้น

(ที่มา: วิถีชาวพุทธ, Dhammakaya Open University)


อุโบสถศีล หรือศีลอุโบสถ
ซึ่งคฤหัสถ์ชายหญิงบางท่านรักษาในวันอุโบสถ

สมัยก่อนท่านกำหนดวันรักษาอุโบสถศีลไว้มากกว่าวันนี้

แต่ปัจจุบันเหลือวันรักษาอุโบสถศีลเพียงเดือนละ ๔ ครั้งในวันพระ
คือ ในวันแรม ๘ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำหรือ ๑๕ ค่ำ ขึ้น ๘ ค่ำและขึ้น ๑๕ ค่ำ

แต่บางท่านก็ประพฤติยิ่งกว่านั้น โดยอาศัยแนวที่ท่านกล่าวไว้ใน
อรรถกถาราชสูตร อังคุตตรนิกายติกนิบาต ว่า

อุโบสถมี ๓ อย่างคือ

๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ
คือวัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม


๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน
คือถือเอาวันที่กำหนดไว้ในปกติอุโบสถเป็นหลัก
แล้วเพิ่มรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน เรียกว่า วันรับ
และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง

เช่นวัน ๘ ค่ำเป็นวันรักษาปกติอุโบสถ ผู้ที่จะรักษาปฏิชาครอุโบสถ ก็เริ่มรักษาตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ
ไปสิ้นสุดเอาเมื่อสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือรักษาในวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำและ ๙ ค่ำ
รวม ๓ วัน ๓ คืน


๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่างหนึ่ง
ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว

คือรักษาในกฐินกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้
ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ อย่างหนึ่ง

ถ้ายังไม่อาจรักษาได้ตลอด ๑ เดือน
ก็รักษาเพียงครั้งละครึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว คือ

ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงสิ้นเดือน ๑๑ อีกอย่างหนึ่ง
ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ


ศีลอุโบสถนั้นเป็น ศีลรวม หรือ ศีลพวง คือมีองค์ประกอบถึง ๘ องค์
ถ้าขาดไปองค์ใดองค์หนึ่งก็ไม่เรียกว่า ศีลอุโบสถ ตามพุทธบัญญัติ

เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว ก็ถือว่าขาดศีลอุโบสถ

เพราะเหลือศีลไม่ครบองค์ของอุโบสถศีล พูดง่ายๆว่า
ขาดศีลองค์เดียว ขาดหมดทั้ง ๘ องค์
ผู้ที่รักษาอุโบสถศีล จึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ

http://www.84000.org...k/bookpn02.html

อนึ่งในการตั้งใจรักษาศีลนั้น อย่านึกว่าต้องไปสมาทานกับพระที่วัดเท่านั้นจึงจะเป็นศีล
ความจริงแล้วจะสมาทานที่ไหนก็ได้ คือจะสมาทานที่วัด ในป่า หรือในบ้าน
หากมีเจตนาคิดงดเว้นก็เป็นศีลแล้ว

หรือจะคิดงดเว้นเองโดยมิต้องสมาทานก็เป็นศีล

โดยเฉพาะอุโบสถศีลนั้น ควรตั้งเจตนาในการรักษาไว้แต่รุ่งเช้า
หากมีโอกาสไปวัดจะสมาทานกับพระอีกครั้งหนึ่งก็สมควร

ทั้งนี้เพราะตามวัดต่างๆนั้น กว่าจะถึงเวลาที่พระท่านลงโบสถ์และให้ศีล
ก็มักเป็นเวลาหลังจากที่ท่านฉันอาหารเช้าแล้ว ( โดยมากประมาณ ๙ น. )
ซึ่งเลยเวลาที่อรุณขึ้นมาหลายชั่วโมง

ด้วยเหตุนั้นจึงควรสมาทานด้วยตนเองเสียก่อนแต่รุ่งเช้า


ในอดีต พระพุทธเจ้าของเราในสมัยที่ยังเป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์
ก็ยังได้สมาทานศีลอุโบสถด้วยตนเอง ในขณะที่ลอยอยู่กลางทะเล

แม้ในสมัยพุทธกาล คนส่วนมากก็สมาทานศีลที่บ้าน ในวันอุโบสถ
แล้วจึงถือดอกไม้ของหอมไปวัดเพื่อฟังธรรม ( อรรถกถาเล่า ) ท่านมิได้ไปรับศีลจากพระที่วัด

หากการรักษาศีลจำเป็นต้องไปสมาทานกับพระเพียงอย่างเดียว
ก็น่าคิดว่าผู้ที่อยู่ในถิ่นกันดาร ในที่ไม่มีวัด ไม่มีพระ
แต่นับถือพระพุทธศาสนา มิหมดโอกาสที่จะรักษาศีลหรือ


ด้วยเหตุนี้พระอรหันต์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

ศีลเท่านั้นเป็นเลิศ แต่ผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด
ในโลกนี้ ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา


"คำอาราธนาอุโบสถศีล"
อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิ


http://www.geocities...a/dm004016.html
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#7 ถนัด@สืบสานพุทธ

ถนัด@สืบสานพุทธ
  • Members
  • 107 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 January 2008 - 09:14 AM

ใช่จริงๆ ด้วยครับ ผมฟังมาไม่ครบ ผมย้อนไปดูฝันในฝันวันที่ 24 ธันวาคม 2550 แล้วครับ ช่วงเวลาที่ 45 นาทีหลังจากรายการเริ่ม ศีล 8 ก็เหมือนกับอุโบสถศีล เพียงแต่ อุโบสถศีล รับในวันที่กำหนด ซึ่งก็คือวันพระ 8 ค่ำ กับ 15 ค่ำ ทั้งข้างขึ้น ข้างแรม ส่วนที่หลับนอนกับคู่ของตนได้ก็เป็นเฉพาะศีล 5 เท่านั้น ถือศีล 8 ก็ประพฤติพรหมจรรย์

ขออภัยสำหรับข้อผิดพลาดที่ตอบไปด้วยนะครับ

http://www.dmc.tv/pr...am_replay.html#

                                        หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ                                           


#8 boy_kmutt

boy_kmutt
  • Members
  • 91 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ปทุมธานี
  • Interests:กรรมฐาน

โพสต์เมื่อ 03 January 2008 - 10:07 AM

ขอถามอีกนิดครับ แล้วถ้าถือศีล 8 แล้วทาลูกกลิ้ง ทาครีมกันแดด จะผิดศีลหรือเปล่าครับ แล้วถ้าถือศีล 8 แล้วไม่สมาทานศีลจะได้บุญมากหรือน้อยกว่าไม่ได้สมาทาน ขอบคุณครับ สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
http://boybuddhism2008.spaces.live.com


#9 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 03 January 2008 - 11:35 AM

ตอบคุณ boy_kmutt

ของบางอย่างเป็นของที่ผิดศีลโดยตรงเลย หากล่วงละเมิดโดยไม่มีเจตนา ก็ทำให้ศีลด่างพร้อยครับ เช่น ถือศีลแปด ห้ามร้องเพลง รักๆ ใคร่ เราเผลอสติไปร้องเข้า พอรู้ตัวรีบหยุดร้องทันที อย่างนี้ศีลยังมีไม่ขาด แต่ด่างพร้อยครับ

เครื่องสำอางประทินโฉมให้ดูงดงาม ถ้าเผลอใช้โดยไม่มีเจตนา รู้ตัวก็รีบล้างออก อย่างนี้ศีลด่างพร้อยครับ แต่ถ้าใช้แบบเจตนาก็ศีลขาด

แต่ของบางอย่างเป็นของเพื่อสุขภาพด้วย เพื่อความงดงามด้วย ดังนั้นต้องดูที่วัตถุประสงค์ เช่น พวกครีมกันแดด ลูกกลิ้งกันเหงื่อออก ถ้าใช้เพื่อวัตถุประสงศ์ด้านสุขภาพ ไม่ผิดศีลครับ แต่ถ้าใช้เพื่อให้รู้สึกว่า ตนหล่อสวยกว่าผู้อื่น ก็ผิดศีลครับ

คำว่า สมาทาน แปลว่า ตั้งใจรักษา ดังนั้น โดยปรกติแล้ว หากสมาทานศีล ก็ย่อมได้บุญมากกว่า ไม่ได้สมาทาน คือ คนที่ตั้งใจรักษาศีล ย่อมได้บุญมากกว่า คนที่ไม่ได้ตั้งใจรักษา แต่ หากตั้งใจแล้ว ไปทำผิดศีล บุญก็ย่อมพร่องกว่า คนที่แม้ไม่ตั้งใจ แต่ก็ไม่ได้ทำผิดศีลครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#10 boy_kmutt

boy_kmutt
  • Members
  • 91 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ปทุมธานี
  • Interests:กรรมฐาน

โพสต์เมื่อ 03 January 2008 - 12:59 PM

ขอบคุณมากๆๆๆครับ สาธุๆๆ
http://boybuddhism2008.spaces.live.com


#11 เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี

เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี
  • Members
  • 938 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 January 2008 - 08:55 PM

ได้ความรู้อีกแล้ว
สาธุ..
ชีวิตคือการเข้ากลาง..
ที่สุดแห่งธรรมนั้นเป็นเป้าหมาย..
โลกจะสุขสันต์เมื่อท่านเข้าถึงธรรมกาย..
สว่างไสวทั่วทุกธาตุธรรม..

#12 Midori

Midori
  • Members
  • 49 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 January 2008 - 09:01 PM

ได้ความรู้ใหม่ๆไปเยอะเลย ขอบคุณค่ะ

Midori~Midori


#13 สาธุธรรม

สาธุธรรม
  • Members
  • 1124 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 January 2008 - 02:47 PM

ศีล 8 ไม่ใช่ อุโบสถศีล ค่ะ


ความต่างที่สำคัญคือ
อุโบสถศีล จัดเป็น ศีลพวง หรือ ศีลชุด
หมายความว่า
เมื่อสมาทานอุโบสถศีลแล้ว ต้องรักษาศีลให้ครบทั้ง 8 ข้อ ไม่ให้ด่าง หรือ ทะลุ ข้อใดก็ไม่ได้
เพราะ ด่าง หรือ ทะลุ ข้อเดียว ใน 8 ข้อ ถือว่า ศีลขาด ทั้งหมด ค่ะ
แต่หากสมาทานศีล 8 แล้วศีลบางข้อทะลุ หรือ ด่าง ก็ยังไม่จัดว่า ศีลขาดค่ะ
ฉะนั้น อุโบสถศีล จะมีอานิสงค์ มากกว่า ศีล8 เพราะกระทำได้ยากกว่า และ ผู้ที่สมาทานอุโบสถศีล ต้องระมัดระวัง
กาย และ วาจา อย่างยิ่งค่ะ



ปล. ดิฉันอ่านที่หลายๆ ท่านเขียนไว้ข้างต้นไม่ละเอียด ไม่แน่ใจว่าได้กล่าวเรื่องนี้ หรือยัง
จึงอยากให้ข้อมูลเพื่อเติมค่ะ
อนุโมทนาบุญ ในจิตอันเป็นกุศลกับทุกๆ ท่านค่ะ สาธุ
หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ

สุนทรพ่อ

#14 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 09 January 2008 - 12:04 PM

ความจริง อุโบสถศีล ที่แบบเคร่งจริง ไม่ให้ด่างหรือทะลุเลยนี่ ในยุคปัจจุบันทำได้ยากยิ่งน่ะครับ คนในเมืองอาจไม่มีใครทำได้เลย ยกเว้นคนที่ไม่ไปไหนอยู่แต่ในบ้าน หรือ ไม่ก็คนที่อยู่ในป่าน่ะครับ

เพราะจะมีอยู่ข้อหนึ่ง คือ ข้อสุดท้าย ห้ามนั่ง หรือ นอน ในที่นั่งที่นอนที่สูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่ม หรือ สาลี ซึ่งเป็นของอ่อนนุ่ม

ตรงนี้ถามว่า ยากอย่างไร คำตอบ ถ้าเรื่องนอนน่ะ ไม่ยากครับ เราก็รักษาโดยนอนที่พื้นได้ แต่ยากตรงเวลาจะนั่งนี้แหละครับ เพราะ หากไปนั่งที่เก้าอี้รับแขกหรู อ่อนนุ่ม ศีลด่างพร้อย ถึงขาด ทันที ยังไม่จบนะครับ เวลาเราจะออกจากบ้าน นั่งในรถยนต์ เก้าอี้รถยนต์เป็นเป็นเบาะอ่อนนุ่มอีก ศีลขาดอีกแล้ว จะไปเปลี่ยนเก้าอี้รถยนต์ให้เป็นเก้าอี้ไม้ก็ใช่ที่ เดี๋ยวเขาจะมองเราประหลาดๆ บางท่านบอกไม่เห็นยาก ก็ไม่นั่งรถยนต์ แต่ไปนั่งรถเมล์ อ้าว เก้าอี้รถเมล์ก็เป็นเบาะอ่อนนุ่มอีก เอาล่ะสิ ทำไง ยืนไปตลอดทางก็คงแย่เหมือนกัน

พอมาถึงที่ทำงาน จะนั่งเก้าอี้ทำงาน อ้าวเป็นเบาะอ่อนนุ่มอีกแล้ว

สรุป ในความเห็นของผม หากคิดจะรักษา ก็รักษาไปตามสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยดีกว่าครับ หากบอกว่า ห้ามด่างพร้อยเลย มีหวัง ศีลขาดกันหมดแหละครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร