ช่วยไขทีครับผม สาธุครับ
อย่างเช่น
พิธีบรรพชา เสาร์ที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ.2551 ณ สภาธรรมกายสากล
พิธีอุปสมบท ระหว่างวันจันทร์ที่ 7-เสาร์ที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2551 ณ อุโบสถ (จะจัดตามลำดับผู้อุปสมบทตามวันเดือนปีเกิดของผู้บวช
ช่วยไขทีครับผม สาธุครับ
***กำหนดการข้างต้น เป็นวันจริงทั้งหมดของ บวชพระรุ่นเข้าพรรษารุ่นที่ 21 ที่จะถึงนี้นะครับ

พิธีบรรพชากับพิธีอุปสมบทต่างกันอย่างไรครับ
เริ่มโดย กาย072, Jun 03 2008 04:47 AM
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 04:47 AM
#2
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 08:12 AM
พิธีบรรพชา คือ การบวชเป็นสามเณร ครับ
ส่วนอุปสมบท คือ การบวชเป็นพระ
จึงใช้คำว่า บรรพชาอุปสมบทครับ
เพราะต้องบวชเป็นเณรก่อนแล้วจึงขอบวชเป็นพระครับ
ส่วนอุปสมบท คือ การบวชเป็นพระ
จึงใช้คำว่า บรรพชาอุปสมบทครับ
เพราะต้องบวชเป็นเณรก่อนแล้วจึงขอบวชเป็นพระครับ
#3
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 09:08 AM
เด็กผู็้น้อย พรรณนาไว้ดีแล้ว ขอสรรเสริญ
#4
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 09:09 PM
ขอเสริมที่ เด็กผู้น้อย ตอบไว้นะครับ
คำว่า บรรพชา
มาจากภาษาบาลี ในคำว่า
ปพฺพชฺชา ,ปัพพัชชา
แปลว่า เว้นจากบาป เว้นจากสิ่งที่ชั่วร้าย เว้นจากสิ่งที่ทำจิตของเราให้ตกต่ำ
ความหมาย คือ การบวช , ออกจากฆราวาสวิสัย สู่การเป็นนักบวช
ซึ่งมีมาก่อนพุทธกาล เช่น ฤษี ดาบส พราหมณ์ ปริพาชก ฯล
เรียกโดยรวมอีกอย่างว่า บรรพชิต
คำว่า อุปสมบท , อุปสัมบัน
หมายถึง การออกบวช ในพระพุทธศาสนา
คือ การบวชเป็นภิกษุ , ภิกษุณี
ยุคต้นพุทธกาล การออกบวช ก็ใช้คำว่า บรรพชา ( ปัพพัชชา )
ไม่ได้ใช้คำว่า อุปสมบท
คำว่า อุปสมบท มาเริ่มใช้ใช้หลังจากที่ สามเณรเกิดขึ้นแล้ว
ซึ่ง สามเณร ราหุล เป็นสามเณรรูปแรก ในพุทธศาสนานี้
ต่อมาจึงเรียกการบวช เป็นสามเณร ว่า บรรพชา
และเรียกการบวชภิกษุ , ภิกษุณี ว่า อุปสมบท , อุปสัมบัน
เพิ่มเติมด้วยคำอธิบายของพระภาวนาวิริยคุณ ดังนี้ครับ
Image.jpg 46.54K
197 ดาวน์โหลด
การบรรพชา ต่างกับ อุปสมบทอย่างไร
คำว่า บรรพชา
มาจากภาษาบาลี ในคำว่า
ปพฺพชฺชา ,ปัพพัชชา
แปลว่า เว้นจากบาป เว้นจากสิ่งที่ชั่วร้าย เว้นจากสิ่งที่ทำจิตของเราให้ตกต่ำ
ความหมาย คือ การบวช , ออกจากฆราวาสวิสัย สู่การเป็นนักบวช
ซึ่งมีมาก่อนพุทธกาล เช่น ฤษี ดาบส พราหมณ์ ปริพาชก ฯล
เรียกโดยรวมอีกอย่างว่า บรรพชิต
คำว่า อุปสมบท , อุปสัมบัน
หมายถึง การออกบวช ในพระพุทธศาสนา
คือ การบวชเป็นภิกษุ , ภิกษุณี
ยุคต้นพุทธกาล การออกบวช ก็ใช้คำว่า บรรพชา ( ปัพพัชชา )
ไม่ได้ใช้คำว่า อุปสมบท
คำว่า อุปสมบท มาเริ่มใช้ใช้หลังจากที่ สามเณรเกิดขึ้นแล้ว
ซึ่ง สามเณร ราหุล เป็นสามเณรรูปแรก ในพุทธศาสนานี้
ต่อมาจึงเรียกการบวช เป็นสามเณร ว่า บรรพชา
และเรียกการบวชภิกษุ , ภิกษุณี ว่า อุปสมบท , อุปสัมบัน
เพิ่มเติมด้วยคำอธิบายของพระภาวนาวิริยคุณ ดังนี้ครับ

การบรรพชา ต่างกับ อุปสมบทอย่างไร
QUOTE
พิธีบรรพชา เสาร์ที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ.2551 ณ สภาธรรมกายสากล
พิธีอุปสมบท ระหว่างวันจันทร์ที่ 7-เสาร์ที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2551
พิธีบรรพชาเป็นสามเณร สามารถจัดให้เสร็จในคราวเดียวกันได้ คืิอ
บวชคราวเดียว ๑oo รูป หรือ ๑o,ooo รูป ก็ได้
แต่พิธีอุปสมบท บวชพระได้คราวเดียวอย่างมาก ๓ รูป
ยิ่งธรรมทายาทรุ่นไหน มีจำนวนบวชพระ มาก ๆ ก็ต้องใช้เวลา อุปสมบท หลายวัน
ดังนั้นเพื่อความสะดวกในพิธีกรรม และเพื่อบรรเทาภาระของพระอุปัชฌาย์***
จึงกำหนด วันทำพิธีบรรพชา แยกจากวันทำพิธีอุปสมบท ในบางรุ่น ครับ
***
พิธีอุปสมบท ๓ รูป ต่อ ๑ ชุด ใช้เวลาประกอบพิธีอุปสมบท เฉลี่ย ๑๕ นาที
๑ ชั่วโมง บวชพระได้ ๑๒ รูป
ถ้าวันนึงตั้งแต่เช้า ถึงค่ำ จัดพิธีอุปสมบท ๑o ชั่วโมง ก็บวชพระได้็ ๑๒o รูป
ถ้านับเวลาพัก ช่วงเพล ก็ใช้เวลาเกินกว่านี้
พระคู่สวด ยังมีหลายชุดได้
แต่พระอุปัชฌาย์ มีรูปเดียว ก็ต้องถนอมสังขารของท่านด้วยครับ
โดยปกติในรุ่นเดียวกัน ก็จะจัดลำดับการอุปสมบท ตามอายุ ตาม วัน เดือน ปี เกิด
ใครเกิดก่อน ก็ุอุปสมบทก่อน
แม้เกิดวัน เดือน ปี เดียวกัน หากทราบเวลาเกิด ก็จะเรียงลำดับการอุปสมบท ตามเวลาเกิดอีกทีครับ
เพื่อให้ความเคารพ นับถือกันตามวัตรปฏิบัติของสงฆ์และจารีตประเพณีไทยครับ
ผู้บวชก่อน มาถึงธรรมวินัยก่อน ( ภันเต ) ก็ควรเมตตา กรุณา ผู้บวชภายหลังให้มาก
ผู้บวชหลัง ( อาวุโส )ก็ควรเคารพ นับถือ นอบน้อมต่อผู้บวชก่อน
แม้การปลงอาบัติ คู่กัน ภิกษุที่บวชภายหลัง ก็ต้องกราบภิกษุที่บวชก่อน
ทั้งนี้เพื่อการอยู่รวมกันด้วยความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
เพื่อความสงบสุขและความตั้งมั่นของหมู่สงฆ์ ครับ
บวชคราวเดียว ๑oo รูป หรือ ๑o,ooo รูป ก็ได้
แต่พิธีอุปสมบท บวชพระได้คราวเดียวอย่างมาก ๓ รูป
ยิ่งธรรมทายาทรุ่นไหน มีจำนวนบวชพระ มาก ๆ ก็ต้องใช้เวลา อุปสมบท หลายวัน
ดังนั้นเพื่อความสะดวกในพิธีกรรม และเพื่อบรรเทาภาระของพระอุปัชฌาย์***
จึงกำหนด วันทำพิธีบรรพชา แยกจากวันทำพิธีอุปสมบท ในบางรุ่น ครับ
***
พิธีอุปสมบท ๓ รูป ต่อ ๑ ชุด ใช้เวลาประกอบพิธีอุปสมบท เฉลี่ย ๑๕ นาที
๑ ชั่วโมง บวชพระได้ ๑๒ รูป
ถ้าวันนึงตั้งแต่เช้า ถึงค่ำ จัดพิธีอุปสมบท ๑o ชั่วโมง ก็บวชพระได้็ ๑๒o รูป
ถ้านับเวลาพัก ช่วงเพล ก็ใช้เวลาเกินกว่านี้
พระคู่สวด ยังมีหลายชุดได้
แต่พระอุปัชฌาย์ มีรูปเดียว ก็ต้องถนอมสังขารของท่านด้วยครับ
QUOTE
จะจัดตามลำดับผู้อุปสมบทตามวันเดือนปีเกิดของผู้บวช
โดยปกติในรุ่นเดียวกัน ก็จะจัดลำดับการอุปสมบท ตามอายุ ตาม วัน เดือน ปี เกิด
ใครเกิดก่อน ก็ุอุปสมบทก่อน
แม้เกิดวัน เดือน ปี เดียวกัน หากทราบเวลาเกิด ก็จะเรียงลำดับการอุปสมบท ตามเวลาเกิดอีกทีครับ
เพื่อให้ความเคารพ นับถือกันตามวัตรปฏิบัติของสงฆ์และจารีตประเพณีไทยครับ
ผู้บวชก่อน มาถึงธรรมวินัยก่อน ( ภันเต ) ก็ควรเมตตา กรุณา ผู้บวชภายหลังให้มาก
ผู้บวชหลัง ( อาวุโส )ก็ควรเคารพ นับถือ นอบน้อมต่อผู้บวชก่อน
แม้การปลงอาบัติ คู่กัน ภิกษุที่บวชภายหลัง ก็ต้องกราบภิกษุที่บวชก่อน
ทั้งนี้เพื่อการอยู่รวมกันด้วยความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
เพื่อความสงบสุขและความตั้งมั่นของหมู่สงฆ์ ครับ