ปวดเมื่อยเรื้อรัง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
..............................................
อาการหนึ่งที่จะเริ่มส่งสัญญาณความผิดปกติของระบบโครงสร้างกระดูกกล้ามเนื้อ นั่นคือ อาการปวดเมื่อย
เพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัด จากสถาบันปรับโครงสร้างร่างกาย อริยะ (ARIYA WELLNESS CENTER) กล่าวว่า
ในภาวะปกติทุกครั้งที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวหรือการทำงาน กล้ามเนื้อจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว และกำหนดทิศทาง
ต่างๆตามความต้องการของจิตใจที่จะสั่งให้ทำ และในการหดตัวแต่ละครั้งกล้ามเนื้อจะต้องดึงเอาพลังงานที่สะสมอยู่มาใช้ในการเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) ซึ่งทุกครั้งที่มีการหดตัวจะมีของเสียเกิดขึ้นคือกรดแล็คติก (Lactic acid)
แต่ด้วยในกล้ามเนื้อจะมีหลอดเลือดอยู่ภายใน และมีการไหลเวียนของเลือดเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ร่างกายถ่ายขับสารเสียออกมา และมีเลือดดีที่มีออกซิเจน ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆได้ รวมถึงเลี้ยงกล้ามเนื้อด้วย แต่ตรงกันข้าม หากเป็นการทำงานที่เกิดขึ้นแบบซ้ำๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง จากนานวันเข้า กล้ามเนื้อจะเริ่มหดตัวอย่างเดียว ไม่มีการคลายตัว พอนานวันเข้าก็เริ่มเป็นพังผืดแข็ง หลอดเลือดถูกบีบรัด ทำให้ไม่มีการไหลเวียน เกิดการคั่งค้างของสารเสีย จากแค่อาการปวดเมื่อยเพียงเล็กน้อยก็เริ่มเป็นมากขั้นจนรู้สึกไม่สบายตัว ไม่คล่องตัว ไม่สดชื่น เพลียง่าย ง่วงบ่อย หาวบ่อย หงุดหงิด หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่คล่อง จนต้องหายากิน หรือหาที่นวดเพื่อให้ผ่อนคลาย แต่อาการเหล่านี้จะกลับมาเรื่อยๆ เพราะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ตรงสาเหตุที่เป็น ฯลฯ
ระบบกล้ามเนื้อเป็นระบบที่เป็นที่อยู่ของหลอดเลือด,น้ำเหลือง(ระบบขับของเสีย),ระบบประสาท หากกล้ามเนื้อไม่ได้อยู่ในภาวะ
ที่ ปกติ เช่นหดเกร็ง รั้งอยู่ ไม่ใช่แค่ตรงจุดนั้นจะมีปัญหาเท่านั้น แต่จะเป็นชนวนที่จะลุกลามต่อเนื่อง เนื่องจากกล้ามเนื้อเชื่อมต่อกัน
ตลอดทั้งตัว และกล้ามเนื้อยังเป็นตัวคุมให้กระดูกอยู่ในแนวปกติ หากกล้ามเนื้อมีการรั้ง ดึง ไม่สมดุลกันทำให้โครงสร้างของร่างกาย
บิดเบี้ยวไป ไม่อยู่ในโค้งที่ปกติ จะทำให้กระทบถึงรากประสาท ซึ่งเป็นตัวนำคำสั่งจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้การ
ส่งกระแสประสาทส่งไปสู่อวัยวะต่างๆ ได้ไม่เต็มที่ มีผลให้การทำงานของระบบต่างๆ เสื่อมง่ายลง ทำงานได้ไม่เต็มที่ หากรุนแรง
มากก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงได้ โดยเฉพาะ อัมพฤกษ์อัมพาต หรืออาจถึงชีวิตได้ โดยที่ตัวคุณเองไม่คาดคิดมาก่อน
ผู้เชี่ยวชาญกล่าว
สำหรับวิธีการป้องกันนั้น นักกายภาพบำบัด แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงไลฟ์สไตล์ที่ทำเป็นประจำและใช้งานร่างกายเป็นเวลานานๆ
เช่น คนที่นั่งทำงานคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงต่อเนื่องกัน ต้องปรับพฤติกรรมไม่ให้เพลินกับการทำงานมากเกินไป ประมาณครึ่งถึง
หนึ่งชั่วโมง ควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถลุกขึ้นยืน เอามือประสานกันเหยียดขึ้นเหนือศีรษะค้างไว้สัก5-10 วินาที เอียงตัวไปซ้าย/ขวา
สัก 2-3 ครั้ง ลุกขึ้นเดินแล้วค่อยกลับมาทำงานใหม่
ตอนกลางคืนก็อาจใช้แผ่นความร้อนประคบจะช่วยได้มากเพราะความร้อนจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวลดปวดได้ ที่สำคัญไม่แนะนำให้กินยา
เนื่องจากไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่หากยังคงมีอาการปวดอยู่ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันถึงขั้นไปขัดขวางการทำงาน
และการใช้ชีวิต ควรต้องหาเวลาไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในระบบกระดูกกล้ามเนื้อโดยตรงจะดีที่สุด
http://dmycenter.com...n...2&Itemid=76

สุขภาพนักสร้างบารมี ตอนที่ 1
เริ่มโดย
*sky noi*
, Nov 18 2009 10:23 AM
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
*sky noi*
โพสต์เมื่อ 18 November 2009 - 10:23 AM
#2
โพสต์เมื่อ 18 November 2009 - 02:44 PM
ขอบคุณค่ะ
#3
โพสต์เมื่อ 18 November 2009 - 08:19 PM
ขอบคุณมากค่ะ ปวดเมื่อยอยู่เหมือนกันค่ะ
#4
โพสต์เมื่อ 19 November 2009 - 04:37 AM
สาธุ ครับผม
#5
โพสต์เมื่อ 20 November 2009 - 09:02 AM
มีอาการเหมือนกัน จะลองนำไปใช้ดู
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
#6
โพสต์เมื่อ 20 November 2009 - 12:04 PM

เราเกิดมาสร้างบารมี
#7
โพสต์เมื่อ 22 November 2009 - 09:07 AM
QUOTE
หากรุนแรง
มากก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงได้ โดยเฉพาะ อัมพฤกษ์อัมพาต หรืออาจถึงชีวิตได้
มากก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงได้ โดยเฉพาะ อัมพฤกษ์อัมพาต หรืออาจถึงชีวิตได้
โรคอัมพาต เกิดจาก ระบบหลอดเลือดและสมองครับ เช่น เส้นเลือดสมอง แตก ตีบ ตัน หรือการได้รับบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุ รวมทั้งมีพยาธิสภาพในสมองเช่นมะเร็ง เนื้องอก ก็จะทำให้เป็นอัมพาตเครึ่งซีกได้ ส่วนอัมพาตครึ่งท่อน เกิดจาก ไขสันหลังระดับต่างๆ ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
ส่วนอุบัติการณ์ การเสียเสียชีวิต หรือการเป็นอัมพาต จากโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง ยังไม่เคยเจอครับ
ก็ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้สำหรับบทความดีๆ แต่ที่แสดงความคิดเห็นก็เนื่องจากเป็นนักกายภาพบำบัดเหมือนกัน ถ้ามองในแง่วิชาการแล้ว การใช้คำว่า "อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงได้" ก็ควรมีหลักฐานอ้างอิงด้วยนะครับ
#8
โพสต์เมื่อ 24 November 2009 - 01:26 PM
ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ ดีมากเลยค่ะ.........ขอบพระคุณมาก ๆ ๆ เลย


#9
*sky noi*
โพสต์เมื่อ 24 November 2009 - 08:49 PM
ขอบคุณ คุณ บ่าวอุบล ค่ะ
เป็นนักกายภาพบำบัดด้วยหรอ
แฮ่ๆ มาช่วยหน่อยจิ อาการแย่แล้วววว
เป็นนักกายภาพบำบัดด้วยหรอ
