ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

องค์แห่งศีล


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 13 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 15 October 2010 - 10:32 PM

หากแต่ละคนในสังคมรักษาศีล ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ครอบครัวหรือสังคม ประเทศ โลกนั้น ย่อมมีความสงบสุขเรียบร้อย ไม่เกิดความวุ่นวาย การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

(เนื่องจากว่า ไม่เจอบทความเก่า ที่มีการพูดถึงองค์แห่งศีลอย่างสมบูรณ์ ทั้ง ๕ ข้อ จึงขอนำบทความมาลงอีกครั้ง เพื่อยังประโยชน์ต่อผู้ที่ยังไม่รู้ จะได้ถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป)

อ้างอิงบทความ SB 101วิถีชาวพุทธ DOU http://main.dou.us/view_content.php?s_id=389&page=4

การรักษาศีล มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติปัจจุบัน ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. เพื่อให้เกิดความสุข ความดีงาม ในการดำเนินชีวิต
3. เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็น และความดีงามแก่ครอบครัว และสังคม
4. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติต่อไป ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น
5. เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรมที่สูงขึ้นไป ได้แก่ สมาธิ และปัญญา อันจะทำให้บรรลุ มรรคผลนิพพานได้

การวินิจฉัยว่าศีลขาดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์แห่งศีลแต่ละข้อ ถ้าทำครบองค์แห่งศีล ชื่อว่า ศีลขาด แต่หากไม่ครบ เป็นเพียงศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อยเท่านั้น และบาปจะเกิดขึ้นเมื่อมีความตั้งใจที่จะล่วงละเมิดศีล

ศีลนั้น สำคัญที่เจตนา การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีล จึงต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจ หากไม่มีเจตนาหรือความตั้งใจในการรักษาศีลก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล
"วิรัติ" คือ ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการมีศีล บุคคลใดก็ตาม จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล รักษาศีล ก็ต่อเมื่อมีวิรัติอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้

1 สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว หมายความว่าเราได้ ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด ดังมีเรื่องเล่าถึง การสมาทานวิรัติของอุบาสกท่านหนึ่ง

2 สัมปัตตวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้า แม้ว่าเดิมทีนั้น ไม่ได้สมาทานศีลไว้ แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็คำนึงถึง ชาติ ตระกูล การศึกษา หรือความดีต่างๆ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง ดัง เช่นเรื่องราวของจักกนอุบาสก

3 สมุจเฉทวิรัติ หรือ เสตุฆาตวิรัติ คือ การงดเว้นจากบาปได้อย่างเด็ดขาด เป็นวิรัติของพระอริยเจ้า ซึ่งละกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เมื่อใจท่านปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำความชั่ว จึงไม่มีการผิดศีลอย่างแน่นอน

สรุป แม้จะยังไม่ได้ทำความชั่วขึ้นก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มีวิรัติ หรือความตั้งใจในการรักษาศีล ก็ไม่จัดว่าเป็นผู้มีศีล

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#2 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 15 October 2010 - 10:47 PM

องค์แห่งศีล
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถ รักษาศีลอย่างถูกต้อง จึงมีความจำเป็นที่เราต้องศึกษา ข้อวินิจฉัยของศีลแต่ละข้อ ว่าการกระทำอย่างใดจึงถือว่าศีลขาด อย่างไรถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อยซึ่งข้อวินิจฉัย มีดังต่อไปนี้

องค์แห่งการฆ่าสัตว์ การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
1. สัตว์นั้นมีชีวิต
2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
การฆ่าอันประกอบด้วยองค์ 5 นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือแม้แต่การยุยงให้สัตว์ ฆ่ากันเองจนกระทั่งตายไปข้างหนึ่งก็ตาม เช่น การจับไก่มาตีกัน จนกระทั่งไก่ตายไป หรือที่เรียกว่า ชนไก่ ทั้งหมดเรียกว่าศีลขาดทั้งสิ้น แต่หากไม่ครบองค์ เช่น พยายามฆ่า แต่สัตว์นั้นไม่ตาย ก็เรียกว่า ศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็เรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย

อนุโลมการฆ่า
นอกจากการฆ่าสัตว์โดยตรง ดังที่กล่าวมาแล้ว การทำร้ายร่างกาย การทรมานให้ได้รับ ความลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ควรเว้น
อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังต่อไปนี้
ก. การทำร้ายร่างกาย ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่
- ทำให้พิการ
- ทำให้เสียโฉม
- ทำให้บาดเจ็บ
ข. การทารุณกรรม ในที่นี้หมายถึงการทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่
- การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามสมควร
- กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข เช่น ขังนก ขังปลาไว้ในที่แคบ
- นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
- เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน
- ผจญสัตว์ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กัน เช่น ชนโค

การฆ่าโดยตรงถือว่าศีลขาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ไม่นับว่าศีลขาด แต่ถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ซึ่งจะให้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป

การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. คุณของสัตว์นั้น การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อเทียบกับพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
3. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย
4. กิเลสหรือเจตนา กิเลส หรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่นการฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#3 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 15 October 2010 - 10:54 PM

องค์แห่งการลักทรัพย์
การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
2. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
3. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
4. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
5. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น

ลักษณะของการลักทรัพย์
การลักทรัพย์แยกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. โจรกรรม มี 14 ประเภท ได้แก่
- ลักขโมย ได้แก่ การขโมยทรัพย์ผู้อื่น เมื่อเขาไม่รู้ไม่เห็น
- ฉกชิง ได้แก่ การแย่งเอาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งๆ หน้า
- ขู่กรรโชก ได้แก่ การทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์
- ปล้น ได้แก่ การยกพวก ถือเอาอาวุธเข้าปล้นทรัพย์ผู้อื่น
- ตู่ ได้แก่ การกล่าวตู่เอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
- ฉ้อโกง ได้แก่ การโกงเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
- หลอก ได้แก่ การพูดปด เพื่อหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
- ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โกงตาชั่ง
- ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้
- ตระบัด ได้แก่ การยืมของผู้อื่น แล้วยึดเป็นของตน
- เบียดบัง ได้แก่ การกินเศษกินเลย เบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของตน
- สับเปลี่ยน ได้แก่ การแอบเอาของๆ ตน ไปเปลี่ยนกับของผู้อื่นซึ่งดีกว่า
- ลักลอบ ได้แก่ การหลบภาษีการค้าขายสิ่งของผิดกฎหมาย
- ยักยอก ได้แก่ การที่ทรัพย์ของตนจะถูกยึด จึงยักยอกเอาไปไว้ที่อื่นเสีย เพื่อหลบเลี่ยง การถูกยึด

2. อนุโลมโจรกรรม มี 3 ประเภท ได้แก่
- การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่น การรับซื้อของโจร การให้ที่พักอาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร
- ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการ ทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว
- รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน

3. ฉายาโจรกรรม
(การกระทำที่เข้าข่ายการลักขโมย) มี 2 ประการ ได้แก่
- ผลาญ คือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของ ผู้อื่นมาเป็นของตน เช่น การวางเพลิง
- หยิบฉวย คือ การถือทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ

การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ

1. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
2. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
3. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#4 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 15 October 2010 - 11:00 PM

องค์แห่งการประพฤติผิดในกาม
การประพฤติผิดในกามต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
1. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด
2. มีจิตคิดจะเสพเมถุน
3. ประกอบกิจในการเสพเมถุน
4. ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน

หญิงที่ต้องห้าม มี 3 จำพวก
1. หญิงมีสามี
2. หญิงที่อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือญาติ
3. หญิงที่ประเพณีหวงห้าม เช่น หญิงที่กฎหมายหวงห้าม หญิงนักบวช

ชายที่ต้องห้าม มี 2 จำพวก
1. ชายที่ไม่ใช่สามีของตน
2. ชายที่ประเพณีหวงห้าม เช่น นักบวช

การประพฤติผิดในกาม มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
2. ความแรงของกิเลส
3. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#5 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 15 October 2010 - 11:08 PM

องค์แห่งการพูดเท็จ
การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
1. เรื่องไม่จริง
2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น

ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ
- การพูดปด ได้แก่ การโกหก
- การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน
- การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง
- มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
- ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
- พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง
- พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ
1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่
- เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
- สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก
2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่
- ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้
- เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น
- คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่

ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ
1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่งใจจริงอาจไม่เคารพเลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล
2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์
3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด
4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ

การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
- คฤหัสถ์ที่โกหกว่า "ไม่มี" เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก
- บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน "รู้เห็น" ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#6 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 15 October 2010 - 11:17 PM

องค์แห่งการดื่มน้ำเมา
การดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
1. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา
2. มีจิตคิดจะดื่ม
3. พยายามดื่ม
4. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป

การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. อกุศลจิตหรือกิเลสในการดื่ม
2. ปริมาณที่ดื่ม
3. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา
- สุรา ได้แก่ น้ำเมาที่ถูกกลั่นให้มีรสชาติเข้มข้น เช่น เหล้าต่างๆ
- เมรัย ได้แก่ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ น้ำตาลเมา ฯลฯ

นอกจากนี้ การงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน รวมถึงวัตถุทุก ชนิดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อให้เกิดความมึนเมา ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้ ก็รวมอยู่ในศีลข้อนี้เช่นกัน

จากความรู้ในเรื่อง องค์วินิจฉัยศีล เราจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ผิดศีล ทำให้ศีลขาด ทะลุ ด่าง หรือพร้อย ตัวอย่างเช่น การที่เราไล่ยุง แล้วบังเอิญทำให้ยุงตาย โดยที่เรามิได้มีจิตคิดจะฆ่ายุงเลย อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ครบ องค์ 5 ของการฆ่าสัตว์

อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย หากเกิดขึ้นด้วยเจตนาที่จะล่วงละเมิด แม้ว่าบางกรณีศีลจะยังไม่ขาดก็ตาม แต่บาปได้เกิดขึ้นมาในใจ เป็นเหตุให้ใจต้องเศร้าหมอง และหากละเมิดศีลในกรณีที่เกิดโทษมาก เป็นบาปมาก คุณภาพใจจะยิ่งถูกทำลายให้เศร้าหมองมากยิ่งขึ้น เราจึงควรศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาศีลของเรา เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ อันจะนำมาซึ่งการรักษาใจได้อย่างบริสุทธิ์ สะอาด ไม่เดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง

สุดท้าย... ขอกราบอนุโมทนาบุญกับทุกท่านๆ ในการตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ เพื่อเป็นต้นทุนในการสร้างบารมี การเข้าถึงธรรม

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#7 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 15 October 2010 - 11:28 PM

วิธีการรักษาศีล

การรักษาศีลสามารถกระทำ ได้อย่างง่ายๆ โดยมีเจตนาหรือมีความตั้งใจจะรักษาศีล ละเว้นความชั่วทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยระลึกนึกถึงศีลไปทีละข้อ ด้วยความรู้สึกว่า จะพยายามรักษาศีลแต่ละข้อนั้นให้ดี

วิธีการที่จะช่วยให้สามารถรักษาศีลได้อย่างมั่นคง นั่นคือ การกล่าวคำสมาทานศีล เพราะการสมาทานศีล เป็นการแสดงออกซึ่งความสมัครใจอย่างเต็มที่ที่จะรักษาศีล

คำอาราธนาศีล 5


มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล)

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล แม้
ครั้งที่สอง)

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล แม้
ครั้งที่สาม)

(ถ้าอาราธนาศีลเพื่อตนเองตามลำพัง ให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง และ ยาจามะ เป็น ยาจามิ)

นมการคาถา (กล่าวคำนอบน้อม)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ (กล่าว 3 หน)
(ขอนอบน้อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)

คำขอสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ)

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ)

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ)

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)

คำสมาทานศีล 5 (เพื่อการถือเอาศีลมาถือปฏิบัติ)

1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ผู้อื่นให้ฆ่า)

2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นลัก)

3. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)

4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ และพูดคำหยาบ)

5. สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#8 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 15 October 2010 - 11:38 PM

ขออนุญาติรวบรวม ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาไว้ที่กระทู้นี้
นรอ.หัดฝัน กล่าวไว้
QUOTE
คำกล่าว สมาทานศีล 5 จะกล่าวว่า "มะยังภันเต วิสุงวิสุง ลักขะนะถายะ ติสะระเนนะสะหะ ปัญจะสีลานิยาจามะ"
คำว่า "วิสุงวิสุง ลักขะนะถายะ" หมายถึง ขอรักษาศีลทีละข้อ ทั้งหมด 5 ข้อน่ะครับ

แต่คำกล่าว สมาทานศีล 8 จะกล่าวว่า "มะยันภันเต ติสะระเนนะสะหะ อัตถะสีลานิยาจามะ"
นั่นคือ ไม่มีคำว่า "วิสุงวิสุง ลักขะนะถายะ" ย่อมหมายถึง การตั้งใจรักษาศีลแบบองค์รวม ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่า ผิดหมดน่ะครับ

นรอ.มองอย่างแมว กล่าวไว้
QUOTE
จะผิดศีลข้อปาณาฯได้จะ องค์ประกอบแรกเลยก็คือ สัตว์นั้นต้องมีชีวิต
ทีนีบางสิ่งมีชีวิตนั้นไม่มีจิตครอง ก็ไม่นับครับ
อย่างเช่นต้นไม้ต่างๆ ตัดต้นไม้ไม่ถือว่าเป็นการฆ่า

ทีนี้พวกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากๆเนี่ย ก็ไม่มีจิตครองเช่นเดียวกัน
อย่างพวก ไวรัส, แบคทีเรีย, จุลินทรีย์ เป็นต้น
เพราะฉะนั้นใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียก็ไม่มีปัญหาอะไร
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด คือ "เจตนา" หรือ "ความตั้งใจ"
เมื่อเพลี่ยงพลั้ง ผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง หรือศีลไม่บริสุทธิ์ ก็ให้สมาทานศีลใหม่ เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ของศีล
โปรดติดตามตอนต่อไป...

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#9 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 15 October 2010 - 11:42 PM

สาธุ ดีจังเลย ทำให้ค้นง่าย ได้หมวดหมู่ครบครัน

คุณ ณ ๐๗๒ ขอบคุณมากค่ะ

#10 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 16 October 2010 - 08:28 AM

แนบไฟล์  Sadhu.gif   22.04K   34 ดาวน์โหลด
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#11 @--แสงตะวัน--@

@--แสงตะวัน--@
  • Members
  • 723 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand

โพสต์เมื่อ 16 October 2010 - 04:17 PM

สาธุุๆ ครับ

ผมเคย note เรื่องความเคร่งครัดในการรักษาศีลแต่ จดไว้เฉพาะหัวข้อ ไม่ทราบท่านใดพอจะขยายความเรื่อง level ของการรักษาศ๊ลหน่อยได้ไหมครับ

1. ศีลจุ่ม
2. ศีลเชื่อม
3. ศีลแช่อิ่ม

แนบไฟล์  P1080605.JPG   198.04K   84 ดาวน์โหลด


"ชีวิตนี้อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย"

#12 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 16 October 2010 - 08:19 PM

QUOTE
คำว่ามีศีลมันมีเป็นขั้นเป็นตอนนะ รักษาศีลทีแรกน่ะ พอยุงมากัดปั๊บ มือมันเงื้อปุ๊บเลยนะ พอจะตบลงไปเท่านั้นนึกได้ว่าวันนี้มีศีล ก็เลยไม่ไปตบมัน นี้คือศีลแบบจิ้ม จิ้มน้ำตาล เหมือนมะขามจิ้มน้ำตาล ทีแรกมันก็เป็นอย่างนี้มันง่อนแง่นอยู่
แต่รักษาศีลจนเคย หนักเข้า หนักเข้า ผ่านไปหนึ่งเดือน สองเดือน สามเดือน มันเริ่มเป็นศีลเชื่อมแล้วนะ ยุงกัดเข้าก็...เอ๊ย...เอ็งรีบไปๆซะไป ไอ้เงื้อมือจะตบนี้ไม่มีแล้ว เจ็บแล้ว แล้วไป
เมื่อรักษาศีลมากเข้ามากเข้าเป็นปี เมื่อยุงกัด ก็ได้คิดว่าตราบใดเรายังเวียนว่ายในวัฏสงสาร ไม่แคล้วเบียดเบียนกันอย่างนี้แหละ หมดกิเลสเมื่อไหร่ล่ะก็ จะได้ไม่ต้องมาเจอกับสิ่งเหล่านี้ ยุงกัดแต่คิดจะไปนิพพานโน่นแน่ะ อย่างนี้ล่ะศีลแช่อิ่มเลย
มี ศีลแล้วใจมันสงบเย็นชุ่มฉ่ำอยู่ในใจ ไม่ต้องหวาดผวาอะไรทั้งสิ้น นี่นิพพานขั้นต้น สงบเย็น แต่เมื่อรักษาศีลมากเข้ามากเข้า เข้มข้นเข้าไปเรื่อยๆ...กลายเป็นศีลแช่อิ่มไปแล้ว ทีนี้ใครเอามีดมาจ่อคอเอาปืนมาจ่อหัวให้เราทำความชั่ว...เรายอมตายเสียดี กว่า
http://www.dmc.tv/pa.../episode28.html

QUOTE
การสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งพระองค์ยังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่นั้น การรักษาศีลของพระองค์ต้องใช้ความอดทน อดกลั้น บางครั้งต้องแลกด้วยชีวิต กว่าที่บารมีจะเต็มเปี่ยม พระองค์จึงผ่านการรักษาศีลมาอย่างเข้มข้นที่สุด จนเกิดบารมีถึงสามขั้น คือ
1.ศีลบารมี คือ การรักษาศีลด้วยความรักศีลยิ่งกว่าสมบัติภายนอก เมื่อถึงคราวคับขัน ก็ยอมเสียสละสมบัติภายนอกออกไปได้ เพื่อรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ ชื่อว่า บำเพ็ญศีลบารมี
2.ศีลอุปบารมี คือ การรักษาศีลด้วยความรักศีลยิ่งกว่าอวัยวะในร่างกายของตน เมื่อถึงคราวคับขัน ก็ยอมเสียอวัยวะ เลือดเนื้อ เพื่อรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ชื่อว่า บำเพ็ญศีลอุปบารมี
3.ศีลปรมัตถบารมี คือ การรักษาศีลด้วยความรักศีลยิ่งกว่าชีวิตของตน เมื่อถึงคราวคับขัน ก็ยอมเสียสละชีวิตเพื่อรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ ชื่อว่า บำเพ็ญศีลปรมัตถบารมี
http://www.dmc.tv/pa...huridatta1.html

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#13 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 17 October 2010 - 09:04 PM

....เท่าที่อ่าน ผมก็ได้ประมาณศีลเชื่อมนี่แหละ ศีลแช่อิ่มนี่ชักไม่แน่ใจ แต่คิดว่ามั่นใจว่าคงยังไม่ได้ ไว้จะฝึกดู
..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#14 usr37337

usr37337
  • Members
  • 20 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 October 2010 - 05:19 AM

ดีมากเลยครับ.. happy.gif

๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ล้วนมีศีลเป็นหลัก

แต่ยุคนี้ ก็ช่างมีสิกขาบทมากมายเหลือเิกิน เป็นที่ลำบากแก่พุทธบุตรยิ่งนัก

เพราะยุคใดที่มีสิกขาบทมาก คนเข้าถึงธรรมก็จะมีน้อย

หากยุคใดมีสิกขาบทน้อย คนเข้าถึงธรรม ก็จะมาก

หากยุคใดไม่มีสิกขาบทเลย ก็จะเข้าถึงธรรมกันอย่างง่ายดาย

ก็เข้าใจนะครับ ว่ามันเป็นช่วง ไขยลง

แต่คุณองค์ดำ ก็ไม่รู้จะกลั่นแกล้งอะไรพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้มากมายนัก

ยิ่งคิด ก็ยิ่งเจ็บใจแทน

แต่ก็ยิ่งซาบซึ้ง ในการเสียสละของปัญญาธิกพุทธเจ้าพระองค์นี้ อย่างมากมาย

ขออนุโมทนาบุญกับเจ้าของกระทู้ด้วยนะครับ..







ไฟล์แนบ