ค้นข้อมูลจากทางอินเตอร์เนต มีหลายกระแส จึงสับสน
เรื่องวิกาลโภชนาฯ
ปกติเวลาถือศีล8 ตอนเย็นก็จะดื่มน้ำปานะ ในที่นี้เข้าใจว่ารวมถึง
น้ำนมโค นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง โอวันติน-ไมโล กาแฟ ไอศกรีม
แต่พอค้นทางเนต เห็นก็มีคนตอบทำนองว่า
ถ้ายึดตามพระวินัยแล้ว จะดื่มน้ำนมโค หรือนมถั่วเหลืองไม่ได้
แต่โดยปกติเราก็เห็นทางวัดหลายแห่งเองก็ยังแจกนม นมถั่วเหลืองสำหรับคนถือศีล8
เลยอยากให้ฟันธงว่า ความจริงคืออย่างไร? เพราะตั้งใจจะรักษาศีล
จากที่อ่านเวบบอร์ดที่DMC ค้นกระทู้เก่าก็มีคำตอบว่า
สามารถดื่มน้ำนม นมถั่วเหลือง ชอคโกแลต โยเกิตที่ไม่มีผลไม้-วุ้น
โดยอ้างจาก
ข้อสงสัยเกี่ยวกับศีล 8 http://www.dmc.tv/fo....php/t2737.html
น้ำปานะ http://www.dmc.tv/fo...ter&f=31&t=2993
กระทู้เกี่ยวข้อง
น้ำปานะ??? คือ อะไรบ้างค่ะ http://www.dmc.tv/fo...p?showtopic=398
ปัญหาคาใจในการรักษาศีลแปด http://www.dmc.tv/fo...p?showtopic=328
ศีล ๘ และอุโบสถศีล http://www.dmc.tv/fo...p?showtopic=616
ส่วนในลานธรรม ค่อนข้างจะเห็นไปทางเดียวกันว่า
น้ำนม น้ำนมถั่วเหลืองนั้น ไม่เป็นปานะที่สามารถดื่มหลังเที่ยงได้
ศีล 8 มีอะไรบ้าง http://larndham.net/...opic=15502&st=0
ที่เกี่ยวข้อง
สงสัยเรื่องน้ำปานะ http://larndham.net/...opic=15647&st=0
ว่าด้วยการถือศีล 8 http://larndham.net/...opic=17207&st=0
อุโบสถศีล http://larndham.net/...pic=13827&st=12
--------------------------------------------------------
- คำถามที่อยากให้ช่วยฟันธง คือ หลังเที่ยงทานของเหล่านี้ได้หรือไม่
- และข้อปฏิบัติ ศีล ข้อวิกาลโภชนา ระหว่างฆราวาสและภิกษุ ต่างกันหรือไม่
1.น้ำนมถั่วเหลือง
2.น้ำนมโค
3.ชอคโกแลตที่มีนม/ไม่มีนมเป็นส่วนประกอบ และไม่มีถั่ว-ผลไม้ประกอบ(จัดเป็นของเคี้ยวหรือไม่)
4.โยเกิร์ตที่ไม่มีเนื้อผลไม้และวุ้น
5.นมเปรี้ยว
6.โอวันติน,ไมโล,โกโก้ ใส่นม/ไม่ใส่นม
7.เครื่องดื่ม/ลูกอมที่มีนมเป็นส่วนประกอบ
8.ไอศกรีมที่ไม่มีถั่ว, ผลไม้ และแป้ง
-------------------------------------------------------------
ผมไม่กระจ่างตามข้อธรรมนี้ครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ขนมกุมมาส สัตตู ปลา เนื้อ คำว่า น้ำ ได้แก่
ปานะ ๘ อย่าง คือ น้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า
น้ำผลกล้วยมีเมล็ด น้ำผลกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำผลมะซาง น้ำผลจันทน์ น้ำรากบัว น้ำผลลิ้นจี่.
ปานะ ๘ อีกอย่างหนึ่ง คือน้ำผลสะคร้อ น้ำผลเล็บเหยี่ยว น้ำผลพุทรา ปานะที่ทำด้วยเปรียง
น้ำมัน น้ำข้าวยาคู น้ำนม ปานะที่ทำด้วยรส.
คำว่า ของควรเคี้ยว ได้แก่ของควรเคี้ยว ที่ทำ
ด้วยแป้ง ของควรเคี้ยวที่ทำเป็นขนม ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยเหง้าไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยเปลือกไม้
ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยใบไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยดอกไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยผลไม้.
คำว่า ผ้า ได้แก่จีวร ๖ ชนิด คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้
เป็นต้นเจือกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี.
http://84000.org/tip...item/r.ph...;นะ
*********************
สรุปว่าปานะมี8+8=16อย่าง รวมถึงนมด้วยเหรอครับ
เพราะเวลาพูดถึงปานะ มักจะอ้างจากธรรมข้อนี้
อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี
ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
(ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
(ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
(แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)
http://84000.org/tip...eek.php?t...;นะ
-------------------------------------
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ[b]
